หลายๆ คน คงได้ติดตามข่าวที่ว่าเด็กไทยเกินครึ่งไอคิวต่ำ เมื่ออ่านเจาะลึกลงในรายละเอียดไม่ใช่แต่เพียง IQ เท่านั้นที่ต่ำ EQ (ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์)และ AQ (ความพยายามในการแก้ปัญหา) ก็ต่ำด้วย หลายๆ ครอบครัวก็กังวลว่าบุตรหลานเราจะเข้าข่ายดังกล่าวหรือไม่ ก็พากันไปปรึกษาจิตแพทย์ หรือวัด IQ กันเป็นการใหญ่ ส่วนใหญ่คุณหมอก็มักซักประวัติกิจวัตรประจำวันของบุตรหลาน จากคุณพ่อคุณแม่ และแนะนำให้เปลี่ยนหรือปรับพฤติกรรม โดยปรับวิธีการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง หากเรามามองวิธีการเลี้ยงดู หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็กในปัจจุบัน ก็อาจจะไม่แปลกใจสักเท่าใดนัก นั่นหมายความว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ประเด็นอยู่ที่วิธีการเลี้ยงดูเป็นหลัก

ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงดูในปัจจุบันนี้ เรามักพบว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองรุ่นใหม่ มักมีเวลาในการดูแลบุตรหลานที่จำกัด กิจกรรมทุกอย่างจะทำด้วยความเร่งรีบ ซึ่งปลูกฝังนิสัยของการไม่รู้จักรอคอยให้กับเด็กโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เด็กใม่มีพัฒนาการทางด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ บางครั้งอาจเป็นเรื่องของรางวัลที่เด็กได้มาอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้ความมานะ พยายามเท่าใดนัก เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กไม่มีความพยายามที่จะทำผลงานในชิ้นที่ยากขึ้น ส่งผลถึงการเรียนที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เด็กก็จะไม่มีความพยายามในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่เหมือนกับการเล่นเกมส์ที่มีการแข่งขันกันในกลุ่มเพื่อนเพื่อการเอาชนะ เพียงเพื่อให้ได้คะแนนที่สูงที่สุดในวันนั้น

หากเป็นเช่นนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองอาจต้องลองย้อนมองพฤติกรรมบุตรหลาน ว่าสาเหตุจริงๆ อาจจะเกิดจากข้อผิดพลาดในการเลี้ยงดู ซึ่งเราสามารถปรับปรุง แก้ไข ให้ทุกอย่างดีขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งจิตแพทย์เลย

ครูจา

Tags : , , , , , , | add comments

โศกนาฎกรมม

Posted by malinee on Monday Dec 17, 2012 Under เกร็ดความรู้

จากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม ที่ผ่านมา ที่เกิดเหตุชายวัยรุ่นอายุ 20 ปี ยิงแม่ของตนเองในบ้าน ก่อนที่จะบุกกราดยิงเด็กนักเรียน ในชั้นเรียน ซึ่งมีอายุ 5 – 10 ปีในโรงเรียนประถมชื่อ “Sandy HooK” ก่อนที่จะดับชีวิตตนเองด้วยอาวุธเดียวกัน โดยขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่กำลังหาเหตุปัจจัยที่ทำให้ชายคนนี้ก่อเหตุ จากแหล่งข่าวกล่าวว่าผู้ก่อเหตุมีประวัติการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม แต่เป็นเด็กเก็บตัว ติดเกมส์คอมพิวเตอร์ ไม่สุงสิงกับใคร จนมีฉายาว่า หนุ่มร็อคผู้โดดเดี่ยว เขาอาศัยอยู่กับแม่เพียงลำพัง เนื่องจากพ่อแม่หย่าร้างกันตั้งแต่ปี 2008

จากเหตุการณ์นี้ก็เป็นเหตุการณ์ที่ย้ำให้เห็นว่า “IQ”  ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้คน ๆ หนึ่งสามารถแก้ไขปัญหา หรือพาตนเองออกมาจากวังวนแห่งปัญหาหรือสภาวะของการกดดันได้เสมอไป ยังมีทักษะต่าง ๆ อีกมากมายที่ต้องให้เด็กฝึกฝนและเรียนรู้ เพื่อที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

          จากที่กล่าวมาแล้ว ก็จะพบว่าไม่ว่าจะเป็น IQ (ความฉลาด สติปัญญา) หรือ EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) ต่างก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ดังนั้นเพื่อพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านอารมณ์และสติปัญญา เด็ก ๆ ควรจะได้รับการส่งเสริมทั้งสิ้น

นอกจาก 2Qs ดังกล่าวแล้ว สิ่งที่สำคัญลำดับต่อไป นักวิชาการมักเรียกว่า “AQ “ (Adversity quotient) ซึ่งหลาย ๆ คนเข้าใจว่า AQ เป็นเพียงความมุ่งมั่นในการทำให้สำเร็จ ความพยายามที่จะทำสิ่งที่ท้าทาย แต่ AQ หมายรวมถึง การเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส หรือ แม้กระทั่งการรู้จักยอมรับความผิดหวัง

จากคำจำกัดความต่าง ๆ ข้างต้น เราสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม AQ ได้ ตัวอย่าง การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงก่อนวัยเรียน เราสามารถหากิจกรรมที่ท้าทายความสามารถให้เหมาะกับอายุได้ เช่นการให้เด็กร้อยเชือกผ่านชิ้นงานในแบบต่าง ๆ โดยมีต้นแบบให้ และเพิ่มความยากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความสนุก เมื่อได้ทำกิจกรรมที่ยากขึ้น  ก็เป็นการส่งเสริมความพยายามที่จะทำให้สำเร็จได้  หรือเมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็ก ๆ ก็จะต้องเข้าเล่น หรือทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน ซึ่งในการเล่นย่อมจะมีผู้แพ้ และผู้ชนะ ทำให้เขาได้เรียนรู้ถึงความผิดหวังบ้าง และเมื่อเขาโตขึ้น เขาก็สามารถยอมรับ และเผชิญกับปัญหาได้มากขึ้น

แต่ในทางกลับกัน หากครอบครัวใดไม่เคยส่งเสริมพัฒนาการทาง AQ อาจเป็นเพราะไม่รู้ว่าการตามใจ หรือให้ความช่วยเหลือจนเกินขอบเขตเป็นการบ่อนทำลายภูมิต้านทานเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ถึงความลำบาก ความพยายาม ความผิดหวัง หรือแม้กะทั่งการยอมรับในความพ่ายแพ้ เมื่อเขาเหล่านั้นโตขึ้น เข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้น โดยไม่มีใครสามารถปกป้องเขาได้อีก เขาจะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง จนมีโอกาสที่จะทำอะไรโดยขาดสติยั้งคิดได้ หากวันนี้เรายังคงพอมีเวลา เราควรหันกลับมาส่งเสิรมพัฒนาการทางด้านนี้ เพื่อให้เขาเติบโตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า IQ คือวัตถุดิบที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จด้านการเรียน  ส่วน EQ นั้น จะมุ่งเน้นไปในเรื่องของทักษะการเข้าสังคม และทักษะทางอารมณ์ ที่แสดงออกมา นักวิจัยหลาย ๆ ท่านมักกล่าวว่า EQ จะทำให้คนประสบความสำเร็จได้มากกว่า IQ ทั้ง ๆ ที่IQ เป็นตัวชี้วัดความฉลาด นั่นเป็นเพราะการที่คนเราเมื่ออยู่ในองค์กรใด ๆ จะทำสิ่งใดก็ตามให้สำเร็จด้วยนั้น จะต้องมีการทำงานแบบเป็นทีม ต้องมีการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่การต่อรองทางธุรกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สูงสุด ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ EQ มากกว่า IQ

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง IQ กับ EQ คือ EQ เป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรมเลย ดังนั้นพ่อแม่ หรือ ครู สามารถส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ได้

EQ คืออะไร?

เมื่อพูดถึง EQ หลาย ๆ คนมักคิดแต่เพียงเรื่องของอารมณ์เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว EQ กล่าวโดยรวมว่า เป็นการเห็นคุณค่าของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  การแสดงออกในเชิงบวก (การรู้จักควบคุมอารมณ์) และการมีทักษะทางด้านสังคมที่ดี  นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การเรียนรู้ทางด้านสังคมและอารมณ์ นอกจากส่งผลให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดีแล้ว  ยังช่วยลดความรุนแรงทางอารมณ์ลงอีกด้วย

วิธีการส่งเสริมให้เด็กมี EQ ที่ดี

ในช่วงที่เด็กอยู่ในวันก่อนวัยเรียน พ่อแม่ควรสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กในวัยดังกล่าวจะมีพฤติกรรมเลียนแบบ เราควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก รับฟังเมื่อเขาต้องการจะบอกบางอย่างกับเรา การหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท มีระเบียบวินัยที่ขัดเจน ลงโทษเมื่อเด็กทำผิด และกล่าวชื่นชมเมื่อเขาทำดี สร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึกปลอดภัย ไม่ใช่ว่าพ่อแม่ต้องคอยปกป้องทุกอย่างให้กับเขา ในบางเรื่องต้องให้เขาได้เรียนรู้ว่าสิ่งใดเป็นอันตราย หรือไม่ควรเข้าใกล้ ซึ่งทำให้เขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง   และสิ่งที่ดีที่สุดคือการเป็นตัวอย่างที่ดีโดยการที่พ่อแม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง การมีระเบียบวินัย และการเห็นคุณต่าของตนเอง

จากสิ่งที่กล่าวมาแล้วเราจะพบว่าการสร้าง หรือ พัฒนา EQ ให้กับเด็กเป็นเรื่องที่ยาก แต่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องคอยดูแลเอาใจใส่ให้เขาเหล่านั้นเติบโตตามวัย และเขาก็จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีความสุขต่อไป

ครู จา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

Q ไหนสำคัญที่สุด? I AM ES Qs (2)

Posted by malinee on Saturday Nov 24, 2012 Under Uncategorized

ในแต่ละครอบครัวที่มีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นมาแต่ละคน  คงไม่มีใครคัดค้านว่านอกจากความสมบูรณ์ แข็งแรงทางร่างกายแล้ว ทุกคนต้องการให้เจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการที่ดี และฉลาดหลักแหลม เราจึงต้องให้ความสำคัญของ IQ ไม่น้อยกว่าตัวอื่น ๆ

มักมีความเชื่อกันว่าความฉลาดนั้นเกิดจากปัจจัยพันธุกรรมเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น แต่จากงานวิจัยหลาย ๆ ชิ้น กล่าวว่าความฉลาดนั้นมีปัจจัยจากพันธุกรรมเพียงครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเราสามารถพัฒนาได้จากการเลี้ยงดู  และสามารถพัฒนาได้ในช่วงที่เด็กมีอายุ 0 – 3 ปีเท่านั้น ตามทฤษฏีทางด้านพันธุกรรมคือ ยีน (gene) ที่มีหน้าที่ถ่ายทอดพันธุกรรมนั้น ยีนของอัจฉริยะเป็นยีนด้อย ซึ่งทำให้โอกาสที่เด็กเกิดมาจะเป็นอัจฉริยะนั้นน้อยมาก

จากข้อมูลต่าง ๆ เราจะพบว่าความฉลาด หรือ IQ ของคนส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก (ในด้านของพันธุกรรม) แต่สิ่งที่ทำให้ความฉลาดในเด็กแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ วิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันนั่นเอง การเลี้ยงดูที่มีการพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย และส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละวัยอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการเล่น หรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่นวัย 6 – 8 เดือน เด็กจะมีการใช้ทักษะมือให้สัมพันธ์กับตา เป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อกับระบบประสาท หากเด็กได้รับการส่งเสริมจะทำให้การเรียนรู้ทางมิติสัมพันธ์เมื่อเขาโตขึ้นได้ดี   ส่วนเด็กที่อยู่ในช่วงกำลังหัดพูด ก็ต้องมีการพัฒนาทางด้านการฟังก่อน แล้วจึงพัฒนาการเลียนแบบเสียงต่าง ๆ ต่อไป การพัฒนาในด้านการพูด การฟัง ก็สามารถต่อยอดให้เด็กมีทักษะทางด้านภาษาที่ดีในอนาคตได้

จากวัย 0 – 3 ปี พัฒนาการของเด็กนั้นจะต้องผ่านกิจกรรมที่ใช้ทักษะทางด้านร่างกายเป็นหลัก ทั้งการมอง การฟัง การพูด การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ซึ่งหากเด็กได้มีการเล่นผ่านของเล่นที่จับต้องได้ ควบคู่ไปกับใช้ทักษะต่าง ๆ (ยิ่งมาก ยิ่งนาน) เด็กก็จะเกิดประสบการณ์ ความชำนาญ จนกลายเป็นการเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว  แต่ในทางกลับกัน เด็กที่อยู่นิ่ง ๆ ใช้ทักษะด้านใดด้านหนึ่ง เช่นการให้เด็กนั่งเล่นเกมส์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเกมส์การศึกษาก็ตาม เด็กจะใช้สายตาในระยะเดียว (ระยะที่อยู่ภายในจอ ไม่ได้กวาดสายตาไปหลายจุด) และกล้ามเนื้อก็ใช้เพียงบางส่วนเท่านั้น  ความฉลาดที่ได้จึงได้จากพันธุกรรมที่เหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า IQ และ EQ มาแล้ว เนื่องจากในข่วง 2 – 3 ทศวรรษที่ผ่านมา มักมีข่าวมากมายเกี่ยวกับนักศึกษา หรือแม้แต่นักบริหาร ที่มีความรู้ความสามารถสูง มีประวิติผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ต้องจบชีวิตลงด้วยเรื่องของความผิดหวังเพียงเล็กน้อย (ในสายตาของคนอื่น) ทิ้งไว้แต่ความฉงนของคนที่ได้ข่าวว่า ทำไมคนกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้ ความรู้ความสามารถ ที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหา  ซึ่งกลุ่มคนกลุ่มนี้ในยุคนั้นมักถูกเรียกว่า “คนที่มี IQ สูง” หลังจากนั้นเป็นต้นมา ก็มีงานวิจัย นอกจากนี้ยังมีการสืบค้นประวัติการเลี้ยงดูในวัยเด็ก แลการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงดู หรือสังเกตพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ในอนาคต

หลังจากนั้น คำว่า “EQ” จึงเกิดขึ้น และนักจิตวิทยาจะให้ความสำคัญของ EQ ใกล้เคียงกับ IQ แต่ในการศึกษาทางด้านจิตวิทยาแล้ว ยังมี Qs อื่น ๆ ที่เราไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดี เหมาะสมกับวัย และการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขเมื่อเติบโตขึ้น

ครู จา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

อะไร ……. สำคัญกว่า?

Posted by malinee on Sunday Jun 3, 2012 Under Uncategorized

หากคุณพ่อ คุณแม่สมัยใหม่นึกย้อนกลับไปดี ๆ เมื่อสมัยที่คุณยังเป็นเด็กอยู่นั้น จะพบว่าเด็กในสมัยก่อน กับสมัยนี้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งได้แก่ ขนาดของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ การเลือกโรงเรียน หรือแม้แต่การอบรมเลี้ยงดู

สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพียงต้องการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของวิถีชีวิตในแบบตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของคนไทย ทุกสิ่งทุกอย่างสะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อสื่อสารใช้เวลาสั้นลง จนเกิดเป็นความเคยชินจนลืมนึกถึงบางอย่างที่ไม่สามารถเร่งหรือย่นระยะเวลาได้ด้วยเทคโนโลยี  เช่น เราไม่สามารถเร่งให้เด็กเดินได้ตั้งแต่ 6 เดือนแรก ซึ่งการที่เด็กแต่ละคนจะสามารถเดินได้นั้น ก็ต้องเริ่มมีการพัฒนาเรื่องการทรงตัวจากการนั่ง และการคลานก่อน นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างทางด้านร่างกายก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน หากเด็กยังมีกระดูกหรือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง การเดินก็ถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อตัวเขาเช่นกัน

การยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ของเด็ก  ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน หรือเด็กหลาย ๆ คนอาจต้องการวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นไม่ได้แปลว่าเขามีปัญหาในการเรียนรู้ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ ครู อาจารย์ มักใช้ข้อสอบหรือแบบทดสอบในการวัดผลออกมาในรูปของคะแนน เนื่องจากเป็นผลที่ออกมาเป็นตัวเลขได้แน่นอน สิ่งต่าง ๆ ที่วัดออกมา บางคนอาจเรียกว่าความฉลาด ความเข้าใจ หรือความรู้ แต่โดยรวมเข้าใจได้ว่าคือ “IQ” นั่นเอง

นอกจาก IQ แล้ว งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นก็ยังสนับสนุนว่ายังมีความฉลาดด้านอื่น ๆ อีกที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็ก ซึ่งพอสรุปได้อีก 2 ประเด็นก็คือ EQ  , SQ

เราจะมาพูดถึงทีละประเด็น ซึ่ง Q ต่อมาคือ EQ หลาย ๆ คนทราบดีว่า EQ คือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ หลาย ๆ ครอบครัวที่ปล่อยปละละเลยกับการส่งเสริมการมี EQ ของเด็ก มักทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่รู้จักการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ การส่งเสริมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เกมส์ต่าง ๆ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ ให้รู้จักแพ้ชนะ (เกมส์ที่แนะนำควรเล่นกันในครอบครัว เช่น เกมส์เศรษฐี บันไดงู) ในช่วงแรกของการเล่น เด็กจะไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อสร้างสถานการณ์ขึ้นบ่อย ๆ แล้วมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการที่มีผู้ใหญ่ที่คอยชี้แนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม  การที่เด็กถูกปล่อยให้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ IPad โดยเล่นอยู่คนเดียว จึงมีโอกาสที่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างง่ายดาย

Q ต่อมาคือ SQ (Spiritual intelligence) ความหมายของ SQ ไม่มีบทเฉพาะตัว แต่พอจะกล่าวกว้าง ๆ ได้ว่าคือความฉลาดในความอดทน การประเมินตนเอง การรู้คุณค่าของตนเอง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าความรู้หลายเท่ามาก หากเด็กคนใดที่มีการฝึกในเรื่องของ AQ, SQ, MQ มาเป็นอย่างดี ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขทั้งในหน้าที่การงานและชีวิต เนื่องจากเขาสามารถเปลี่ยนทัศนคติในเชิงลบให้เป็นบวกได้ หรือปล่อยวางสิ่งที่ตนเองไม่สามารถแก้ไขได้ คนที่มี SQ ที่ดีมักเป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี (ซึ่งไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงิน แต่เป็นความรักความอบอุ่น)นั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

IQ หรือ I kill

Posted by malinee on Monday Sep 5, 2011 Under Uncategorized, ทฤษฎีลูกคิด

อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่า ณ ปัจจุบันนี้ในบ้านเรามีแนวการศึกษาให้เลือกในแบบต่าง ๆ มากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ยังไม่เห็นความโดดเด่นในเรื่องของวิชาการในเด็กรุ่นนี้มากนัก หากแต่สิ่งที่เราเห็นนั้นมันกับตรงกันข้าม บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินได้ฟังจากพ่อแม่ผู้ปกครองว่า ลูกเรียนแล้วไม่ได้อะไร ไม่มีความรับผิดชอบ ต้องคอยดูแลจนกระทั่งโต หรือได้ยินได้ฟังจากครูว่าเด็กรุ่นนี้ ไม่เอาใจใส่ต่อการเรียน ไม่มีความพยายาม หรือแม้กระทั่งบทความต่าง ๆ ที่เรามักจะได้อ่านพบว่าเด็กไทย ไอคิวต่ำลง ทั้งนี้ทั้งนั้นมันคงไม่ได้เป็นที่กลุ่มของเด็ก หรือวัยของเด็ก หากเกิดมาจากหลายปัจจัย ซึ่งพอจะประมวลได้ดังนี้
– กฏกระทรวงที่สร้างสรรค์ ให้โรงเรียนรับนโยบายที่ว่าไม่มีการตกซ้ำชั้น ซึ่งไม่ว่าเด็กคนนั้นจะไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ก็สามารถสอบขึ้นชั้นได้ โดยที่มีคะแนนเก็บ ซึ่งเป็นรายงาน คะแนนความประพฤติ แล้วนำมารวมกับคะแนนสอบ กลางภาค (ประมาณ 10%) กับคะแนนสอบปลายภาค (อีก 20%) ซึ่งรวมคะแนนสอบแล้วไม่สามารถบอกความสามารถ หรือความรู้พื้นฐานของเด็กได้ ซึ่งเมื่อเด็กเรียนในชั้นที่สูงขึ้นไป ความสามารถในการรับรู้ หรือในเรื่องของการอ่านยังไม่ได้ถูกฝึกให้พัฒนาขึ้น ทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถที่จะต่อยอดความรู้หรือเนื้อหาใหม่ให้เด็กได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ ปล่อยให้ครูผู้สอนระดับต่อไปรับเด็กต่อไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเมื่อเด็กไปโรงเรียนก็ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่ขวนขวายหาความรู้ เพราะติดขัด ไม่มีความสุข ไม่มีความภูมิใจในตัวเอง เด็กกลุ่มนี้ก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และรวมกลุ่มกันหาสิ่งที่ทำโดยที่ตัวเองมีความสุข ซึ่งถ้าสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขเป็นประโยชน์กับตัวเองก็ไม่น่าเป็นห่วงซักเท่าใด แต่ความสุขที่เด็กกลุ่มนี้พบมักเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา กว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะรู้เท่าทันทุกอย่างก็สายเสียแล้ว
– สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเป็นในส่วนของการบริหารระบบแล้ว ยังเกิดจากสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการคือ ความใกล้ชิด ดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งมักมีข้ออ้างหลักที่คนกลุ่มนี้ใช้คือ ไม่มีเวลา ต้องทำงาน แล้วให้จัดหาคน หรือ สิ่งของที่ดูแลลูกอย่างขาดวิจารณญาน ไม่ได้ไตร่ตรองถึงข้อเสียว่ามันคุ้มค่ากับสิ่งที่เรายอมเสียให้กับลูกหรือไม่ ผู้ใหญ่มักคิดว่าตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ มากมาย เห็นว่าเด็กยังไงก็ไม่ยอมรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง ซึ่งมีเพียงการเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ขาดความรู้เท่าทันไปว่า สิ่งที่ตนเองให้กับลูก (เกมส์ , iPad , iPhone หรือแม้กระทั่งทีวี) นั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กขาดวินัย และความรับผิดชอบ เห็นเพียงแต่ว่าเมื่อเด็กอยู่กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ทำให้เขาไม่เข้ามากวนใจ หรือต้องคอยหาอะไรให้ทำ เพราะเด็กจะอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้นานเป็นหลายชั่วโมง
สิ่งที่น่าเศร้าคือ เคยได้ยินว่าจะมีนโยบายจากกระทรวงให้เด็กชั้นประถม 1 (ซึ่งยังจับดินสอไม่ถนัด เขียนหนังสือยังไม่ได้ ต้องหัดลากตามรอยเส้นประ) ใช้ tablet เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงเทคโนโลยี คาดว่านโยบายนี้จะเป็นนโยบายเพิ่ม I kill เด็กไทย ไม่ใช่ IQ ซะแล้ว

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

               ปัจจุบันการเรียนการสอนคณิตศาสตร์บ้านเราเมื่อเทียบกับประเทศไต้หวัน หรือ สิงคโปร์ เราจะพบว่าความเข้มข้นของเนื้อหาในการเรียนในช่วงประถมต้นนั้นค่อนข้างเบา ซึ่งมีแนวคิดหรือทัศนคติจากหลายฝากฝั่ง บ้างก็ว่าเด็กควรจะมีอิสระในความเป็นเด็ก นั่นคือปล่อยให้เขาได้เล่นในวัยของเขา  บ้างก็ว่าเด็กควรจะมีการเรียนผ่านการเล่น (ซึ่งมีโรงเรียนในแนวของการเรียนผ่านการเล่นมากมาย แต่ก็มีปัญหาบ้างว่าโรงเรียนเหล่านั้นส่วนใหญ่เปิดสอนเพียงระดับชั้นประถมเท่านั้น แล้วเด็กที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบดังกล่าวอาจต้องมีการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่เมื่อเข้าสู่มัธยม) ซึ่งในแนวคิดแต่ละแนวไม่มีแนวใดผิดแนวใดถูก แต่สิ่งที่สำคัญคือ ในช่วง 10 ปีแรกเป็นวัยทองของเด็กในการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีวิธีการสอนที่ดีควบคู่กันไปด้วย ตามแนวการเรียนการสอนของทางสิงคโปร์ เนื้อหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จะค่อนข้างเข้มข้นตั้งแต่ประถมต้น หรืออาจเรียกได้ว่ามีความสม่ำเสมอจนกระทั่งเข้าสู่วัยมัธยม ส่วนในบ้านเราการวางแนวทางการสอนคณิตศาสตร์นั้น เพื่อให้เด็กส่วนใหญ่ (ซึ่งค่าเฉลี่ย IQ ต่ำกว่ามาตรฐาน) ได้มีความเข้าใจในเนื้อหา จึงทำให้เด็กส่วนใหญ่จะทำคะแนนได้ดีเมื่ออยู่ในประถมต้น แต่เมื่อเข้าสู่ประถมปลายจะมีเนื้อหาใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามามากมาย ทำให้คะแนนในตอนประถมปลายของเด็กแตกต่างจากตอนประถมต้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งถ้าเราไม่ได้มีการเสริมการเรียนรู้ในแนวอื่น ๆ จะทำให้เด็กถูกจำกัดความสามารถ แต่เมื่อถึงประถมปลาย เนื่องจากต้องเร่งเนื้อหาให้ทันกับการเรียนในชั้นมัธยมต่อไป ทำให้เด็กถูกเร่งให้รับข้อมูล หรือสิ่งต่าง ๆ ในเวลาที่น้อยลง จึงดูเหมือนกับว่าพัฒนาการทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กจะถดถอยลง

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments