เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

อึ้ง ! ครูคณิตสอบตก 60% ในวิชาที่ตัวเองสอน เผยคะแนนเด็กไทยเทียบนานาชาติ อยู่ในระดับแย่ ด้าน อดีต สวพ. ชี้ต้นเหตุมาจากนักการเมืองที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยล่มสลาย

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556 นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ อดีตประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ.) กล่าวถึงกรณีที่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะทำการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่า เป็นการรีบปรับเปลี่ยนเกินไป และไม่ได้ดูบริบทอื่น ๆ เลยว่า เขตพื้นที่การศึกษาจะมีปัญหาเรื่องการจัดการหรือไม่ และการผลิตครูมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด แต่กลับไปปรับหลักสูตรจากเดิม 8 สาระกลุ่มการเรียนรู้ ให้เหลือ 6 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนและวุ่นวาย ทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง

โดยเฉพาะตัวครูเองก็คงจะลำบากมากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรเดิมก็ยังสอนไม่ได้เลย อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีการทดสอบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์แล้วพบว่า ครู 60% สอบตกในวิชาที่ตัวเองเป็นคนสอน ดังนั้น หากมีหลักสูตรใหม่เกิดขึ้น เชื่อว่าก็จะต้องมีการอบรมครูเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก เนื่องจากครูต้องทิ้งนักเรียนไว้ ทำให้ไม่มีเวลาสอนอย่างเต็มที่

นายชัยณรงค์ กล่าวอีกว่า ตนมองว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องปรับหลักสูตรใด ๆ และการระบุว่าการปรับหลักสูตรให้เหลือ 6 กลุ่มสาระ จะทำให้เด็กมีชั่วโมงเรียนที่น้อยลงนั้น เป็นเรื่องที่ไร้สาระ เนื่องจากวิชายังอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่แค่มาจัดหมวดหมู่และเปลี่ยนชื่อใหม่เท่านั้นเอง ส่วนกระบวนการคิดของคนปรับหลักสูตรก็ยังเป็นแบบวิทยาศาสตร์ ที่คิดถึงแต่ผลผลิต พอผลผลิตออกมาไม่ดีก็คิดแต่จะเปลี่ยน ซึ่งตนคิดว่าระบบนี้นำมาใช้กับระบบการศึกษาไม่ได้

นอกจากนี้ นายชัยณรงค์ กล่าวถึงผลการสอบโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ว่า การประเมินดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเด็กไทยมีคุณภาพการศึกษาที่ล้มเหลว โดยคะแนนของเด็กนั้นได้มาจากการท่องจำเพียงอย่างเดียว ทั้ง ๆ ที่ PISA มีคะแนนในหลายด้าน อาทิ การคิดวิเคราะห์ การสร้างสรรค์จินตนาการ และการนำไปใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์จากคะแนนนานาชาติ จะเห็นได้ว่า คุณภาพของเด็กไทยลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับ 30 ปี ที่แล้วที่เด็กไทยมีคะแนนอยู่ในระดับดี แต่หลังจากนั้นคะแนนก็ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ในระดับที่แย่ ส่วนสาเหตุเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน ศธ. และนักการเมืองทั้งหลายที่เข้ามาแย่งงบประมาณหลายแสนล้าน อีกทั้งใช้บุคลากร ศธ. มาเป็นฐานเสียงให้กับพรรคของตัวเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของระบบการศึกษาไทย

ที่มา : http://education.kapook.com/view74467.html

Tags : , , , , , , , , | add comments

math_clipart            การเรียนจินตคณิตโดยใช้ลูกคิดเป็นสื่อนั้น ถ้าเด็กสามารถใช้จินตนาการได้ ก็ถือเป็นประโยชน์สูงสุดที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของการเรียน ซึ่งในการเรียนในช่วงของการบวก ลบเราจะมีการแทรกการดีดต่อเนื่อง (การบวกซ้ำ ๆ) เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในเรื่องของการคูณ เป็นการเตรียมน้องให้พร้อมกับการเรียนลูกคิดในระดับที่สูงขึ้น เมื่อเด็กได้เข้าใจเรื่องการบวกต่อเนื่อง ก็สามารถต่อยอดไปถึงการคูณ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เด็ก(เล็ก) ยังไปไม่ถึงบทเรียนในโรงเรียน ในขณะที่ทำให้เด็ก(โต) มีความเข้าใจภาพของการคูณที่ชัดขึ้น เมื่อเด็ก ๆ ดีดต่อเนื่อง (ทั้งบวกเพิ่ม = การคูณ หรือ การดีดแบบลด = การหาร) จนเกิดความเคยชิน ก็เสมือนการท่องสูตรคูณ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้สูตรคูณในการดีด หรือการจิน ก็จะไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กที่ยังไม่เรียนการคูณ การหารในโรงเรียน ได้อย่างสบาย

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

a_happy_little_girl_learning_to_count                        ผู้ปกครองหลาย ๆ คนมีข้อสงสัยว่าการเรียนลูกคิดทำไมจึงมี 2 หลักสูตร หากเรียนยุวคณิตแล้ว ยังต้องเรียนจินตคณิตอีกหรือไม่

ขออธิบายพอสังเขปต่อไปนี้ ยุวคณิตเป็นการเรียนลูกคิดสำหรับเด็กเล็ก (อนุบาลจนถึงประถม 1) ซึ่งเป็นการเรียนแบบค่อย เป็น ค่อยไป เพื่อไม่ให้เด็กที่มีกล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรง เครียดจนเกินไปกับการดีดลูกคิด และการเขียนคำตอบในเวลาไล่เลี่ยกัน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความมั่นใจเรื่องจำนวน ค่าประจำหลัก ให้กับเด็กเล็กเมื่อเรียนคณิตศาสตร์ต่อไป เมื่อผ่านการหลักสูตรยุวคณิตแล้ว ก็จะเข้าสู่หลักสูตรจินตคณิต ซึ่งเหมาะกับเด็กในวัยประถม ซึ่งมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือที่ดีและเรื่องจำนวนที่ดีพอ จะนำเขาเข้าสู่การจินตนาการในเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์นอกจากนี้ยังต้องมีการจับเวลาร่วมด้วยเพื่อกระตุ้นเด็กที่ต้องการการกระตุ้น แต่หากเป็นเด็กที่โดยธรรมชาติเป็นเด็กใจร้อน ทางสถาบันจะไม่กระตุ้นด้วยการจับเวลา เนื่องจากจะเป็นการบ่มเพาะนิสัยที่ทำงานพอให้เสร็จไป โดยไม่มีความรอบคอบ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับธรรมชาติของเด็กแต่ละคนว่าจะต้องการการกระตุ้นแบบใด

Tags : , , , , , , , | add comments

20130920_161033 20130920_160604 20130920_145726 20130920_145701 20130920_143940

Tags : , , , , , , | add comments