จากประวัติศาสตร์ที่เราคุ้นเคย เรามักพบว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนที่ประสบความสำเร็จ หรือเป็นผู้ที่คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ นั้นมักได้รับการชื่นชมว่า บุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่คิดนอกกรอบ ซึ่งหากเราสืบค้นกันจริงจังแล้ว บุคคลทั้งหลายที่ประสบความสำเร็จโดยการคิดนอกกรอบเหล่านั้น ต้องตรากตรำ ค้นคว้า หาข้อมูล จนกระทั่งทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยการเปลี่ยนสมมติฐานจากสิ่งที่คิดเดิมแตกแขนงออกไปเรื่อย ๆ กว่าจะได้บทสรุป หรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานก็ต้องใช้เวลาในการศึกษา ค้นคว้ากันเป็นเวลานาน

หลาย ๆ คนจึงคิดว่า การเลี้ยงดูเด็ก ไม่ควรจำกัดกรอบ หรือวิธีคิด หรือการคิดที่ตรงกันข้ามกับความคิดในสมัยเก่า ซึ่งหากพ่อแม่ผู้ปกครองมีการศึกษาอย่างจริงจัง ก็น่าจะทำให้เด็กในรุ่นใหม่ ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ หรือมีวิธีคิดที่น่าชื่นชม แต่ในความเป็นจริง หากใครได้สัมผัสกับวิวัฒนาการของเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เรามักเห็นผลในทางตรงกันข้าม นั่นคือ เด็กรุ่นใหม่ไม่มีความกระตือรือร้น ซึ่งนั่นหมายถึงความไม่พยายามที่จะทำอะไรให้สำเร็จด้วยความสามารถของตนเอง  ไม่อยากเรียนรู้ ไม่อยากทดลองที่มีความสลับซับซ้อน ต้องการสิ่งที่ได้มาง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ความสามารถ หรือความพยายามใด ๆ  ………… น่าคิดว่า ทำไมเด็กส่วนใหญ่จึงมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน

นักวิชาการหลาย ๆ คนกล่าวว่า การคิดนอกกรอบนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของการอ่านมาก ฟังมาก และรู้มาก  ซึ่งกว่าจะรู้มากก็ต้องฝึกให้ทักษะต่าง ๆ ทั้งการอ่านมาก คิดมาก ฟังให้มาก นั้นจะต้องผ่านกรอบของการฝึกฝนก่อน กระบวนการในการคิดนอกกรอบจึงจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดที่คิดจากมุมที่ต่างไปจากเดิม (นั่นคือเราต้องมีความคิดเดิมของเราอยู่) , การคิดให้มีความหลายหลาย เหมือนการคิดแบบหมวก 6 ใบ (ซึ่งก็ต้องศึกษาก่อนและฝึกคิดเมื่อใส่หมวกแต่ละใบว่ามีแนวคิดอย่างไร) หรือประเด็นสุดท้ายคือคิดตรงข้ามกับความคิดเดิม (ยังไงก็ยังคงต้องมิความคิดเดิมอยู่ก่อน)

จะเห็นได้ว่า การคิดนอกกรอบนั้น เราสามารถที่จะฝึกให้เด็กคิดได้ ด้วยการที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมีการศึกษาข้อมูล อย่างถ่องแท้ หากไม่ได้ศึกษาข้อมูลหรือวิธีการอย่างจริงจัง อาจตกหลุมพรางของคำว่า “นอกกรอบ” กลายเป็น “การไร้วินัย”  ซึ่งมีหลายครอบครัวไม่สามารถแยกคำทั้งสองออกจากันได้

ครู จา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

                        สืบเนื่องมาจากในทุก ๆ ช่วงปิดเทอมจะมีเด็ก ๆ ที่ผู้ปกครองต้องการพาบุตรหลานของตนหาคอร์สเรียนเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จินตคณิตก็เป็นอีกหลักสูตรหนึ่งที่ผู้ปกครองมักเลือกให้ลูกหลานของตนเองเรียน แต่เด็กหลาย ๆ คนไปไม่ถึงฝั่งที่ทั้งผู้ปกครองและครูผู้สอนตั้งใจไว้ สาเหตุอาจเกิดจาก

–          หลักสูตรจินตคณิต เป็นหลักสูตรที่จะต้องฝ่าด่านของการฝึกฝน (การใช้ลูกคิด) โดยการเลือกใช้คู่ (ซี่ใหญ่ กับ ซี้เล็ก) ต้องให้มีความถูกต้อง หากเลือกใช้คู่ผิด นั่นหมายความว่ากระบวนการคิดในข้อดังกล่าวก็ผิดตามไปด้วย ไม่ใช่ว่าในการคิดเลขแต่ละครั้งจะสามารถใช้สูตรจากลูกคิดได้หลายสูตร แต่เด็กหลาย ๆ คนที่ไม่มีความรอบคอบ ใจร้อน หรือไม่มีสมาธิเพียงพอ การเลือกใช้สูตรก็ผิดพลาดได้ การฝึกฝนให้เกิดทักษะที่คล่องแคล่วแม่นยำ ก็ต้องใช้เวลาบ้าง

–          ความคาดหวังของผู้ปกครอง แน่นอนเมื่อส่งให้บุตรหลานเรียนอะไร ย่อมต้องคาดหวังที่จะเห็นผลสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว  ปัจจุบันนี้สินค้าและบริการหลาย ๆ ชิ้น มักเน้นชูการตลาดเรื่องความเร็ว ซึ่ง

เป็นสินค้าที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแล้ว แต่การเรียนจินตคณิตเป็นการเรียนที่ผู้เรียนจะต้องพัฒนาตนเอง

–          ผู้รับ (ผู้เรียน) และผู้ส่ง (ครูผู้สอน) เป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุดในการเรียน   นั่นคือหากผู้เรียนมีความเอาใจใส่ก็ทำให้มีความก้าวหน้าในการเรียน หรือในทางกลับกัน หากผู้เรียนไม่เปิดเครื่องรับสัญญาณ การเรียนก็จะไม่ก้าวหน้า หรือถดทอยลง ในแง่ของผู้ส่ง (ครูผู้สอน) ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีผลทางด้านความรู้สึกของผู้เรียนมากกว่าด้านอื่น เนื่องจากครูผู้สอนต้องได้รับการอบรมด้านการสอน มาแล้วทุกคน

สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้หมายความว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนจินตคณิต เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จของเด็กแต่ละคน จะต้องประกอบด้วยผ่ายต่าง ๆ 3 ฝ่ายดังกล่าวเสมอ  หากพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องการเห็นลูกหลานประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ก็ต้องแลกกับความทุ่มเท เอาใจใส่ในตัวเค้าเหล่านั้นตั้งแต่ยังเล็กนั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

                        หากเราสังเกตกันดี ๆ จะพบว่าทุกวันนี้ ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำอะไร หรือตัดสินใจอะไรได้เร็วขึ้น ไม่ว่าเราจะหันไปทางไหน ผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างเพศ ต่างวัยกัน จะพบว่าจะต้องมีสิ่งหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้ว นั่นคือโทรศัพท์มือถือ แต่บางครอบครัวมีมากกว่านั้น นอกจากมือถือแล้วยังมี iPad หรือ tablet  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในเรื่องการหาข้อมูล การติดต่อสื่อสารถึงกัน ใน Social network นั่นเอง

เมื่อพิจารณากันดี ๆ แล้ว เราจะพบว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยนั้น เป็นดาบสองคม นั่นคือ หากผู้ใช้มีวุฒิภาวะ เขาก็จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ในทางกลับกันหากผู้ใช้ไม่มีวุฒิภาวะ ก็เป็นดาบที่หันกลับมาทำร้ายตนเองได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างที่เราเห็นกันจนชินตา หรือได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่มีความอดทนเลย  ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่รู้จักการรอคอย  ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่มีความพยายาม   คำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักออกมาจากปากพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเค้าเหล่านั้น หากเรามามองย้อนกลับไปดี ๆ เราจะพบสาเหตุที่เป็นสาเหตุหลักเพียงอย่างเดียว นั่นคือวิธีการเลี้ยงดูเขาเหล่านั้นแทบทั้งสิ้น

ทำไมการเลี้ยงดูของคนสมัยใหม่จึงเป็นสาเหตุหลักของปัญหา  หลาย ๆ ครอบครัวที่เราพบเห็นตามห้างสรรพสินค้า เรามักพบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำงานในวันทำงาน เมื่อมีเวลาวันหยุดก็จะพาลูกไปตามโรงเรียนกวดวิชาเพื่อหวังให้เขาเหล่านั้นมีผลการเรียนดี มีอนาคตที่ดี ส่วนตนเองก็อยู่กับโทรศัพท์มือถือ ท่สามารถติดต่อสื่อสารผ่าน network ที่ทันสมัย ทำให้ตนเองมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใน Social network ที่สร้าง(ภาพให้ดูดี)ขึ้นมา ตลอดเวลา หลังจากเลิกเรียนกลับบ้าน ก็ส่งเกมส์ให้ลูกเล่น เพื่อเป็นการผ่อนคลายหลังเลิกเรียนอย่างเคร่งเครียดมาตลอดวัน และลูกยังสามารถอยู่ในกลุ่มเพื่อนได้อย่างไม่อายใคร เพราะเราก็มี iPad เล่นเกมส์โน้นนี้เหมือนกัน

จากความคิด หรือทัศนคติของผู้ปกครองส่วนใหญ่ดังกล่าว มันเป็นการติดกับเทคโนโลยี แทนที่เราจะใช้มันให้เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่ได้รับกลับเป็นภัยมหันต์ ทั้งกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งมีการสนทนากัน พูดคุยถึงปัญหา แบ่งปันความเข้าใจซึ่งกันและกัน ที่น้อยลงเรื่อย ๆ และยังเป็นการบ่อนทำลายทั้งสมาธิ ความสามารถในการเรียนรู้ และบั่นทอนเวลาการฝึกทักษะต่าง ๆ ให้สั้นลงอีก ทำให้ช่วงเวลาที่เขาควรเก็บเกี่ยวประสบการณ์ (จากพ่อแม่จากการพูดคุย) และทักษะการดำเนินชีวิต (ทักษะในการใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เพื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เรียนรู้กฎ กติกา มารยาทต่าง ๆ)

หากเลือกได้ระหว่าง 2 โปรโมชั่นคุณจะเลือกอะไร ระหว่าง 1. new iPad + ลูก(ติดเกมส์ ไม่เอาใจใส่ในการเรียน หรือเด็กพิเศษ)

หรือ 2. ครอบครัวที่ไม่มี iPhone  หรือ iPad + ความเป็นครอบครัวที่มีความสุข โดยมีลูกที่ไม่มีคำว่า เด็กพิเศษติดตามตัวตลอดเวลา

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments