เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีบุตรน้อย เมื่อบุตรหลานเข้าสู่วัยเรียน ก็เฟ้นหาโรงเรียนที่คิดว่าดีที่สุดให้กับเขา แต่หลายๆ ครอบครัวก็หลงลืมไปว่าช่วงก่อนวัยเรียน เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดที่จะพ่อแม่จะสามารถสร้างนิสัยให้กับบุตรหลานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการสร้างนิสัยในเรื่องของความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ การสังเกต การรู้จักกฎระเบียบ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ให้กับบุตรหลาน  รวมถึงกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญของพัฒนาการในวัยเตาะแตะ (Toddlers) ร่วมกับสมาธิ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานเมื่อก้าวเข้าสู่วัยเรียน

การเสริมสร้างลักษณะนิสัยต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากปัจจุบันด้วยสภาพสังคมในยุคดิจิตอลที่สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้เวลาที่ควรเป็นของครอบครัวถูกเบียดบังด้วยสื่อต่างๆ มากมาย หลายๆ ครอบครัวถูกครอบงำด้วยเทคโนโลยี และติดกับไปกับสีสัน สังคมในหน้าจอ เข้าใจผิดคิดว่า การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นตัวช่วยในการพัฒนาบุตรหลาน ทำให้การทำกิจกรรมที่เสริมสร้างพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ หรือเพียงแค่การตบมือ การเล่นจ๊ะเอ๋นั้น เป็นการสร้างการเชื่อมโยงของปลายประสาทของสมองที่กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดดผ่านกิจกรรมทางด้านร่างกายผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในช่วง 7 ขวบปีแรก ถดถอยลง เมื่อเด็กไม่มีการใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ นอกจากตาและนิ้วเพียงนิ้วเดียว

เมื่อถึงวัยเรียนกล้ามเนื้อมือที่ควรจะแข็งแรงและพร้อมจะขีดเขียน ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน กลายเป็นเด็กรู้สึกว่าการเรียนไม่ใช่เรื่องที่เขาอยากทำ สิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือสมาธิที่ไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะเลือกโรงเรียนหรือครูที่ดีเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ได้ เปรียบเหมือนกับน้ำที่เต็มแก้ว ไม่สามารถรับน้ำได้เพิ่มอีกแล้ว ไม่ว่าจะรินน้ำดี หรือสะอาดเพียงใด ก็ไม่สามารถรับเข้าไปได้เพิ่มอีกแล้ว ในเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ที่รู้ว่าสิ่งใดดีกับการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับบุตรหลาน ควรเลือกเติมเต็มสิ่งที่ดีให้กับบุตรหลาน เพื่อให้เขาได้เติบโตและเรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

#สูตรคูณมีไว้ให้ท่องจำ
#ดีดต่อเนื่องมีไว้ให้ท่องคู่
#มันก้อจะดูนิ่งๆนิดนึงเวลาที่ลิงโดนจับเวลา…5555
#เด็กคิดสแควร์คิดเลขเก่งนะ..

  

 

 

 

 

ฃ  

Tags : , , | add comments

ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายๆ คนน่าจะได้รบฟงข่าวสารหลายๆ เรื่อง ทั้งเรื่องปฏิญญามหาสารคาม ครูวิภา หรือแม้กระทั่งเสียอ้วน

ในรายละเอียดของแต่ละข่าวนั้น คงได้เป็นที่รับทราบกันตามช่องทางของการข่าวมาบ้างแล้ว เราลองมานั่งวิเคราะห์กันว่า เหตุกาณ์ต่างๆ เหล่านี้ มันบ่งบอกถึงสภาพสังคมที่จิตใจคนในสังคมเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ สาเหตุต่างๆ เกดจากอะไร การที่คณะครู(ที่เคยถูกเรียกว่าเป็นแม่พิมพ์แห่งชาติ เพื่อเป็นต้นแบบแห่งการดำเนินชีวิตให้กับลูกศิษย์) ที่มีการกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างๆ กับพร้อมใจกันปฏิเสธการชำระหนี้ให้กับสถาบันทางการเงิน  ส่วนครูวิภา ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่ล้ำค่ากับถูกลูกศิษย์ทรพี ที่ทรยศหักหลังโดยการไม่ชำระหนี้ กยศ ซึ่งเป็นกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยที่มีครูวิภาเป็นผู้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ โดยการใช้ตำแหน่งข้าราชการในการเซ็นค้ำประกัน และในข่าวสุดท้าย เสี่ยอ้วนที่จ้างมือปืนยิงสาวดับที่วัด และทิ้งท้ายว่า อย่าคิดมีเรื่องกับเสี่ย เพราะตำรวจซื้อได้

ความเสื่อมที่เกิดขึ้นนี้ สาเหตุเดียวที่ชี้แจงได้คือ ความไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ปฏิญญามหาสารคาม เกิดจากกลุ่มคนที่มีเพียงแค่อาชีพของการสอน ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นครู เป็นลูกหนี้ แต่ไม่รับผิดชอบกับหนี้ที่ตนเองก่อขึ้น  ลูกศิษย์เนรคุณก็เป็นบทบาทเดียวกับกลุ่มคนปฏิญญามหาสารคาม แต่ทรพีมากกว่าตรงที่เอาความไว้เนื้อเชื่อใจ และความปรารถนาดีของครูมาเป็นหอกทิ่ทิ่มแทงครู โดยที่ครูไม่รู้ตัว หน่วยงาน กยศ หน้าที่คือการตามลูกหนี้ที่เป็นหนี้หน่วยงาน โดยการตามสืบค้นจากประกันสังคม หรือสรรพากร กลับโยนหนี้ทั้งหมดไปให้กับผู้ค้ำประกัน โดยปล่อยลูกหนี้ให้ลอยนวลเป็นสิบปี หากเรื่องนี้ครูวิภาไม่หมดตัว กยศ คงมีหน้าที่เพียงตามผู้คำประกันให้มาใช้หนี้ที่ตนเองไม่ได้ก่อขึ้น ในรายของเสี่ยอ้วน หากความผิดมากมายที่เสี่ยอ้วนเคยก่อแล้วหลุดคดีได้ เราคงหันหน้าไปพึ่งใครไม่ได้อีก เพราะตำรวจยังซื้อได้ นั่นแปลว่าต่อให้คุณจะกระทำความผิดสักเท่าไร ถ้าคุณมีเงิน คุณก็ไม่จำเป็นต้องถูกดำเนินคดีใดๆ

ไม่มีอะไรที่เจ็บปวดไปกว่าการที่ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน มารังแกประชาชนที่ไร้ทางสู้ เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอยู่เนือง   ๆ และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่ขาดศีลธรรม….

Tags : | add comments