หนูเหนื่อยจัง

Posted by malinee on Sunday Mar 23, 2014 Under เกร็ดความรู้

ช่วงนี้เป็นช่วงของการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนในแนวสาธิตฯ ของทุก ๆ มหาวิทยาลัย เป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มผู้ปกครองว่า ในการสอบคัดเลือกนั้นมีการแข่งขันกันสูงมาก เช่น การสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีอัตราส่วนการแข่งขันสูงถึง 1 : 50 – 1 : 60 เป็นต้น ด้วยอัตราการแข่งขันดังกล่าว จึงทำให้ผู้ปกครองที่มีความต้องการให้บุตรหลาน เรียนในโรงเรียนดังกล่าว จะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อให้เด็กพร้อม โดยการพาเด็ก ๆ ไปติวสอบสาธิต ซึ่งจะมีทั้งการใช้เกมส์และแบบฝึกหัดมากมาย เพื่อฝึกให้เด็กผ่านการทำข้อสอบข้อเขียนในแบบเชาวน์ มีการฝึกให้เด็กทำตามคำสั่งต่าง ๆ เช่นการใช้ปากกาแดงในการทำข้อสอบ การจัดวางรองเท้าหน้าห้องให้เป็นระเบียบ ซึ่งความพร้อมต่าง ๆ เหล่านี้มีผลต่อการตัดสินเด็กเพื่อเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษา ในช่วงของการเตรียมตัวดังกล่าว หลาย ๆ ครอบครัวเลือกการส่งบุตรหลานไปเรียนแนวติวเข้าสาธิต ซึ่งจะต้องมีช่วงของการเรียนแบบเข้ม ใน อาทิตย์หรือ 2 อาทิตย์ก่อนการสอบ ซึ่งเป็นข่วงเวลาที่เด็กบางคน อาจมีความรู้สึกว่า ได้รับความกดดัน จนอาจเกิดความเครียดได้ นอกจากโรงเรียนในแนวสาธิต แล้ว ยังมีโรงเรียนในแนวกระแส ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองนิยมพาลูกเข้าแข่งขัน นั่นได้แก่ โรงเรียนในแนวเซนต์ต่าง ๆ หรือโรงเรียนคริสต์ อีกหลายแห่ง ซึ่งโรงเรียนในแนวนี้จะมีแนวการเรียนการสอนที่แตกต่างจากโรงเรียนในแนวสาธิตโดยสิ้นเชิง นั่นคือ โรงเรียนในแนวนี้ จะมีแนวการเรียนการสอนแบบเร่งเรียน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองมักให้เด็กสอบทั้ง 2 แบบ เนื่องจากช่วงเวลาการสอบที่แตกต่างกัน แนวการเรียนการสอนที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนี้ มักมีผลกระทบกับเด็ก ๆ ซึ่งเด็กที่เรียนในแนวสาธิต พ่อแม่ผู้ปกครองมักมีความคิดว่า การเรียนการสอนในแนวสาธิต จะไม่ทันกับการเรียนการสอนของโรงเรียนในแบบเร่งเรียน จึงต้องพาบุตรหลานไปเรียนในแนววิชาการเพิ่มเติม ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ แต่ไม่ใช่ว่าเด็กที่เรียนในแนวโรงเรียนแบบเร่งเรียนจะไม่ได้รับผลกระทบ หากเด็กเริ่มวัยอนุบาลของเขาในแนวบูรณาการ เขาจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากในการเข้าเรียนในโรงเรียนแบบเร่งเรียน หากเรียนไม่ทันเพื่อน พ่อแม่ก็ต้องส่งเรียนพิเศษเพื่อให้เขาเรียนทันเพื่อนเช่นกัน

Tags : , , , , , , , , | add comments

imagesVWYOS1TR            จิตวิทยาในการเลี้ยงดูเด็กเล็กโดยทั่วไป มักแนะนำการเลี้ยงดูพ่อแม่ ผู้ปกครองมือใหม่ว่า ในการเลี้ยงดูบุตรหลานนั้น จะต้องมีการแยกแยะให้ชัดเจน ถึงการทำผิดของเด็ก ควรจะได้รับการลงโทษ (อาจเป็นการแยกตัวเด็กออกจากมุมของเล่นมุมโปรด หรือการงดเวลาสนุกของเด็ก ๆ เช่นการดูการ์ตูน เป็นต้น) กับการให้รางวัลกับเด็กเมื่อเขาทำดี

หลาย ๆ ครอบครัว อาจคิดว่าการให้รางวัลเด็ก เป็นการให้ของขวัญหรือของรางวัลทุกครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การให้รางวัลเช่นการให้คำชม ให้สติ๊กเกอร์ หรือการติดดาวในสมุดสะสมดาวที่ตั้งเป็นกติกาไว้ว่าถ้าสะสมครบแล้วสามารถแลกของรางวัลที่เขาต้องการได้ ทำให้เด็ก ๆ ใจจดจ่อกับการสะสมความดี ด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเจตนาของนักจิตวิทยา บางครั้งอาจเป็นการสร้างนิสัย หรือเป็นการสร้างกฎกติกาโดยไม่รู้ตัวว่า เมื่อเด็ก ๆ ทำความดี หรือทำในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการจะต้องได้รับของรางวัลเสมอ ในทางกลับกันหากเขาไม่ได้รับรางวัลในสิ่งที่ตนเองต้องการ จะกลับกลายเป็นการสร้างข้อแม้ทุกครั้ง ในการทำงานใด ๆ เมื่อเขาโตขึ้น เช่น ถ้าหนูไปเรียนวิชานี้ พ่อจะซื้อตุ๊กตาให้ ซึ่งเด็กก็อาจยอม และมีความกระตือรือร้นในครั้งแรก แต่พอครั้งต่อ ๆ ไป ที่คุณพ่อคุณแม่ ไม่มีของรางวัลให้ ความกระตือรือร้นของเด็กก็จะหมดไปด้วย ทำให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้เสียเงินทองในการส่งบุตรหลานเรียนไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการทำอะไรเลย เมื่อโตขึ้น

ดังนั้น ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน จึงต้องมีการระมัดระวังในเรื่องของการให้รางวัล จะต้องใช้รางวัลกับสิ่งที่เด็ก ๆ ต้องใช้ความมานะ พยายามมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อเพิ่มคุณค่าของของรางวัล และคุณค่าของตัวเด็กเอง เพราะนอกจากรางวัลที่เขาจะได้รับแล้ว ยังได้รับการชื่นชมจากพ่อแม่ ผู้ปกครองซึ่งเป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ และมีผลทางจิตใจและความรู้สึกกับตัวเด็กมากกว่าของรางวัลที่หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป

ครูจา

Tags : , , , , , | add comments