คอร์สปิดเทอม ตุลา’54
Posted by malinee on Friday Sep 23, 2011 Under Uncategorizedในช่วงปิดภาคเรียนนี้ ทางสถาบันได้จัดคอร์สปิดเทอม ให้แก่บุตรหลานของท่าน ตั้งแต่ วันที่ 3 ต.ค. – 28 ต.ค. 54 หากท่านใดสนใจติดต่อสอบถามได้กับทางสถาบัน
ในช่วงปิดภาคเรียนนี้ ทางสถาบันได้จัดคอร์สปิดเทอม ให้แก่บุตรหลานของท่าน ตั้งแต่ วันที่ 3 ต.ค. – 28 ต.ค. 54 หากท่านใดสนใจติดต่อสอบถามได้กับทางสถาบัน
ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศตึงเครียด จะมีเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้นที่ไม่ต้องกังวล แต่สังคมโดยรวม หรือประชากรส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ กับความฝืดเคือง ภาวะเงินเฟ้อ ข้าวยากหมากแพง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะที่จะต้องดิ้นรนเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งอาจทำได้โดยการทุ่มเทกับงานให้มากขึ้น เพื่อโอกาสก้าวหน้าทางด้านการงาน ทำงานพิเศษ นอกเวลา ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวส่งผล 2 ด้าน นั่นคือ การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และ ผลทางด้านครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่เป็นครอบครัวเดี่ยว เนื่องจาก เมื่อพ่อแม่ให้ความสำคัญกับหน้าที่การงานมาก ก็จะทำให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูลูกน้อยลง เป็นสาเหตุของปัญหาสังคม จริยธรรม ที่เราได้ยินได้ฟังจนกลายเป็นความเคยชิน จนไม่มีใครมีสำนึกที่จะช่วยแก้ปัญหา
ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมเมื่อสืบสาวกันลึก ๆ มักเกิดจากปัญหาพื้นฐานทางครอบครัวเป็นหลัก ความรุนแรงของปัญหานั้น ๆ ขึ้นอยู่กับว่า คนที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองนั้นตระหนักหรือรับทราบถึงปัญหาหรือไม่ มีสำนึกถึงหน้าที่ของความเป็นบุพการีมากน้อยเพียงใด ภาพรวมของผู้เป็นพ่อแม่ปัจจุบัน นิยมผลักเด็กออกจากตัวเองโดยไม่รู้ตัว แล้วมีคำพูดที่เป็นข้อแก้ต่างตลอดเวลาว่า ไม่มีเวลา ต้องทำงาน ไม่แม้กระทั่งหาข้อมูล (ที่แสนจะง่ายดาย และสะดวกสบาย) เกี่ยวกับพฤติกรรมในแต่ละวัย บางครอบครัวไม่มีเวลาถึงขนาดไม่รู้ด้วยซ้ำว่าลูกหลานของตนมีพฤติกรรมอย่างไร มีการเรียนย่ำแย่ หรือดีแค่ไหน ปล่อยให้หน้าที่ดังกล่าวเป็นของทางโรงเรียน และโรงเรียนกวดวิชา ส่วนตนเองมีหน้าที่หาปัจจัยต่าง ๆ มาบำรุง บำเรอ ความสุข ความสะดวกสบาย หรือหน้าตาทางสังคม โดยไม่เหลียวแลหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัย การขัดเกลาจิตใจ จึงทำให้เด็กมีความเชื่อ และค่านิยมผิด ๆ โดยขาดการชื้ทางที่ถูกที่ดี
ครอบครัวที่มีพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น เมื่อดูภายนอกแล้ว เป็นครอบครัวที่มีความสุข สมบูรณ์ ก็เหมือนกับผลไม้ที่เน่าข้างใน โดยที่ผิวด้านนอกยังดูดีอยู่ เราจะไม่รู้เลยจนกว่าเราจะไปสัมผัส จับต้องมัน แล้วเจ้าหนอนตัวเล็ก ๆ ก็จะชอนไชออกมาพร้อมกลิ่นเหม็น เช่นเดียวกับปัญหาเล็ก ๆ ภายในครอบครัว หากเกิดในช่วงสั้น ๆ หากรู้แล้วสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ก็สามารถกำจัดหนอนน้อยเพียงไม่กี่ตัวไปได้จากเนื้อทั้งชิ้น แต่ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่รับรู้ และไม่พยายามที่จะหาสาเหตุของปัญหา ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อ ผูกจากปมหนึ่งไปอีกปมโดยไม่สิ้นสุด จนสุดท้ายปัญหาต่าง ๆ ไม่สามารถคลี่คลายได้ ก็ปล่อยไปตามยถากรรม เมื่อครอบครัวซึ่งถือเป็นฐานของบ้านเมือง หากฐานเองยังไม่มีความมั่นคงแข็งแรงแล้ว ไหนเลยจะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับตึกทั้งหลังได้เล่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวต่าง ๆ เหล่านี้จะเบาบางลงถ้า พ่อแม่ให้ความสำคํญกับหน้าที่ของความเป็นพ่อแม่อย่างแท้จริง มิฉะนั้นก็รอวันที่ประเทศชาติจะล้มลงด้วยมือของทุกคนที่ไม่สำนึกในหน้าที่ของตนเอง
จากบทความต่าง ๆ ที่ผ่านมา เราจะพบว่าครอบครัวนั้นมีส่วนสำคัญที่สุดกับเด็ก ทั้งในด้านการเรียน การเข้าสังคม ความมีระเบียบวินัย และ คุณธรรม จริยธรรมในตัวเด็ก ซึ่งจะเกิดการบ่มเพาะทีละเล็กละน้อยตั้งแต่เขาลืมตาวันแรก ครอบครัวจะเป็นกลไกหลักในการผลักดัน หรือ ขับเคลื่อน ให้เด็กแต่ละคนเติบโตไปในทิศทางใด ความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวเป็นแหล่งพลังงานที่คอยประคองให้เขาได้ก้าวไปเผชิญกับโลกภายนอกในภายภาคหน้า
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเด็กไม่ได้รับความรัก ความอบอุ่นในวัยที่เขาต้องการแล้ว เขาก็จะคอยไขว่ขว้าความรักจากคนที่ผ่านเข้ามา ซึ่งปัจจุบันนี้เรามักพบว่าทั้งพ่อและแม่ต่างพากันออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน ส่วนใหญ่แล้วออกจากบ้านก่อนหน้าลูกตื่น และกลับเข้าบ้านเพื่อพาตัวเองมาให้ถึงที่นอนเท่านั้น เด็กไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นการพูดคุย เล่าประสบการณ์ การกอด โดยที่พ่อแม่ไม่เคยรับรู้ถึงสิ่งที่ลูกต้องการ รู้เพียงสิ่งที่ตนเองต้องการโดยมีลูกเป็นข้ออ้างว่าทำเพื่อเขา สุดท้ายเด็กก็เกิดความเคยชิน จนกลายเป็นความชินชาต่อความรู้สึกต้องการ ไม่มีความกระตือรือร้น เก็บตัว ไม่เข้าสังคม เป็นคนไม่มีความพยายาม เมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไป เขาก็เรียนรู้ที่จะไปหาสิ่งที่คิดว่าตนเองต้องการ จึงทำให้ติดเพื่อน หรือเสียคนในที่สุด เปรียบไปก็เหมือนแม๊กมาที่อยู่ใต้ภูเขาไฟ รอจนกว่าพลังงานจะเพียงพอที่จะประทุระเบิดออกมา จนเกิดความเสียหายไปทั่วเป็นบริเวณกว้าง
ขอแสดงความยินดีกับครูและเด็ก ๆ ทุกคน ที่ได้รับรางวัล การแข่งขันคณิตคิดเร็วและภาษาอังกฤษชิงแชมป็ประเทศไทยครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2554 ณ ม.เอเชียอาคเนย์ ส่วนเด็กที่ไม่ได้รับรางวัล เราก็ยังได้ประสบการณ์ในการแข่งขัน ได้เรียนรู้ถึงการรู้จักแพ้ชนะ และได้แสดงออกถึงความสามารถที่แต่ละคนได้ฝึกฝนมา เป็นอย่างดี ขอให้เด็ก ๆ มีความมานะ พยายาม ในการฝึกฝนต่อไปนะจ๊ะ
อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่า ณ ปัจจุบันนี้ในบ้านเรามีแนวการศึกษาให้เลือกในแบบต่าง ๆ มากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ยังไม่เห็นความโดดเด่นในเรื่องของวิชาการในเด็กรุ่นนี้มากนัก หากแต่สิ่งที่เราเห็นนั้นมันกับตรงกันข้าม บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินได้ฟังจากพ่อแม่ผู้ปกครองว่า ลูกเรียนแล้วไม่ได้อะไร ไม่มีความรับผิดชอบ ต้องคอยดูแลจนกระทั่งโต หรือได้ยินได้ฟังจากครูว่าเด็กรุ่นนี้ ไม่เอาใจใส่ต่อการเรียน ไม่มีความพยายาม หรือแม้กระทั่งบทความต่าง ๆ ที่เรามักจะได้อ่านพบว่าเด็กไทย ไอคิวต่ำลง ทั้งนี้ทั้งนั้นมันคงไม่ได้เป็นที่กลุ่มของเด็ก หรือวัยของเด็ก หากเกิดมาจากหลายปัจจัย ซึ่งพอจะประมวลได้ดังนี้
– กฏกระทรวงที่สร้างสรรค์ ให้โรงเรียนรับนโยบายที่ว่าไม่มีการตกซ้ำชั้น ซึ่งไม่ว่าเด็กคนนั้นจะไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ก็สามารถสอบขึ้นชั้นได้ โดยที่มีคะแนนเก็บ ซึ่งเป็นรายงาน คะแนนความประพฤติ แล้วนำมารวมกับคะแนนสอบ กลางภาค (ประมาณ 10%) กับคะแนนสอบปลายภาค (อีก 20%) ซึ่งรวมคะแนนสอบแล้วไม่สามารถบอกความสามารถ หรือความรู้พื้นฐานของเด็กได้ ซึ่งเมื่อเด็กเรียนในชั้นที่สูงขึ้นไป ความสามารถในการรับรู้ หรือในเรื่องของการอ่านยังไม่ได้ถูกฝึกให้พัฒนาขึ้น ทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถที่จะต่อยอดความรู้หรือเนื้อหาใหม่ให้เด็กได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ ปล่อยให้ครูผู้สอนระดับต่อไปรับเด็กต่อไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเมื่อเด็กไปโรงเรียนก็ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่ขวนขวายหาความรู้ เพราะติดขัด ไม่มีความสุข ไม่มีความภูมิใจในตัวเอง เด็กกลุ่มนี้ก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และรวมกลุ่มกันหาสิ่งที่ทำโดยที่ตัวเองมีความสุข ซึ่งถ้าสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขเป็นประโยชน์กับตัวเองก็ไม่น่าเป็นห่วงซักเท่าใด แต่ความสุขที่เด็กกลุ่มนี้พบมักเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา กว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะรู้เท่าทันทุกอย่างก็สายเสียแล้ว
– สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว นอกจากจะเป็นในส่วนของการบริหารระบบแล้ว ยังเกิดจากสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการคือ ความใกล้ชิด ดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งมักมีข้ออ้างหลักที่คนกลุ่มนี้ใช้คือ ไม่มีเวลา ต้องทำงาน แล้วให้จัดหาคน หรือ สิ่งของที่ดูแลลูกอย่างขาดวิจารณญาน ไม่ได้ไตร่ตรองถึงข้อเสียว่ามันคุ้มค่ากับสิ่งที่เรายอมเสียให้กับลูกหรือไม่ ผู้ใหญ่มักคิดว่าตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ มากมาย เห็นว่าเด็กยังไงก็ไม่ยอมรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง ซึ่งมีเพียงการเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ขาดความรู้เท่าทันไปว่า สิ่งที่ตนเองให้กับลูก (เกมส์ , iPad , iPhone หรือแม้กระทั่งทีวี) นั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กขาดวินัย และความรับผิดชอบ เห็นเพียงแต่ว่าเมื่อเด็กอยู่กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ทำให้เขาไม่เข้ามากวนใจ หรือต้องคอยหาอะไรให้ทำ เพราะเด็กจะอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้นานเป็นหลายชั่วโมง
สิ่งที่น่าเศร้าคือ เคยได้ยินว่าจะมีนโยบายจากกระทรวงให้เด็กชั้นประถม 1 (ซึ่งยังจับดินสอไม่ถนัด เขียนหนังสือยังไม่ได้ ต้องหัดลากตามรอยเส้นประ) ใช้ tablet เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงเทคโนโลยี คาดว่านโยบายนี้จะเป็นนโยบายเพิ่ม I kill เด็กไทย ไม่ใช่ IQ ซะแล้ว