จากเดลินิวส์ออนไลน์

วันอังคาร ที่ 29 มีนาคม 2554

นายอร่าม มากระจัน ประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์งานคุรุสภา เปิดเผยว่า ในวันที่ 5 เม.ย.  2554 นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จะร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จัดประชุมด้านกฎหมายการศึกษาที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อครูจะได้สะท้อนความคิดเห็นในการประกอบวิชาชีพ และความต้องการที่จะให้คุรุสภาผลักดันความก้าวหน้าอย่างไร เพื่อเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการและรัฐบาลต่อไป
   
นายอร่าม กล่าวต่อไปว่า สำหรับการสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการครูที่กำลังดำเนินการในขณะนี้  ปรากฏว่ามีผู้มายื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นจำนวนมาก ซึ่งคุรุสภาไม่สามารถออกใบอนุญาตฯ ฉบับจริงให้ได้ทั้งหมด จึงได้ออกหนังสือรับรองสิทธิให้ไปใช้สมัครก่อน โดยมีอายุใช้ได้ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันออกหนังสือรับรองสิทธิ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ถือหนังสือรับรองสิทธิแบบเดิมที่คุรุสภาออกให้ก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่ได้ระบุวันหมดอายุ ก็ขอย้ำว่าจะสามารถใช้ได้ถึงวันที่  31 พ.ค. 54 เท่านั้น หากพ้นกำหนดถือว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติในการประกอบวิชาชีพ จึงขอให้ผู้ถือหนังสือรับรองสิทธิเดิมเร่งติดต่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมายังคุรุสภาตามวันและเวลากำหนดด้วย ทั้งนี้ปัจจุบันคุรุสภามีสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพกว่า 850,000 คนแล้ว    ดังนั้นต่อจากนี้งานประชาสัมพันธ์จะต้องมีบทบาทมากขึ้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ครูได้รับรู้อย่างทั่วถึง.

Tags : , , | add comments
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มีนาคม 2554

ในศตวรรษที่ 21 โลกมีความซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยงอย่างมีเหตุผลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะเป็นตัวต่อยอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งการแก้ปัญหา ตัดสินใจ รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ หากเด็กขาดทักษะเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ มาได้
      
       โดยทักษะข้างต้นนั้น วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ถือเป็นตัวสร้างพื้นฐานที่ดี หากนำมาใช้กับเด็กอย่างเหมาะสม แต่ทุกวันนี้กลับสวนทางกัน อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข กรรมการสมาคมอนุบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สะท้อนให้ฟังว่า ส่วนใหญ่แล้วคุณครู และพ่อแม่ยุคใหม่จะให้น้ำหนักไปที่เนื้อหาเพื่อการสอบแข่งขันมากกว่าการเรียนรู้ที่จะสอนเด็กให้คิดวางแผนและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
      
       “เรื่องใดก็ตามที่คนให้ความสำคัญ มันย่อมมีทั้งบวกและลบ ถ้าใช้ในทางบวก เด็กย่อมเรียนรู้อย่างถูกทางและพัฒนาไปได้ดี แต่ถ้าไม่ถูกทางก็เท่ากับเอาเด็กมาแข่งขันกัน พอเกิดการแข่งขันมาก ๆ เข้า เนื้อหาจึงกลายเป็นเรื่องหลักจนถูกมองแค่เพียงว่า วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ควรเรียนแค่ไหน ถึงจะสอบเข้า ป.1ได้” อ.ธิดาให้ทัศนะในงานวิชาการหัวข้อวิทย์-คณิตปฐมวัยสำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
      
       เมื่อเป็นเช่นนี้ อ.ธิดา สะท้อนต่อไปว่า นอกจากเด็กจะเบื่อ และไม่สนุกกับการเรียนแล้ว เด็กยังจะขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการเชื่อมโยงแบบมีเหตุมีผล เช่น รู้ว่าคำตอบคืออะไร แต่ไม่รู้จักกระบวนการคิด หรือที่มาของคำตอบ ในจุดนี้เองอาจทำให้เด็กไหลไปตามกระแสของสังคมได้ง่าย
      
       ดังนั้น การสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในเด็กอนุบาล หรือเด็กปฐมวัย อ.ธิดา บอกว่า เด็กทุกคนพร้อมที่จะเป็นนักสังเกตที่ดี นักสำรวจตัวยง นักค้นคว้า ตลอดจนนักคิด และนักถาม ผู้ใหญ่ไม่ควรใส่เนื้อหาให้มากเกินไป และไม่ควรสกัดกั้นการเรียนรู้ของเด็กโดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น “อย่านะ อย่าเล่นนะ เดี๋ยวเลอะเทอะ” เพราะจะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ ถูกปิดกั้น ขาดการต่อยอดทักษะการคิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยงแบบมีเหตุและผล
      
       “พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกสังเกต และตั้งคำถาม เช่น ลูกเห็นอะไรลูก ลูกคิดว่าอย่างไร แล้วลูกอยากจะทำอะไรล่ะจ๊ะ อย่างลูกเห็นว่าวลอยได้ เด็กบางคนอยากจะทำว่าวขึ้นมา เราในฐานะพ่อแม่ควรสนับสนุน ด้วยการบอกไปว่า เอาสิลูก อยากให้พ่อแม่ช่วยอะไรบอกได้เลยนะ เรามาลองทำกันดูไหม ทีนี้ก็เริ่มให้ลูกคิดหาอุปกรณ์ ลงมือทำ และทดลองไปพร้อม ๆ กัน ตรงนี้จะช่วยให้ลูกตื่นเต้นกับการค้นพบและอยากสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองต่อไป” อ.ธิดาให้แนวทาง
      
       ด้าน รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มองในประเด็นเดียวกันนี้ว่า การสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัยนั้น ครู และพ่อแม่ต้องใช้หลัก TLC กับเด็กโดย T (Tender) คือความอ่อนโยน L (Love) คือความรัก และ C (Care) คือ ความห่วงใย ซึ่งทั้ง 3 ตัวนี้หากใช้สอนเด็กอนุบาล หรือเด็กปฐมวัย พวกเขาจะมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ และไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป
      
       “เด็กจะเรียนรู้วิทย์-คณิตได้ดี เราในฐานะครู และพ่อแม่ ต้องค่อย ๆ สอน เหมือนใส่เกลือลงไปทีละนิดทีละหน่อย โดยสอนได้ผ่านสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัว เช่น นิทาน อย่างเรื่องกระต่ายกับเต่า สามารถนำวิทยาศาสตร์มาตั้งคำถามกับเด็กได้ อาทิ ความเร็วในการแข่งขัน หรือทำไมกระต่ายวิ่งเร็วกว่าเต่า เป็นต้น” อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการยกตัวอย่าง
      
       ขณะที่ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผอ.สถาบันวิจัย และพัฒนาการเรียนรู้ จิตแพทย์ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสมองกับการเรียนรู้ของเด็กว่า การให้เด็กท่องจำ หรือเน้นใส่เนื้อหามากจนเกินไปจะเป็นตัวลดทอนประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กให้ต่ำลง ทางที่ดี ครู และพ่อแม่ควรให้เด็กลงมือทำจริงจากกิจกรรมสนุก ๆ ตลอดจนใช้สื่อภาพที่มีสีสัน สดใส เพราะการเปลี่ยนการเรียนรู้ให้เป็นการเล่นที่สนุก ท้าทายจะทำให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
      
       ท้ายนี้ ผอ.สถาบันวิจัย และพัฒนาการเรียนรู้ เน้นย้ำถึงครู และพ่อแม่ทุกท่านว่า การดึงวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มาใช้สอนเด็กอย่างได้ผล หลักสำคัญที่สุดคือ ต้องแปลจากความรู้ที่อยู่ในกระดาษ (หนังสือ) ไปสู่ชีวิตจริงผ่านการปฏิสัมพันธ์ และการเล่นกับเด็ก ซึ่งหมายความว่า ทุก ๆ กิจกรรมควรเป็นการเล่นที่ไม่ใช่การสอน เพื่อให้เด็ก ๆ เรียนรู้ในบรรยากาศที่สนุกสนานมากกว่าบรรยากาศจริงจังที่เคร่งเครียด หรือถูกควบคุมมากจนเกินไป
      
       ดังนั้น คงไม่มีพลังวิเศษใด ๆ ที่จะขับเคลื่อนให้ทุกการเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพได้ดีเท่ากับ ความสุขในการเรียนรู้ อิสระในการคิด และการไม่ถูกกดดัน หรือว่าไม่จริงครับ

Tags : , , , , | add comments

จากเดลินิวส์ออนไลน์

วันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2554

รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) เปิดเผยว่า จากการรับสมัครนักศึกษาปีการศึกษา 2554 ด้วยระบบรับตรง พบว่ามีนักศึกษาสนใจมาสมัครเข้าศึกษาต่อกับ มร.สส. มากถึง 13,000 คน ขณะที่สามารถรับได้เพียง 4,480 คน โดยคณะที่มีผู้สมัครจำนวนมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ โดยเฉพาะคณะครุศาสตร์ เด็กสมัครเรียนมากถึงกว่า 7,000 คน แต่รับได้ 230 คนเท่านั้น โดยสาขาที่สมัครมากที่สุด คือ การศึกษาปฐมวัย ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  
   
รศ.ดร.ช่วงโชติ  กล่าวต่อไปว่า การที่เด็กไทยสมัครเรียนครุศาสตร์มากขึ้น เหตุผลน่าจะมาจากรัฐบาลประกาศเรื่องการขาดแคลนครู 20,000-30,000 คน ทำให้มีความต้องการครูมากขึ้น และการมาเรียนครูยังประกันการมีงานทำ รวมถึงมีการมอบทุนการศึกษาให้ด้วย จึงทำให้เด็กเก่งสนใจหันมาเรียนครูมากขึ้น ที่น่าสังเกตอีกประการคือ เด็กที่มาสมัครเรียนครุศาสตร์ปีนี้ ส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัดที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นอยากเป็นครูจริง ๆ เพื่อกลับไปสอนในจังหวัดของตน ทำให้เห็นถึงแนวโน้มการศึกษา การผลิตครูในอนาคต ที่จะมีการยกระดับคุณภาพได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้หากกระแสการเรียนครูเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เชื่อว่าอีก 3-5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะได้ครูที่มีคุณภาพ และมีจิตวิญญาณของความเป็นครูจริง ๆ แต่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนในการผลิตครูเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามนอกจากคณะครุศาสตร์แล้ววิทยาลัยพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ก็เป็นอีกคณะหนึ่งที่เด็กให้ความสนใจมากขึ้นเช่นกัน.

Tags : , , , , , | add comments

จากไทยรัฐออนไลน์

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

14 มีนาคม 2554

ถ้าปริมาณของการบ้านที่ผู้เรียนต้องรับผิดชอบในแต่ละวันมีมากเกินกว่าที่ จะทำให้เสร็จได้อย่างประณีตและเรียบร้อย ผู้เรียนก็จำเป็นต้องทำเพียงแต่ให้ผ่าน ๆ ไป เพื่อไม่ให้มีปัญหาต่อผลการเรียนและกับผู้สอน ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นกับการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น นอกจากจะสร้างนิสัยไร้ความประณีตในการทำงานให้กับผู้เรียนแล้วยังสร้างความ คับข้องใจให้กับผู้ปกครองบางคนที่บางครั้งต้องมาช่วยบุตรหลานของตนทำการบ้าน ให้เสร็จทันเวลาอีกด้วย

สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบ้าน

การที่ผู้ เรียนต้องเรียนกับผู้สอนหลายคนในหลายวิชาและในแต่ละรายวิชานั้นผู้สอนก็จะ รับผิดชอบต่อการสอนและมุ่งหวังให้การเรียนการสอนในรายวิชาของตนบรรลุจุดมุ่ง หมายตามที่กำหนดไว้ นับเป็นความปรารถนาดี และเป็นความตั้งใจที่ดีมากของผู้สอน แต่ในส่วนของผู้เรียนแล้วต้องรับผิดชอบการเรียนในทุกรายวิชาที่เรียนรวมทั้ง งานหรือการบ้านด้วย หากปริมาณการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชามี จำนวนมากจะทำให้ผู้เรียนส่วนหนึ่งไม่มีเวลามากเพียงพอสำหรับการศึกษาค้นคว้า พิจารณาไตร่ตรอง พินิจพิเคราะห์ หาความลึกซึ้ง และทำงานหรือการบ้านได้อย่างรอบคอบและประณีต

เมื่อต้องทำการบ้านแบบ ลวก ๆ และบ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นนิสัย ซึ่งทำให้นักเรียนหรือนักศึกษาเหล่านั้นขาดความประณีตในการทำงาน และกลายเป็นคนทำงานแบบลวก ๆ หรือแบบ “ขอไปที” ขอให้ผ่าน ๆ ไปเท่านั้น ไม่มีนิสัยนิยมการค้นคว้า ศึกษาอย่างลึกซึ้ง ใช้วิจารณญาณ พินิจพิเคราะห์ ให้ความประณีตหรือพิถีพิถันกับงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้งานเสร็จสิ้นอย่างเร็วที่สุดด้วยกลวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้ไม่ว่าจะถูกหรือผิด นอกจากนั้นยังอาจทำให้มีนิสัยการ “ลอกงานผู้อื่น” หรือ “ลอกการบ้านผู้อื่น” หรือ ลอกมาจาก Internet ที่เรียกว่า “รายงานแบบ Copy and Paste” คือ ไปคัดลอกงานผู้อื่นมาจาก Internet แล้วมา ปะ ๆ ต่อ ๆ กัน ทำให้กลายเป็นงานของตัวเอง

คุณค่าของความประณีต

ความ ประณีตในสังคมเกษตรกรรมแตกต่างจากความประณีตในสังคมอุตสาหกรรม ความประณีตหมายถึง ความละเอียดลออ พิถีพิถัน เป็นความเรียบร้อยและพอเหมาะพอดี และมีความสัมพันธ์กับ “พิกัดความเผื่อ” หรือ “Clearance” ซึ่งเป็นระยะห่างของชิ้นงานทางด้านเครื่องกลที่จะนำมาประกอบกันได้อย่างพอดี ถ้าห่างมากเกินไปจะทำให้ “หลวม” ไม่พอดี ถ้าน้อยเกินไปอาจทำให้ “แน่น” มากเกินกว่าจะทำงานได้ การทำงานในการผลิตชิ้นงานทางด้านอุตสาหกรรมจึงต้องมีความประณีตสูง ซึ่งอาจมีหน่วยของ “พิกัดความเผื่อ” เป็นหนึ่งในล้านของความยาวหนึ่งเมตร ดังนั้นความประณีตจึงมีความสำคัญสำหรับงานการผลิตทางอุตสาหกรรม

สำหรับ งานทางเกษตรกรรมโดยปกติมีพิกัดความเผื่อสูงกว่า เช่น ระยะห่างระหว่างต้นข้าวที่ชาวนาดำข้าวนั้นอาจมีระยะห่างประมาณ 15-20เซ็นติเมตร ถ้าจะคลาดเคลื่อนไป 1-2เซ็นติเมตร ก็ไม่ทำให้การปลูกข้าวหรือดำนาเสียหายมากนัก ต้นข้าวยังเติบโตได้ แต่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของแปลงนาแต่ละแปลงจะดูไม่สวยงามถ้ามีการดำนา แล้วต้นกล้าไม่สม่ำเสมอมีระยะห่างไม่เท่ากัน เป็นความประณีตอีกแบบหนึ่งของสังคมเกษตรกรรม มิใช่หมายความว่าผู้คนในสังคมอุตสาหกรรมมีความประณีตมากกว่าผู้คนในสังคม เกษตรกรรม

ความประณีตเป็นพื้นฐานของความสวยงาม เป็นการนำไปสู่การมีสุนทรียะ มีจิตใจที่อ่อนโยน ผู้ที่มีความประณีตในการทำงานนอกจากจะสามารถสร้างผลงานที่ “มีคุณค่าและราคา” ที่สูงมากกว่าคนที่ไร้ความประณีตแล้ว ผู้ที่มีความประณีตเป็นนิสัยหรือคุณลักษณะประจำตัวยังจะเป็นผู้ที่สามารถ “หาความสุข” ให้กับชีวิตตนเองได้ง่ายกว่าผู้ที่มีนิสัย “ไร้ความประณีต” หรือ เป็น “คนหยาบ” อีกด้วย ทั้งนี้เพราะความประณีตเป็นปัจจัยหนึ่งของการทำให้เกิดความซาบซึ้ง (Appreciation) มองเห็นคุณค่าของความงาม ความอุตสาหะ ความพยายาม ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยเฉพาะผลงานที่เป็นศิลปะ หรือ หัตถกรรม ที่ต้องใช้ความประณีตเป็นพื้นฐานของการทำงาน

การวัดความเจริญ รุ่งเรือง ความมีอารยธรรม หรือ Civilization ของมวลมนุษยชาติหรือชนชาติใดก็ตาม ตัวชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองอย่างหนึ่งที่นำมาใช้คือ ความประณีตในผลงานของคนชนชาตินั้น ถ้าชนชาติใดมีผลงานที่มีความประณีตมากจะได้รับการยอมรับว่าเป็นชนชาติที่มี อารยธรรมและความเจริญรุ่งเรืองมากด้วย

คุณลักษณะ “ไร้ความประณีต”

คุณลักษณะ ที่ผู้สอนควรสร้างให้เกิดกับผู้เรียนนอกเหนือจากจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรแล้ว คือ ความประณีต สำหรับผู้สอนที่เป็นครู/อาจารย์รุ่นเก่าจะพบกับความคับข้องใจกับคุณลักษณะ ด้านความประณีตในการทำงานหรือการบ้านของลูกศิษย์ในยุคปัจจุบันที่เติบโตมา กับภาวะการณ์ของการแข่งขัน พัฒนาการของเทคโนโลยี และมีชีวิตอยู่ในโลกของ Internet ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานและรวมทั้งทำการบ้านด้วย เมื่อต้องการสร้างนิสัยของความประณีตในการทำงานให้กับลูกศิษย์ ผู้สอนอาจจะพบกับความยากลำบาก เพราะนอกจากจะต้องหาวิธีการสอนและกิจกรรมที่จะสามารถสร้างคุณลักษณะของการ เป็นคนที่มีความประณีตแล้วยังต้องต่อสู้กับค่านิยมและความคิดแบบ “จานด่วน” ที่ลูกศิษย์ของตนได้รับการปลูกฝังมาจากสภาพชีวิตและสังคมสมัยใหม่อีกด้วยการ พิจารณาเลือกหากิจกรรมและการบ้านที่ส่งเสริมคุณลักษณะด้านความประณีตนั้น ถ้าผู้เรียนไม่สนใจ “กระบวนการ” ของการทำงานตามขั้นตอนที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน เพียงแต่ต้องการ “ผลลัพธ์” คือ ทำชิ้นงานให้เสร็จด้วยกลวิธีต่าง ๆ ที่รวดเร็ว ง่าย แบบด่วนได้ โดยไม่ต้องใช้สมอง ความคิด และความประณีตมาก ผู้เรียนส่วนหนึ่งมักจะเลือกใช้กลวิธีนั้น ทำให้ความมุ่งหวังในการสร้างนิสัยหรือคุณลักษณะของความประณีตไม่อาจเกิดขึ้น กับตัวผู้เรียนนั้นได้ และในทางตรงข้ามกลับให้ “ผลเชิงลบ” เป็นการสร้างคุณลักษณะ “ไร้ความประณีต” ขึ้นกับผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนต้องทำงานหรือการบ้านจำนวนมากจากหลายรายวิชา และไม่มีเวลามากเพียงพอสำหรับงานหรือการบ้านของรายวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ผู้เรียนต้องรีบเร่งทำให้เสร็จทันเวลา ด้วยเหตุดังกล่าวจะเป็นการสร้างนิสัย “ไร้ความประณีต” ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยที่ผู้สอนไม่ตั้งใจ

การให้งานหรือการบ้านที่เหมาะสม

ปริมาณ งานหรือการบ้านที่มากเกินไปเกิดจากการไม่ประสานกันของผู้สอนทำให้การมอบหมาย งานของผู้สอนเป็นลักษณะต่างคนต่างทำและให้ความสำคัญกับรายวิชาของตนเป็น สำคัญ ทำให้มีภาระงานหรือการบ้านตกกับผู้เรียนมาก บางครั้งเกิดความซ้ำซ้อนเกินความจำเป็น การที่จะทำให้ผู้สอนได้มีโอกาสประสานกันเพื่อหาความพอดีของงานหรือการบ้าน ให้กับผู้เรียนจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ แต่การดำเนินการโดยการให้ผู้สอนมาพบกันและพูดคุยกันนั้นมีความเป็นไปได้น้อย และไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่จะเป็นไปได้ การใช้เทคโนโลยีจึงน่าจะเป็นคำตอบ

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วย จัดการ จะช่วยให้มีการวางแผนและมอบหมายงานให้กับผู้เรียนอย่างเป็นระบบและไม่สร้าง ภาระงานหรือการบ้านให้ผู้เรียนมากเกินไปจนทำให้คุณภาพของงานไม่ดีและขาดความ ประณีต ระบบการจัดการนี้ควรนำมาใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนและการมอบ หมายงานหรือการบ้านกับผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนจะได้ใช้ระบบสารสนเทศเป็นสื่อกลางในการบริหารจัดการ กิจกรรม การทำงานหรือการบ้านและการใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม

สรุป

งาน หรือการบ้านที่มากเกินไปไม่ส่งเสริมคุณลักษณะของความประณีต นอกจากนั้นยังอาจจะสร้างนิสัยของความไร้ระเบียบ ขาดคุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน ทำให้ผู้เรียนไม่สนใจ “กระบวนการทำงาน” หวังให้ได้เพียง “ผลลัพธ์” ที่พอผ่าน ๆ ไปเท่านั้น ความประณีตเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของการประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาชีพชั้นสูง การสร้างผลผลิตและบริการที่ขาดความประณีตนอกจากจะเป็นอันตรายแก่ผู้รับ บริการแล้วยังไม่สามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการอีกด้วย

การ ขาดความประณีตจะทำให้ได้สินค้าและบริการมีคุณภาพต่ำ ราคาถูก แสดงถึงรสนิยม และอารยธรรม หรือ Civilization ของชาติพันธ์นั้น ๆ การปลูกฝังความประณีตให้กับพลเมืองของชาติ สามารถเริ่มต้นจากโรงเรียนหรือสถานศึกษา และการให้งานหรือการบ้านในปริมาณที่เหมาะสมอาจช่วยให้ผู้เรียนได้มีเวลา สำหรับการศึกษาค้นคว้า และดำเนินการจัดทำงานหรือการบ้านอย่างประณีต ใช้จินตนาการ ใช้ความคิด และพิถีพิถันกับผลงานของตน สร้างความตระหนักในคุณค่าและซาบซึ้งในผลงาน เป็นการยกระดับรสนิยมและส่งเสริมอารยธรรม หรือ Civilization ให้กับชาติพันธ์มนุษย์ ที่เรียกว่า “คนไทย” ต่อไป.

ศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

Tags : | add comments

           ปัจจุบันนี้การศึกษาปฐมวัยของบ้านเรามีหลายหลายแนวการศึกษาให้เลือกมากมาย ทั้งแบบบูรณาการ  แบบมอนเตสเซอรี่ แบบวอลดอร์ฟ หรือแม้กระทั่งแบบเร่งเขียนอ่าน ซึ่งในหแต่ละแบบก็มีแนวการศึกษา หรือหลักแนวคิดที่แตกต่างกัน
การเรียนในแบบบูรณาการ จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือเรียนตามความสนใจของผู้เรียน เน้นความรู้แบบองค์รวมไม่ได้เน้นรายวิชา ซึ่งหมายความว่าการเรียนจะมีอยู่ภายใต้หัวข้อเดียวกัน และเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
          การเรียนแบบมอนเตสเซอรี่เป็นระบบการศึกษาที่เน้นให้เด็กๆใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบแบบแผนโดยเฉพาะเรื่องการฝึกให้เด็กมีระเบียบ วินัย และพัฒนาการทั้งความคิด อารมณ์ และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย โดยผ่านสื่อการเรียนการสอนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของมอนเตสเซอรี่
          การเรียนแบบวอลดอร์ฟ เป็นการเรียนที่ให้อิสระกับผู้เรียน เรียนผ่านการเล่น ฝึกให้เด็กได้รับประสบการณ์จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในแต่ละวัน เสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
          จากแนวการเรียนการสอนที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้น มีทั้งข้อดี ข้อเสีย นั่นคือ ผู้ปกครองมีแนวทางเลือกที่เพื่อเหมาะสมกับลูกหลานมากขึ้น แต่ในบางครั้งหากไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ อาจทำให้เด็กต้องพบกับปัญหาของการปรับตัวเมื่อต้องย้ายโรงเรียนเมื่อเด็กโตขึ้น 
 ดังนั้นควรมีการหาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งข้อมูลของแนวการเรียนของสถานศึกษา ลักษณะการเรียนที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้กระทั่งความต่อเนื่องในแนวการเรียนแต่ละแนว เพื่อให้เด็กมีความสุขในการเรียน และมีความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ในหน้าที่ของตนเองเมื่อโตขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันพุธ ที่ 02 มีนาคม 2554
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า จากผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 2 พ.ศ. 2549-2553 ปรากฏว่ามีสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง และไม่ส่งแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อขอประเมินซ้ำให้แก่สมศ. ตามกำหนดเวลา 30 วันหลังรับทราบผลการประเมิน ทั้งสิ้น 6,994 แห่ง แบ่งเป็น สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน 6,917 แห่ง จากจำนวนสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง 7,900 แห่ง ระดับอาชีวศึกษา 77 แห่ง จากจำนวนสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง 87 แห่ง ส่วนระดับอุดมศึกษาที่มีสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง 25 แห่งนั้นได้ส่งแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อขอประเมินซ้ำมาครบทุกแห่งแล้ว ทั้งนี้ สมศ.ได้ทำการตัดยอดสถานศึกษาที่ไม่ได้ส่งแผนดังกล่าวออก และส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต้นสังกัดแล้ว หลังจากนี้ สมศ.จะเร่งออกทำการประเมินซ้ำให้แก่สถานศึกษา จำนวน 1,118 แห่ง ที่ส่งแผนขอประเมินซ้ำทันเวลา และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.นี้ ก่อนมีการประเมินภายนอกในรอบ 3 ต่อไป

“ในส่วนของสถานศึกษา จำนวน 6,994 แห่ง ที่ไม่ผ่านการรับรอง และไม่ส่งแผนพัฒนาฯมานั้น ก็ขึ้นอยู่กับต้นสังกัดว่าจะดำเนินการอย่างไรกับสถานศึกษาเหล่านั้น เพราะสมศ.ไม่มีอำนาจในการกำหนดบทลงโทษ ส่วนสาเหตุที่สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ส่งแผนฯนั้น บางแห่งแจ้งว่าเป็นเพราะขาดงบประมาณอุดหนุนในการประเมินซ้ำ เนื่องจากรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเฉพาะงบฯในการประเมินปกติเท่านั้น ซึ่ง สมศ.จะเก็บข้อมูลและเหตุผลในการไม่ยื่นแผนฯเพื่อขอประเมินซ้ำต่อไป” ผอ.สมศ.กล่าว.

Tags : , , | add comments