Jul 24
เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมลูกเราถึงยิ่งเรียนยิ่งแย่ ไม่ว่าจะส่งเรียนพิเศษกี่ที่ คะแนนก็ไม่ดีขึ้น ทั้งๆ ที่ลูกก็ไม่มีปัญหาเรื่องการอ่าน สามารถอ่านออกเขียนได้ ปัญหาต่างๆ จะสะสมรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาที่ต้องใช้กระบวนการวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาคณิตศาสตร์
หลายๆ ครั้งที่ ปัญหาไม่ได้เกิดจากสติปัญญา หรือวิธีการสอน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดเนื่องมาจากลักษณะนิสัยที่มาจากการเลี้ยงดู ที่บ่มเพาะจนเด็กกลายเป็นเด็กเฉื่อย ไม่คิด ไม่ทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่มีระเบียบวินัย
สิ่งต่างๆ เกิดเนื่องมาจากอะไร การเรียนคณิตศาสตร์ หากเป็นเพียงการทำตามเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ที่บ่งชี้เลยว่าเด็กต้องทำอะไร จะไม่เกิดปัญหาใด หากเขาไม่มีปัญหาด้านการคำนวณ แต่ในความเป็นจริงเมื่อเด็กโตขึ้น จะมีการใส่โจทย์เพื่อให้เด็กๆ ได้มีการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหา และซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ การอ่านออกของเด็กที่ไม่เคยเรียนรู้ที่จะเริ่มทำอะไรด้วยตนเอง เป็นการอ่านแบบนกแก้วนกขุนทองเท่านั้น ไม่มีการคิดวิเคราะห์ใดๆ เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ หากปล่อยให้สถานการณ์ดังกล่าวยังคงเกิดขึ้น โดยไม่ได้รับการแก้ไข สุดท้ายเด็กก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มั่นใจในการเรียน ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองในที่สุด
Jul 17
…ในสังคมปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับว่ามีแต่การแข่งขัน การรีบเร่ง เพื่อให้ได้ชัยชนะหรือให้ได้ถึงจุดหมายเร็วที่สุด หรือเพื่อให้เป็นที่หนึ่งไม่ใช่เฉพาะธุรกิจ การทำงานเท่านั้น ปัจจุบันนี้ เราก็จะเห็นภาพของเด็กๆที่ถูกพ่อแม่ ผู้ปกครองพาไปเรียนพิเศษกันเยอะมาก เมื่อก่อนเราจะเห็นภาพเด็กโตเสียเป็นส่วนหรือเด็กที่เรียนในระดับมหาลัย แต่ปัจจุบันนี้การแข่งขันสูงขึ้น เด็กที่พ่อแม่พาไปเรียนอายุน้อยลงเรื่อยๆบางคนอยู่ในระดับอนุบาล..หลายคนจำเป็นต้องเรียนเพิ่มเติมเพราะทักษะยังไม่ดีพอเรียนในห้องกับเพื่อนๆไม่เข้าใจ หลายคนเรียนเพื่อเสริมทักษะให้แกร่งขึ้น เด็กในกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่พร้อมและชอบในการเรียนทีโหนระดับ เช่น อยู่ป3 เรียนเนื้อหาของป4 หรือบางคนอยุ่ป4 เรียนเนื้อหาของป5 ป6 เด็กในกลุ่มจะสามารถเข้าใจและมีทักษะที่แข็งแกร่งขึ้น..แต่..ไม่ใช่กับทุกคน..พ่อแม่บางคนเห็นลูกคนอื่นเรียนได้ ลูกชั้นก็ต้องเรียนได้ พยายามบีบและพยายามเร่ง พยายามทำทุกทางเพื่อให้ลูกได้คะแนนดีเหมือนคนอื่น บางคนยังเล็กมากระดับอุนบาลก็โดนเร่งเรียน..เข้าใจค่ะว่าพ่อแม่หวังดีกับลูกทุกคน.แล้วเคยลองมองย้อนกลับมาที่ลูกเราบ้างหรือเปล่า เคยถามเค้าบ้างมั้ยว่าเค้าไหวหรือเปล่า โดยเฉพาะในระดับอนุบาลด้วยวัยเค้ายังเล็กมาก เค้ารับการบีบอัดและเร่งเรียนไม่ไหว หลายคนไม่ได้เรียนแย่แต่พ่อแม่ต้องการให้ลูกเป็นที่หนึ่ง พยายามหาที่เร่งเรียน เอาการบ้านที่รร.ให้มาสอนเอง ทำการบ้านเกินที่ครูให้เพื่อให้ลูกจบเล่มและขึ้นเล่มใหม่เร็วๆ เพื่อให้แซงคนอื่นๆบางครั้งบางวิชาเป็นเทคนิคเฉพาะตัวที่ต้องปล่อยให้ครูผุ้สอนเป็นสอนและเป็นคนกำหนดทิศทางในการเรียนพ่อแม่ไม่สามารถสอนได้ หลายคนเห็นว่าช้าเกินไป กำหนดวิธีการสอนเองเร่งเนื้อหาเอง สั่งการบ้านเพิ่มเองจากที่ครูสั่งไว้ให้ลูกทำเยอะๆ ทำเนื้อหาทั้งๆที่ยังเรียนไม่ถึง ครูยังไม่ได้สอน พ่อแม่สอนเทคนิคเอง เร่ง เร่ง เพื่อให้จบเล่มเร็วขึ้น..สุดท้ายลุกจำเทคนิคไม่ได้ จำเนื้อหาไม่ได้ กลายเป็นต้องเรียนซ้ำเพราะไปต่อไม่ได้ และสุดท้ายทัศนคิตกับวิชานั้นจะแย่ลง หนักเข้าอาจพาลไม่อยากเรียนอะไรอีกเลย..แต่ มันคงจะดีกว่ามั้ยถ้าปล่อยให้ลุกเรียนไปตามสเต๊ปในวิชานั้นและปล่อยให้ครูผู้สอนเป็นคนนำพาลูกเราให้เก่งในวิชานั้นต่อไป..ลองถามตัวเองสักครั้งว่าการเร่งลูกมันดีจริงๆหรอ การที่ลูกแซงคนอื่นได้มันทำให้ลูกมีความสุขจริงมั้ย มันเป็นความสุขของใคร?..การเร่ง เร่ง เร่งเรียน….เพื่อใคร?..ขอบคุณและสวัสดีค่ะ
Jul 03
เนื่องจากในยุคปัจจุบัน การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ต้องใช้เวลานานมาก ร่วมกับค่าเทอมของโรงเรียนต่างๆ สูงขึ้นอย่างลิบลิ่ว ร่วมกับความไม่แน่ใจในหลักสูตร หรือแม้กระทั่งตัวครูผู้สอน หรือบางครั้งอาจเกิดความไม่ต่อเนื่องกับหลักสูตรบางหลักสูตรที่เปิดในบ้านเราไม่ครบถึงระดับมัธยมศึกษา (เช่น การเรียนในแนวของ Montessori) จึงทำให้หลายๆ ครอบครัวหันมามองการเรียนการสอนด้วยตนเอง ที่เรารู้จักกันในคำว่า Home School กันมากขึ้น
ทุกๆ ครอบครัวสามารถเปิดการเรียนสอนบุตรหลานด้วยตนเองได้ หากมีการส่งแบบแผนของการศึกษาที่ตนเองต้องการสอนบุตรหลาน ให้กับทางกระทรวงตรวจ หรือบางครอบครัวก็ใช้หลักสูตรสำเร็จรูปจากต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาบ้านเรา แน่นอนการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นแบบตัวต่อตัวย่อมดีกว่าการเรียนเป็นกลุ่มใหญ่อยู่แล้ว เด็กไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง อีกทั้งการดูแลเอาใจใส่ ถึงพัฒนาการในตัวเด็กและสามารถเสริมสร้างกิจกรรมได้หลากหลาย แต่การทำ Home School สิ่งที่สำคัญคือ ความมีระเบียบวินัย ต้องมีตารางเวลาและทำตามอย่างเคร่งครัด หากไม่เป็นเช่นนั้น จะเป็นการส่งเสริมความไม่มีระเบียบวินัย ความไม่รู้จักหน้าที่ การเรียนรู้ก็ยากที่จะเกิดขึ้น เพราะหากตามใจบุตรหลานมากจนเกินไป จะทำให้เขาต้องการทำแต่ในสิ่งที่ต้องการเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว การเรียนแบบเดี่ยว อาจทำให้การเรียนรู้ที่จะเข้ากลุ่ม หรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขาดหายไป ดังนั้นหากครอบครัวใดตัดสินใจที่จะจัดการเรียนการสอนให้กับบุตรหลานในแบบ Home School จำเป็นต้องจัดทั้งกิจกรรมการเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรมแบบกลุ่มเพิ่มเติม เพื่อให้ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วย