Apr 25
Posted by malinee on Thursday Apr 25, 2019 Under เกร็ดความรู้
ในเดือนหน้าจะเป็นช่วงของการเปิดปีการศึกษาใหม่ของเด็กโรงเรียนไทย
ซึ่งโดยปกติจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก
แต่มีอยู่วัยหนึ่งที่เด็กจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบก้าวกระโดด นั่นคือการเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งเรื่องการนอนกลางวัน การช่วยเหลือตนเอง
การเรียนในชั้นเรียนที่ใหญ่ขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนต่างๆ
จะเปิดเรียนภาคฤดูร้อนเพื่อให้เด็กๆ
ได้ปรับตัวก่อนที่จะเปิดปีการศึกษาใหม่อย่างเต็มตัว
ปัจจุบันนี้โรงเรียนประถมมีอยู่หลากหลาย
แต่ก็จะมีแนวทางหลักๆ เพียง 2 – 3 แนว คือ แนวเร่งเรียน (แนวโรงเรียนคาทอลิค) , โรงเรียนในแนวบูรณาการ (แนวสาธิต)
และสุดท้ายเป็นแนวสองภาษา (Bilingual) ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน
มีข้อเด่นข้อด้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปกครองว่าไปตรงกับแนวทางหรือหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนใด
สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองเลือกให้กับบุตรหลานนั้น เป็นสิ่งที่แต่ละครอบครัวคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุตรหลาน
ของตน แต่เรามักหลงลืมไปว่า คนเรียนคือตัวบุตรหลาน เขาควรได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในชีวิตการเรียน
ซึ่งต้องใช้เวลา 1
ใน 3 ของวันอยู่ที่นั่น การเลือกโรงเรียนของพ่อแม่ผู้ปกครองนั้น
จะต้องรู้ถึงแนวทางการเรียนการสอนว่าเหมาะกับบุตรหลานหรือไม่ เพราะไม่มีใครรู้จักนิสัยลูกของเราได้เท่าพ่อแม่
เด็กส่วนใหญ่หลายๆ คนไม่มีปัญหากับการเปลี่ยนสถานที่เรียน เขาสามารถปรับตัวให้เข้าได้กับทุกๆ
สถานที่ แต่เด็กหลายๆ คนที่มีพี่เลี้ยงคอยดูแลตลอดเวลาที่เค้าลืมตา
หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่ตามใจ โดยที่บุตรหลานไม่เคยต้องหยิบจับหรือทำอะไรด้วยตัวเอง
จะไม่เห็นความสำคัญของเรื่องเวลา เพราะไม่เคยทำอะไรด้วยตนเอง ไม่ต้องเร่งรีบ
เพราะยังไงก็มีคนทำให้ แต่ชีวิตในโรงเรียนที่มีเวลาในแต่ละคาบที่จำกัด เขาไม่สามารถมีผู้ติดตามอย่างพี่เลี้ยงหรือพ่อแม่
ที่คอยเข้าไปดูแลได้ ทำให้เขาทำทุกอย่างได้ไม่ดีเท่าที่ควร
หรือใช้เวลามากกว่าเด็กคนอื่นๆ ทำให้ถูกตำหนิ ว่ากล่าวเป็นประจำ
ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะเกิดปัญหา การไม่อยากไปโรงเรียน การไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะมักถูกครูดุ
หรือถ้าร้ายกว่านั้น เขาจะเป็นเด็กที่ไม่สนใจในสิ่งที่ครูพูด กลายเป็นเด็กดื้อเงียบ
อยากทำอะไรก็ทำ ไม่อยากทำอะไรก็จะไม่ทำ อย่างไม่มีเหตุผล
เอาอารมณ์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วเขาไม่ได้มีปัญหาของการเรียนรู้
แต่มีปัญหากับทัศนคติ และพฤติกรรมในโรงเรียน และปัญหานี้จะพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ
จนไม่สามารถแก้ไขได้
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทุกปี แต่พ่อแม่ผู้ปกครองคิดว่าซักวันเด็กจะปรับตัวเข้ากับโรงเรียนได้เอง
ต้องอดทน แต่ไม่เคยมีเด็กคนไหนกลับมาเป็นเด็กดีของพ่อแม่ และครูได้อีกเลย ดังนั้นอย่าให้เหตุการณ์ต่างๆ
เหล่านี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับเด็กที่ไม่ได้มีปัญหา แต่เราเป็นคนยัดเยียดปัญหาให้เค้า
โดยพาเค้าไปในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับตัวเค้า
หรือเราไม่ได้เตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจกับเค้าว่า เค้าโตขึ้น
Apr 18
Posted by malinee on Thursday Apr 18, 2019 Under เกร็ดความรู้
พูดถึงวิชาคณิตศาสตร์แล้ว เด็กๆ หลายคนไม่ชอบเท่าไรนัก แต่มันเป็นหนึ่งในวิชาหลักที่พวกเค้าจะต้องเรียนไปจนกว่าจะจบมัธยมต้น แต่กลับกลุ่มเด็กอีกหลายๆ คนที่เป็นกลุ่มของเด็กที่เรียกว่ามี sense ทางคณิตศาสตร์จะวิ่งเข้าใส่ ไม่ว่าโจทย์จะพลิกแพลงยังไง รูปแบบไหน เขาเหล่านี้ไม่เคยถอย คณิตศาสตร์เป็นอาหารสมองอันโอชะของเขาเหล่านั้น จากสถิติหลายๆ สำนักมักพบว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์ดี จะมีคะแนนวิทยาศาสตร์ดีด้วยเช่นกัน เด็กในกลุ่มนี้จะมีความโดดเด่นในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มากกว่าเด็กปกติ โดยปกติเราจะพบเด็กที่มี sense ทางคณิตศาสตร์ไม่มากนัก
สอนเด็กที่ไม่มี sense คณิตศาสตร์ให้มี sense ได้หรือไม่ ต้องบอกก่อนว่าการที่บุตรหลานของเราไม่มี sense ทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
เพียงแต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่ทำให้เค้าเกิดทัศนคติทางด้านลบกับคณิตศาสตร์ ค่อยๆ
ให้เค้าได้เรียนรู้คณิตศาสตร์รอบตัวผ่านประสบการณ์จริง ถึงแม้เด็กที่มี sense ทางคณิตศาสตร์หากเจอครูที่ทำให้ทัศนคติทางคณิตศาสตร์เสียไป
ก็อาจจะทำให้เขาเสียเวลาอยู่นานกว่าจะค้นพบตัวตนของตัวเอง
การฝึกฝนเป็นวิธีหนึ่งที่เพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ ทุกคน
ยิ่งฝึกมากความถนัดหรือทักษะก็มากขึ้นตามไปด้วย อาจจะจริงที่คนที่ไม่มี sense อาจต้องใช้เวลามากกว่า หรือแบบฝึกหัดที่มากกว่า
แต่เราก็สามารถฝึกให้เด็กทุกคนมีกระบวนการคิดให้เป็นระบบ
อย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นอย่ากังวลว่าบุตรหลานจะสู้กับเด็กคนอื่นไม่ได้
ความถนัดของคนแต่ละคนแตกต่างกัน คนทุกคนไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกัน
หรือเก่งเท่ากัน สิ่งที่สำคัญคือ
พ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่เปรียบเทียบบุตรหลานของตนเองกับเพื่อนคนอื่นๆ
มันเป็นเหมือนดาบ 2 คม ถ้าเค้าอยู่แนวหน้าของห้อง
เขาจะไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่หากเค้าอยู่แนวกลางค่อนหลัง
เค้าจะรู้สึกว่าเขาสู้ใครไม่ได้ และไม่มีความภูมิใจในตัวเอง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ
สร้างขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก) หากเขาถูกทำลายด้วยคะแนน หรือวิชาที่เขาไม่ชอบ
เขาจะไม่มีทางค้นหาตัวเองเจอ ว่าเขาทำอะไรได้ดี ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองทำได้คือ
การให้กำลังใจในสิ่งที่เค้าทำเต็มที่ โดยไม่ควรคำนึงถึงผลว่ามันจะออกมาอย่างไร
และคอยสังเกตในสิ่งที่เขาทำได้ดี และส่งเสริมทางด้านนั้นๆ (ไม่ใช่เกมส์ online) เพราะในกระบวนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่ได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
เช่น เสื้อจะต้องมีทั้ง designer
, ช่างตัด , ช่างปัก
ซึ่งในแต่ละทีมไม่ได้ใช้พนักงานคนเดียวกันทำเลยแม้แต่อย่างเดียว
เพราะฉนั้นความถนัดหรือความชอบ ของเด็กแต่ละคน มันคือ sense ในแต่ละด้านที่เค้ามีแตกต่างกันไปเพียงเท่านั้นเอง…..
Apr 07
ช่วงเวลาของการสอบคัดเลือกผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
ทั้งการสอบเด็กเล็ก (เครือสาธิต) และเด็กโต (มัธยม) เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความผิดหวังกับหลายๆ
ครอบครัวในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง เหตุการณ์ที่น่ากังวลคือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ที่สอบแข่งขันเพื่อเข้าโรงเรียนสาธิต
ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูงมาก อัตราการแข่งขันเฉลี่ย 1:30 เด็กหลายๆ คนต้องติวเพื่อสอบเป็นเวลา 1 ปีเต็ม
โดยไม่ได้หยุดแม้กระทั่งวันอาทิตย์ แล้วการสอบตัวเค้าก็มีความรู้สึกว่าทำได้
ข้อสอบไม่ได้ยาก ทำให้เค้ามีความหวังว่าเค้าต้องติดแน่ๆ หลังจากออกจากห้องสอบ
พ่อแม่ผู้ปกครองก็จะคอยถามว่า เป็นยังไง ทำข้อสอบได้มั้ย เค้าก็ตอบตามความรู้สึกว่าเค้าทำได้
ต่างฝ่ายต่างมีความหวังว่าจะติด แต่เมื่อประกาศผลการคัดเลือก กลับไม่มีชื่อเค้า
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กหลายๆ คนคือ ทำไมเค้าไม่ติด ในขณะที่เพื่อนติด
แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือ ความไม่มั่นใจที่จะไปสอบในที่ต่างๆ อีก
ในขณะที่หลายๆ โรงเรียนมีเพียงอนุบาล เด็กหลายๆ คนถูกบั่นทอนความมั่นใจที่เคยมี จากการสอบเพียงครั้งเดียวตั้งแต่วัย
5 ขวบ แล้วช่วงวัยต่อจากนี้ไปเขาจะต้องดำเนินต่อไปอย่างไร เพราะต่อจากเด็กเล็ก จะต้องมีการสอบคัดเลือกทุกๆ
6 ปี
แต่ในวัยอนุบาลควรหลีกเลี่ยงเพราะเค้าเล็กเกินกว่าที่จะอธิบายให้เค้าได้เข้าใจถึงอัตราการแข่งขัน
แต่สิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ที่มองบุตรหลานออกว่าสามารถยอมรับกับการไม่ได้คัดเลือก
หรือไม่ได้สนใจกับผลที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ถ้าไม่
ควรหลีกเลี่ยงการสอบแข่งขันที่มีอัตราการแข่งขันสูงขนาดนั้นดังนั้นการบ่มเพาะความรัก
ความเอาใจใส่บุตรหลาน เป็นสิ่งสำคัญ ต้องให้เค้าได้รู้ว่าไม่ว่าเค้าจะผิดพลาดอย่างไร
พ่อแม่ยังคงอยู่เคียงข้างเค้าเสมอ การสอบเข้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่จะทำงานโดยมีเวลาจำกัด
การมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ และทำสิ่งที่ทำอยู่ให้ดีที่สุด ผลจะออกมาเป็นอย่างไรไม่สำคัญ
พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นคนสร้างภูมิด้านจิตใจให้เค้าให้แกร่งขึ้น
เพื่อพร้อมรับกับภาวะของการแข่งขันที่จะต้องมีผู้ที่ถูกคัดออก