ทัศนของผู้ปกครองหลาย ๆ คนที่ส่งบุตรหลานมาเรียนจินตคณิตส่วนใหญ่มุ่งหวังให้บุตรหลานมีการคิดคำนวณที่รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดเนื่องจากการทำการตลาดการตลาดของสถาบันการสอนจินตคณิตเกือบทุกแห่งมักเน้นเรื่องความเร็วในการคิดคำนวณ นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขันคณิตคิดเร็วกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ถ้าเด็ก ๆ ได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง ที่ต้องให้เวลากับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาเรื่องความเร็วและความแม่นยำ แต่ในปัจจุบันนี้สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้และฝึกฝนมีมากขึ้น เมื่อเทียบกับเวลาที่เด็ก ๆ มีอยู่ ทำให้การฝึกฝนของเขาต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับแต่ละครอบครัว

นอกจากเรื่องของเวลา(ของการฝึกฝนที่ต้องแบ่งไปให้กับการเรียนที่มาก) แล้ว ธรรมชาติของเด็กที่ถูกอบรมเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมของเด็ก หล่อหลอมให้เด็กแต่ละคนมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ คงหนีไม่พ้นกระต่ายกับเต่า ซึ่งธรรมชาติของกระต่ายก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากเมื่อเทียบกับเต่า ดังนั้นหากเด็กที่ถูกเลี้ยงมาให้เป็นเด็กที่ทำงานทุกชิ้นอย่างประณีต มักใช้เวลากับงานแต่ละชิ้นเป็นเวลานาน หรือใช้เวลากับงานแต่ละอย่างแบบช้า ๆ การฝึกให้คิดเลขเร็ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะกับธรรมชาติของเด็กคนนั้น แต่เมื่อเทียบกับเด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกกระตุ้นให้ใช้เวลากับการทำงานแบบเร็ว ๆ การคิดเลขเร็วก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขา หากเด็กได้รับการฝึกฝน อย่างสม่ำเสมอจะทำให้เขาคิดเลขได้เร็วและแม่นยำ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเด็กไม่ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่เกิดคู่กันกับความเร็วคือความผิดพลาด เมื่อเทียบกับเด็กที่ช้ากว่าแต่มีความรอบคอบ และแม่นยำมากกว่าน่าจะมีประโยชน์กว่าการที่จะฝึกให้เด็กเน้นแต่ความเร็วเพียงอย่างเดียว  เช่นเดียวกับนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า ที่เด็กหลาย ๆ คนที่ได้ฟังเรื่องนี้มักอยากเป็นเต่าที่มีมานะอดทนมากกว่าการเป็นกระต่ายที่มีแต่ความประมาท

หากเรามองถึงเรื่องเส้นชัย นั่นคือการที่เด็กสามารถสร้างศักยภาพของสมองทั้งสองด้าน ผ่านการคิดคำนวณ ก็ถือเป็นผลสำเร็จที่น่าชื่นชม

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | Comments Off on เส้นชัยของเต่ากับกระต่าย

images            จากประสบการณ์การสอนเด็กที่ผ่านมา เราพบวิวัฒนาการในด้านลบของเด็ก ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ และวัยของเด็กที่เล็กลงทุกปี  ซึ่งหมายถึง ความเอาใจใส่ต่อการเรียน ความเอาใจใส่ในเรื่องการบ้าน หรืองานที่ได้รับมอบหมาย เมื่อสืบค้นหาความจริง เรามักจะได้รับคำตอบทั้งจากตัวเด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครองว่า เด็กติดเกมส์ ทำให้เด็กนอนดึก ทั้งเกมส์ออนไลน์ และเกมส์ในโทรศัพท์มือถือ หรือในแท็ปเล็ต

            ในช่วงแรกของการส่งเกมส์ให้เด็ก ๆ พ่อแม่ผู้ปกครองมักถูกหลอกว่าเป็นเกมส์การศึกษา (Educational Game) แต่หลังจากที่เล่นไปได้ซัก1 — 2 เดือน เด็ก ๆ จะรู้สึกว่าเกมส์ดังกล่าวจะไม่ท้าทาย และไม่น่าสนใจ ทำให้ต้องหาเกมส์ใหม่ ๆ ให้กับบุตรหลาน เนื่องจากเริ่มเคยชินกับการที่เด็ก ๆ อยู่นิ่ง หรืออยู่กับเกมส์ได้เป็นเวลานาน เมื่อเด็กอยู่กับเกมส์ ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีเวลาเป็นส่วนตัวมากขึ้น สุดท้ายกลายเป็นการติดกับ  เกมส์ที่แยกลูกออกจากพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว

            ความรุนแรงของเกมส์จะมีอยู่ 2 ระดับ คือ เกมส์ที่ติดมากับเครื่อง และเกมส์ออนไลน์ แตกต่างกันตรงที่เกมส์ที่ติดมากับเครื่อง พ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถควบคุมเวลาในการเล่นเกมส์ของเด็ก โดยมีการกำหนดเวลาได้อย่างแน่นอน  แต่สำหรับเกมส์ออนไลน์นั้น เด็กที่ติดเกมส์ดังกล่าวจะมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเวลาที่เกมส์นั้นกำหนด เช่นอีก 2 ชั่วโมง จะต้องเข้าไปเล่นด่านต่อไป ทำให้เด็ก ๆ ไม่จดจ่อหรือมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ จิตใจจอจ่อรอคอยแต่เวลาที่จะเข้าไปเล่นเกมส์อีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายกับเด็กมากกว่าการเรียน (ซึ่งน่าเบื่อในความคิดของเด็ก)

            จากสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น เราจะเห็นว่า โอกาสที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเล่นเกมส์ คงเป็นไปได้ยาก หากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นไปได้ยาก เราก็ต้องมีการวางแผน โดยมีกฏแน่นอน ทั้งในเรื่องของการทำความตกลงเกี่ยวกับความรับผิดชอบของเด็กที่จะต้องทำ (ทั้งการบ้าน และคะแนนสอบ) การไม่ให้เล่นเกมส์ออนไลน์ การกำหนดเวลาของการเล่นให้ชัดเจน รวมถึงการเลือกเกมส์ที่มีความสร้างสรร ไม่ใช่เกมส์ทำลายร้าง ที่บ่มเพาะนิสัยความรุนแรงให้กับเด็กโดยไม่รู้ตัว หากเรามีแผนรองรับที่ดี และสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ เกมส์ หรือสื่อทางอินเตอร์เน็ต ก็ไม่ใช่สิ่งที่บั่นทอนการเรียนรู้ของเด็กได้

ครู จา

Tags : , , , , , , , , , | add comments

imagesAOG1JC17                        เมื่อพูดถึงคำว่า เวลา เราจะไม่รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่มีค่าอะไรนัก จนกว่าจะมีการขีดเส้นจำกัดเวลาของกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง เมื่อนั้นเราถึงจะรู้คุณค่าของมัน ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่นการทำข้อสอบ หากเราใช้เวลาในการทำข้อสอบในช่วงแรกนานจนเกินไป เราอาจถูกเก็บข้อสอบก่อนที่เราจะทำเสร็จ เช่นเดียวกัน เวลาที่เป็นวัยทองของเด็กก็มีจำกัดเช่นกัน วัยทองหมายถึงวัยของการเรียนรู้ ที่ผู้ใหญ่สามารถป้อนข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา หรือ การเรียนรู้ เราจะมีเวลาตั้งแต่ทารก จนถึง 10 ปีเท่านั้น เนื่องจากวัยดังกล่าวนั้น เป็นช่วงที่สมองยังมีการเชื่อมต่อปลายประสาท ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ การรับรู้ และความฉลาดของเด็กเมื่อโตขึ้น

                        นอกจากในเรื่องของการเจริญเติบโตของสมองแล้ว เราจะกล่าวถึงเวลาในแง่ของการฝึกทักษะของคนโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น การหัดขับรถของผู้ใหญ่ ก่อนที่จะขับขี่บนท้องถนนได้ ก็จะต้องเข้าใจอุปกรณ์ในรถยนต์ให้ครบทุกชิ้นก่อน แล้วจึงหัดเข้าเกียร์ และลงถนน พร้อมกับการเรียนรู้กฎจราจร นอกจากนี้การฝึกขับรถให้ชำนาญ สามารถแซง หรือการขับรถบนภูเขา ซึ่งต้องใช้ความชำนาญทั้งพื้นที่และการขับรถที่ต้องใช้ประสบการณ์ที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนของเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเรียนเสริมในใด ๆ  เช่น การเรียนดนตรี ศิลปะ หรือแม้กระทั่งวิชาการต่าง ๆ หากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้ เรียนรู้ และฝึกประสบการณ์ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะให้คล่องแคล่ว พร้อมกับการสั่งสมประสบการณ์เพื่อให้สามารถพลิกแพลงเมื่อพบกับปัญหาที่แตกต่างจากเดิม  

                        หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่มีความอดทน รอคอยให้เด็ก ๆ ได้สะสมประสบการณ์ จะทำให้ขาดความชำนาญ ไม่ว่าจะให้เด็กฝึกทักษะใด ๆ หากไม่มีประสบการณ์ที่มากพอแล้วหยุดการฝึกประสบการณ์ จะทำให้สิ่งที่สะสมมา ก็จะไม่เกิดประโยชน์ เมื่อเทียบกับเวลา(ในวัยทอง)ที่เสียไป

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments