เรียนที่เดียวดีมั้ย

Posted by malinee on Tuesday May 30, 2017 Under Uncategorized

ในสังคมในยุคปัจจุบัน ที่พ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องทำงานพร้อมกับการดูแลบุตรหลานไปพร้อมๆ กัน เมื่อถึงสุดสัปดาห์ก็รู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรงที่จะคอยดูแลวิชาการของบุตรหลาน จึงส่งบุตรหลานเรียนในสถาบันต่างๆ ที่ได้เลือกไว้ว่าเหมาะสมกับบุตรหลานของตนเอง

การเรียนตามสถาบันต่างๆ คุณพ่อคุณแม่มักเลือกสถาบันที่มีการเรียนการสอนครบทุกวิชา เพื่อให้เด็กได้เดินทางภายในที่เดียว เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการเดินทาง เช่นเด็ยวกับคุณพ่อคุณแม่ น้องๆ ก็ถือว่าตนเองเรียนมาทั้งสัปดาห์แล้ว ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมานั่งอ่านทบทวนสิ่งที่เรียนมา คุณพ่อคุณแม่จึงเห็นว่าการเรียนเสริมเป็นการช่วยทบทวนในสิงที่บุตรหลานได้เรียนมา เพื่อเป็นทางลัดในการอ่านทบทวนของเด็กๆ แต่ในการเรียนการสอนแต่ละวิชานั้น ครูผู้สอนจะมีความถนัดในแต่ละวิชาแตกต่างกัน ยิ่งในวัยที่โตขึ้น ครูในแต่ละวิชายิงจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นในการเรียนในแต่ละวิชา จึงควรเรียนในแต่ละสถาบันที่มีความถนัดในแต่ละวิชาจะได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด

แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่ดีที่สุดคือการให้บุตรหลานได้อ่านและทบทวนในสิ่งที่ตนเองได้เรียนมา โดยมีคุณพ่อคุณแม่ ช่วยเสริมและเพื่อการพัฒนาทักษะของการอ่านและการคิดวิเคราะห์

Tags : | add comments

Doc3            ความ    แน่นอนของคนทุกๆ คนย่อมต้องผ่านวัยเด็กมา ผ่านการเรียนในวัยเด็กกันทุกคน พ่อแม่ ผู้ปกครองย่อมรู้ดีว่าการเรียนคณิตศาสตร์นั้นสำคัญเพียงใด และทัศนคติในการเรียนไม่ว่าจะเป็นวิชาใดๆ ก็ตาม จะขึ้นอยู่กับครูผู้สอนอย่างมาก แต่ในหลายๆ วิชาการเรียนในแต่ละระดับจะไม่เกี่ยวเนื่องกันมากนัก ยกเว้นก็แต่วิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งต้องใช้ความรู้พื้นฐานอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าหากพื้นฐานในการเรียนไม่ดี การต่อยอดต่อไปก็จะเป็นไปได้ยากขึ้นตามลำดับ

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการพัฒนาหลักสูตร หรือเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ บางครั้งใช้การจับคำ (Key word) , บางครั้งใช้ภาพ , บางครั้งใช้สมการ หรือบางครั้งจะใช้ Block Model เข้าช่วย ขึ้นอยู่กับวัยของเด็กๆ

ที่กล่าวว่าขึ้นอยู่กับวัยเด็ก เนื่องจากการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ความซับซ้อนก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเด็กในวัยประถมต้นนั้น เราจำเป็นจะต้องใช้ภาพเป็นสื่อให้เด็กตีความไปตามลำดับของโจทย์ ซึ่งในช่วงแรกเราจะใช้ภาพเป็นสื่อก่อน ต่อจากนั้นเราจะเริ่มแปลงภาพเป็น Block Model ต่อไป เนื่องจากตัวเลขจะมากขึ้น แต่กระนั้นเองเด็กในวัยก่อนชั้นประถม 6 ยังไม่ได้เรียนเรื่องสมการ และการแก้สมการ ดังนั้นเรื่องที่ผู้ใหญ่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการแก้สมการ แต่การแก้ไขปัญหาเดียวกันในเด็ก เราจะต้องใช้วิธีอื่นเพื่ออธิบายให้เกิดความเข้าใจ

Block Model คือ หลักสูตรในการแก้โจทย์ปัญหาในแนวของ Singapore Maths โดยใช้ภาพของกล่องในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์กับเด็ก ดังตัวตัวอย่างต่อไปนี้

 

โจทย์ดังกล่าวมักจะพบในระดับประถมต้น เราจำเป็นต้องใช้รูปเพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพ ผู้ใหญ่หลายๆ คนจะสอนให้เด็กย้ายข้าง ซึ่งเด็กจะไม่เข้าใจ จนในที่สุดจะกลายเป็นการบอกวิธีการเลยว่าจะต้องนำไปบวก หรือลบ ซึ่งไม่ได้ทำให้เด็กมีความเข้าใจมากขึ้น แต่เป็นการช่วยให้เด็กๆ ทำการบ้านได้เร็วขึ้นเท่านั้นเอง โดยไม่ได้เกิดความเข้าใจ หรือประโยชน์อะไรมากกว่านั้นเลย จนกลายเป็นว่าเมื่อไรที่ต้องการแก้ไขปัญหา ก็นำมาให้พ่อแม่ผู้ปกครองช่วย (บอกวิธีหาคำตอบ)

นอกจากโจทย์ระดับของประถมต้นแล้ว Block Model ยังสามารถแก้ไขโจทย์ปัญหาในระดับสูงขึ้นได้อีกด้วย เช่น

พ่อมีอายุ 42 ปี ฉันมีอายุ 6 ปี อีกกี่ปี พ่อจึงมีอายุเป็น 3 เท่าของฉัน

จากตัวอย่างข้างต้น ยังมีวิธีการในระดับที่ยากขึ้น หากต้องการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาด้วย Block Model ท่านพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถ search เพื่อหา Block Model Strategies ได้ใน website ต่างๆ มากมาย เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยแก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ของบุตรหลานได้

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

perfect-genes-dna-hereditary-health-good-wellness-condition-word-d-letters-strand-to-illustrate-running-family-45473797          หลายๆ ครั้งที่ผู้ปกครองมักมีคำถามในใจ ว่า ทำไมลูกเราเรียนได้ดีไม่เท่าลูกเพื่อน ทั้งที่การเรียนตั้งแต่ในวัยอนุบาล เป็นที่เดียวกันหรือแม้กระทั่งการเรียนพิเศษ ก็เรียนที่เดียวกันมาตลอด แต่ทำไมลูกเราจึงเรียนสู้ลูกเพื่อนไม่ได้ หากลองตัดปัจจัยต่างๆ ที่เหมือนกันออกไปให้หมด เราจะพบตัวแปรต้นที่ไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องของพันธุกรรม (เนื่องจากในงานวิจัยต่างๆ พบว่าความฉลาดของมนุษย์นั้นจำเป็นต้องมีการทำงานของยีนหลายๆ ยีนและจำเป็นต้องมีปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีผลมากกว่าร่วมด้วย) ในเมื่อเรื่องพันธุกรรมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความฉลาดแล้ว ทำไมลูกเรายังเรียนสู้ลูกเพื่อนไม่ได้ ทั้งที่ลูกเราเรียนเหมือนลูกเค้าทุกอย่าง ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมเดียวกัน

จริงหรือที่เด็กสองคนอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน อาจจะจริงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของการเข้าเรียนเหมือนกัน แต่สิ่งแวดล้อมของการเลี้ยงดูตั้งแต่ในวัยเด็กเป็นการเสริมสร้างความฉลาดในการเรียนรู้ของเด็กแตกต่างกัน เช่น เด็กที่ได้ฝึกจับช้อน แก้วน้ำ ระบายสี หรือสิ่งต่างๆ ในการลองผิดลองถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ต้องใช้เวลาในการรับประทานอาหารหน้าทีวี หรือเล่นเกมส์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมการปล่อยให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (ตามวัย) ไปจนกระทั่งการฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก จะเป็นการสร้างและเชื่อมโยงเส้นใยของสมองให้เชื่อมโยงกันมากขึ้น นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้ลองแก้ปัญหา หรือลองผิดลองถูกด้วยตนเอง จะเป็นการกระตุ้น และสร้างนิสัยให้เขาเป็นเด็กที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้ลองแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากพ่อแม่ ผู้ปกครองหลงติดกับ กับการใช้เกมส์ที่มีแสง สีสัน สวยงามและภาษาอังกฤษ ที่หลอกล่อเด็กให้เด็กอยู่กับที่ได้นาน ร่วมกับความเข้าใจในคำสั่งของเกมส์ ก็หลงคิดไปว่า ลูกสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี อีกทั้งทำให้ลูกมีสมาธิได้นาน แต่ในความเป็นจริงนั้น คำสั่งในเกมส์จะเป็นคำสั่งซ้ำๆ หรือเด็กใช้ความจำว่าขั้นนี้ต้องทำอย่างไรต่อไป ส่วนเรื่องที่เด็กนั่งอยู่ได้นานเนื่องจากเกมส์ในยุคปัจจุบันมีสีสันสวยงาม เป็นแอนิเมชั่นที่เหมือนจริง มันเป็นการยากที่เด็กๆ จะละสายตาจากมันได้ แต่เมื่อเขาต้องอ่านหนังสือ ที่มีแต่ตัวอักษรสีดำบนกระดาษสีขาวของตำราเรียน แล้วยังต้องนั่งในห้องเรียนคาบละชั่วโมง เขาจะไม่กระตือรือร้นต่อการเรียน นอกจากนี้แล้วพ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ ครอบครัว แยกหน้าที่ของตนเองกับโรงเรียนอย่างชัดเจน นั่นคือตนเองมีหน้าที่ทำให้ลูกมีความสุข โดยการตามใจ ส่วนเรื่องของการให้ความรู้ , กฎระเบียบ และคุณธรรมจริยธรรมเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงฝ่ายเดียว

เด็กส่วนใหญ่จึงไม่รู้จักเคารพในกฎกติกา ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ไปโรงเรียนเพราะพ่อแม่ไปส่ง รอแต่เวลาที่จะได้เล่นเกมส์ไปวันๆ เท่านั้น เแต่ครูไม่ได้หมายความว่าสื่ออิเล็คโทรนิกส์ไม่ดีเสมอไป ข้อมูลหลายๆ ข้อมูล หรือ e-book หลายๆ เล่ม ครูก็ได้จากอินเตอร์เน็ตเช่นกัน เพียงแต่สื่อต่างๆ เหล่านี้จะต้องใช้ควบคู่กับวุฒิภาวะที่เหมาะสมควบคู่กันไป

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.quora.com/Is-intelligence-determined-by-alleles-and-if-so-would-it-be-dominant-or-recessive

Tags : , , , , , , , , | add comments

คัดเลือกครู ?

Posted by malinee on Monday May 1, 2017 Under เกร็ดความรู้

images          จากช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นช่วงที่เด็กๆ ปิดเทอม พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านก็จัดกิจกรรมการเรียนในวิชาต่างๆ ให้กับเด็กๆ เด็กหลายๆ คนผ่านการสอบคัดเลือกเข้าสู่ระดับมัธยม ก็จะต้องมีการเรียนภาคฤดูร้อนเพื่อเป็นการปรับพื้นฐาน หรือปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนที่โตขึ้น

หลังจากที่กล่าวถึงการสอบคัดเลือกเด็กๆ เข้าเรียนในโรงเรียนต่างๆ แล้ว ครั้งนี้เรามาศึกษาวิธีการสอบคัดเลือกของข้าราชการครูกันบ้าง การสอบคัดเลือกข้าราชการครูนั้น ครูทุกๆ คนจะต้องผ่านการสอบข้อสอบ ภาค ก และ ภาค ข ซึ่งคะแนนรวมคือ 400 คะแนน หลายๆ คนคงสงสัยว่า ครูจะเขียนบทความนี้เพื่ออะไร

การสอบภาค ก เป็นข้อสอบกลางในการคัดเลือกบรรจุข้าราชการทุกอัตรา (ไม่ใช่เฉพาะข้าราชการครู) ข้อสอบจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ กฎหมาย และพระราชบัญญัติ มาตราต่างๆ เกี่ยวข้องกับการทำงานของข้าราชการ โดยมีคะแนนเต็ม 200 คะแนน ส่วนภาค ข เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย ความรู้เกี่ยวกับวิชาการศึกษา (100 คะแนน) ส่วนความรู้ในวิชาที่จะเข้าสอน (วิชาเอก) อีก 100 คะแนน ซึ่งข้อสอบทั้งหมดเป็นข้อสอบปรนัย จากสัดส่วนของคะแนนที่รับข้าราชการครูเฉพาะสาขาวิชา เราจะเห็นว่า ความรู้ความสามารถในวิชาชีพคิดเป็นเพียง 25% เท่านั้น

ในความคิดเห็นของครู เห็นว่า แนวทางการคัดเลือกข้าราชการครู ควรจะมีมาตรฐานในการคัดเลือกให้มีการคัดเลือกจากส่วนกลาง แล้วกระจายครูไปยังภูมิภาคต่างๆ การสอบคัดเลือกควรมีการแยกข้อสอบการคัดความรู้เฉพาะทางให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ โดยให้แบ่งส่วนของการสอบออกเป็นภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติไปพร้อมกันเพื่อให้ได้ข้าราชการครูที่มีคุณภาพ แต่หลังจากที่เราได้ครูที่มีคุณภาพแล้ว งบประมาณต่างๆ ที่ลงมายังกระทรวงศึกษาธิการ ควรจะส่งตรงไปยังผลตอบแทนของครูมากกว่าการทุ่มงบให้ tablet ที่กระจายไปทั่วประเทศอย่างเสียเปล่า โดยให้แต่โทษไม่เกิดประโยชน์อะไรอย่างสิ้นเชิง อย่างน้อยเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่ต้องการเป็นครูที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเด็กๆ ต่อไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments