เด็กทุก ๆ คนเมื่อเกิดมา นับตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาดูโลก เขาจะใช้อวัยวะของร่างกายในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  จึงเป็นที่มาของนักจิตวิทยาเด็ก ที่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวมาวิจัยเกี่ยวกับเด็กทารก แล้วก็พบว่าประสบการณ์ทางด้านความรู้สึกทางอารมณ์และการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความฉลาดและการเจริญเติบโตของเด็กทารกจนกระทั่งอายุ 2 ปี หากเด็กมีการเรียนรู้ทั้งสองด้านอย่างต่อเนื่อง  ก็จะสะท้อนออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ (ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย) , วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการเข้าสังคมเมื่อเขาเติบโตขึ้น (เรามักจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เมื่อลูกเข้าสู่วัยประถม)

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เรากล่าวถึงประสบการณ์ในวัยทารกอยู่ 2 ด้าน ซึ่งได้แก่

  1. ประสบการณ์ด้านอารมณ์และความรู้สึก เมื่อมองย้อนกลับไปในวัยทารก เด็กส่วนใหญ่จะได้รับความรักความอบอุ่นจากแม่ ภาษากายที่แม่ส่งผ่านความรักให้กับลูกผ่านการอุ้ม การสัมผัสของแม่นั้น เป็นประสบการณ์ในเชิงบวกที่ลูกจะได้เรียนรู้ว่าตนเองจะปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอด หากแต่เมื่อใดที่ต้องการความช่วยเหลือ แค่เพียงร้องไห้ เขาก็จะได้สัมผัสที่เขาต้องการอีกครั้ง  ซึ่งประสบการณ์ในเชิงบวกนี้มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในวัยทารกมาก เมื่อเขารู้สึกอบอุ่น และปลอดภัย เขาก็สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างผ่อนคลาย  แต่ในทางกลับกัน  หากครอบครัวใดไม่มีความพร้อม หรือยังไม่ได้เตรียมรับกับสถานการณ์ที่จะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อย ๆ ที่ค่อนข้างเอาแต่ใจมาเพิ่ม การเรียนรู้ของเขาก็จะเป็นประสบการณ์ในเชิงลบ  เนื่องจากในสถานการณ์ที่ยังไม่พร้อมนั้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกตลอด 24 ชั่วโมงนั้น หมดความอดทนลงได้ในเสี้ยววินาที  หากเป็นเช่นนั้น เด็กเองจะมีความรู้สึกหวั่นไหว ไม่ปลอดภัย ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเขาให้พัฒนาช้าลง จนอาจกลายเป็นกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้เมื่อโตชึ้น
  2. การเคลื่อนไหว  เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่า ในวัยทารกนั้น เด็กในช่วง 7 เดือนแรกไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ทำให้การเรียนรู้ในช่วงนั้นจะต้องเป็นการเรียนรู้จากแขนขาที่ขยับได้เต็มที่ แล้วขยับไปเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า ในช่วงของวัยที่ต้องอยู่ในเปล คนโบราณจึงนำโมบายมาห้อยไว้ที่หัวเตียง เพื่อเป็นอุบายให้เด็กขยับแข้งขา ให้เขามองแล้วไขว่ขว้า  และก็เป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า การเคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานการพัฒนาในทุก ๆ ด้านของเด็ก ทั้งในเรื่องกล้ามเนื้อ  ความจำ และบุคลิกภาพ

หลาย ๆ ครอบครัวมักจำกัดกรอบการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ไม่ให้ปีนป่าย เนื่องจากกลัวการลาดเจ็บ  การจำกัดกรอบต่าง ๆ ดังกล่าว เท่ากับการปฏิเสธที่จะให้เขามีประสบการณ์ในการใช้กล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ  หรือในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บ เขาก็ยังได้ประสบการณ์ว่าในการปีนป่ายต้องมีความระมัดระวังในจุดไหนมากกว่าปกติ  (จริง ๆ ผู้ใหญ่สามารถป้องกันการบาดเจ็บได้ หรือลดความเสี่ยงได้ โดยไม่ไปจำกัดกรอบการเล่น การเรียนรู้ของเด็ก)  ซึ่งประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวนี่เอง เป็นพื้นฐานที่ทำให้เขามีสุขภาพดี และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

จากบทความข้างต้น ชี้ให้เห็นแล้วว่าวัยทารกนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก หากเราต้องการให้ลูกหลานเป็นเด็กฉลาด สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือ การยื่นความรัก ความอบอุ่น และการเล่นโดยใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน ที่จำกัดกรอบการเล่นให้น้อยที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ด้วยยุคสมัยที่มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สังคม การสื่อสาร โทรคมนาคม ใช้เวลาสั้นลง ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับกลไกหรือกระบวนการคิดของคนในสังคม ให้มีแนวทางที่แตกฉาน รอบรู้มากขึ้น  แต่น่าเสียดาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นเสมือนดาบสองคม ที่ส่งผลให้กระบวนการในการเรียนรู้แบบลัดขั้นตอน ไม่ผ่านกระบวนการคิด การลองผิดลองถูก ของเด็ก ,เยาวชน หรือแม้แต่คนในวัยทำงาน  ซึ่งเป็นเหตุให้ทักษะหลาย ๆ อย่างที่ควรได้รับการพัฒนา หายไปโดยสิ้นเชิง

หากลองพิจารณาแล้ว จะพบว่า ปัญหาหลัก ๆ ที่เราพบกันอยู่บ่อย ๆ เป็นปัญหาของคน 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ เด็ก ซึ่งรวมถึงกลุ่มนิสิต นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ และกลุ่มคนทำงาน ถ้าสาวปัญหากันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่าทั้งสองกลุ่มดังกล่าว เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและกระบวนการคิด ทั้งสิ้น

หากท่านเป็นคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือรู้สึกขับข้องใจ กับปัญหาดังกล่าว มาช่วยกันคิดดีกว่าว่า “ทำไมแนวโน้มของเด็ก เยาวชน นิสิต นักศึกษา หรือแม้กระทั่งคนทำงาน จึงขาดทักษะในเรื่องกระบวนการคิดเหมือน ๆ กันไปหมด     ”

จากแนวโน้มดังกล่าวมันทำให้เราพอจะจับแนวทางของการเลี้ยงดูกลุ่มดังกล่าวได้ว่าจะต้องมีวิถีการดำเนินชีวิต กระบวนการการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกัน เมื่อมองย้อนมาถึงจุดนี้ สิ่งที่ปรากฏเป็นภาพชัดขึ้นก็คือ

เด็กรุ่นใหม่                เรียนกัน                    จันทร์ ถึง ศุกร์

พ่อแม่สุข                   ทุกอย่างครบ             จบทุกงาน

พอถึงบ้าน                 สุขี                              มี IPad

บางที chat                บางที face                 อัพเดทข้อมูล

ได้เพิ่มพูน                 เพื่อนใหม่                  ใน profile

น่าสงสัย                    คนอยู่ใกล้                 ไม่ทักกัน

เล่นข้ามวัน                 ข้ามคืน                     ไม่หลับนอน

แต่ตอนเช้า                 หาวหวอด                ไม่ปลอดโปร่ง

โคลงเคลงหัว            ตัวหนัก ๆ                  ชักไม่สบาย

พอตกบ่าย                 คลายง่วง                  ก็ห่วงหา

นับเวลา                      ถอยหลัง                     นั่งหน้าจอ

ใจจดจ่อ                      ไม่เพียร                       เขียนอ่านเลย

ครูจา

 

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments