การเริ่มต้นการเรียนรู้สำหรับเด็กนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวนี้เราผู้เป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง จะต้องสรรหาสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งที่ลูกน้อยสนใจ นอกจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว คุณพ่อ คุณแม่ยังต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของพื้นฐานทางการศึกษาด้วย เมื่อกล่าวถึงการศึกษานั้นวิชาคณิตศาสตร์จะเป็นวิชาที่มีความท้าทาย เด็กหลาย ๆ คนจะมีความรู้สึกว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยากที่สุด เราสามารถเปลี่ยนวิชาคณิตศาสตร์ให้เป็นวิชาที่มีความสนุกสำหรับลุกได้ โดยการใช้กิจกรรมหรือเกมส์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจขั้นพื้นฐาน เช่น อาจคิดเกมส์การล่าขุมทรัพย์ ที่ใช้คณิตศาสตร์พื้นฐานเป็นการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักคณิตศาสตร์  หรือคุณอาจพาลูกไปห้างสรรพสินค้า ซึ่งเด็กสามารถมีความเข้าใจเรื่องเงิน เงินทอน หรือแม้แต่การคำนวณราคาเมื่อมีส่วนลด หรือการเรียนเรื่องเศษส่วน เราก็สามารถใช้พิซซ่า เค๊ก หรือพาย สอนการแบ่งส่วนที่เท่ากัน
                 จากตัวอย่างต่าง ๆ ด้านบน พบว่าเราสามารถสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กได้อย่างสร้างสรรค์ เพียงแต่พ่อ แม่ ผู้ปกครองจะต้องใช้เวลาให้คุ้มค่าในการดูแลปลูกฝังลูกน้อย เพื่อให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

บทความจาก : ezinearticle     โดย    Connor R Sullivan

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

กิจกรรม นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

ภายใต้ โครงการศูนย์พัฒนาศักยภาพนิทานในการพัฒนาเด็ก

วิทยากร  : อาจารย์ปรีดา  ปัญญาจันทร์

วันเวลา    :   วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553  เวลา 09.00-16.00 น.

สถานที่    :   ณ ห้องประชุมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล 

ค่าลงทะเบียน :  400 บาท (รวมอุปกรณ์/อาหารว่าง/อาหารกลางวัน)

กำหนดการ

08.30–09.00 น. ลงทะเบียน

09.00-10.30 น. อบรม “นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก” บรรยายสลับกับ workshop (1)

10.30-10.45 น. รับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น. อบรม “นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก” บรรยายสลับกับ workshop (2)

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น. กิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มพัฒนาการทางสมองของเด็กปฐมวัย “วาด-ตัด-ปะ ศิลปะ”

14.30-14.45 น. รับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น. อบรม “สื่อภาษาเพื่อพัฒนาการอ่าน” บรรยายสลับกับ workshop

16.00 น.               จบการอบรม

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

       การปูพื้นฐานที่มั่นคงในการเรียนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากเด็กขาดทักษะทางคณิตศาสตร์อาจทำให้เขามีปัญหาในการเรียน หรือขาดความมั่นใจในการเรียนรู้ เด็กที่ขาดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์จะเพิ่มความรู้สึกยุ่งยากและความสับสนในการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อย ๆ แต่เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เราจะพบว่าความกดดันที่เด็กได้รับจากทักษะทางคณิตศาสตร์ก็หมดไปเช่นกัน จนเราอาจจะได้ยินว่าลูกชอบคณิตศาสตร์ในที่สุด
        การสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้นจะมีวิธีการอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีส่วนในการสร้างความมั่นใจและความเข้าใจเชิงลึกให้กับเด็ก สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองมักสับสนกับการเป็นผู้สอนเด็กมีดังนี้
-อาจเกิดจากการมุ่งเน้นในบางเรื่องเท่านั้น เช่นการมุ่งเน้นในเรื่องของจำนวนจนลืมหัวข้ออื่น ๆ ที่เด็กต้องเรียนรู้ในระดับต้น การทบทวนแบบไม่มีลำดับขั้น

        การมุ่นเน้นคณิตศาสตร์ให้กับชั้นประถมปีที่นั้นจะมีหัวข้อสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
–  ระบบจำนวน ซึ่งหมายรวมลำดับขั้นของกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และค่าประจำหลักด้วย
–  ความสัมพันธ์ ในชั้นประถมต้นจะเรียนแบบรูปที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อน หรืออาจเป็นการหาตัวแปรแบบง่าย ๆ
–  เรขาคณิต และมิติสัมพันธ์ เด็กจะเรียนรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน แล้วจึงเพิ่มในเรื่องของมิติสัมพันธ์ การอ่านแผนที่ และการแก้ปัญหาเรขาคณิต
–  การวัด และการเปรียบเทียบเชิงปริมาณทั้งในเรื่องความยาว น้ำหนัก อุณหภูมิ ความจุ เวลา และเรื่องเงิน
–  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การใช้ตาราง แผนภูมิ กราฟ เพื่อจัดรูปแบบข้อมูล
      คณิตศาสตร์สำหรับชั้นประถมปีที่ 1 – 3
     ชั้นประถมปีที่ 1 มุ่งเน้นการเรียนเรื่องจำนวนและระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะเรียนเรื่องการบวก-ลบ จำนวนจาก 1 – 100 นอกจากนี้ยังมีการเรียนเรื่องรูปทรงเรขาคณิต การวัด เงิน แผนภูมิ กราฟ การวิเคราะห์ข้อมูล และแบบรูปทางคณิตศาสตร์
     ชั้นประถมปีที่ 2 เรียนเรื่องการจับกลุ่ม 10 , 100 และลำดับของระบบปฏิบัติการจำนวนไม่เกิน 1,000   ค่าประจำหลัก การคูณและการหาร
     ชั้นประถมปีที่ 3 จะยังคงเรียนเรื่องเดิมแต่เน้นในเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหา การเรียนเรื่องเศษส่วน และทศนิยม เด็กในวัยนี้จะเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการวัด รูปทรงเรขาคณิต และความสัมพันธ์
     ชั้นประถมปีที่ 4 เรียนในเรื่องเดิมแต่มีความลึกมากขึ้น เช่นในเรื่องของเศษส่วน จะมีการเปรียบเทียบเศษส่วน การบวกลบ เศษส่วน มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องของปริมาตร พื้นที่ เส้นรอบรูป และเรื่องของการวัดมุม
     ชั้นประถมปีที่ 5 มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องของตัวประกอบ ตัวประกอบเฉพาะ 
     ชั้นประถมปีที่ 6 มีการแปลงทศนิยมเป็นเศษส่วน และการบวกลบคูณหารเศษส่วนและทศนิยม การเรียนเรื่องเปอร์เซ็นต์ ร้อยละ อัตราส่วน การสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางคณิตศาสตร์
      จากแนวทางการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษานั้นจะเห็นได้ว่า โดยหลักสูตรไม่ได้เน้นหนักในเรื่องของจำนวนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องมีการเสริมเนื้อหาในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เด็กมีความสุขกับการเรียน และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาต่าง ๆ อีกหลายวิชาในอนาคต

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

การสร้างวินัยให้กับลูกรัก
      การสร้างกิจวัตรและแบบแผนของอุปนิสัยให้กับเด็กนั้นเป็นเป้าหมายสำคัญอีกประการที่คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังให้กับลูกรักหลาย ๆ ครอบครัวมักวนกลับไปกลับมาระหว่างกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านมักยอมแพ้กับการต่อต่านของลูกรัก อีกทั้งความรู้สึกกระวนกระวายกับการบ้าน ความขัดแย้งกันเองระหว่างพ่อ-แม่ และความล่าช้าเมื่อต้องเปลี่ยนสถานที่ที่มีการนัดหมายกัน ความยากลำบาก หรือความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้ลูกรักขาดการพัฒนาในเรื่องของกิจวัตร หรืออาจเป็นวินัยติดตัวจนกระทั่งเด็กนั้นโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมันอาจส่งผลไปถึงเรื่องของการพึ่งพาตนเองและเรื่องความรับผิดชอบ ซึ่งในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นเราสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในการฝึกให้เด็กเกิดวินัยในตนเองนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพ่อ-แม่เช่นกัน การฝึกให้เด็กมีแบบแผนในการดำเนินชีวิตนั้นเราจะต้องฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปในแต่ละวัย โดยแบ่งเป็นวัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
– วัยทารก เด็กจะสามารถเรียนรู้ถึงแบบแผนของการให้อาหาร , การนอน และการเล่นที่เป็นเวลา
– วัยเตาะแตะ ได้เรียนรู้แบบแผนของการตื่นนอน , แบบแผนของอาหารว่าง และเวลาในการทำความสะอาด
– ก่อนวัยเรียน จะได้เรียนรู้ถึงแบบแผนของกิจกรรม ,การฟัง ,การนั่ง และเวลานอน
– วัยประถม เรียนรู้แบบแผนของงานเล็ก ๆ , แบบแผนของการบ้าน และการอยู่ร่วมกันในสังคม
        ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ผ่านการเรียนรู้ โดยที่มีพ่อแม่เป็นครูผู้ฝึก ซึ่งต้องมีความอดทนและเข้าใจในตัวเด็กด้วย
         การฝึกวินัยและกิจวัตรให้กับเด็กในวัยประถมนั้นมี 4 ประการหลัก ๆ ด้วยกันดังนี้
– กิจวัตรยามเช้า ซึ่งหมายถึงเวลาในการตื่นนอน ,การแต่งตัว , การรับประทานอาหารเช้า , การทำความสะอาดร่างกาย
– แบบแผนในโรงเรียน ทางโรงเรียนและครูจะเป็นผู้ฝึกแบบแผนให้กับเด็ก ซึ่งมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทางโรงเรียน
– แบบแผนหลังเลิกเรียน ซึ่งแบบแผนดังกล่าวจะรวมไปถึง กีฬา อาหารว่าง และการทำการบ้านด้วย
– กิจวัตรในเวลากลางคืน ซึ่งกิจวัตรดังกล่าวรวมถึงอาหารค่ำ การทำการบ้าน อาหารว่าง การทำการบ้าน การทำความสะอาดร่างกาย และการนอน
        ซึ่งในการสร้างวินัยให้กับลูกนั้น เขาจะต้องรู้สึกปลอดภัยและสะดวกสบาย ดังนั้นพ่อ-แม่ต้องมีการฝึกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้สำเร็จจะมีแนวทางดังนี้
1. การสร้างแบบแผนของตนเอง โดยปกติทุก ๆ คนจะมีแบบแผนในการดำเนินชีวิตของตนเองเนื่องจากภาระหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรจะมีการสร้างแบบแผนในชีวิตประจำวันของเราเองซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ลูกมีแบบแผนในการใช้ชีวิตในแบบของเขา
2. สร้างความคาดหวังและกิจวัตรภายในบ้าน  มีการปรึกษากับลุกเพื่อให้เขาได้ออกความคิดเห็นว่าสิ่งใดควรจะเป็นกิจวัตรในยามเช้า , กิจวัตรหลังเลิกเรียน และกิจวัตรในตอนกลางคืน ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นและฝึกให้เด็กนั้นมีวินัยไปจนโต
3. กระตุ้นให้เด็กมีการวางแผน และเน้นย้ำให้เด็กได้รู้ว่าชีวิตจะดำเนินไปได้ง่ายขึ้นถ้ามีวินัย
4. ทบทวนแบบแผนในโรงเรียน เด็กมักมีการต่อต้านและเบื่อหน่ายกับแบบแผนในโรงเรียน แต่ต้องมีการอธิบายให้เขาเข้าใจว่ามันจะเป็นการดีถ้าเขาสามารถจัดเวลาในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม
การสร้างกิจวัตรให้แก่ลูกถือเป็นการสร้างวินัยให้กับลูกรัก ไม่สายเกินไปที่จะเริ่มดำเนินการ คอยดูแลว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์ในระยะยาว และมีการปรับแผนงานกับลูก และอย่าลืมว่าเราต้องมีส่วนรับผิดชอบในการฝึกวินัยให้กับลูก หลังจากการฝึกสร้างวินัยใน 30 วัน จะพบว่าเด็กจะยอมรับ และผ่อนคลายกับแบบแผนหรือกิจวัตรที่ได้สร้างขึ้นแล้ว

ผู้เขียน : Laura Doerflinger, a licensed mental health counselor, is the Executive Director of the Parent Education Group at http://www.familyauthority.com and the author of the audio book, Emotionally Balanced Parenting
Copyright 2008 Parent Education Group

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากเดลินิวส์ออนไลน์

วันจันทร์ ที่ 08 พฤศจิกายน 2553

ในโลกนี้ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่จะทรงงานหนักที่สุดเพื่อปวงประชาของพระองค์ท่านได้เท่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของปวงชนชาวไทย ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์มีโครงการพระราชดำริต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนมากมาย โดยเฉพาะโครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดารที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการทำเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนในทุกภาคของประเทศ ส่งผลต่อความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

ด้วยพระอัจฉริยภาพในการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวงจนประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับสรรเสริญอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและนานาประเทศ ตัวอย่างเช่นในปี 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำผลงานโครงการพระราชดำริฝนหลวงและตำราฝนหลวงพระราชทานไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางเทคโนโลยี ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม ปรากฏว่าได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นด้านสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยคณะกรรมการจัดงานได้ถวายเหรียญทองและประกาศนียบัตรเชิดชูพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่สำคัญโครงการพระราชดำริฝนหลวงได้รับการจัดสิทธิบัตรต่อสำนักงานสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้ชื่อ “การดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งในวันที่โปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเข้าเฝ้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2548 ว่า…
…สิทธิบัตรนี้….เราคิดเอง…..คนไทยทำเอง…..เป็นของคนไทย…..มิใช่เพื่อพระเจ้าอยู่หัว…..ทำฝนนี้ทำสำหรับชาวบ้าน…..สำหรับประชาชน…..ไม่ใช่ทำสำหรับพระเจ้าอยู่หัว…..พระเจ้าอยู่หัวอยากได้น้ำ ก็ไปเปิดก๊อกเอาน้ำมาใช้ อยากได้น้ำสำหรับการเพาะปลูกก็ไปสูบจากน้ำคลองชลประทานได้ แต่ชาวบ้านชาวนาที่ไม่มีโอกาสมีน้ำสำหรับเกษตรก็ต้องอาศัยฝน ฝนไม่มีก็ต้องอาศัยฝนหลวง…

ดังนั้นเพื่อแสดงความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ที่มีต่อปวงชนชาวไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เป็นการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสชื่นชมในพระบารมีและร่วมกันถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติติดต่อกันไปทุกปี

กำหนดการดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและจัดงานพิธีวันพระบิดาแห่งฝนหลวงระหว่างวันที่ 8-15 พฤศจิกายน 2553 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 83 พรรษาในปีนี้ และในฐานะทรงเป็น พระบิดาแห่งฝนหลวง ตลอดจนเป็นการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย.

Tags : , , , , , , , | add comments

มักมีคำถามมากมายว่า “เรียนลูกคิดเพื่ออะไร”
     จุดประสงค์ของการเรียนลูกคิดนั้นมีหลายประการ แต่ในเบื้องต้นของการเรียนนั้นเพื่อปรับทัศนคติของการเรียนคณิตศาสตร์ การใช้ลูกคิดในการคิดคำนวณพบว่าเป็นที่รู้จกแพร่หลายในอดีต ซึ่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมาก นอกจากนี้แล้วการเรียนลูกคิดยังช่วยเพิ่มระดับของการจินตนาการ กระบวนการคิดโดยการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และยังช่วยในเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ (ในเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหา)
     ในการเรียนลูกคิดในระดับที่ผ่านการฝึกฝนการใช้ลูกคิดจนชำนาญแล้ว หลังจากนั้นเด็กจะถูกฝึกให้มีการคำนวณโดยการจินตนาการเป็นเม็ดลูกคิดในระหว่างการคิดคำนวณ ซึ่งในการเรียนลูกคิดจะเป็นระดับคร่าว ๆ ดังนี้
1.ขั้นพื้นฐาน เป็นขั้นที่ให้เด็กมีการใช้งานลูกคิด โดยการฝึกฝนการดีดจนชำนาญในระดับนี้เด็กควรจะใช้เวลาในการฝึกฝนประมาณ 10 – 20 นาทีต่อวัน
2.กระบวนการซึมซับการจินตนาการ
หลังจากการฝึกฝน เด็กๆจะจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการในการพัฒนาการคิดคำนวณ โดยการจดจำภาพเม็ดของลูกคิดเข้าสู่สมอง เด็กจะได้เริ่มหัดคิดคำนวณอย่างง่าย ซึ่งเราจะเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า “การดีดอากาศ”
3.ขั้นตอนการ จินตนาการ
เป็นขั้นตอนที่ เด็กจะสามารถคิดคำนวณได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ลูกคิดอีกต่อไป เด็กจะสามารถคำนวณ โดยอัตโนมัติ จากการจดจำของสมองได้โดยตรง (mental arithmetic) กระบวนการดังกล่าวจะทำให้เด็กสามารถคิดคำนวณได้อย่างรวดเร็ว

อายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเรียนลูกคิด?
ผลการศึกษาพบว่า เด็กจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่อสิ่งใหม่ๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ พบว่าเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 6 ขวบ มีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีกว่าและเร็วกว่าเด็กที่อายุมากกว่า การเรียนจินตคณิตยังเป็นการกระตุ้นการพัฒนาสมองทั้งสองข้าง และยังเป็นการปลูกฝังและพัฒนาทัศนะคติในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับต่อไปอีกด้วย อายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเรียน จะประมาณที่อายุ 4-5 ปีเป็นต้นไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

Singapore Math

Posted by malinee on Thursday Nov 4, 2010 Under เกร็ดความรู้

           ในปัจจุบันนี้การเรียน การสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษามีแนวการสอนหลาย

รูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีจุดมุ่งหมายเดียวกันนั่นคือเพื่อให้เด็กเกิดทักษะในการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ซึ่ง Singapore Math ก็เป็นอีกรูปแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

              Singapore Math เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา

ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการพิจารณาว่ามีประสิทธิภาพในการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็ก 

Singapore Math เป็นการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐานในการแก้โจทย์ปัญหาในระดับ

ประถมศึกษา โดยการวาดเป็นแผนภาพ (model drawing)

เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจในเชิงลึกและแก่นแท้ของวิชาคณิตศาสตร์

ข้อดีของการใช้ Singapore Math มีหลายประการ คือ

1.เด็ก ๆ สามารถวิเคราะห์โจทย์และตีความโจทย์ที่เป็นนามธรรมให้เป็นแผนภาพที่เป็นรูปธรรม

 

2.เด็กๆ มีความเข้าใจโจทย์ในเชิงลึกได้มากขึ้น โดยไม่ขาดใจความสำคัญที่ให้ไว้ในโจทย์

 

3.เด็ก ๆ สามารถวิเคราะห์โจทย์และแก้โจทย์ได้อย่างเป็นระบบโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

 

4.เด็ก ๆ มีสมาธิดีขึ้น เนื่องจากเป็นการใช้สมองซีกขวา (ส่วนจินตนาการ) ในการแก้โจทย์

 

5.เด็กๆ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

โดย : Smantha Watson

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments