May 24
ตอนนี้กระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมคงหนีไม่พ้นเรื่องของการเรียนออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทำให้การเปิดเทอมของเด็กต้องยืดเยื้อออกไป จริงที่ว่าการเรียนของเด็กๆ ไม่ควรหยุดชะงัก แต่การเรียนออนไลน์ของเด็ก ต้องพิจารณาถึงวัยของเด็กด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ที่ไหนๆ จะเป็นการเปิดสอนในระดับมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น หากเป็นในระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมจะเป็นการเรียนแบบ home school ซึ่งเป็นการนำหลักสูตรจากประเทศต่างๆ มาเป็นแนวการเรียนการสอน โดยพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นเสมือนครูผู้สอน
การเรียนการสอนออนไลน์ ยิ่งเด็กยิ่งเล็ก ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องด้วยวัย ที่ทำให้เรื่องของสมาธิที่ที่จดจ่ออยู่กับเรื่องบางเรื่องนานๆ เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้แล้ววิชาบางวิชาอย่างคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะขึ้นเรื่องใหม่ๆ ให้กับเด็ก เช่นถ้าเด็กกำลังเริ่มที่จะเรียนการคูณเลขสองหลักคูณสองหลัก การทำความเข้าใจกับเด็กให้มีความเข้าใจ ต้องมีการ recheck กันหลายครั้งเพื่อความมั่นใจว่าเด็กมีความเข้าใจจริงๆ ถึงจะให้การบ้านได้ แล้วลองนึกภาพของการสอนเรื่องการวัดมุมกันนะคะ ขนาดสอนกันแบบเห็นกันเป็นตัวเป็นตนยังต้องใช้เวลาเลยแล้วนึกสภาพการเรียนออนไลน์ ถ้าเป็นการเรียนแบบกลุ่ม ไม่มีทาง ที่ทักษะเด็กแต่่ละคนจะเท่ากันได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในวัยเดียวกันก็ตามเพราะฉะนั้นการเรียนออนไลน์ไม่ใช่จะเหมาะกับทุกคนและไม่ใช่ทุกวิชาที่จะสามารถสอนออนไลน์ได้
ดังนั้นการเรียนออนไลน์ในช่วงนี้ของเด็กเล็กเป็นเพียงช่วงเวลาที่รอสถานการณ์ของการแพร่ระบาดให้คลี่คลายเท่านั้น แต่การที่การศึกษาในช่วงของปฐมวัยจนถึงประถมน้ัินคงไม่อาจถูก disruption ด้วยระบบออนไลน์ได้ด้วยวัยและความพร้อมของเขา นอกจากนี้แล้วเด็กในวัยดังกล่าวไม่ควรถูกปล่อยให้อยู่กับการสื่อสารทางเดียว เค้าควรได้มีการเรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสให้ครบทั้ง 5 และมีการฝึกทักษะต่างๆผ่านระบบประสาทสัมผัสดังกล่าว เพื่อก่อให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ และเพื่อค้นหาความสามารถ และความถนัดต่อไป…
#เราจะผ่านมันไปด้วยกัน
#สถาบันคิดสแควร์
May 11
ในช่วงของสถานการณ์ที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆคนมีโอกาสได้อยู่บ้านแบบยาวๆ เด็กๆ เองก็หยุดแบบยาวๆ กัน การมีเวลาว่างๆ ของเด็ก ถ้าเป็นครอบครัวที่สรรหากิจกรรมต่างๆ ได้ทำร่วมกัน ก็จะทำให้เด็กๆ อาจมีเวลาค้นหาตัวตนของตนเองว่าชอบอะไร แต่ในปัจจุบันน่าเสียดายที่เวลาของครอบครัวถูกเบียดด้วยจอสี่เหลี่ยมที่เราเป็นคนพามันเข้าสู่ครอบครัว แล้วทำให้เวลาในการปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัวหายไป ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน
จากสถานการณ์ของการระแพร่ระบาด ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ปรากฏการณ์ใหม่ๆ หรืออาจเรียกว่าวิวัฒนาการที่ทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแบบไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ที่แน่ๆ คือเด็กในรุ่นนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงมาก คงไม่มีพ่อแม่ คนไหนคิิดจะให้บุตรหลานอยู่ภายใต้ปีกที่อบอุ่นของตนเองจนเค้าจากไป เรามีเพียงหน้าที่ที่จะดูแลชี้นำในสิ่งที่ถูกต้องหรือ เลือก#โรงเรียน สังคมให้เขาในวัยเด็กเท่านั้น สิ่งที่เราต้องคิดคือ เราได้เตรียมความพร้อมให้กับเขาสำหรับยุคของการใช AI (Artificial Intelligence) แล้วหรือยัง
ยุคของ AI คืออะไร คือยุคที่มีการเปลี่ยนจากแรงงานคนเป็นคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด คำว่าแรงงานไม่ได้หมายความแค่ผู้ใช้แรงงาน แต่หมายรวมถึงพนักงานทั่วไป ที่จะถูกแทนที่ด้วยระบบที่มีฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ด้วยความที่เกิดมาในยุคดิจิทัล ทำให้ทุกอย่างต้องรวดเร็ว จึงขาดทักษะของการรอคอย ไม่เห็นคุณค่าของการสิ่งของที่ได้มาเพราะไม่เคยต้องแลกกับการรอคอย หรือการต้องทำบางอย่างเพื่่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ ประกอบกับทางเลือกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้เด็กทุกคนกลายเป็นลูกเทวดาในโรงเรียน เพราะโรงเรียนมีการแข่งขันกันสูงจึงถือว่าเด็กนักเรียนเป็นลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้าต้องมาก่อน เมื่อหันไปหาโรงเรียนทางเลือกอย่างโรงเรียนอินเตอร์ ซึ่งในช่วงของปฐมวัยจนจบระดับประถมศึกษา เน้นการเรียนแบบ child center นั่นคือแบบบูรณาการที่เราคุ้นเคย การเรียนขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก บางโรงเรียนการบ้านเป็นแบบ optional คือส่งหรือไม่ส่งก็ได้ กลับกลายเป็นทำให้เด็กขาดวินัยอย่างรุนแรง สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เด็กในยุค 4.0 กลับกลายเป็นการบ่มเพาะความเปราะบางทางด้านอารมณ์ ขาดวินัย ไร้ความพยายาม ไม่มีความอดทน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถทำให้เขาเติบโตในยุคของการแข่งขันกับเทคโนโลยีได้เลย
ดังนั้น อย่าให้เขาต้องเผชิญปัญหาในขณะที่เขาไม่สามารถแก้ไขนิสัยได้ เราซึ่งเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นผู้ที่วางกรอบให้ แต่ไม่ได้มีหน้าที่ในการตีกรอบ วางให้เขาอยู่ในระเบียบวินัย ใส่ทักษะของการรอคอย ปล่อยให้เรียนรู้ที่จะผิดหวัง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สร้างภูมิต้านทานให้เขาได้ก้าวเดินอย่างมั่นคงในเวลาที่เขาต้องเดินโดยไม่มีไหล่คุณให้เกาะ..
#เรามีสิทธิเลือกเส้นมางให้ลูก
#เลือกผิด= เหนื่อยเพิ่มขึ้น
#เลือกถูก= อนาคตที่ดีของลูกเรา
#สถาบันคิดสแควร์