เรียนอะไรดี

Posted by malinee on Monday Aug 28, 2017 Under เกร็ดความรู้

เนื่องจากในปีการศึกษา 2561 จะเป็นปีแรกที่มีการรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาแบบใหม่ ที่เรียกว่า ระบบ TCAS (Thai University Central Admission System)  ซึ่งเป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเป็นรอบๆ โดยมีทั้งสิ้น  5 รอบและในแต่ละรอบจะมีการกำหนดวัน Clearing house ซึ่งเป็นการตัดสิทธิ์สำหรับเด็กที่ได้เลือกคณะที่ตนเองได้เลือกแล้ว เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับผู้อื่น และในปัจจุบันก็มีสาขาวิชาที่ให้เลือกเรียนมากมาย

การเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนนั้น หลายๆ กระแสก็ให้เลือกตามแนวโน้มของโลกในอนาคต เนื่องจากนักวิเคราะห์หลายๆ สังกัดก็มีการบ่งชี้ว่ามีหลายๆ อาชีพที่จะไม่เป็นที่ต้องการ หรือหายไปในที่สุด ด้านนักเศรษฐศาสตร์ก็วิเคราะห์ว่า แนวโน้มในอนาคตคนทำงานควรมีอาชีพมากกว่า 1 อย่าง การวิเคราะห์ดังกล่าว ทำเอาทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง และตัวเด็กเองเกิดความสับสน และลังเลใจ ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนอะไรดี หรือหาอาชีพที่สองได้อย่างไร

การเลี้ยงดูของพอแม่ผู้ปกครองในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ นั่นคือ แบบที่ปล่อยให้เด็กเรียนรู้ไปตามวัย โดยปล่อยหน้าที่เรื่องของการเรียนให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พาบุตรหลานเรียนเสริมในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เด็กมีความโดดเด่นทางด้านวิชาการ สามารถสอบแข่งขันในสนามต่างๆ ได้ทุกสนาม กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีการพาบุตรหลานส่งเสริมในกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียน เช่นด้านกีฬา ดนตรี ต่อเนื่องจนเด็กมีทักษะในการเรียนเสริมที่ดี

ลักษณะการเสริมความรู้ และทักษะของครอบครัวในแต่ละกลุ่มจะทำให้เด็กมีทักษะที่แตกต่างกัน เด็กในกลุ่มแรก เด็กจะเรียนรู้ได้จากโรงเรียนเพียงอย่างเดียว เด็กในกลุ่มที่ 2 จะเป็นเด็กที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และเขาเหล่านั้นก็จะสามารถเลือกเรียนในสาขาที่เขาต้องการได้ ส่วนเด็กในกลุ่มที่ 3 อาจเป็นเด็กที่มีผลกาเรียนในระดับกลางๆ แต่มีทักษะด้านอื่นที่เรียนมาเพิ่ม จะสามารถนำทักษะที่ได้เรียนมาเป็นอาชีพรองต่อไป

พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจกังวลว่าแล้วในอนาคตเค้าจะสามารถดูแลตนเอง ได้หรือไม่ หากวันนี้เราทำหน้าที่ในการดูแล อบรม เลี้ยงดูเขาเหล่านั้นให้เป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของตนเอง ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลแทนเขาเลย

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

Finger Math by Kidsquare

Posted by malinee on Friday Aug 18, 2017 Under เกร็ดความรู้

การคิดเลขด้วยสองมืออันมหัศจรรย์ ของเด็กอนุบาล 3

 

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำๆนี้..ฟังแล้วมันมีความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับครอบครัวที่มีลูกคนเดียว เค้าเป็นทั้งแก้วตา ดวงใจ ทุกอย่างของชีวิตของคนเป็นพ่อและแม่และมันจะพร้อมกับคำว่า..#คาดหวัง…เพราะเค้าเป็นทุกอย่างเราเลยคาดหวังให้เค้าเป็นที่สุด เป็นที่หนึ่ง เป็นทุกอย่างอย่างที่ใจเราอยากให้เป็น ทุ่มเททุกอย่างให้เพื่อให้เค้าได้ดั่งใจเราให้เค้าเป็นในสิ่งที่เราต้องการ..ซึ่งในบางครั้งเค้าพยายามแล้วแต่มันจะไม่ได้เป็นในสิ่งที่เราต้องการทั้งหมด ไม่ได้ดั่งใจเราไปสะทุกอย่าง..พ่อแม่หลายคนผิดหวัง เพราะคาดหวังสูงเกินไป..ใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ลูกได้เห็นในสิ่งที่เราอยากให้เป็น..
.. ดูลูกบ้านนี้สิ เค้าสอบเข้ารร.ดังๆได้นะ..ดูพี่คนนี้สิ เค้าเอ็นติดวิศวะนะ ดูลูกเพื่อนแม่สิเค้าสอบได้ที่หนึ่งนะ สารพัดคำพูดที่สรรหามาพูดกับลูก บางคนเปรียบเทียบกับญาติตัวเอง ดูลูกป้า ลูกลุง ลูกอา ลูกน้า..เค้าเก่งกว่าเธออีก เธอไม่ตั้งใจ เธอไม่ได้ดั่งใจชั้นเลย..ดูลูกคนอื่นแล้ว เคยคิดมั้ยว่าลูกรู้สึกอย่างไร ..มองแต่ลูกคนอื่น เคยหันมาดูมั้ยว่าลูกตัวเองเสียใจกับคำพูดที่ตัวเองพูดหรือเปล่า..ลองมองย้อมกลับมาดูลูกตัวเองบ้างมั้ย..ซึ่งบางทีลูกไม่ได้แย่ไปกว่าลุกคนอื่นเลย แต่ความคาดหวังที่พ่อแม่มีมากเกินไปจนกลายเป็นการทำร้ายความรู้สึกของลูกตัวเอง..
วิธีการเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลุกคนอื่นป็นการสร้างปมในใจให้กับลูกที่แย่ที่สุด เด็กจะคิดว่าหนูไม่เก่ง หนูไม่ดี หนูสู้คนอื่นไม่ได้ สุดท้าย จะมีคำถามตามมาว่า แม่ พ่อ ไม่รักหนู…ท้ายที่สุดถ้าปมนี้มันใหญ่ขึ้นเค้ากลายเป็นเด็กมีปัญหา แล้วมันมาจากใครหละ…มันจะดีกว่ามั้ย ถ้าเราลดการคาดหวังลงและหันมายอมรับในสิ่งที่ลูกเราทำได้อาจจะไม่ได้เป็นที่หนึ่ง ไม่ได้รับการชื่นชมจากคนอื่น แต่มันก้อไม่ได้แย่ และกำลังใจเดียว ที่ลูกอยากได้ เค้าไม่ได้อยากได้จากคนอื่น..
…อย่าให้ความคาดหวังที่มันมีมากจนเกินไป มาทำร้ายคนที่เป็นทั้งความรัก ทั้งชีวิต เป็นทั้งจิตใจ..และที่สำคัญเค้าเป็น..คนเดียว เค้าเป็น..ที่สุด และ เค้าเป็น..ที่หนึ่ง ในใจเราเสมอ..#ขอบคุณและสวัสดีค่ะ.

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

            ปัจจุบันนี้ วัยของการส่งบุตรหลานเรียนพิเศษจะน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งการส่งบุตรหลานเรียนในสถาบันกวดวิชา มีอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเพียงเพื่อให้บุตรหลานได้เตรียมตัวกับเนื้อหาใหม่ๆ เท่านั้น กับอีกกลุ่มเพื่อให้เด็กๆ เข้าร่วมการแข่งขัน หรือเพิ่มอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่เปิดขึ้นทุกๆ ปี และมีอยู่หลากหลายสนามการแข่งขัน

ดังนั้น ลักษณะการเรียนในเด็กทั้งสองกลุ่มนี้จะแตกต่างกัน เด็กในกลุ่มแรก จะเรียนแบบสบายๆ ไม่ได้มีการเร่งเนื้อหาเกินชั้นปีที่เรียนอยู่ หรือหากคุณพ่อคุณแม่ มีเวลาและสามารถดูแลเรื่องการเรียนของบุตรหลานได้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในที่ต่างๆ   แต่เด็กอีกกลุ่มจำเป็นต้องเรียนอย่างหนัก และต้องมีการเรียนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ชั้นปี (เนื่องจากการแข่งขันในสนามต่างๆ มักใช้ข้อสอบที่เกินเนื้อหาที่เรียน) นอกจากจะต้องเรียนเนื้ัอหาที่เกินระดับชั้นแล้ว ยังต้องมีการเรียนเทคนิคในการทำโจทย์เพิ่มอีกด้วย เพื่อให้ทำข้อสอบได้คะแนนสูงๆ

เราจะเห็นสถาบันกวดวิชาต่างๆ มากมายที่มักโชว์รูปเด็กที่ผ่านการคัดเลือก หรือชนะเลิศในการแข่งขันระดับต่างๆ อยู่มากมาย รูปของเด็กบางคน อาจถูกติดอยู่กับสถาบันมากกว่าหนึ่งสถาบัน (นั่นหมายความว่าเด็กแต่ละคนที่ต้องชิงแชมป์ในสนามต่างๆ ต้องวิ่งเรียนในสถาบันต่างๆ มากกว่า 1 แห่ง) เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ คุณพ่อ คุณแม่มักมองว่าที่ทำทุกอย่างก็เพื่อตัวเขา เพราะรักและ ปรารถนาดีกับเขา จึงต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเขาเสมอ

การเรียนในแบบดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเสียหาย เมื่อเทียบกับการที่เด็กอยู่กับเกมส์หรือทีวี แต่การเรียนในแบบดังกล่าวจำเป็นต้องใช้เวลา เวลาในวันหยุดที่จะได้เที่ยววิ่งเล่น ก็หมดไป เวลาในการทำกิจกรรมในครอบครัวก็ลดลง เด็กในกลุ่มนี้ ก็จะเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่มีทักษะด้านสังคม หรือด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หลายๆ คนคิดว่าเด็กในกลุ่มสายแข่ง ที่มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับดีมาก ควรจะมีทักษะในการแก้ไขปัญหาได้ดีเช่นกัน ข้อความนี้จะเป็นความจริง หากเด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์ในกระบวนการประยุกต์ในแบบของตัวเอง ไม่ใช่โปรแกรมที่ถูกป้อนให้ทำซ้ำจนจำได้ขึ้นใจว่า โจทย์ในลักษณะแบบนี้ต้องแก้อย่างไร

หากคุณพ่อ คุณแม่ลองนึกย้อนกลับไปตอนวัยเด็กของตนเอง หลายๆ คนจะเห็นภาพของตนเองเล่นซน การทะเลาะกันกับพี่น้อง หรือเพื่อนๆ แต่สุดท้ายก็ยังเล่นกันเหมือนเดิม มากกว่าการนั่งเรียนตั้งแต่วัยประถมแบบปัจจุบัน ลองเอาตัวเราเองไปนั่งแทนที่ลูก ว่าเขามีความสุขกับการแข่งขันหรือเปล่า เขาพอใจกับรางวัลที่ได้เมื่อเทียบกับความทุ่มเทหรือไม่ การแข่งขันสำหรับบางคนอาจเป็นตัวกระตุ้นได้ แต่ต้องไม่ใช่ทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเป็นการเรียน หรือการทำงาน เพราะหากเขาคิดว่าทุกๆ คน แม้แต่เพื่อนคือคู่แข่ง ต้องการแข่งกับทุกๆ คน จนกลายเป็นคนที่ไม่ยอมแพ้ หรือแพ้ไม่เป็น จนไม่รู้จักแบ่งปัน (ความรู้) สุดท้ายเขาก็จะถูกสังคมบีบให้อยู่คนเดียว แล้วเขาจะอยู่อย่างไร หากสักวันที่เขาจะต้องดำเนินชีวิตตามลำพัง สู้ให้เขาเรียนรู้ที่จะแพ้ ชนะ และให้อภัย เพื่อให้เขาได้มีเพื่อน ให้เขาได้เรียนรู้ที่จะแบ่งปันอย่างมีความสุขจะดีกว่าไหม

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments