เด็กซนเท่านั้นที่เป็นสมาธิสั้นหรือ?
Posted by malinee on Monday Oct 8, 2018 Under เกร็ดความรู้ช่วงของการปิดภาคเรียนจะเป็นช่วงที่เด็กๆ บางคนจะได้พัก ในความหมายของพวกเขาคือการนอนตื่นสาย เล่นเกมส์ได้ทั้งวัน ทั้งคืนได้โดยไม่ต้องรียตื่นเพื่อไปโรงเรียนในตอนเช้า หลายๆ ครอบครัวก็ถือว่าเป็นช่วงที่เด็กควรว้างสมาธิสั้นในได้พักผ่อนสมองบ้าง จึงปล่อยให้เขาอยู่กับความสุขของเขาในช่วงปิดเทอม จนเด็กติดเกมส์ มีความสุขกับจอสี่เหลี่ยม ไม่สามารถแยกจากมันได้
ปัจจุบันเรามักจะได้ยินกันเสมอ เด็กคนนั้นต้องเป็นสมาธิสั้นแน่ๆ อยู่ไม่นิ่งเลย ส่วนเด็กหลายๆ คนนั่งนิ่งเลย สมาธิดีจัง ใครผ่านไปมาไม่ได้สนใจเลย (ในมือ ถือ tablet ) หลายๆ คนเข้าใจว่าสมาธิสั้นเป็นพฤติกรรมที่อยู่ไม่นิ่งของเด็ก แต่ในนิยามทางการแพทย์ ได้จำกัดความคำว่าสมาธิสั้นได้
3 ประเภทดังนี้
- สมาธิสั้นประเภทที่ไม่สามารถควบคุมตนเองให้อยู่นิ่งๆ ได้นาน ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ชอบกิจกรรมผาดโผน เสี่ยงอันตราย
- สมาธิสั้นประเภท เหม่อลอย หรือเฉื่อย สมาธิสั้นประเภทนี้พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ ชาย จะมีอาการของการเหม่อลอย ทำงานไม่มีความรอบคอบ ไม่สามารถจัดการกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นระบบได้ เหมือนมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ แต่จริงๆ แล้วเหม่อลอยอยู่ ขาดสมาธิในการเรียนรู้ สมาธิสั้นประเภทนี้ ต้องสังเกตถึงจะพบพฤติกรรมดังกล่าว เพราะจะนั่งนิ่งได้นาน โดยไม่ได้ทำอะไรเลย การเรียนในชั้นเรียนจะถูกมองข้าม เพราะไม่ซน ไม่ดื้อ แต่จะเป็นเด็กที่เรียนอ่อน ตามเพื่อนไม่ทัน ทำงานช้า
- สมาธิสั้นแบบผสม เป็นสมาธิสั้นที่รวมทั้งสองแบบ แต่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ทั้งพฤติกรรมและคำพูด การกระทำ
สิ่งใดๆ จะขาดความยั้งคิด
สาเหตุของการเกิดความผิดปกติดังกล่าว มีงานวิจัยพบว่า การหลั่งสาร dopamine ที่เป็นสารที่หลั่งในระบบประสาทของสมองเพื่อช่วยควบคุมเรื่องพฤติกรรม สมาธิ การเรียนรู้ ให้กับเด็กคนนั้นมีระดับที่ต่ำกว่าปกติ ควบคู่กับการเลี้ยงดูของเด็กในครอบครัวนั้นๆ เนื่องจากสังคมในปัจจุบันที่มีความรีบเร่ง ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นทำให้เกิดความผิดปกติ อีกทั้งสิ่งเร้าที่มีอยู่มากมายรอบตัว อาการสมาธิสั้นของเด็กจะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนวัย 7 ขวบ งานวิจัยพบว่า หากเด็กไม่ได้รับการปรับพฤติกรรมและได้รับการรักษา จะทำให้เขามีปัญหาในการเรียน เนื่องจากสมาธิที่เขาไม่สามารถควบคุมได้ และจะพอกพูนความไม่เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เขาขาดความมั่นใจในการเรียน เบื่อหน่าย ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มอาการสมาธิสั้นลง ซึ่งได้แก่ อาหาร หรือขนมที่ให้พลังงานสูงๆ การปล่อยให้อยู่กับเกมส์ หรือทีวี สิ่งที่ควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มอาการ ได้แก่ การให้เขาได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การสร้างระเบียบวินัยให้เขาปฏิบัติตาม และการจัดบ้านให้มีระเบียบ
ไม่ว่าจะเป็นสมาธิแบบใด ก็ไม่สามารถหายได้ หากมีอาการมากขึ้น แพทย์จำเป็นที่จะต้องใช้ยา ซึ่งจะต้องใช้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต คงจะดีหากเราป้องกันไม่ให้บุตรหลานมีความผิดปกติดังกล่าว โดยการหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความผิดปกติขึ้นตั้งแต่ในบ้าน ก่อนที่เขาจะเข้าสู่ปฐมวัยกันดีกว่า