ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 เดือน ก็มีข่าวการเสียชีวิตของเด็ก ๆ ติดต่อกัน 3 คน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเด็ก พิจารณาถึงสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วหาวิธี หรือหนทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ความปลอดภัยของเด็ก ๆ ที่ผู้ปกครองฝากไว้ในมือของโรงเรียน ก็จะมีมากขึ้น

girls-playing-basketball-black-white      จากเหตุการณ์ล่าสุดที่น้องนนท์ หลังจากได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จุฬาเป็นเวลา 3 เดือน ที่ล่วงลับไป มันทำให้เกิดคำถามขึ้นหลายฝ่ายว่า เด็ก 2 คนที่ร่วมกันรุมทำร้ายน้องนนท์นั้น เกิดเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการเลี้ยงดูของครอบครัว(ที่ปัจจุบันมักเป็นครอบครัวเดี่ยว ที่มีลูกเพียงคนเดียว) หรือมีเหตุปัจจัยอื่น เช่น เกมที่ไม่ได้รับการคัดกรองจากผู้ปกครอง แฝงด้วยความรุนแรง กันแน่ เราไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะครู หรือทางโรงเรียนเท่านั้นที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อตัวเด็ก แต่หมายรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพฤติกรรมของตัวเด็ก ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมเด็กที่แสดงออกมา นอกจากให้กำเนิดเขาเหล่านั้นแล้ว ยังต้องมีหน้าที่เลี้ยงดู อบรม บ่มนิสัย เพื่อให้เขาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมในภายภาคหน้า

หลาย ๆ ครอบครัว ทั้งพ่อและแม่ให้ความสำคัญกับปากท้อง และความมีหน้ามีตาในสังคมมากกว่าการให้เวลาในการอบรม เลี้ยงดูบุตรหลาน คอยชี้นำในสิ่งที่ดี มีคุณธรรมให้เป็นคนดีในสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการทำงานไม่สำคัญ แต่เป็นเรื่องของการแบ่งเวลา ให้มีความเหมาะสม  พ่อแม่มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลบุตรหลานเมื่อเขาอยู่ที่บ้าน ส่วนครูก็มีหน้าที่อบรมบ่มนิสัย ให้ความรู้กับเด็กนักเรียนเมื่อเขาอยู่ที่โรงเรียน หากมีการรับ-ส่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี เชื่อว่าสังคมเราก็น่าอยู่ขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

            coins            ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้เด็กในปัจจุบันขาดประสบการณ์ในบางเรื่องที่เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้สังเกต หรือนึกถึง ตัวอย่างง่าย ๆ คือ ในการเรียนเรื่องเงินของเด็กในประถมต้น ยังมีหน่วยของ 50 สตางค์ และ 25 สตางค์อยู่ แต่ในชีวิตความเป็นจริง โอกาสที่เด็กจะได้พบหรือใช้กับเหรียญทั้งสองชนิดนี้แทบไม่มีแล้ว เนื่องจากในชีวิตประจำวันของพวกเขา เช้ามาพ่อแม่ผู้ปกครองก็ให้เงินเป็นธนบัตร หลังจากนั้นก็พาขึ้นรถ(ส่วนตัว) ซึ่งไม่ใช่รถโดยสารประจำทางที่จะต้องมีการจ่ายค่าโดยสารเป็นสตางค์ พอมาถึงโรงเรียน โรงเรียนบางโรงเรียนก็ให้เด็กนำเงินไปแลกเป็นชิพ ไม่ได้ใช้เงินที่จะต้องแลกเปลี่ยน หรือทอนกลับมา นี่เป็นเพียงตัวอย่างของหัวข้อในการเรียนเพียงหัวข้อเดียวซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะใกล้ตัวเด็กมากที่สุด แล้วในหัวข้ออื่น ๆ เช่นเรื่องมาตราชั่ง ตวง วัด (ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่กระเถิบออกมาจากเรื่องเงิน) วิถีการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน ยากนักที่จะพาลูกเดินตลาดที่ยังมีตาชั่งในรูปแบบของเข็ม แต่จะเป็นการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าที่มีตาชั่งแบบดิจิตอล หากในช่วงเวลาของการจับจ่ายของ ของผู้ปกครองสามารถเชื่อมโยงความรู้ในตำรา หรือคอยเสริมประสบการณ์ในห้างสรรพสินค้าแล้ว หัดให้เด็ก ๆ ได้รู้จักปริมาณ ปริมาตร หรือน้ำหนัก ให้เขาได้รู้ว่าสิ่งที่เรียนไม่ได้อยู่แต่ในตำราเท่านั้น มันมีความเกี่ยวโยงในชีวิตประจำวัน เขาก็จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงเหล่านี้ มาเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในช่วงของการเรียนได้เป็นอย่างดี

                        ความไม่เข้าใจในการเรียนที่มีอยู่แต่ในหนังสือเรียน ไม่มีการนำอุปกรณ์ เป็นตัวอย่างในชั้นเรียน ไม่เห็นภาพหรือของจริงที่จับต้องได้ หรือนำมาเปรียบเทียบกัน หากเราจะทำให้เด็กมีความเข้าใจง่ายขึ้นนั้น เราจำเป็นจะต้องเพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้เด็ก ๆ บ้างในวันหยุดสุดสัปดาห์ หากเขาได้มีประสบการณ์หรือการเห็นตัวอย่างที่แท้จริง เพียงเท่านี้ก็เป็นตัวช่วยให้เด็กมีความเข้าใจ ที่ได้จากประสบการณ์ที่มากขึ้นได้

 

 

 

 

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

การยุบ ควบรวมโรงเรียน ที่เหมือนจะไกลตัวเด็กกรุงเทพ

ปัจจุบันข่าวของการควบรวม โรงเรียนหนาหูขึ้น บางกระแสก็ว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ บางกระแสก็ออกมาคัดค้าน บางกระแสก็สนับสนุนกับการควบรวม เพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นระบบ

ก่อนอื่นเรามาพิจารณาที่ต้นเรื่องก่อน เรื่องเริ่มต้นที่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายให้ยุบหรือรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ซึ่งมีประมาณ 14,000 โรงเรียน เหตุของการยุบรวมโรงเรียน เนื่องจากงบประมาณที่ให้ในแต่ละโรงเรียนคิดเป็นงบประมาณต่อหัวเด็ก ซึ่งถ้าจำนวนเด็กน้อย งบประมาณที่ให้ไปก็ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ สื่อการเรียนที่ดี ให้กับโรงเรียนได้ หากมีการยุบรวมโรงเรียน งบประมาณก็จะมากขึ้น และง่ายต่อการจัดการเรียนการสอน

เรื่องดังกล่าว หลาย ๆ คนคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว และไม่มีผลกระทบกับเด็กกรุงเทพเท่าไรนัก อาจเป็นความจริงที่เรื่องดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อเด็กกรุงเทพในระยะเวลาอันใกล้ แต่หากโรงเรียนในชุมชนถูกทำลาย ความผูกพันความสำนักรักบ้านเกิด ก็อาจลดน้อยลง ในอดีต เด็กชนบทจะเรียน หมู่บ้าน แล้วค่อยย้ายไปเรียนตามโรงเรียนประจำจังหวัดเมื่อเข้าสู่มัธยมศึกษา จนกระทั่งสอบเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อเรียนจบระดับอุดมศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ก็จะมีความสำนึกต่อบ้านเกิดที่ตนเองเติบโต และใช้ชีวิตในวัยเด็ก มักจะนำความรู้ ความสามารถ กลับมาพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตน  หากเราตัดความสัมพันธ์ดังกล่าวออกไป ความผูกพัน อาธร ต่อบ้านเกิดย่อมจางหายไป หลังจากที่จบการศึกษาก็จะไปทำงานตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแข่งขันกระจุกตัว แต่ในชนบท ก็จะมีประชากรน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่เหลือความทรงจำใด ๆ เลย

Tags : , , , , , , , , | add comments

หากใครได้ติดตstudyingามข่าวการศึกษา หรือข่าวทั่ว ๆ ไป ตอนนี้ก็คงได้ยินคำว่า แอดมิชชั่น กัน หลาย ๆ คนอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบแอดมิชชั่นเป็นอย่างดี แต่หลาย ๆ คน ก็ยังงง ๆ กับการสอบดังกล่าวว่าคืออะไร

แอดมิชชั่น (Admission) เป็นระบบกลางที่คัดเลือกนักเรียนนักศึกษาเข้าสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นการสอบที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องสอบและนำคะแนนที่ได้มายื่นเพื่อเลือกคณะที่ตนเองจะเข้าศึกษาอีกที

ระบบแอดมิชชั่นนี้ บริหารงานโดย สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า สทศ. โดยที่หน้าที่ของสทศ. คือพัฒนาข้อสอบเพื่อวัดและประเมินมาตรฐานการศึกษา วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแต่ละคน สทศ.จะรับผิดชอบการประเมินผลด้านการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนหลักสูตรไทย ในประเทศไทย หลายครั้งด้วยกันคือ ป.3, ป.6, ม.3, และ ม.6 แต่ในการสอบแอดมิชชั่นนั้นจะนับกันเฉพาะ การสอบวัดผลในระดับชั้น ม.6 เท่านั้น

ยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง

และยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง

คราวนี้เรากลับมาที่การสอบแอดมิชชั่นว่า เด็กนักเรียนจะต้องสอบข้อสอบดังต่อไปนี้

1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว แนวคิดของ O-NET คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆเท่านั้น

2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก

3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเด็กในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องมีการเตรียม ตัวกับการสอบคัดเลือกดังกล่าว แต่ในปัจจุบันนี้สถาบันอุดมศึกษาหลาย ๆ แห่งก็เปิดรับสมัครสอบตรง โดยไม่อิงคะแนนแอดมิชชั่น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีการเตรียมตัวในการสอบเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมและมีการวางแผนร่วมกับบุตรหลานของตนว่าจะเรียนในสาขาวิชาใด หากคุณพ่อคุณแม่มีการวางแผนที่ดี ก็จะทำให้บุตรหลานมีอนาคตที่ดีเช่นกัน ดังคำที่ว่า “If your today is good not only your past was good but your future also good.”

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

royalty-free-boys-clipart-illustration-1075284ภาวะของการเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย   (Precocious Puberty)    ซึ่งเป็นภาวะที่เด็กชาย หรือ เด็กหญิงมีการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการทางเพศเร็วกว่าปกติ  ซึ่งมีผลเนื่องมาจากหลาย ๆ สาเหตุ บ้างก็กล่าวว่า ในปัจจุบันเด็กมีอัตราการรับประทานอาหารจานด่วนมากขึ้น ซึ่งอาหารดังกล่าวมีไขมันในปริมาณสูง โดยมีงานวิจัยหลาย ๆ งานกล่วงว่าไขมันเป็นวัตถุดิบของฮอร์โมน ดังนั้นเมื่อมีปริมาณไขมันที่มากเกินไป ก็จะแปลงไขมันเป็นฮอร์โมน นอกจากอาหารจานด่วนแล้ว วัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหาร จำพวกเนื้อสัตว์ เนื่องด้วยในปัจจุบัน กรรมวิธีในการเลี้ยงสัตว์มีการเร่งให้สัตว์เจริญเติบโตให้เร็ว เพื่อส่งขายให้ได้เร็ว การเร่งการเจริญเติบโต ก็อาจใช้ยากระตุ้น ซึ่งยาดังกล่าวอาจมีการตกค้างในเนื้อสัตว์ และส่งผลกับผู้นำไปบริโภคต่อ

ภาวะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ไม่ดีอย่างไร?

ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย มักมีผลเสียกับตัวเด็ก เนื่องจากหากเด็กเกิดภาวะโตก่อนวัยในช่วงแรก จะทำให้เด็กสูงเร็วกว่าเพื่อน (เนื่องจากถูกกระตุ้นจากฮอร์โมน) แต่เมื่อการเจริญเติบโตไปได้ระยะหนึ่ง การเจริญเติบโตก็กจะช้าลง และหยุดการเจริญเติบโต ในเด็กหญิง หลังจากมีประจำเดือน เด็กจะสามารถสูงได้อีกเพียง 2 ปี หลังจากนั้น นั่นหมายความว่า ความสูงที่น่าจะเพ่มขึ้นได้ 5 ปี ลดลงเหลือ 3  ปี เนื่องจากเด็กถูกกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น 2 ปี (นั่นหมายถึงความสูงเฉลี่ยจะหายไปประมาณ 5 ซ.ม./ปี) และภาวะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย จะพ่วงเอาเรื่องอารมณ์เข้ามาด้วย ซึ่งเด็กส่วนใหญ่วุฒิภาวะยังเป็นเด็กอยู่ แต่มีอารมณ์ฉุนเฉียว เหมือนเด็กวัยรุ่น มันทำให้เขาไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีเท่าที่ควร

หากพ่อแม่ผู้ปกครอง อยากให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ปกติ ควรระมัดระวังเรื่องอาหาร ภาวะโรคอ้วน การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนที่ถูกสุขลักษณะให้กับบุตรหลาน เขาจะได้มีความสูง และพัฒนาการที่สมวัยต่อไป

Tags : , , , , , | add comments