เราติดรึยัง?

Posted by malinee on Wednesday Jan 12, 2022 Under Uncategorized

          สถานการณ์ที่ยังคลุมเคลือ หลายๆ คนที่ยังต้องทำงานนอกบ้าน ส่งบุตรหลานไปโรงเรียน ก็มักจะมีคำถามในใจขึ้นทุกวัน ว่าเราจะติดโควิดมั้ย ครูมีข้อมูลมาฝากให้ เผื่อคลายความกังวลได้บ้าง

          ช่วงนี้เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าสายพันธุ์ของไวรัส ได้เปลี่ยนไปเป็นสายพันธุ์โอมิครอน มาดูความแตกต่างของสายพันธุ์กัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเรากับ 2 สายพันธุ์นี้หลักๆ อยู่ที่เรื่องของระยะฟักตัว

          ระยะฟักตัว คือระยะที่เราได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นระยะที่จะทำให้เกิดอาการ (ถ้ากรณีที่ติดเชื้อ) และเป็นระยะที่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง ถ้าพ้นระยะฟักตัวแล้วผลตรวจเป็นลบ แสดงว่าไม่ติดเชื้อ

          ระยะฟักตัวของโควิดสายพันธุ์ต่างๆ

อู่ฮั่น  5 – 6 วัน อาการ 10 วันหลังรับเชื้อ

เดลต้า มีระยะฟักตัว 4 วัน อาการ 7 วันหลังรับเชื้อ

โอมิครอน มีระยะฟักตัว 3 วัน อาการ 5 วันหลังรับเชื้อ

    แต่ก่อนจะมีอาการผู้ที่รับเชื้อมาแล้วสามารถกระจายเชื้อได้ 1 – 2 วันก่อนเกิดอาการ หรือบางรายอาจไม่เกิดอาการก็ได้

          สิ่งที่ต้องเฝ้าติดตามคือ ข่าวสารของการเกิดการรวมตัวของสายพันธุ์เดิม เช่น ที่ไซปรัสที่เกิดเคสผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ร่วมระหว่างเดลต้าและโอมิครอน ที่เรียกว่า “Deltacron” แต่อยู่ในช่วงของการศึกษาว่าจะสามารถแพร่กระจายได้หรือไม่ และอีกเคสที่พบในอิสราเอล 1 เคสในผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่ไม่ได้รับวัคซีน เป็นสายพันธุ์ “Flurona” ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่างไข้หวัด (ประจำฤดู)กับโควิด หากมีการแปรผันของสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ วัคซีนน่าจะไม่ใช่คำตอบของโจทย์ข้อนี้ แต่เป็นการตั้งการ์ดของเราทุกๆ คน เพื่อให้เราอยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย

          สุดท้ายขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ

ครูจา

แหล่งที่มา

https://www.webmd.com/lung/coronavirus-incubation-period#3
https://www.cnbc.com/2022/01/08/cyprus-reportedly-discovers-a-covid-variant-that-combines-omicron-and-delta.html
https://www.timesofisrael.com/flurona-israel-records-its-first-case-of-patient-with-covid-and-flu-at-same-time/
Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

เสาร​ อาทิตย์​นี้แล้ว​ ที่เด็กๆ​ จะต้องสอบคัดเลือก​เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษา​ปีที่​ 1 และ​4 หลังจากการถูกเลื่อนการสอบกันมาตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม​ ซึ่งเด็กๆ​หลายคนมีการเตรียมพร้อม​กันมาเป็นเวลานาน​ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค​COVID​19​ จึงทำให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก​ลงชั่วขณะ​ เด็กหลาย​ๆ​ คน​ ถ้าทางบ้านมีเวลาดูแลเอาใจใส่​ก็ยังอาจมีเวลาในการทบทวนบทเรียน​เพื่อเตรียมตัวตลอดเวลา​ แต่หลายๆ​ ครอบครัว​ มิได้เป็นเช่นนั้น​ เด็กๆ​ เนื่องจากความเป็นเด็ก ก็จะไม่เลือกที่จะหยิบจับหนังสือ​อยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ​ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง​หาวิธีในการแก้ปัญหา​ โดยการให้บุตรหลานเรียนออนไลน์​ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถทำได้ในสถานการณ์ช่วงนี้แต่ การเรียนนั้นเป็นการทบทวนบทเรียน​วิธีหนึ่ง​ แต่การเรียนนั้น​อย่างมากก็ทำได้วันละไม่เกิน​2 ชัวโมง​ หลังจากการเรียน​ ไม่ว่าจะเป็นนการเรียนวิชาใดๆ​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์​ หากไม่ทบทวน​หรือเริ่มกระบวนการคิดด้วยตนเอง​ ก็จะไม่เกิดประโยชน์​ใดๆ
การเรียนคณิตศาสตร์​นั้น​ เป็นการฝึกทักษะกระบวนการ​คิดแก้ปัญหา​ ในระหว่างการเรียน​ ถ้าเป็นเรื่องใหม่ๆ​ การเรียน​ เราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์​ไปพร้อมกัน​ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ​ และมีการให้แบบฝึกหัด​เพื่อทบทวนบทเรียน​ เพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่าเป็นระบบ​ และเมื่อเรียนในครั้งต่อไปจะสามารถต่อยอดไปเรื่องใหม่ได้​ แต่เด็กๆ​ ส่วนใหญ่​ เมื่อเรียนจบคือทิ้ง​ ไม่ทวน​ แล้วเวลาเรียนก็กลายเป็นว่าต้องเริ่มใหม่ทุกครั้ง​ ไม่พยายามคิดด้วยตัวเอง​ ไม่เริ่มที่จะคิด​ บ่มเพราะจนกลายเป็นนิสัย​เป็นเด็กเฉื่อย​ ไม่มีความกระตือรือร้น​ ไม่มีความพยายาม​ ไม่คิดที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ​ การเรียนรู้กลายเป็นว่าต้องมีคนป้อน​ ต้องมีคนสอน​ ไม่สามารถอ่านหนังสือ​หรือทบทวนเนื้อหาบทเรียน​ได้ด้วยตนเอง​ ลองสังเกต​บุตรหลานของตัวเองว่่า​ คุณให้เขาเรียน​แล้วเขาได้เคยนำบทเรียนมาทบทวนหรือไม่​ หรือ ให้เรียนทุกวันจนทำให้เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อย​กับการเรียน​ แล้วหลังจาการเรียนที่เหนื่อยล้าคือเวลาที่เป็นเวลาที่จะต้องพักสะทีและการพักของเด็กก้อไม่พ้นการเล่นเกม..
#เรียนเยอะไม่แปลว่าเก่ง
#เรียนแล้วเก็บไม่ทวนไม่แปลว่าทำได้
#เป็นกำลังให้เด็กทุกคน
#สถาบันคิดสแควร์

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

#อย่ายอมรับ….

Posted by malinee on Sunday Jun 23, 2019 Under Uncategorized

            หลายๆ คนคงทราบว่ากระแสของเด็กในปัจจุบันจะเป็นเด็กพิเศษกันเพิ่มขึ้น หลายๆ ครอบครัวก็มักระแวงว่าบุตรหลานของตนเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวหรือไม่ บุตรหลานของเราเป็นเด็กเรียนรู้ช้าหรือทำไมเขามีพัฒนาการหรือการเรียนรู้ที่ช้ากว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกัน แต่ก็มีอีกหลายๆ ครอบครัวไม่ยอมรับว่าบุตรหลานของตนเป็นเด็กพิเศษ

            สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่หล่อหลอมเด็กแต่ละคนเติบโตมา มีปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์เพราะเป็นช่วงที่ลูกอยู่ในท้องนั้น จะมีการแบ่งเซลล์เพื่อพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ ตลอดระยะเวลา 40 สัปดาห์ หากมีสิ่งที่มีผลมากระทบต่อแม่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ย่อมมีผลต่อต่อลูกที่เชื่อมโยงกันแน่นอน หลังจากที่เขาลืมตา นั่นคือจุดเริ่มต้นของการดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งเร้าภายนอกที่มากระตุ้นการพัฒนาทั้งสมอง ร่างกาย และจิตใจของเด็กแต่ละคน

ช่วง 3 ขวบปีแรก เป็นช่วงที่เด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้ได้ทำงานอย่างสมบูรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย และการเข้าสังคม ให้เข้าโรงเรียน หลังจากนั้นเป็นวัยที่เด็กเข้าเรียนในชั้นอนุบาล หากเด็กถูกฝึกทักษะทางด้านกล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้ว เด็กจะพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่เด็กหลายๆ ครอบครัวไม่ได้ใช้ช่วงเวลาใน 3 ขวบปีแรกเสริมพัฒนาการให้กับบุตรหลาน ทำให้เขามีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนๆ ทำให้เขาเกิดความไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก บ่มเพาะจนกลายเป็นนิสัยที่ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง จริงอยู่เด็กแต่ละคนมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน และเด็กทุกคนต้องมีลักษณะเด่นหรือความชอบด้านด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะต้องคอยกระตุ้นความเชื่อมั่น หรือพยายามส่งเสริมกิจกรรมที่เพิ่มศักยภาพให้เขาได้เรียนรู้ได้ใกล้เคียงกับเด็กในรุ่นเดียวกัน อย่าปล่อยให้เค้ารู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องที่น่าเบื่อตั้งแต่เล็กๆ หมั่นสอบถามครูประจำชั้นถึงพัฒนาการด้านการเรียนในชั้นเรียนของเขา อย่ายอมรับในทุกๆ เรื่องว่ามันคือ นิสัยของลูกเรา ทั้งๆ ที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่เราสร้างปัจจัยที่ทำให้เขาเป็นอย่างนั้น อย่ายอมรับอะไรง่ายๆ โดยที่ยังไม่ได้เริ่มที่จะคิดแก้ไขอะไรเลย………

Tags : | add comments

ทางเลือก vs เลือกทาง

Posted by malinee on Sunday Jun 16, 2019 Under Uncategorized

            ครอบครัวในปัจจุบันเป็นครอบครัวที่มีลูกโทนเป็นส่วนใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงสรรหาทุกอย่างที่ดีที่สุดเพื่อให้บุตรหลานได้รับในสิ่งที่ดีที่สุด ทุ่มเทความรัก ความเอาใจใส่ ความปรารถนาดี คัดสรรสิ่งที่ตนคิดว่าเหมาะสมที่สุดให้กับเขา จัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้เขาได้รับความลำบากน้อยที่สุด

            ในวัยที่เขาเข้าสู่วัยแห่งการเรียนรู้ หลายๆ ครอบครัวนอกจากจะเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลานแล้ว ยังส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะการแสดง เพื่อให้เขาได้มีทางเลือกอื่นนอกจากการเรียนพิเศษด้านวิชาการ เด็กหลายๆ คนเรียนด้วยความสนุกสนาน แต่ก็มีเด็กอีกหลายคนที่เรียนทั้งน้ำตา เพราะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับวิชาการที่อัดแน่นและกิจกรรมที่พ่อแม่จัดให้ในวันหยุด จนในที่สุดเด็กจะฝืนทำโดยที่ไม่มีความตั้งใจ ไม่เอาใจใส่กับสิ่งที่ทำจนกลายเป็นนิสัย พ่อแม่ส่งให้เรียนอะไร ก็เรียน ไม่ขัดข้อง แต่ไม่มีความตั้งใจ ซ้ำร้ายบางครอบครัวถึงกับต้องมีข้อแลกเปลี่ยนว่าถ้าทำสิ่งนี้จะได้สิ่งนั้นเป็นการตอบแทน มันกลายเป็นว่าเด็กทำทุกอย่างเพื่อหวังผลตอบแทน โดยที่ไม่ได้มองถึงประโยชน์หรือความปรารถนาดีที่พ่อแม่พยายามปูทางให้ตนเองในอนาคตในเวลาที่เค้าต้องอยู่ด้วยตนเอง

            จริงอยู่ในวัยเด็ก พ่อแม่ต้องเลือกที่เรียน และกิจกรรมให้กับบุตรหลาน แต่ควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย อย่างน้อยให้เค้าได้เข้าไปทดลองเรียน ให้มีส่วนร่วมว่าเค้าชอบ หรือไม่ชอบ การเรียนในแนวนั้นๆ พ่อแม่เป็นผู้เลือกแต่ต้องให้เค้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย เมื่อเขาโตขึ้นให้เขาได้เลือกที่เรียนหรือกิจกรรมที่เรียนด้วยตัวเอง ไม่ใช่พ่อแม่เป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด แล้วให้เขามีหน้าที่เป็นเพียงผู้ทำตาม มิฉะนั้น หากถามว่าอนาคตเขาอยากเป็นอะไร เราจะได้คำตอบว่า ต้องถามพ่อกับแม่ เพราะเขาไม่เคยวางแผนในอนาคต หรือตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองเลย ลองนึกดูว่า ถ้าวันนึงคุณจากโลกนี้ไป โดยที่เขาเป็นลูกโทน เขาจะมีใครเป็นคนเลือกทางให้เขา ในเมื่อคุณเป็นคนเลือกทางให้เขาตั้งแต่เกิดจนคุณจากไป โดยเขาไม่เคยมีทางเลือกของเขาเองเลยแม้แต่ครั้งเดียว……

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

            คณิตศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่เป็นยาขม อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ปกครองเองในวัยที่ตนเองเป็นเด็กก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ หากมาพิจารณาคณิตศาสตร์ในแต่ละช่วงวัย เราก็สามารถจะแก้ปัญหาให้กับบุตรหลานได้อย่างถูกจุดได้อย่างไม่ยากนัก เรามาดูวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยจะได้ส่งเสริมทักษะและพัฒนาการได้อย่างถูกต้องดังนี้

 -เด็กในวัยอนุบาล เป็นช่วงที่เรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เชื่อมโยงหน้าตา (ภาษาๆ ใหม่ของเด็กๆ) กับจำนวน  และต่อยอดไปในเรื่องของค่าที่มากกว่า น้อยกว่า การนับเพิ่ม นับลด ซึ่งใช้เวลา 3 ปี เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กไปพร้อมๆ กับการใช้กล้ามเนื้อมือให้สัมพันธ์กับตาด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดในวัยนี้ คือทัศนคติกับการเรียน ครูผู้สอนมีผลที่สุดกับทัศนคติในการเรียนของเด็ก

-เด็กในวัยประถมต้น สิ่งที่จำเป็นในวัยนี้ จะเป็นเรื่องของปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หาร เด็กๆ จะต้องมีการเรียนรู้เรื่องค่าประจำหลัก เพื่อให้เข้าใจการทดเลขเมื่อบวกเกิน หรือการลบเลขแบบขอยืม ฝึกทักษะของการบวก ลบ จนคล่อง ต่อจากนั้นควรเข้าใจถึงทฤษฏีพื้นฐานของการคูณ การหาร ซึ่งการท่องสูตรคูณ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญในช่วงนี้ (ทางบ้านต้องมีส่วนช่วยในการส่งเสริมผลักดันให้เด็กท่องสูตรคูณให้ได้)

-เด็กในวัยประถมปลาย จะมีการเรียนรู้ลำดับขั้นปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ เศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ เรขาคณิต และการแก้สมการ (ในชั้น ป.6) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ๆ ที่เด็กๆ จะต้องใช้ทั้งความเข้าใจและความจำ(สูตร)ต่างๆ รวมไปถึงการประยุกต์การแก้ไขปัญหาโจทย์ปัญหาที่มีการรวมเนื้อหาหลายๆ เรื่องให้เด็กๆ ได้รู้จักการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานได้อย่างแม่นยำ สิ่งที่สำคัญในวัยนี้ จะเป็นเรื่องของความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้องแม่นยำ ร่วมกับการตีความโจทย์ปัญหาให้ถูกต้อง

-เด็กในวัยมัธยม การเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงวัยนี้จะเรียนในแบบที่ใช้ความรู้เดิมไม่เกิน 30% และจะเป็นความรู้ในแนวศาสตร์จริงๆ (Pure Mate) เด็กหลายๆ คนที่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์มักเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงวัยนี้เสมอ เนื่องจากการเรียนไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเลย แต่ในการเรียนคณิตศาสตร์ระดับนี้เป็นการเรียนที่ต้องใช้ในการต่อยอดเพื่อใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อด้วย

            ดังนั้น ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ในแต่ละวัยของเด็กๆ นั้น ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองตามติดการเรียนของบุตรหลาน ก็จะได้แก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ให้กับบุตรหลานได้อย่างทันท่วงที และถูกจุด เนื่องจากผู้ปกครองหลายๆ คนที่มีบุตรหลานอยู่ในประถมปลายซึ่งมีปัญหาทางคณิตศาสตร์ มักคิดว่าปัญหาเกิดจากการคิดคำนวณ ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นปัญหาของเด็กประถมปลายเกิดจากการวิเคราะห์โจทย์ โดยที่การวิเคราะห์โจทย์ผิดพลาด ส่งผลให้การคำนวณพลาดไปด้วย ซึ่งการคำนวณพลาดเป็นเพียงปลายเหตุเท่านั้น  ดังนั้นปัญหาคณิตศาสตร์แต่ละช่วงวัยควรแก้ไขให้ถูกจุด เพื่อให้เด็กได้เรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีเข้าใจ

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

            เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระดับการศึกษาดีอยู่ในระดับ 1 ใน 10 ของโลก นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเป็นอันดับ 1 ในการสอบวัดผล PISA ใน 75 ประเทศทั่วโลกซึ่งจัดทำโดยองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OCED)  เพื่อประเมินผลการเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน

            ผลการจัดอันดับการศึกษาที่ดีของสิงคโปร์มิใช่ได้มาจากความบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยหลายด้าน ซึ่งรวมถึงพนักงานของภาครัฐที่ต้องได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก และมีภารกิจที่ชัดเจนเพื่อพลิกโฉมสิงคโปร์ให้มีการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุดในโลก นอกจากนี้แล้วยังทุ่มงบประมาณ 20% ของงบประมาณภาครัฐทั้งหมด เพื่อทุ่มให้กับระบบการศึกษา บุคคลากรครูมีคุณภาพสูง บุคคลากรทางการศึกษามีอัตราเงินเดือนเทียบเท่ากับอัตราเงินเดือนในภาคอุตสาหกรรม และการเงิน ซึ่งดึงดูดให้บัณฑิตที่มีคุณภาพสนใจทำงานด้านนี้

            หลายๆ คนคงไม่เคยรู้ว่าครั้งหนึ่งสิงคโปร์เคยเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย หลังจากปี ค.ศ. 1965 ที่สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากมาเลเซีย มีเพียงชนชั้นนำเท่านั้นที่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา ประชากรครึ่งหนึ่งไม่รู้หนังสือ อีกทั้งสิงคโปร์เป็นประเทศที่ขาดทรัพยากรทางธรรมชาติ สิ่งที่รัฐบาลทำได้ คือการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยการให้การศึกษา สิงคโปร์จึงมีรัฐบาลอำนาจนิยมที่จำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานบางอย่าง หนึ่งในนั้นคือการเชื่อฟัง เป็นการรับประกันความปลอดภัยและการอยู่ดีกินดี ซึ่งปรัชญานี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบการศึกษาของสิงคโปร์ ซึ่งสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง อยากให้บุตรหลานได้เรียนในโรงเรียนดีๆ ซึ่งมีการแข่งขันสูง ทำให้เด็กต้องเรียนเสริมจนเวลาในวัยเด็กหายไป ขาดความสุข เกิดความเครียด โดยรัฐบาลสิงคโปร์เล็งเห็นว่าการเรียนการสอนที่มีการแข่งขันสูงส่งผลให้เด็กขาดความสุข เกิดโรคซึมเศร้ามากขึ้น และที่รุนแรงที่สุดคือการฆ่าตัวตาย

            ปัจจุบันนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ไม่มีการสอบวัดระดับแล้ว นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังประกาศว่าในปี 2019 เป็นต้นไปจะยกเลิกการสอบทั้งกลางภาคและปลายภาคของนักเรียนชั้น ป.2 และนักเรียนชั้น ป.3,  ป.5,ม.1 และ ม.3 จะยกเลิกการสอบกลางภาคเท่านั้น ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์

 นายอ่อง เย กัง (Ong Ye Kung) กล่าวว่าการยกเลิกการสอบในระดับประถมนั้นเพื่อรักษาความสมดุลในการเรียนรู้ของเด็กๆ และลดความกดดันในการแข่งขันลง แต่สัมฤทธิผลของการศึกษาก็จะเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินและรายงาน  

             โดยรวมแนววิธีการศึกษาบ้านเราใกล้เคียงกับประเทศสิงคโปร์มาก สิ่งที่แตกต่างกันคือ เราไม่เคยติด 1 ใน 10 เหมือนสิงคโปร์  รัฐบาลของเราไม่เคยมีชุดไหนที่ทำเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง ครูไม่ใช่อาชีพที่ 1 ที่เมื่อเด็กโตขึ้นแล้วอยากเป็น และที่สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่มีหน้าที่เพียงแค่หาเงินมาเพื่อซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับตนเองและลูก โดยไม่ได้สอนให้เค้ามีจิตสำนึก ไม่ได้สอนให้รู้จักหน้าที่ เด็กทุกวันนี้ หากมีใครถามเขาว่า หนูเรียนหนังสือเพื่ออะไร อาจจะไม่ได้ตอบกลับมา  ดังนั้นหากจะเอาใครเป็นต้นแบบ ต้องศึกษาให้รอบคอบและปรับให้เหมาะสมกับลักษณะนิสัยของเรา ใช่ว่าเห็นช้างขี้แล้วจะขึ้ตามช้างได้

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

ลูก….ไม่ใช่ไม้ผลัด

Posted by malinee on Sunday Dec 2, 2018 Under Uncategorized

ในปัจจุบันที่ครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวที่มีลูกคนเดียว จึงทำให้ความทุ่มเทและคาดหวังตกอยู่กับลูกโทน เป็นเหตุให้เมื่อบุตรหลานเข้าสู่วัยเรียน จึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองพิถีพิถันในการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลาน

หลายๆ ครอบครัวที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบการศึกษาของบ้านเรา ก็จะรับรู้ว่า ระบบการศึกษาไทยมีปัญหาหลายด้าน ทั้งเรื่องบุคลากรที่ผ่านการสอบคัดเลือกแบบ(ติวข้อสอบข้าราชการ ครูผู้ช่วย) ซึ่งหลังจากที่ได้รับราชการแล้ว ทุกอย่างจบสิ้น ไม่มีการพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อให้ทันกับยุคสมัย  แนวการเรียนการสอนที่เด็กนักเรียนจะต้องปรับเข้าหาครู (แทนที่ครูจะหาวิธีสอนที่ทำให้เด็กเข้าใจ) ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นที่มักได้ยินกันเป็นประจำคือ ในชั้นเรียนครูไม่สอน แต่ให้เด็กไปเรียนพิเศษกับครูข้างนอก เมื่อใกล้สอบจะมีการบอกข้อสอบเพื่อให้ได้คะแนนดีๆนอกจากนี้ยังรวมไปถึงหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนการสอนที่มีการปรับปรุงทุกๆ ทศวรรษ ซึ่งในปัจจุบันแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีแต่หลักสูตรแนวแกนกลางกระทรวงยังคงอยู่ที่ปี 2551 อยู่เลย

หลายๆ ครอบครัวจึงหันเหไปหาโรงเรียนอินเตอร์ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่หลายๆ ครอบครัวที่มีกำลังพอจะส่งเสริม เพราะหวังว่าเด็กได้ภาษาแน่ๆ และเข้าใจว่าโรงเรียนในแนวดังกล่าวจะสอนให้เด็กๆ สามารถคิด วิเคราะห์ได้ดีกว่าเด็กโรงเรียนไทย  โดยลืมไปว่าการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมของคนไทยกับต่างชาติแตกต่างกัน  เด็กทุกคนจะมีลักษณะนิสัยส่วนตัวซึ่งถูกบ่มเพาะจากทางบ้าน จริงอยู่ที่เด็กอยู่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน (ในวัยเรียน) แต่ครอบครัวได้หล่อหลอมเขาตั้งแต่แรกเกิดจนก่อนเข้าวัยเรียน หากเด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ว่าเขาจะอยู่ตรงไหน ลักษณะนิสัยดังกล่าวก็ยังคงเป็นตัวเขา  หากพ่อแม่ผู้ปกครองบ่มเพาะให้เขาหัดเป็นคนช่างสังเกต หรือมีระเบียบวินัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็จะติดตัวเค้าไปทุกที่ แต่อย่างไรก็ดีโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ครูมีผลต่อทัศนคติของเด็กในวิชาที่ครูผู้นั้นสอน ดังนั้นทางที่ดี ในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่ให้บุตรหลานเหมือนไม้ผลัด ที่เรื่องของการเรียนส่งต่อให้โรงเรียนรับผิดชอบเพียงไม้เดียว ส่วนผู้บิรหารโรงเรียนนอกจากจะมีการประเมินการเรียนการสอน ซึ่งคือการประเมินการเรียนของเด็กเพียงด้านเดียว แต่ควรประเมินการสอนของครูผู้สอนด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาไปทั้งสองฝั่ง ทั้งฝั่งของทางบ้าน และฝั่งของโรงเรียนไปพร้อมๆ กัน…

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

#สูตรคูณมีไว้ให้ท่องจำ
#ดีดต่อเนื่องมีไว้ให้ท่องคู่
#มันก้อจะดูนิ่งๆนิดนึงเวลาที่ลิงโดนจับเวลา…5555
#เด็กคิดสแควร์คิดเลขเก่งนะ..

  

 

 

 

 

ฃ  

Tags : , , | add comments

Morning Tuesday

Posted by malinee on Tuesday Oct 3, 2017 Under Uncategorized, กิจกรรม

สวัสดีเช้าวันอังคาร…

ฝึกคิดเลขพร้อมกับเด็กๆกันนะคะ..เริ่มเรียนคณิคเริ่มที่  คิดสแควร์..#เด็กคิดสแควร์

 

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

เรียนที่เดียวดีมั้ย

Posted by malinee on Tuesday May 30, 2017 Under Uncategorized

ในสังคมในยุคปัจจุบัน ที่พ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องทำงานพร้อมกับการดูแลบุตรหลานไปพร้อมๆ กัน เมื่อถึงสุดสัปดาห์ก็รู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรงที่จะคอยดูแลวิชาการของบุตรหลาน จึงส่งบุตรหลานเรียนในสถาบันต่างๆ ที่ได้เลือกไว้ว่าเหมาะสมกับบุตรหลานของตนเอง

การเรียนตามสถาบันต่างๆ คุณพ่อคุณแม่มักเลือกสถาบันที่มีการเรียนการสอนครบทุกวิชา เพื่อให้เด็กได้เดินทางภายในที่เดียว เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการเดินทาง เช่นเด็ยวกับคุณพ่อคุณแม่ น้องๆ ก็ถือว่าตนเองเรียนมาทั้งสัปดาห์แล้ว ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมานั่งอ่านทบทวนสิ่งที่เรียนมา คุณพ่อคุณแม่จึงเห็นว่าการเรียนเสริมเป็นการช่วยทบทวนในสิงที่บุตรหลานได้เรียนมา เพื่อเป็นทางลัดในการอ่านทบทวนของเด็กๆ แต่ในการเรียนการสอนแต่ละวิชานั้น ครูผู้สอนจะมีความถนัดในแต่ละวิชาแตกต่างกัน ยิ่งในวัยที่โตขึ้น ครูในแต่ละวิชายิงจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นในการเรียนในแต่ละวิชา จึงควรเรียนในแต่ละสถาบันที่มีความถนัดในแต่ละวิชาจะได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด

แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่ดีที่สุดคือการให้บุตรหลานได้อ่านและทบทวนในสิ่งที่ตนเองได้เรียนมา โดยมีคุณพ่อคุณแม่ ช่วยเสริมและเพื่อการพัฒนาทักษะของการอ่านและการคิดวิเคราะห์

Tags : | add comments