กิจกรรม

Posted by malinee on Thursday Aug 27, 2009 Under Uncategorized

ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน และภาพบรรยากาศการจัดกิจกรรมทางเลือก

ในงาน
เลือกได้อย่างที่อยากให้เป็น วันที่ 15 กันยายน 2551 ณ โรงเรียนโสมาภานุสสรณ์
DSC05448

DSC05447DSC05446DSC05444

DSC05412

DSC05404

DSC05403

DSC05402

DSC05371

Tags : | add comments

Total Physical Response

Posted by malinee on Monday Aug 17, 2009 Under เกร็ดความรู้

Total Physical Response

Dr. James J. Asher ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Learning Another Through Actions ของท่านถึงเทคนิคต่างๆ พร้อมกับตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับการสอนภาษาตามแบบวิธีการที่เรียกว่า “ Total Physical Response “ หรือที่รู้จักกันดีทั่วโลกว่า TPR ซึ่งเป็นการเรียนรู้ภาษาที่สองโดยการแสดงท่าทางต่างๆ การเรียนรู้ด้วยวิธี TPR สามารถนำมาปรับใช้ได้ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย และเนื่องจาก TPR เป็นการเรียนรู้แบบเดียวกับการเรียนรู้ภาษาแรก วิธีนี้จึงเหมาะสมกับการเรียนการสอนสำหรับเด็กเล็กๆมาก

การเรียนรู้แบบ TPR นี้ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติมาก จนครูผู้สอนเองอาจจะรู้สึกว่าได้ใช้สิ่งเหล่านี้ในห้องเรียนอยู่แล้ว และถ้าเป็ฯเช่นนั้น แสดงว่าครูกำลังพัฒนาตัวเองเป็นครูสอนภาษาที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย และ Dr.James J. Asher ยังบอกว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาจากการฝึกอบรมการสอนด้วย TPR โดยเฉพาะ

การนำเสนอวิธีการสอนแบบ TPR ที่ Dr.James J. Asher “ ได้เคยอธิบายไว้ว่าต้องทำอะไรบ้างซึ่งท่านได้กล่าวไว้ ดังต่อไปนี้

ใน ขั้นแรกของการเรียนรู้ภาษาใด ภาษาหนึ่งนั้นคือการเข้าใจอย่างซึมซับ รหัสของภาษานั้นเข้าไปในลักษณะเดียวกันกับการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งของคุณโดย ใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านคำสั่งต่างๆซึ่งบางทีคุณเองอาจลืมเหตุการณ์ต่างๆใน ช่วงวัยเด็กไปแล้ว เหมือนกับคนส่วนใหญ่ แต่จากการวิจัยพบว่าตอนที่คุณเป็นเด็กส่วนใหญ่แล้ว ครึ่งหนึ่งของเสียงที่เปล่งหรือคำพูดที่คุณได้ยินนั้นล้วนเป็นประโยคคำสั่ง เช่น “ อย่าถ่มน้ำลายลงบนกระโปรงนะ “ หรือ “ ให้มองนกที่เกาะบนกิ่งต้นโอ๊คซิ “

จาก ตัวอย่างข้างต้น ข้าพเจ้ากำลังจะพูดว่า ตอนที่คุณเป็นเด็กคุณจะถอดรหัสภาษาและซึมซับภาษาที่หนึ่งของคุณจากพฤติกรรม ที่เกิดจากการออกคำสั่งโดยตรง ในช่วงร้อยชั่วโมงแรกๆเด็กจะยังคงเงียบอยู่ ยกเว้นตอนที่เด็กพูดอ้อแอ้ แต่ในช่วงระหว่างนั้นเองคุณกำลังถอดรหัสภาษาที่คุณได้ยิน โดยในช่วงแรกคุณอาจจะแปลรหัสของภาษาที่ได้ยิน ได้จากสีหน้าของผู้พูด หลังจากที่คุณได้รับข้อมูลที่ได้มีการแปลรหัสคำต่างๆ มาเป็นเวลาหลายเดือน คุณจะเริ่มพูดได้ แต่ทักษะด้านความเข้าใจต่อรหัสคำต่างๆนั้นจะยังอยู่ได้นานและล้ำหน้ากว่า ทักษะการพูดมาก และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกหลายปี และนี่คือวิธีที่คุณจะเรียนรู้ภาษาใหม่จากการออกคำสั่ง ข้าพเจ้า ( Dr. James J. Asher ) จะ ออกคำสั่งและแสดงท่าทางต่างๆไปพร้อม ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง จากนั้นข้าพเจ้าจะเพียงแต่ออกคำสั่ง โดยให้คุณแสดงท่าทาง ด้วยวิธีนี้คุณจะเริ่มเข้าใจภาษามากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด คุณจะเริ่มพูดภาษาใหม่ได้และนี่คือวิธีที่คุณจะเรียนรู้ภาษาอื่นๆ จากการออกคำสั่งดังกล่าว

การเรียนรู้ด้วยวิธี TPR เป็น วิธีการที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ภาษาใดภาษาหนึ่งโดยไม่มีการแปล แต่เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เหมือนกับการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งของคน เหล่านั้น

Tags : , , | add comments

FAQ

Posted by malinee on Monday Aug 17, 2009 Under Uncategorized

คำถามที่ถามบ่อย

FAQ ( Frequently Asked Questions )

1.      Q : มีหลักสูตรอะไรบ้าง

A :  หลักสูตรจินตลีลาคณิต (Mental Math Glow)

 หลักสูตร โจทย์คณิตคิดง่าย ( Math Trick Glow )

 หลักสูตรยุวคณิตคิดไว (Mental Math)

1.      Q : รับสมัครเด็กอายุตั้งแต่เท่าไหร่

A : เด็กอายุตั้งแต่ 4 – 12 ปี

1.      Q : ครูจบจากที่ไหนมาสอน

A : ขั้น ต่ำปริญญาตรี ไม่ยึดเรื่องสถาบันที่จบมา เนื่องจากหลักสูตรมีมาตรฐานอยู่แล้ว บุคลากรที่รับเข้ามาทำการสอนจะต้องผ่านการทดสอบความสามารถด้านคณิตศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ของสถาบันฯ และจะต้องได้รับการอบรมหลักสูตรจากทางสำนักงานใหญ่ อีกทั้งจะต้องมีจิตวิทยาในการสอนเด็ก เนื่องจากการสอนเด็ก ความยากไม่ได้อยู่ที่ตัวหลักสูตรแต่ อยู่ที่ทำอย่างไรให้เด็กรักที่จะเรียนและเข้าใจในบทเรียน

1.      Q : มีเด็กจำนวนกี่คนในแต่ละชั้นเรียน

A : สำหรับวิชา PSS , MGB ชั้นเรียนมีนักเรียนไม่เกิน 12 คน ต่อครู 1 คน สำหรับวิชา MAT มีนักเรียนไม่เกิน 6 คน ต่อครู 1 คน

1.      Q : เวลาเรียนมีช่วงไหนบ้าง

A : เวลาเรียนมีตอน เย็นวันธรรมดา เวลา 16.30 – 18.30 น และ วันเสาร์ – อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่ 08.30 น. เป็นต้นไป หยุดทุกวันจันทร์ ( ปรับเปลี่ยนตามความเป็นจริงของแต่ละสาขา )

1.      Q : มีการชดเชยให้ไนกรณีที่ขาด / ลา หรือไม่

A : มีการชดเชยให้ ตามระเบียบการกล่าวคือ ชดเชยให้ฟรี 2 ครั้ง สำหรับวิชา PSS , MGBชดเชยให้ฟรี 1 ครั้งสำหรับวิชา MAT ครั้งต่อไปจะคิดค่าเรียนเสริม 199 บาท / ชั่วโมง

1.      Q : มีส่วนลดอะไรให้หรือไม่

A : ชี้แจงตามความเป็นจริง

1.      Q : มีเวลาพักบ้างไหม

A : มี ประมาณ 10 – 15 นาที

1.      Q : กรณีเรียนทั้งวันมีอาหารกลางวันให้ไหม (กรณีมีการชดเชยช่วงบ่าย)

Tags : | add comments

ประวัติความเป็นมาของลูกคิด

มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนามาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน  ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิดจนมาถึงลูกคิดประวัติความเป็นมาของลูกคิดเท่าที่ค้นหาได้  แบ่งออกเป็น 2 แนวทางคือ
แนวทางที่1. กล่าวว่า   จากหลักฐานประวัติศาสตร์พบว่า ลูกคิดเป็นเครื่องคำนวณที่ชาว
จีนใช้กันมากว่า 7,000 ปี และใช้กันในอียิปต์โบราณมากว่า 2,500 ปี
แนวทางที่2. กล่าวว่า   ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนา มาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด   ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด
ลูกคิดเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน   พัฒนาการของอุปกรณ์ในปัจจุบันที่มีพื้นฐานมาจากลูกคิดก็คือ เครื่องคิดเลข และคอมพิวเตอร์
ลูกคิดที่ยังมีใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ คือ ลูกคิดจีน และ ลูกคิดญี่ปุ่น  ลักษณะลูกคิดของจีนมีตัวนับข้างบน 2 แถว ข้างล่าง 5 แถว   ขณะที่ลูกคิดของญี่ปุ่นมีตัวนับข้างบน 1 แถว ข้างล่าง 4 แถว   แม้ลูกคิดจะเป็นอุปกรณ์คำนวณสมัยเก่า แต่ก็มีความสามารถในการคำนวณเลขได้ทุกระบบ

ภาพที่1. ลูกคิดจีน

chinese abacus

ภาพที่2. ลูกคิดญี่ปุ่น

japanese abacus

ภาพที่3. เปรียบเทียบการคำนวณของลูกคิดจีน  ญี่ปุ่น   รัสเซีย

3 types abacus

ภาพที่4. กระดานคำนวณของชาวกรีกโบราณ3 types abacus (2)

3 types abacus (3)
แบบโบราณจากเกาะกรีกของชาวซาลามิสเป็นแผ่นหินอ่อนขนาดยาว 1.5 เมตร เชื่อกัน
ว่าพวกแลกเปลี่ยนเงินตรานำไปใช้ในโบสถ์ ข้อความที่จารึกไว้บนแท่งหินแสดงรายการ
ราคาและชื่อของเหรียญต่างๆ เช่น แดร็กมา แทลเลนส์ และโอโบล เป็นต้น

Tags : , , , | 3 comments