ทางเลือก vs เลือกทาง

Posted by malinee on Sunday Jun 16, 2019 Under Uncategorized

            ครอบครัวในปัจจุบันเป็นครอบครัวที่มีลูกโทนเป็นส่วนใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงสรรหาทุกอย่างที่ดีที่สุดเพื่อให้บุตรหลานได้รับในสิ่งที่ดีที่สุด ทุ่มเทความรัก ความเอาใจใส่ ความปรารถนาดี คัดสรรสิ่งที่ตนคิดว่าเหมาะสมที่สุดให้กับเขา จัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้เขาได้รับความลำบากน้อยที่สุด

            ในวัยที่เขาเข้าสู่วัยแห่งการเรียนรู้ หลายๆ ครอบครัวนอกจากจะเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลานแล้ว ยังส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะการแสดง เพื่อให้เขาได้มีทางเลือกอื่นนอกจากการเรียนพิเศษด้านวิชาการ เด็กหลายๆ คนเรียนด้วยความสนุกสนาน แต่ก็มีเด็กอีกหลายคนที่เรียนทั้งน้ำตา เพราะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับวิชาการที่อัดแน่นและกิจกรรมที่พ่อแม่จัดให้ในวันหยุด จนในที่สุดเด็กจะฝืนทำโดยที่ไม่มีความตั้งใจ ไม่เอาใจใส่กับสิ่งที่ทำจนกลายเป็นนิสัย พ่อแม่ส่งให้เรียนอะไร ก็เรียน ไม่ขัดข้อง แต่ไม่มีความตั้งใจ ซ้ำร้ายบางครอบครัวถึงกับต้องมีข้อแลกเปลี่ยนว่าถ้าทำสิ่งนี้จะได้สิ่งนั้นเป็นการตอบแทน มันกลายเป็นว่าเด็กทำทุกอย่างเพื่อหวังผลตอบแทน โดยที่ไม่ได้มองถึงประโยชน์หรือความปรารถนาดีที่พ่อแม่พยายามปูทางให้ตนเองในอนาคตในเวลาที่เค้าต้องอยู่ด้วยตนเอง

            จริงอยู่ในวัยเด็ก พ่อแม่ต้องเลือกที่เรียน และกิจกรรมให้กับบุตรหลาน แต่ควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย อย่างน้อยให้เค้าได้เข้าไปทดลองเรียน ให้มีส่วนร่วมว่าเค้าชอบ หรือไม่ชอบ การเรียนในแนวนั้นๆ พ่อแม่เป็นผู้เลือกแต่ต้องให้เค้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย เมื่อเขาโตขึ้นให้เขาได้เลือกที่เรียนหรือกิจกรรมที่เรียนด้วยตัวเอง ไม่ใช่พ่อแม่เป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด แล้วให้เขามีหน้าที่เป็นเพียงผู้ทำตาม มิฉะนั้น หากถามว่าอนาคตเขาอยากเป็นอะไร เราจะได้คำตอบว่า ต้องถามพ่อกับแม่ เพราะเขาไม่เคยวางแผนในอนาคต หรือตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองเลย ลองนึกดูว่า ถ้าวันนึงคุณจากโลกนี้ไป โดยที่เขาเป็นลูกโทน เขาจะมีใครเป็นคนเลือกทางให้เขา ในเมื่อคุณเป็นคนเลือกทางให้เขาตั้งแต่เกิดจนคุณจากไป โดยเขาไม่เคยมีทางเลือกของเขาเองเลยแม้แต่ครั้งเดียว……

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

Doc3            ความ    แน่นอนของคนทุกๆ คนย่อมต้องผ่านวัยเด็กมา ผ่านการเรียนในวัยเด็กกันทุกคน พ่อแม่ ผู้ปกครองย่อมรู้ดีว่าการเรียนคณิตศาสตร์นั้นสำคัญเพียงใด และทัศนคติในการเรียนไม่ว่าจะเป็นวิชาใดๆ ก็ตาม จะขึ้นอยู่กับครูผู้สอนอย่างมาก แต่ในหลายๆ วิชาการเรียนในแต่ละระดับจะไม่เกี่ยวเนื่องกันมากนัก ยกเว้นก็แต่วิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งต้องใช้ความรู้พื้นฐานอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าหากพื้นฐานในการเรียนไม่ดี การต่อยอดต่อไปก็จะเป็นไปได้ยากขึ้นตามลำดับ

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการพัฒนาหลักสูตร หรือเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ บางครั้งใช้การจับคำ (Key word) , บางครั้งใช้ภาพ , บางครั้งใช้สมการ หรือบางครั้งจะใช้ Block Model เข้าช่วย ขึ้นอยู่กับวัยของเด็กๆ

ที่กล่าวว่าขึ้นอยู่กับวัยเด็ก เนื่องจากการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ความซับซ้อนก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเด็กในวัยประถมต้นนั้น เราจำเป็นจะต้องใช้ภาพเป็นสื่อให้เด็กตีความไปตามลำดับของโจทย์ ซึ่งในช่วงแรกเราจะใช้ภาพเป็นสื่อก่อน ต่อจากนั้นเราจะเริ่มแปลงภาพเป็น Block Model ต่อไป เนื่องจากตัวเลขจะมากขึ้น แต่กระนั้นเองเด็กในวัยก่อนชั้นประถม 6 ยังไม่ได้เรียนเรื่องสมการ และการแก้สมการ ดังนั้นเรื่องที่ผู้ใหญ่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการแก้สมการ แต่การแก้ไขปัญหาเดียวกันในเด็ก เราจะต้องใช้วิธีอื่นเพื่ออธิบายให้เกิดความเข้าใจ

Block Model คือ หลักสูตรในการแก้โจทย์ปัญหาในแนวของ Singapore Maths โดยใช้ภาพของกล่องในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์กับเด็ก ดังตัวตัวอย่างต่อไปนี้

 

โจทย์ดังกล่าวมักจะพบในระดับประถมต้น เราจำเป็นต้องใช้รูปเพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพ ผู้ใหญ่หลายๆ คนจะสอนให้เด็กย้ายข้าง ซึ่งเด็กจะไม่เข้าใจ จนในที่สุดจะกลายเป็นการบอกวิธีการเลยว่าจะต้องนำไปบวก หรือลบ ซึ่งไม่ได้ทำให้เด็กมีความเข้าใจมากขึ้น แต่เป็นการช่วยให้เด็กๆ ทำการบ้านได้เร็วขึ้นเท่านั้นเอง โดยไม่ได้เกิดความเข้าใจ หรือประโยชน์อะไรมากกว่านั้นเลย จนกลายเป็นว่าเมื่อไรที่ต้องการแก้ไขปัญหา ก็นำมาให้พ่อแม่ผู้ปกครองช่วย (บอกวิธีหาคำตอบ)

นอกจากโจทย์ระดับของประถมต้นแล้ว Block Model ยังสามารถแก้ไขโจทย์ปัญหาในระดับสูงขึ้นได้อีกด้วย เช่น

พ่อมีอายุ 42 ปี ฉันมีอายุ 6 ปี อีกกี่ปี พ่อจึงมีอายุเป็น 3 เท่าของฉัน

จากตัวอย่างข้างต้น ยังมีวิธีการในระดับที่ยากขึ้น หากต้องการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาด้วย Block Model ท่านพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถ search เพื่อหา Block Model Strategies ได้ใน website ต่างๆ มากมาย เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยแก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ของบุตรหลานได้

Tags : , , , , , , , , , , | add comments