ผลแอดมิชชั่นออกแล้ว แต่เอ แอดมิชชั่นคืออะไร
Posted by malinee on Friday May 10, 2013 Under เกร็ดความรู้หากใครได้ติดตามข่าวการศึกษา หรือข่าวทั่ว ๆ ไป ตอนนี้ก็คงได้ยินคำว่า แอดมิชชั่น กัน หลาย ๆ คนอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบแอดมิชชั่นเป็นอย่างดี แต่หลาย ๆ คน ก็ยังงง ๆ กับการสอบดังกล่าวว่าคืออะไร
แอดมิชชั่น (Admission) เป็นระบบกลางที่คัดเลือกนักเรียนนักศึกษาเข้าสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการสอบที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องสอบและนำคะแนนที่ได้มายื่นเพื่อเลือกคณะที่ตนเองจะเข้าศึกษาอีกที
ระบบแอดมิชชั่นนี้ บริหารงานโดย สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า สทศ. โดยที่หน้าที่ของสทศ. คือพัฒนาข้อสอบเพื่อวัดและประเมินมาตรฐานการศึกษา วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแต่ละคน สทศ.จะรับผิดชอบการประเมินผลด้านการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนหลักสูตรไทย ในประเทศไทย หลายครั้งด้วยกันคือ ป.3, ป.6, ม.3, และ ม.6 แต่ในการสอบแอดมิชชั่นนั้นจะนับกันเฉพาะ การสอบวัดผลในระดับชั้น ม.6 เท่านั้น
ยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง
และยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง
คราวนี้เรากลับมาที่การสอบแอดมิชชั่นว่า เด็กนักเรียนจะต้องสอบข้อสอบดังต่อไปนี้
1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว แนวคิดของ O-NET คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆเท่านั้น
2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก
3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเด็กในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องมีการเตรียม ตัวกับการสอบคัดเลือกดังกล่าว แต่ในปัจจุบันนี้สถาบันอุดมศึกษาหลาย ๆ แห่งก็เปิดรับสมัครสอบตรง โดยไม่อิงคะแนนแอดมิชชั่น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีการเตรียมตัวในการสอบเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมและมีการวางแผนร่วมกับบุตรหลานของตนว่าจะเรียนในสาขาวิชาใด หากคุณพ่อคุณแม่มีการวางแผนที่ดี ก็จะทำให้บุตรหลานมีอนาคตที่ดีเช่นกัน ดังคำที่ว่า “If your today is good not only your past was good but your future also good.”