May 11
ในช่วงของสถานการณ์ที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆคนมีโอกาสได้อยู่บ้านแบบยาวๆ เด็กๆ เองก็หยุดแบบยาวๆ กัน การมีเวลาว่างๆ ของเด็ก ถ้าเป็นครอบครัวที่สรรหากิจกรรมต่างๆ ได้ทำร่วมกัน ก็จะทำให้เด็กๆ อาจมีเวลาค้นหาตัวตนของตนเองว่าชอบอะไร แต่ในปัจจุบันน่าเสียดายที่เวลาของครอบครัวถูกเบียดด้วยจอสี่เหลี่ยมที่เราเป็นคนพามันเข้าสู่ครอบครัว แล้วทำให้เวลาในการปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัวหายไป ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน
จากสถานการณ์ของการระแพร่ระบาด ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ปรากฏการณ์ใหม่ๆ หรืออาจเรียกว่าวิวัฒนาการที่ทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแบบไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ที่แน่ๆ คือเด็กในรุ่นนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงมาก คงไม่มีพ่อแม่ คนไหนคิิดจะให้บุตรหลานอยู่ภายใต้ปีกที่อบอุ่นของตนเองจนเค้าจากไป เรามีเพียงหน้าที่ที่จะดูแลชี้นำในสิ่งที่ถูกต้องหรือ เลือก#โรงเรียน สังคมให้เขาในวัยเด็กเท่านั้น สิ่งที่เราต้องคิดคือ เราได้เตรียมความพร้อมให้กับเขาสำหรับยุคของการใช AI (Artificial Intelligence) แล้วหรือยัง
ยุคของ AI คืออะไร คือยุคที่มีการเปลี่ยนจากแรงงานคนเป็นคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด คำว่าแรงงานไม่ได้หมายความแค่ผู้ใช้แรงงาน แต่หมายรวมถึงพนักงานทั่วไป ที่จะถูกแทนที่ด้วยระบบที่มีฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ด้วยความที่เกิดมาในยุคดิจิทัล ทำให้ทุกอย่างต้องรวดเร็ว จึงขาดทักษะของการรอคอย ไม่เห็นคุณค่าของการสิ่งของที่ได้มาเพราะไม่เคยต้องแลกกับการรอคอย หรือการต้องทำบางอย่างเพื่่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ ประกอบกับทางเลือกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้เด็กทุกคนกลายเป็นลูกเทวดาในโรงเรียน เพราะโรงเรียนมีการแข่งขันกันสูงจึงถือว่าเด็กนักเรียนเป็นลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้าต้องมาก่อน เมื่อหันไปหาโรงเรียนทางเลือกอย่างโรงเรียนอินเตอร์ ซึ่งในช่วงของปฐมวัยจนจบระดับประถมศึกษา เน้นการเรียนแบบ child center นั่นคือแบบบูรณาการที่เราคุ้นเคย การเรียนขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก บางโรงเรียนการบ้านเป็นแบบ optional คือส่งหรือไม่ส่งก็ได้ กลับกลายเป็นทำให้เด็กขาดวินัยอย่างรุนแรง สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เด็กในยุค 4.0 กลับกลายเป็นการบ่มเพาะความเปราะบางทางด้านอารมณ์ ขาดวินัย ไร้ความพยายาม ไม่มีความอดทน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถทำให้เขาเติบโตในยุคของการแข่งขันกับเทคโนโลยีได้เลย
ดังนั้น อย่าให้เขาต้องเผชิญปัญหาในขณะที่เขาไม่สามารถแก้ไขนิสัยได้ เราซึ่งเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นผู้ที่วางกรอบให้ แต่ไม่ได้มีหน้าที่ในการตีกรอบ วางให้เขาอยู่ในระเบียบวินัย ใส่ทักษะของการรอคอย ปล่อยให้เรียนรู้ที่จะผิดหวัง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สร้างภูมิต้านทานให้เขาได้ก้าวเดินอย่างมั่นคงในเวลาที่เขาต้องเดินโดยไม่มีไหล่คุณให้เกาะ..
#เรามีสิทธิเลือกเส้นมางให้ลูก
#เลือกผิด= เหนื่อยเพิ่มขึ้น
#เลือกถูก= อนาคตที่ดีของลูกเรา
#สถาบันคิดสแควร์
Dec 02
ในปัจจุบันที่ครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวที่มีลูกคนเดียว จึงทำให้ความทุ่มเทและคาดหวังตกอยู่กับลูกโทน เป็นเหตุให้เมื่อบุตรหลานเข้าสู่วัยเรียน จึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองพิถีพิถันในการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลาน
หลายๆ ครอบครัวที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบการศึกษาของบ้านเรา ก็จะรับรู้ว่า ระบบการศึกษาไทยมีปัญหาหลายด้าน ทั้งเรื่องบุคลากรที่ผ่านการสอบคัดเลือกแบบ(ติวข้อสอบข้าราชการ ครูผู้ช่วย) ซึ่งหลังจากที่ได้รับราชการแล้ว ทุกอย่างจบสิ้น ไม่มีการพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อให้ทันกับยุคสมัย แนวการเรียนการสอนที่เด็กนักเรียนจะต้องปรับเข้าหาครู (แทนที่ครูจะหาวิธีสอนที่ทำให้เด็กเข้าใจ) ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นที่มักได้ยินกันเป็นประจำคือ ในชั้นเรียนครูไม่สอน แต่ให้เด็กไปเรียนพิเศษกับครูข้างนอก เมื่อใกล้สอบจะมีการบอกข้อสอบเพื่อให้ได้คะแนนดีๆนอกจากนี้ยังรวมไปถึงหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนการสอนที่มีการปรับปรุงทุกๆ ทศวรรษ ซึ่งในปัจจุบันแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีแต่หลักสูตรแนวแกนกลางกระทรวงยังคงอยู่ที่ปี 2551 อยู่เลย
หลายๆ ครอบครัวจึงหันเหไปหาโรงเรียนอินเตอร์ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่หลายๆ ครอบครัวที่มีกำลังพอจะส่งเสริม เพราะหวังว่าเด็กได้ภาษาแน่ๆ และเข้าใจว่าโรงเรียนในแนวดังกล่าวจะสอนให้เด็กๆ สามารถคิด วิเคราะห์ได้ดีกว่าเด็กโรงเรียนไทย โดยลืมไปว่าการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมของคนไทยกับต่างชาติแตกต่างกัน เด็กทุกคนจะมีลักษณะนิสัยส่วนตัวซึ่งถูกบ่มเพาะจากทางบ้าน จริงอยู่ที่เด็กอยู่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน (ในวัยเรียน) แต่ครอบครัวได้หล่อหลอมเขาตั้งแต่แรกเกิดจนก่อนเข้าวัยเรียน หากเด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ว่าเขาจะอยู่ตรงไหน ลักษณะนิสัยดังกล่าวก็ยังคงเป็นตัวเขา หากพ่อแม่ผู้ปกครองบ่มเพาะให้เขาหัดเป็นคนช่างสังเกต หรือมีระเบียบวินัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็จะติดตัวเค้าไปทุกที่ แต่อย่างไรก็ดีโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ครูมีผลต่อทัศนคติของเด็กในวิชาที่ครูผู้นั้นสอน ดังนั้นทางที่ดี ในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่ให้บุตรหลานเหมือนไม้ผลัด ที่เรื่องของการเรียนส่งต่อให้โรงเรียนรับผิดชอบเพียงไม้เดียว ส่วนผู้บิรหารโรงเรียนนอกจากจะมีการประเมินการเรียนการสอน ซึ่งคือการประเมินการเรียนของเด็กเพียงด้านเดียว แต่ควรประเมินการสอนของครูผู้สอนด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาไปทั้งสองฝั่ง ทั้งฝั่งของทางบ้าน และฝั่งของโรงเรียนไปพร้อมๆ กัน…
Nov 06
คราวที่แล้ว ครูได้พูดถึงการเปลี่ยนม้ากลางศึกในเด็กโต ซึ่งเป็นปัญหากับเด็กโตในเรื่องของการเรียน จึงเป็นสาเหตุให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเลือกที่จะให้บุตรหลานเปลี่ยนแนวการเรียนในวัยเด็ก ซึ่งคิดว่าเด็กๆ น่าจะปรับตัวได้ง่ายกว่า
จริงอยู่ ที่การปรับตัวในวัยเด็ก เป็นไปได้ง่ายกว่า แต่บางรายก็ยังคงพบปัญหาอยู่เช่นกัน แต่ปัญหาในเด็กที่เข้าเรียนกลางภาคเรียน สิ่งที่พบ คือ การปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อน เช่น เด็กที่ถูกย้ายจากโรงเรียนไทยไปอยู่โรงเรียนอินเตอร์ ซึ่งการเรียนในโรงเรียนอินเตอร์นั้น เด็กทุกคนจะถูกบังคับให้สื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษ (เพื่อให้เด็กใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว) แต่เด็กที่ถูกย้ายมาจากโรงเรียนไทย บางครั้งการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นปัญหาของเขา เขาจึงเลือกใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ด้วยเหตุที่เด็กๆ มักจะเชื่อฟังคุณครู จึงทำให้เด็กคนอื่นๆ ไม่พูดกับเด็กคนดังกล่าว เพราะกลัวถูกครูคิดว่า ตนเองก็เป็นคนที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารเช่นกัน นานเข้าปัญหานี้ ก็สะสมจนทำให้เด็กไม่อยากไปโรงเรียน หรืออาจเป็นการต้านการใช้ภาษาอังกฤษ ที่เป็นต้นเหตุทำให้ตนเองไม่มีเพื่อน
แน่นอนว่า เหตุผลของการย้ายโรงเรียนนั้น พ่อแม่ทุกคนทำไป เพื่อความปรารถนาดีต่อบุตรหลาน เช่นเดียวกับบการเลี้ยงม้า การเปลี่ยนคอกม้า อาจเนื่องมาจากสาเหตุของคอกเก่าที่เจ้าของม้าเห็นว่า มันเก่า มีเชื้อโรค หรือแม้กระทั่ง ม้าตัวนั้นโตขึ้น จนทำให้คอกม้าดูคับแคบ ไม่สะดวกสบายเหมือนเดิม แต่คอกใหม่ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่เจ้าม้าตัวน้อยต้องการ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแนวหรือ ย้ายโรงเรียนให้กับบุตรหลานได้เลย เพียงแต่ คุณพ่อ คุณแม่ ต้องคอยสังเกตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือการเก็บตัวของเด็ก ควรมีการพูดคุย สื่อสารกับทางครูประจำชั้นถึง พฤติกรรมในโรงเรียน เพื่อไม่ให้เด็กบ่มเพาะนิสัยการเก็บตัวต่อไป