คณิตศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่เป็นยาขม อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ปกครองเองในวัยที่ตนเองเป็นเด็กก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ หากมาพิจารณาคณิตศาสตร์ในแต่ละช่วงวัย เราก็สามารถจะแก้ปัญหาให้กับบุตรหลานได้อย่างถูกจุดได้อย่างไม่ยากนัก เรามาดูวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยจะได้ส่งเสริมทักษะและพัฒนาการได้อย่างถูกต้องดังนี้

 -เด็กในวัยอนุบาล เป็นช่วงที่เรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เชื่อมโยงหน้าตา (ภาษาๆ ใหม่ของเด็กๆ) กับจำนวน  และต่อยอดไปในเรื่องของค่าที่มากกว่า น้อยกว่า การนับเพิ่ม นับลด ซึ่งใช้เวลา 3 ปี เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กไปพร้อมๆ กับการใช้กล้ามเนื้อมือให้สัมพันธ์กับตาด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดในวัยนี้ คือทัศนคติกับการเรียน ครูผู้สอนมีผลที่สุดกับทัศนคติในการเรียนของเด็ก

-เด็กในวัยประถมต้น สิ่งที่จำเป็นในวัยนี้ จะเป็นเรื่องของปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หาร เด็กๆ จะต้องมีการเรียนรู้เรื่องค่าประจำหลัก เพื่อให้เข้าใจการทดเลขเมื่อบวกเกิน หรือการลบเลขแบบขอยืม ฝึกทักษะของการบวก ลบ จนคล่อง ต่อจากนั้นควรเข้าใจถึงทฤษฏีพื้นฐานของการคูณ การหาร ซึ่งการท่องสูตรคูณ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญในช่วงนี้ (ทางบ้านต้องมีส่วนช่วยในการส่งเสริมผลักดันให้เด็กท่องสูตรคูณให้ได้)

-เด็กในวัยประถมปลาย จะมีการเรียนรู้ลำดับขั้นปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ เศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ เรขาคณิต และการแก้สมการ (ในชั้น ป.6) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ๆ ที่เด็กๆ จะต้องใช้ทั้งความเข้าใจและความจำ(สูตร)ต่างๆ รวมไปถึงการประยุกต์การแก้ไขปัญหาโจทย์ปัญหาที่มีการรวมเนื้อหาหลายๆ เรื่องให้เด็กๆ ได้รู้จักการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานได้อย่างแม่นยำ สิ่งที่สำคัญในวัยนี้ จะเป็นเรื่องของความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้องแม่นยำ ร่วมกับการตีความโจทย์ปัญหาให้ถูกต้อง

-เด็กในวัยมัธยม การเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงวัยนี้จะเรียนในแบบที่ใช้ความรู้เดิมไม่เกิน 30% และจะเป็นความรู้ในแนวศาสตร์จริงๆ (Pure Mate) เด็กหลายๆ คนที่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์มักเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงวัยนี้เสมอ เนื่องจากการเรียนไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเลย แต่ในการเรียนคณิตศาสตร์ระดับนี้เป็นการเรียนที่ต้องใช้ในการต่อยอดเพื่อใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อด้วย

            ดังนั้น ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ในแต่ละวัยของเด็กๆ นั้น ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองตามติดการเรียนของบุตรหลาน ก็จะได้แก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ให้กับบุตรหลานได้อย่างทันท่วงที และถูกจุด เนื่องจากผู้ปกครองหลายๆ คนที่มีบุตรหลานอยู่ในประถมปลายซึ่งมีปัญหาทางคณิตศาสตร์ มักคิดว่าปัญหาเกิดจากการคิดคำนวณ ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นปัญหาของเด็กประถมปลายเกิดจากการวิเคราะห์โจทย์ โดยที่การวิเคราะห์โจทย์ผิดพลาด ส่งผลให้การคำนวณพลาดไปด้วย ซึ่งการคำนวณพลาดเป็นเพียงปลายเหตุเท่านั้น  ดังนั้นปัญหาคณิตศาสตร์แต่ละช่วงวัยควรแก้ไขให้ถูกจุด เพื่อให้เด็กได้เรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีเข้าใจ

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

3เลขโจทย์..โอ้ย!ยากกกก…หลายคนร้องเสียหลงเมื่อโดนโจทย์เลขยาวๆๆๆถามโน่น นี่ นั่น เยอะมากบางคนถอดใจตั้งแต่ยังอ่านโจทย์ไม่จบ บางข้อถาม2คำถาม..ตายแล้ว..คำถามเดียวยังตอบไม่ได้เลย ทำไงดีหละ.. สุดท้าย..หนูเบื่อเลขค่ะ หนูไม่อยากทำ มันยาก.. นี่คือปัญหาและคำตอบของเด็กเวลาทำเลขไม่ได้และในขณะดียวกันเป็นปัญหาของผู้ปกครองว่าจะทำอย่างไงให้ลูกแก้ปัญหาโจทย์ได้เพราะมันมีผลกับคะแนนและการเรียน..ครูมีภาพตัวอย่างเด็กที่เรียนแก้ปัญหาโจทย์กับทางสถาบันมาให้ดูกัน เป็นการสอนเทคนิคพิเศษ..จากโจทย์ยาวๆๆๆยากๆๆๆ วาดออกมาเป็นกล่องสี่เหลี่ยม..เชื่อมั้ย..แค่วาดกล่องสี่เหลี่ยมก็แก้ปัญหาโจทย์ยากๆ ได้จริงๆ(ครูเอาภาพโดยรวมมาให้ดูก่อนแล้วจะเจาะลึกลงในรายละเอียดอีกครั้ง)มาดูภาพกันเลย…

Tags : , , , , , , , | add comments

teaching_large          เคยสังเกตพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของบุตรหลานไหมว่า เป็นเด็กที่ชอบคิดโจทย์คณิตศาสตร์ในหลายๆ รูปแบบ หรือหยุดทุกครั้งเมื่อเจอกับโจทย์ปัญหา

การเรียนคณิตศาสตร์นั้น เราต้องเริ่มตั้งแต่วัยอนุบาล ซึ่งการเรียนจะเป็นการที่ครู หรือผู้ปกครองจะเป็นผู้ชี้แนะ หรือแนะนำวิธีการคิดคณิตศาสตร์ในขั้นพื้นฐานให้ ตั้งแต่การเชื่อมโยงตัวเลขให้เป็นรูปธรรม ไปจนถึงการนับ การบวก การลบ ซึ่งการเรียนในวัยนี้จะต้องพึ่งพิงครูเป็นผู้แนะนำวิธีการให้กับเด็กๆ เป็นหลัก คอยให้กำลังใจเมื่อเด็กๆ เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ยังคอยชื่นชมที่เด็กๆ ทำสิ่งใหม่ๆได้ จนถึงวัยประถม การแนะนำหรือการชี้แนะยังคงวิธีการจะเป็นการสอนในช่วงเข้าสู่บทเรียนใหม่ และจะต้องปล่อยให้เด็กได้ฝึกฝนและฝึกทักษะเพื่อให้เกิดประสบการณ์ หรือรวมไปถึงการประยุกต์ใช้วิธีที่ได้รับแต่สิ่งที่ถูกลืมคือ การคอยให้กำลังใจและชื่นชมที่ขาดหายไป การแนะนำจากครูผู้สอน เนื่องจากเมื่อเด็กเริ่มที่จะฝึกฝน มักจะเกิดข้อผิดพลาดในช่วงแรกได้บ้าง ครูหรือผู้ปกครองไม่ควรตำหนิในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เนื่องจากเด็กจะมีความรู้สึกกลัวที่จะเริ่มในสิ่งใหม่ๆ กลัวจะทำผิดเพราะจะถูกตำหนิได้ เมื่อเด็กถูกตำหนิ หรือลงโทษในข้อผิดพลาดบ่อยๆ ทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ควรเริ่มคิด หรือฝึกฝนอะไรด้วยตนเอง เพราะมักถูกตำหนิหรือลงโทษ เด็กที่อยู่ภายใต้ภาวะดังกล่าวจะไม่ยอมเริ่มเรียนรู้สิ่งใดๆ ด้วยตนเอง มักรอคอยการชี้แนะตลอดเวลาเป็นการเรียนแบบป้อน ซึ่งจะเป็นผลเสียกับการเรียนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะการเรียนคณิตศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องคิดวิธีการแก้ปัญหาในแบบต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มลำดับความยากมากขึ้นเรื่อยๆ ตามปีการศึกษาที่เพิ่มขึ้น การเรียนคณิตศาสตร์ในเด็กประเภทดังกล่าวจะย่ำอยู่กับที่และถอยหลังไปเรื่อยๆ เนื่องจากจะรอคอยการชี้แนะตลอดเวลา ไม่มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบด้วยตนเอง สิ่งที่ครูหรือผู้ปกครองควรทำคือ การชี้แนะให้เข้าใจว่าข้อผิดพลาดเกิดจากอะไร คอยให้กำลังใจ และชมเชยที่เด็กมีความพยายามในการฝึกฝนทักษะด้วยตนเอง ทำให้เด็กๆ ตองการที่จะฝึกทักษะและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

20175387-a-vector-illustration-of-kids-studying-math-in-classroom-with-teacher            เคยมีผู้ปกครองหลายๆ คนถามว่า เด็กที่เรียนเก่งอยู่แล้ว ทำไมยังต้องเรียนเสริมอีก  และบางทีอาจเป็นคำถามจากตัวเด็กเอง คำอธิบายมีอยู่ว่า การเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์นั้น ในแต่ละช่วงชั้น หรือแม้กระทั่งในแต่ละปีระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น จะสอดคล้องกับระดับของความยาก ความซับซ้อนของการแก้ไขปัญหาโจทย์ก็จะมากขึ้นตามลำดับ ในการเรียนคณิตศาสตร์นั้น สิ่งที่จำเป็นในการเรียน เบื้องต้นคือความเข้าใจ สิ่งต่อมาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือทักษะ นั่นหมายความว่าเด็กจะต้องมีความเข้าใจในการเรียน และมีการฝึกทักษะโดยการทำแบบฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอ จากโจทย์ปัญหาที่ผ่านการฝึกฝนโจทย์ปัญหาก็จะกลายเป็นแบบฝึกหัดธรรมดาในที่สุด การฝึกทักษะไม่จำเป็นต้องส่งบุตรหลานเรียนเสริมก็ได้ หากที่บ้านสามารถฝึกฝนให้เด็กมีการฝึกทักษะได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ แต่ในความเป็นจริงของยุคปัจจุบัน พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถฝึกทักษะต่างๆ ด้วยตนเองได้ การส่งบุตรหลานไปเรียน เป็นทั้งการฝึกทักษะเดิมให้มีความชำนาญมากขึ้น และนอกจากนี้แล้วยังเป็นการเรียนรู้เนื้อหาที่ลึกซึ้งมากขึ้น หรืออาจเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วย

นอกจากนี้การเรียนเพื่อเพิ่มทักษะ และความเข้าใจแล้ว ยังเป็นการเตรียมตัวให้เด็ก ซึ่งต้องมีวันใดวันหนึ่งที่เขาจะต้องเข้าสู่สนามสอบแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการคัดเด็กเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือในที่สุดก็เป็นสนามสอบเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

ruler_math_sign            หลาย ๆ ครั้งที่ผู้ปกครองมักคาดหวังในการส่งบุตรหลานเรียนจินตคณิตว่า จะสามารถทำให้เด็กมีการเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้นจริงหรือไม่

            ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีกันก่อน ปัจจัยลำดับต้น ๆ เลยคงหนีไม่พ้นทัศนคติที่ดีในการเรียนก่อน เมื่อมีทัศนคติที่ดี จะทำให้มีความสนใจในการเรียนรู้ จนเกิดความเข้าใจได้ในที่สุด สำหรับช่วงอนุบาลจนถึงประถมต้น เมื่อมีพื้นฐานที่ดีในระดับประถมต้น ก็จะทำให้สามารถต่อยอดไปสู่ประถมปลายและมัธยมในที่สุด  จินตคณิตเป็นการเรียนที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างทัศนคติในเชิงบวกได้สำหรับเด็กในช่วงอนุบาลจนถึงประถมต้น เนื่องจากในช่วงชั้นดังกล่าว การเรียนคณิตศาสตร์จะต้องมีความแม่นยำในเรื่องของค่าประจำหลัก และการคำนวณ ซึ่งจินตคณิตนั้นทำให้เด็กมีพื้นฐานที่ดี และมีความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์ด้วย  เนื่องจากเด็กสามารถคิดคำนวณได้อย่างแม่นยำ และเสริมสร้างสมาธิในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่เด็กในช่วงของประถมปลาย จะมีการเรียนโจทย์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการตีความ เพื่อแก้ปัญหาโจทย์ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัยนี้จะมีทักษะในการคิดคำนวณที่ดีอยู่แล้ว ปัญหาก็คือการตีโจทย์เท่านั้น แต่ในกรณีของเด็กที่มีปัญหาด้านการคำนวณด้วย  จินตคณิตอาจสามารถช่วยได้ แต่อาจไม่ใช่วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด เนื่องจากการเรียนจินตคณิตอาจต้องใช้เวลาเพื่อให้เด็กเกิดทักษะ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับวัย ประกอบกับการเรียนที่จะต้องย้อนตั้งแต่แบบง่าย ซึ่งมักส่งผลให้เด็กรู้สึกเบื่อกับตัวเลขที่เขาได้เรียนรู้เมื่ออยู่ในวัยประถมต้น แต่กรณีดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าเด็กที่อยู่ในช่วงของประถมปลาย จะไม่สามารถเรียนจินตคณิตได้ แต่จุดประสงค์ของการเรียนคณิตศาสตร์ของประถมปลายจะมีเนื้อหาที่เข้มข้นและเปลี่ยนเนื้อหาที่เร็วขึ้น ซึ่งจะใช้พื้นฐานการคำนวณเป็นฐานเท่านั้น ดังนั้นเด็กในช่วงของประถมปลายจึงไม่ควรเน้นแต่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการคิดคำนวณเพียงอย่างเดียว ในขณะที่เด็กในช่วงอนุบาลถึงประถมต้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของการคิดคำนวณให้กับบุตรหลาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้อนปัหาเมื่อเขาโตขึ้น

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

หลาย ๆ คน มักสงสัยว่าถ้าลูกหลานเราเป็นเด็กปกติ แต่ทำไมไปเรียนแบบกลุ่มจึงไม่ได้ผล ถ้าน้อง ๆ ไม่มีปัญหาด้านการเรียนรู้แล้ว สิ่งที่เราพบว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนแบบกลุ่มใหญ่ได้ เนื่องจากเนื้อหาที่ถูกสะสมความไม่เข้าใจน่าจะเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากการเรียนในกลุ่มใหญ่ จะใช้ระดับชั้นเป็นเกณฑ์ในการเข้ากลุ่ม แต่เมื่อเด็กหลาย ๆ  คนเกิดปัญหาหรือความไม่เข้าใจบทเรียนในช่วงปีแรก และไม่ได้รับความกระจ่าง ก็จะเกิดการสะสมที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ในเนื้อหาที่ลึกขึ้น ทำให้เมื่อเวลาเข้ากลุ่มใหญ่ เกิดความไม่กล้าที่จะถาม ไม่อยากตอบคำถาม และความไม่เข้าใจก็ยังไม่ได้ถูกสะสางให้ดีขึ้น หากความไม่เข้าใจสะสมนานวันเข้า การที่เราส่งบุตรหลานเรียนในกลุ่ม หากเด็กสะสมความไม่เข้าใจ 2 ปี ซึ่งเปรียบเสมือนการส่งเด็ก ป.2 เข้าเรียนกับคนที่มีความรู้ในชั้น ป.4 ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่าจะมีความเข้าใจที่ใกล้เคียงกัน

Tags : , , , , , , , , , | add comments

ชื่นชมเยาวชนคนเก่งของเรา น้องไอซ์  ด.ช.อาชวิน  กิตติรัตนไพบูลย์  ระดับชั้น ป. 1 จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองแดงในการแข่งขันการคิด และการแก้ปัญหา โจทย์คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ครั้งที่ 12 ระดับชั้น ป.  1 -2

Tags : , , , , , , , | add comments


ปรากฏการณ์ สุริยุปราคา “Solar eclipse” นั้น คือปรากฎการณ์ที่เงาของดวงจันทร์มาบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่สองมายังโลก แต่..
รู้หรือไม่ว่า ปรากฎการณ์นี้ จะอยู่ได้ไม่เกิน 8 นาที เนื่องจากความเร็วของโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

เนื้อหา : brainpoweer.com

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เด็กยุคใหม่หัวใจอินเตอร์ ร้อยละ 70 – 80 ของครอบครัวยุคนี้ เปิดโอกาสให้ลูกหลานของตัวเองได้ใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูงกันอย่างกว้างขวางไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กอนุบาล ทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของสิ่งของนอกกายมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งหากพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้รู้เท่าทันและรู้จักเลือกใช้ไปในทางสร้างสรรค์ เช่นเพื่อการหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ก็จะทำให้เด็ก ๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเครื่องมือดังกล่าว แต่เท่าที่เห็นในสังคมไทยเรานั้น การมีเทคโนโลยีดังกล่าว ก็เพียงเพื่อให้ตนเองได้ใช้มันเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาตนเองว่า “เราก็มีเหมือนกับคนอื่น ๆ” ซึ่งแท้จริงแล้วถามว่าได้นำเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์นั้น ๆ ไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับราคาแล้วหรือยัง? หรือเพียงแต่ถือพกให้ดูโก้เก๋เท่านั้น ซึ่งค่านิยมดังกล่าวนี้เป็นเพียงเปลือกให้กับคนที่ไม่มีหลักยึดใดๆ จำเป็นต้องอาศัยทรัพย์สมบัติหรือสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อให้ตนเองมีความรู้สึกว่าตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งในสังคม เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปก็จะต้องพยายามที่เกาะติดสถานการณ์ไม่ให้หลุดกระแสนิยม ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าเทคโนโลยีต่าง ๆ มาจากต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา และไทยก็เสียดุลการค้าตลอดเวลาเช่นกัน
ค่านิยมของเด็กรุ่นใหม่ก็เช่นกัน เด็กรุ่นใหม่เกิดอยู่บนสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพ หนำซ้ำบางบ้านยังมีพี่เลี้ยงคอยประเคนทำทุกอย่างให้ เวลาที่เด็กอยากได้อะไรก็ได้มาโดยง่าย ทำให้เด็กในปัจจุบันส่วนใหญ่ขาดความพยายาม และความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ขาดความอยากรู้อยากเห็น เพราะมุ่งความสนใจของตนเองไปอยู่กับเฟอร์นิเจอร์ที่มาประดับตกแต่งตนเองให้ดูดี สิ่งเหล่านี้เกิดเพียงเพราะผู้ใหญ่ปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ ให้กับเค้าตั้งแต่ในวัยเด็กโดยไม่รู้ตัว หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ครั้นเมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการเรียนที่ยากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ผู้ปกครองไม่ได้สอนให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบอย่างเป็นเหตุเป็นผล เด็กก็ไม่ยอมคิดและมองไม่เห็นประโยชน์ในการเรียน เด็กเห็นแต่สิ่งของมีค่านอกกายให้ความสำคัญกับวัตถุนิยมภายนอก เด็กจึงเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ในการเรียน ปัญหาที่ตามคือปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม และทวีความรุนแรงเป็นปัญหาสังคมที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนยากที่ใครจะมาแก้ไขทันเพราะมันกลายเป็นปมขนาดใหญ่ที่ถูกมัดติดกันหลายๆ ครั้งจนยากที่จะแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถร่วมมือกันแก้ไขได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ โดยผู้ใหญ่จะต้องตระหนักว่าลูกหลานของเราจะต้องเติบโตขึ้นเพื่อเป็นผู้ใหญ่ต่อไปในอนาคต และหากพวกเขาเหล่านั้นติดอยู่กับเทคโนโลยีที่เราจะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศตลอดเวลาเช่นนั้น แล้วประเทศจะเหลืออะไร อนาคตลูกหลานเราจะเป็นอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่พอจะทำได้ในฐานะของผู้ใหญ่ คือ เปลี่ยนวิถีชีวิตให้กลับมาเป็นแบบพึ่งตนเองและพอเพียง
……………….อนาคตของประเทศชาติและลูกหลานของเราอยู่ในมือของเราทุกคน…………………….

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

       จากการเปิดคอร์สในแต่ละปี เราพบว่า แนวโน้มของจำนวนเด็กที่มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก่อนที่จะนำเด็กเข้าเรียนนั้น เราพบว่าเด็กร้อยละ 80  – 90 มีทักษะในการคิดคำนวณอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับในการเรียนที่โรงเรียน ซึ่งในการเรียนคณิตศาสตร์นั้น เราต้องแยกประเด็นก่อนว่าเด็กมีปัญหาเรื่องจำนวน หรือการตีความ แต่ในปัจจุบันเราพบปัญหาเพิ่มว่าจะมีเด็กประมาณ 20 % ที่มีปัญหาการอ่าน ความรุนแรงของปัญหาจะมีมากขึ้นเมื่อเด็กอยู่ในชั้นที่โตขึ้น แต่ไม่ได้รับการฝึกฝนเรื่องการอ่าน ทำให้การอ่านประโยค กลายเป็นการสะกดทีละคำ และไม่สามารถรวบเป็นประโยคหรือตีความได้ โดยการอ่านเป็นช่วง ๆ นั้นทำให้ยากกับการแปลความโดยรวม ซึ่งทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่มีความมั่นใจในการเรียน  จึงส่งผลกระทบต่อผลการเรียนในหลายๆ รายวิชา รวมทั้งวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งต้องอาศัยการอ่านเพื่อที่จะตีความ และ วิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่อไป

Tags : , , , , , , , | add comments