Jun 07
เสาร อาทิตย์นี้แล้ว ที่เด็กๆ จะต้องสอบคัดเลือกเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ4 หลังจากการถูกเลื่อนการสอบกันมาตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ซึ่งเด็กๆหลายคนมีการเตรียมพร้อมกันมาเป็นเวลานาน เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคCOVID19 จึงทำให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงักลงชั่วขณะ เด็กหลายๆ คน ถ้าทางบ้านมีเวลาดูแลเอาใจใส่ก็ยังอาจมีเวลาในการทบทวนบทเรียนเพื่อเตรียมตัวตลอดเวลา แต่หลายๆ ครอบครัว มิได้เป็นเช่นนั้น เด็กๆ เนื่องจากความเป็นเด็ก ก็จะไม่เลือกที่จะหยิบจับหนังสืออยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองหาวิธีในการแก้ปัญหา โดยการให้บุตรหลานเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถทำได้ในสถานการณ์ช่วงนี้แต่ การเรียนนั้นเป็นการทบทวนบทเรียนวิธีหนึ่ง แต่การเรียนนั้นอย่างมากก็ทำได้วันละไม่เกิน2 ชัวโมง หลังจากการเรียน ไม่ว่าจะเป็นนการเรียนวิชาใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์ หากไม่ทบทวนหรือเริ่มกระบวนการคิดด้วยตนเอง ก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
การเรียนคณิตศาสตร์นั้น เป็นการฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ในระหว่างการเรียน ถ้าเป็นเรื่องใหม่ๆ การเรียน เราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีการให้แบบฝึกหัดเพื่อทบทวนบทเรียน เพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่าเป็นระบบ และเมื่อเรียนในครั้งต่อไปจะสามารถต่อยอดไปเรื่องใหม่ได้ แต่เด็กๆ ส่วนใหญ่ เมื่อเรียนจบคือทิ้ง ไม่ทวน แล้วเวลาเรียนก็กลายเป็นว่าต้องเริ่มใหม่ทุกครั้ง ไม่พยายามคิดด้วยตัวเอง ไม่เริ่มที่จะคิด บ่มเพราะจนกลายเป็นนิสัยเป็นเด็กเฉื่อย ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีความพยายาม ไม่คิดที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ การเรียนรู้กลายเป็นว่าต้องมีคนป้อน ต้องมีคนสอน ไม่สามารถอ่านหนังสือหรือทบทวนเนื้อหาบทเรียนได้ด้วยตนเอง ลองสังเกตบุตรหลานของตัวเองว่่า คุณให้เขาเรียนแล้วเขาได้เคยนำบทเรียนมาทบทวนหรือไม่ หรือ ให้เรียนทุกวันจนทำให้เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการเรียน แล้วหลังจาการเรียนที่เหนื่อยล้าคือเวลาที่เป็นเวลาที่จะต้องพักสะทีและการพักของเด็กก้อไม่พ้นการเล่นเกม..
#เรียนเยอะไม่แปลว่าเก่ง
#เรียนแล้วเก็บไม่ทวนไม่แปลว่าทำได้
#เป็นกำลังให้เด็กทุกคน
#สถาบันคิดสแควร์
Aug 17
จากที่ได้กล่าวเมื่อตอนที่แล้วว่า การรวมเป็นประชาคมอาเซียนนั้นมีความมุ่งหมายเพื่ออะไร คราวนี้เราลองมาดูในแต่ละประเด็นกันดีกว่า
การเป็นฐานการผลิตที่มีฐานการผลิตร่วมกัน สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี ซึ่งมองในแง่ทฤษฏีก็ดูดี แต่ในเชิงปฏิบัตินั้นฐานการผลิตสินค้าหลาย ๆ ชนิด เช่น การเกษตร ไม่สามารถผลิตได้ในทุก ๆ ภาคส่วนของอาเซียน ซึ่งก็จะมีพื้นที่ที่สามารถทำการเกษตรได้อย่างอุดมสมบูรณ์ ก็มีประเทศไทยที่เป็นหนึ่งในนั้น นั่นหมายความว่าการเช่า ซื้อพื้นที่ต่าง ๆ ก็จะเป็นที่หมายปองของนักลงทุนต่างชาติเช่นกัน เมื่อเวลาผ่านไปเจ้าของพื้นที่ในผืนแผ่นดินไทย อาจมีคนไทยถือครองไม่ถึงครึ่ง นอกจากพื้นที่ทางการเกษตรที่เป็นที่หมายตาแล้ว มามองดูอุตสาหกรรมการท่องเทียว ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ก็ยังพบว่า ประเทศไทยสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ทั้งฤดูร้อน (คนมักนิยมเที่ยวทะเล ทั้งทางทิศตะวันออก และทิศใต้) และฤดูหนาว ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวก็เบนไปที่ทิศเหนือของประเทศ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ เราจะเห็นได้ว่าประเทศของเราก็เป็นชิ้นปลามันชิ้นโตของนักลงทุน ที่มักหาประโยชน์กับผู้ถือครองที่ดินที่พร้อมที่จะขายทรัพย์สมบัติเพื่อให้ได้เงินมาซื้อความสะดวกสบายให้กับตนเองและครอบครัว
แต่เมื่อมาพูดถึงบริการ ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่ามี 7 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี นั่นคือ วิศวกร พยาบาล นักสำรวจ สถาปนิก แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี ซึ่งหากมาตรฐานการศึกษาไทยยังคงไม่ปรับตัว เราจะได้ผู้ที่ทำงานในวิชาชีพต่าง ๆ ในบ้านเราที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือได้รับคัดเลือกผ่านระบบเอ็นทรานซ์ โดยที่มีแต่คู่แข่งที่ไม่กระตือรือร้นในการเรียน เรียนเพื่อให้ได้วุฒิ แต่ไม่มีความรู้ ความสามารถติดตัว พอที่จะทำงานใด ๆ ได้เลย เหล่านักวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเหล่านั้น ก็คงย้ายตนเองไปอยู่ในสังคม สิ่งแวดล้อม และค่าครองชีพที่ดีขึ้น ซึ่งมันอาจส่งผลให้คุณภาพการรักษาพยาบาล หรือการให้บริการด้านเฉพาะทางต่ำลง
สุดท้ายมากล่าวถึงเรื่องการศึกษา หลาย ๆ ท่านก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการศึกษาในอาเซียนนั้น เรามีสิงคโปร์เป็นผู้นำอยู่ หากแต่เราดูนโยบายด้านการศึกษาของทางสิงคโปร์ จะพบว่าเขาทุ่มเทงบประมาณจำนวนมากในเรื่องของการศึกษา เพื่อให้คนในประเทศเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ และนอกจากนี้การศึกษาของประเทศสิงคโปร์ยังเป็นอีกหนึ่งบริการที่เขาเปิดขายด้วย ในทางกลับกันประเทศไทยเราทุ่มงบประมาณต่าง ๆ มากมายไปกับภาคอุตสาหกรรมโดยที่เราไม่มีความรู้ หรือไม่มีแม้นักคิดที่เป็นของเราเอง ไม่ได้มุ่งพัฒนาบุคลากร หรือเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีความคิดสร้างสรรค์
จากบทความที่สรุปมา คงพอมองเห็นภาพกว้าง ๆ ว่าของประชาคมอาเซียน 2558 และจะได้เตรียมตัวให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ให้เขามีความรู้ ความสามารถเพื่อที่จะอยู่ในสังคมที่กว้างขึ้น และอยู่ภายใต้สภาวะของการแข่งขันที่สูงขึ้น
ครูจา