Oct 08
ช่วงของการปิดภาคเรียนจะเป็นช่วงที่เด็กๆ บางคนจะได้พัก ในความหมายของพวกเขาคือการนอนตื่นสาย เล่นเกมส์ได้ทั้งวัน ทั้งคืนได้โดยไม่ต้องรียตื่นเพื่อไปโรงเรียนในตอนเช้า หลายๆ ครอบครัวก็ถือว่าเป็นช่วงที่เด็กควรว้างสมาธิสั้นในได้พักผ่อนสมองบ้าง จึงปล่อยให้เขาอยู่กับความสุขของเขาในช่วงปิดเทอม จนเด็กติดเกมส์ มีความสุขกับจอสี่เหลี่ยม ไม่สามารถแยกจากมันได้
ปัจจุบันเรามักจะได้ยินกันเสมอ เด็กคนนั้นต้องเป็นสมาธิสั้นแน่ๆ อยู่ไม่นิ่งเลย ส่วนเด็กหลายๆ คนนั่งนิ่งเลย สมาธิดีจัง ใครผ่านไปมาไม่ได้สนใจเลย (ในมือ ถือ tablet ) หลายๆ คนเข้าใจว่าสมาธิสั้นเป็นพฤติกรรมที่อยู่ไม่นิ่งของเด็ก แต่ในนิยามทางการแพทย์ ได้จำกัดความคำว่าสมาธิสั้นได้
3 ประเภทดังนี้
- สมาธิสั้นประเภทที่ไม่สามารถควบคุมตนเองให้อยู่นิ่งๆ ได้นาน ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ชอบกิจกรรมผาดโผน เสี่ยงอันตราย
- สมาธิสั้นประเภท เหม่อลอย หรือเฉื่อย สมาธิสั้นประเภทนี้พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ ชาย จะมีอาการของการเหม่อลอย ทำงานไม่มีความรอบคอบ ไม่สามารถจัดการกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นระบบได้ เหมือนมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ แต่จริงๆ แล้วเหม่อลอยอยู่ ขาดสมาธิในการเรียนรู้ สมาธิสั้นประเภทนี้ ต้องสังเกตถึงจะพบพฤติกรรมดังกล่าว เพราะจะนั่งนิ่งได้นาน โดยไม่ได้ทำอะไรเลย การเรียนในชั้นเรียนจะถูกมองข้าม เพราะไม่ซน ไม่ดื้อ แต่จะเป็นเด็กที่เรียนอ่อน ตามเพื่อนไม่ทัน ทำงานช้า
- สมาธิสั้นแบบผสม เป็นสมาธิสั้นที่รวมทั้งสองแบบ แต่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ทั้งพฤติกรรมและคำพูด การกระทำ
สิ่งใดๆ จะขาดความยั้งคิด
สาเหตุของการเกิดความผิดปกติดังกล่าว มีงานวิจัยพบว่า การหลั่งสาร dopamine ที่เป็นสารที่หลั่งในระบบประสาทของสมองเพื่อช่วยควบคุมเรื่องพฤติกรรม สมาธิ การเรียนรู้ ให้กับเด็กคนนั้นมีระดับที่ต่ำกว่าปกติ ควบคู่กับการเลี้ยงดูของเด็กในครอบครัวนั้นๆ เนื่องจากสังคมในปัจจุบันที่มีความรีบเร่ง ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นทำให้เกิดความผิดปกติ อีกทั้งสิ่งเร้าที่มีอยู่มากมายรอบตัว อาการสมาธิสั้นของเด็กจะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนวัย 7 ขวบ งานวิจัยพบว่า หากเด็กไม่ได้รับการปรับพฤติกรรมและได้รับการรักษา จะทำให้เขามีปัญหาในการเรียน เนื่องจากสมาธิที่เขาไม่สามารถควบคุมได้ และจะพอกพูนความไม่เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เขาขาดความมั่นใจในการเรียน เบื่อหน่าย ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มอาการสมาธิสั้นลง ซึ่งได้แก่ อาหาร หรือขนมที่ให้พลังงานสูงๆ การปล่อยให้อยู่กับเกมส์ หรือทีวี สิ่งที่ควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มอาการ ได้แก่ การให้เขาได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การสร้างระเบียบวินัยให้เขาปฏิบัติตาม และการจัดบ้านให้มีระเบียบ
ไม่ว่าจะเป็นสมาธิแบบใด ก็ไม่สามารถหายได้ หากมีอาการมากขึ้น แพทย์จำเป็นที่จะต้องใช้ยา ซึ่งจะต้องใช้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต คงจะดีหากเราป้องกันไม่ให้บุตรหลานมีความผิดปกติดังกล่าว โดยการหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความผิดปกติขึ้นตั้งแต่ในบ้าน ก่อนที่เขาจะเข้าสู่ปฐมวัยกันดีกว่า
Jun 12
แนวโน้มเด็กไทยในยุคสังคมก้มหน้า เนื่องจากหลายๆ ครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยาย เด็กกลายเป็นศูนย์กลางของครอบครัว อยู่กับลุง ป้า น้า อา ทุกคนจะแห่แหนกันดูแล เอาใจเด็กอยากได้อะไรก็ต้องได้ อยากทำอะไรก็ได้ในบ้าน ซึ่งเกินความพอดี จนบ่มเพาะนิสัยที่เฉื่อย เหม่อลอย เอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีความพยายามหรือกระตือรือร้นในการทำอะไรให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง เขาจะไม่มีการลองผิดลองถูก ไม่มีประสบการณ์ของความล้มเหลว รวมไปถึงไม่มีประสบการณ์ของความสำเร็จด้วยเช่นกัน เนื่องจากการทำอะไรก็ต้องมีผู้ใหญ่คอยให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา
สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่ดาบสองคม แต่เป็นดาบเพียงด้านเดียวที่ทำร้ายเด็กโดยตรง เนื่องจากเด็กๆ จะไม่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกอย่างที่รู้เกิดจากการป้อนข้อมูลที่สำเร็จแล้วทั้งสิ้น ไม่มีการคิดวิเคราะห์เหตุผล ไม่มีการฝึกทักษะทางด้านการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากทุกอย่างที่ได้มา ได้มาอย่างง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลาในการรอคอย ขาดการฝึกทักษะด้านการเข้าสังคม เด็กกลุ่มนี้จะมีเพื่อนช้า หรืออาจไม่มีเลย ไม่ถูกฝึกให้รู้จักความผิดหวัง และสุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความไม่รู้สึกภูมิใจในตัวเอง
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ข้างต้นจะส่งผลแย่ลงอย่างรวดเร็วถ้ามีตัวกระตุ้นจากการส่งเทคโนโลยีให้กับเขาเหล่านั้น หากไม่ต้องการทำร้ายบุตรหลานที่เรารัก เราจำเป็นต้องปรับวิธีการเลี้ยงดูบุตรหลาน โดยให้เค้ามีความทักษะรอบด้าน ทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยให้เค้าได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ให้รู้จักการรอคอย รู้จักความผิดหวัง รู้จักใช้เหตุและผล ไม่ใช่การเรียนรู้ผ่านจออย่างแท๊ปเล็ค มือถือ หรือทีวี ที่ได้แต่ความพึงพอใจของเด็กเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
ครูจา
Nov 13
Posted by malinee on Wednesday Nov 13, 2013 Under เกร็ดความรู้
หลาย ๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า สมาธิสั้น หรือ ไฮเปอร์ กันบ่อย ๆ บางครอบครัวอาจสงสัยว่ามันคืออะไร แต่หลาย ๆ ครอบครัวอาจจะประสบปัญหาลูกน้อยของตนเองเป็นสมาธิสั้น เรามาลองทำความเข้าใจกับคำว่า สมาธิสั้นกันดีกว่า
สมาธิสั้น เป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองในส่วนที่ควบคุมเรื่องของสมาธิ ซึ่งอาการหลักมักแสดงออกมาทางความผิดปกติทางพฤติกรรม 3 ด้านคือ
- การขาดสมาธิอย่างต่อเนื่อง เด็กมักมีอาการเหม่อลอย ขาดความพยายามในการทำงานที่ยากให้สำเร็จ สมาธิจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าได้ง่าย ไม่รอบคอบ
- อาการอยู่ไม่นิ่ง ซุกซนมากกว่าปกติ เล่นแรง ส่งเสียงดัง หยุกหยิก เด็กจะมีอาการน้อยลงเมื่อโตขึ้น (เป็นวัยรุ่น)
- ขาดการยั้งคิด หุนหันพลันแล่น มีอาการใจร้อน วู่วาม อดทนรอไม่ค่อยได้
เมื่อเราได้รู้ถึงประเภทของอาการสมาธิสั้นแล้ว คราวนี้เราลองมาดูพฤติกรรมบ่งชี้ของอาการสมาธิสั้นดังต่อไปนี้
9 พฤติกรรมบ่งชี้การขาดสมาธิ
- การขาดความละเอียดรอบคอบ ความผิดพลาดมักเกิดจากความสะเพร่า
- ขาดความตั้งใจที่ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะในการทำงานหรือการเล่น
- ดูเหมือนไม่ฟัง เมื่อมีคนคุยด้วย
- ไม่ทำตามคำสั่ง หรือทำงานไม่สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย (โดยไม่ใช่เพราะดือ หรือไม่เข้าใจ)
- ขาดการจัดระเบียบในการทำงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ
- มักหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความพยายาม
- มักทำของหายบ่อย ๆ
- วอกแวกตามสิ่งเร้าได้ง่าย
- มักหลงลืมในการทำกิจวัตรประจำวัน
9 พฤติกรรมบ่งชี้การไม่อยู่นิง – หุนหันพลันแล่นมีดังนี้
- ยุกยิก นั่งไม่นิ่ง
- มักนั่งไม่ติดที่ มักลุกจากที่นั้งในห้องเรียน
- มักวิ่งไปมา หรือปีนป่าย มากเกินควร
- เล่นหรือใช้เวลาอยู่เงียบ ๆ ไม่ค่อยได้
- มักไม่อยู่เฉย แสดงออกราวกับติดเครื่องยนต์ตลอดเวลา
- พูดมากเวินไป
- พูดโพล่งหรือตอบคำถามโดยไม่ฟังให้จบก่อน
- มักไม่ค่อยรอ
- ขัดจังหวะผู้อื่น เช่นการพูดแทรก หรือสอดแทรกการเล่นของผู้อื่น
การบ่งชี้ดังกล่าวข้างต้น ไม่ใช่ว่าเพียง 2 ใน 9 ข้อ แล้ววินิจฉัยเลยว่าเป็นสมาธิสั้น หากพฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน และมีพฤติกรรมดังกล่าวอย่างน้อย 6 ข้อ และนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาด้านอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ ความซนตามวัยของเด็ก และ ปัญหาการเลี้ยงดูที่ขาดการฝึกระเบียบวินัย
หลังจากทราบกันแล้วในข้างต้น คราวนี้ก็ต้องมาดูที่วิธีรักษา จากข้อมูลมักต้องมีการผสมผสานการรักษาหลาย ๆ วิธีด้วยกัน โดยแพทย์ต้องให้ความรู้และคำแนะนำในการเลี้ยงดูเด็ก ร่วมกับการประสานงานกับครูเพื่อช่วยเหลือเด็กในระหว่างการเรียน ควบคู่ไปกับการฝึกสมาธิเด็กและการใช้ยาร่วมด้วย
การให้ความช่วยเหลือแก่เด็กสมาธิสั้นในเรื่องของการเลี้ยงดู
- การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน และกำหนดกิจวัตรประจำวันให้เป็นระเบียบแบบแผน
- จัดบริเวณที่ไม่มีการรบกวนสมาธิ เพื่อให้เด็กมีสมาธิในการทำการบ้าน
- แบ่งงานที่มาก ให้เด็กค่อย ๆ ทำทีละเล็กละน้อย โดยมีผู้ปกครองเป็นผู้กำกับดูแล จนงานเสร็จ
- ควรพูดหรือสั่งงานในขณะที่เด็กพร้อมที่จะฟัง
- ให้คำชมเมื่อเด็กทำงานแต่ละชิ้นสำเร็จ และวางเฉยเมื่อเด็กผิดพลาด
- เบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อเด็กเริ่มก่อกวนจากอาการสมาธิสั้น
- ตั้งกฎการาลงโทษ โดยการลดเวลาของสิ่งที่เด็กชอบลง หรือ แยกเด็กให้อยู่ตามลำพัง
- จัดกิจกรรม หรือกีฬาที่ต้องใช้แรง ให้กับเด็ก
- ผู้ปครองควรเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของระเบียบวินัย การรอคอย เพื่อสร้างนิสัยการมีระเบียบวินัยให้กับเด็ก
จากข้อมูลต่าง ๆ ข้างต้น จะเห็นได้ว่า การปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นนั้น ไม่ใช่หน้าที่หรือความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องมีการร่วมมือกัน ทั้งทางบ้าน โรงเรียนและแพทย์ผู้วินิจฉัยโรค หากขาดการร่วมมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ไม่สามารถแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และสุดท้ายปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขก็จะกระจัดกระจายในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่มา : http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/57-4/00-Vitharon.pdf