BackTo-School-Kids-At-Desk-Lead-In            ใกล้ช่วงเวลาเปิดเรียนกันอีกแล้ว เด็กๆ หลายคนจะถูกส่งไปเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนในชั้นต่อไป เนื่องจากหลายๆ ครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวซึ่งไม่มีคนคอยดูแล แต่หลายๆ ครอบครัวก็ปล่อยให้เด็กๆ เป็นอิสระกับเกมส์หรือ ทีวี ที่บ้านกับคุณปู่ คุณย่า เป็นการพักสมองในช่วงเวลา 2 เดือนเต็ม ซึ่งเป็นเรื่องปกติว่า เมื่อไม่มีกรอบในการควบคุมเด็กๆ เขามักจะทำในสิ่งที่เขาอยากทำ ซึ่งไม่ใช่การทบทวนบทเรียนแน่นอน นั่นหมายความว่าสิ่งที่เขาเคยเรียนรู้ในข่วงเปิดเทอม ก็อาจลืมเลือนได้ตอนเปิดเทอม เช่น การท่องสูตรคูณ หรือแม้กระทั่งการอ่าน

หลายๆ ครอบครัวมักไม่มีการเตรียมตัวเด็กให้พร้อมกับเปิดเทอม เนื่องจากไม่ได้ศึกษาถึงเนื้อหาที่บุตรหลานจะต้องเรียนรู้ในช่วงเปิดเทอม ซึ่งโดยปกติการเรียนของเด็กๆ นั้นมักมีการทบทวนเนื้อหาเดิม และเพิ่มเนื้อหาใหม่ที่ลึกขึ้น แต่เมื่อเด็กเริ่มขึ้นประถมปลาย เนื้อหาใหม่ๆ จะมีอัตราส่วนที่มากกว่าเนื้อหาเดิมที่มากขึ้น เช่น การเรียนเรื่องเศษส่วนที่เริ่มเรียนครั้งแรกตอนป.4  ซึ่งในการเรียนเรื่องเศษส่วนที่คอนข้างทำความเข้าใจยากแล้ว ยังมีเรื่องของการขยายส่วนหรือการทำให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ ซึ่งจะต้องมีความแม่นยำในเรื่องของการคูณและการหาร จึงจะทำให้เด็กสามารถทำความเข้าใจกับเรื่องเศษส่วนได้ดีขึ้น ในทางกลับกัน หากเด็กๆ ไม่มีความพร้อมในเรื่องของการคูณและการหารแล้ว ย่อมทำให้การทำความเข้าใจในเรื่องเศษส่วนเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากเรื่องเศษส่วนแล้ว ยังเชื่อมโยงกับเรื่องทศนิยมอีก ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่และเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลาน เพื่อให้เขาได้มีความสุขในการเรียนในโรงเรียน

ครูจา

Tags : , , , , , , , | add comments

หลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ ยังเป็นเด็กนักเรียน เราไม่เห็นความแตกต่างของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของเราพัฒนาไปจากเดิมเลย ซ้ำร้ายบุคลากร (ครูผู้สอน) ในปัจจุบันเป็นเพียงลูกจ้างของทางโรงเรียน ที่หาจิตวิญญาณในการสอนเหมือนแต่เก่าก่อนยากขึ้นเรื่อย ๆ  สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมันอาจเกิดจากระบบของเรื่องค่าตอบแทนที่บุคลากรควรได้รับ เพื่อให้มีการทุ่มเทแรงกายแรงใจ พัฒนาเด็กรุ่นต่อ ๆ ไป ให้มีคุณภาพ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันกลับตรงกันข้าม เนื่องด้วยค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อขวัญ กำลังใจ หรือทัศนคติที่ดีกับการสอน ซึ่งส่งผลให้ครูในปัจจุบัน มีความรับผิดชอบต่อการเรียนการสอน และมาตรฐานการสอนที่ต่ำลง

ปัจจัยหลักของการเรียนในวัยเด็กว่าจะมีทัศนคติในเชิงบวกหรือลบนั้น ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นหลัก นอกจากนี้แล้วอุปกรณ์ หรือสื่อการสอนก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เด็กสามารถเข้าใจบทเรียน หรือการแปลงจากข้อความ ที่เป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กเพิ่งเริ่มเรียนเรื่องเศษส่วน จะเกิดความสับสนทุกครั้งในเรื่องของการเปรียบเทียบเศษส่วนว่าตัวไหนมีค่ามากกว่าตัวไหน ซึ่งถ้าเรามีสื่อการสอนที่ดี จะทำให้เด็กเข้าใจได้ว่าการเปรียบเทียบเศษส่วนจะมีหลักอย่างไร

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการเรียนของเด็ก คือความเข้าใจโดยให้เห็นเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

       การปูพื้นฐานที่มั่นคงในการเรียนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากเด็กขาดทักษะทางคณิตศาสตร์อาจทำให้เขามีปัญหาในการเรียน หรือขาดความมั่นใจในการเรียนรู้ เด็กที่ขาดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์จะเพิ่มความรู้สึกยุ่งยากและความสับสนในการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อย ๆ แต่เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เราจะพบว่าความกดดันที่เด็กได้รับจากทักษะทางคณิตศาสตร์ก็หมดไปเช่นกัน จนเราอาจจะได้ยินว่าลูกชอบคณิตศาสตร์ในที่สุด
        การสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้นจะมีวิธีการอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีส่วนในการสร้างความมั่นใจและความเข้าใจเชิงลึกให้กับเด็ก สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองมักสับสนกับการเป็นผู้สอนเด็กมีดังนี้
-อาจเกิดจากการมุ่งเน้นในบางเรื่องเท่านั้น เช่นการมุ่งเน้นในเรื่องของจำนวนจนลืมหัวข้ออื่น ๆ ที่เด็กต้องเรียนรู้ในระดับต้น การทบทวนแบบไม่มีลำดับขั้น

        การมุ่นเน้นคณิตศาสตร์ให้กับชั้นประถมปีที่นั้นจะมีหัวข้อสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
–  ระบบจำนวน ซึ่งหมายรวมลำดับขั้นของกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และค่าประจำหลักด้วย
–  ความสัมพันธ์ ในชั้นประถมต้นจะเรียนแบบรูปที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อน หรืออาจเป็นการหาตัวแปรแบบง่าย ๆ
–  เรขาคณิต และมิติสัมพันธ์ เด็กจะเรียนรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน แล้วจึงเพิ่มในเรื่องของมิติสัมพันธ์ การอ่านแผนที่ และการแก้ปัญหาเรขาคณิต
–  การวัด และการเปรียบเทียบเชิงปริมาณทั้งในเรื่องความยาว น้ำหนัก อุณหภูมิ ความจุ เวลา และเรื่องเงิน
–  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การใช้ตาราง แผนภูมิ กราฟ เพื่อจัดรูปแบบข้อมูล
      คณิตศาสตร์สำหรับชั้นประถมปีที่ 1 – 3
     ชั้นประถมปีที่ 1 มุ่งเน้นการเรียนเรื่องจำนวนและระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะเรียนเรื่องการบวก-ลบ จำนวนจาก 1 – 100 นอกจากนี้ยังมีการเรียนเรื่องรูปทรงเรขาคณิต การวัด เงิน แผนภูมิ กราฟ การวิเคราะห์ข้อมูล และแบบรูปทางคณิตศาสตร์
     ชั้นประถมปีที่ 2 เรียนเรื่องการจับกลุ่ม 10 , 100 และลำดับของระบบปฏิบัติการจำนวนไม่เกิน 1,000   ค่าประจำหลัก การคูณและการหาร
     ชั้นประถมปีที่ 3 จะยังคงเรียนเรื่องเดิมแต่เน้นในเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหา การเรียนเรื่องเศษส่วน และทศนิยม เด็กในวัยนี้จะเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการวัด รูปทรงเรขาคณิต และความสัมพันธ์
     ชั้นประถมปีที่ 4 เรียนในเรื่องเดิมแต่มีความลึกมากขึ้น เช่นในเรื่องของเศษส่วน จะมีการเปรียบเทียบเศษส่วน การบวกลบ เศษส่วน มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องของปริมาตร พื้นที่ เส้นรอบรูป และเรื่องของการวัดมุม
     ชั้นประถมปีที่ 5 มีการเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องของตัวประกอบ ตัวประกอบเฉพาะ 
     ชั้นประถมปีที่ 6 มีการแปลงทศนิยมเป็นเศษส่วน และการบวกลบคูณหารเศษส่วนและทศนิยม การเรียนเรื่องเปอร์เซ็นต์ ร้อยละ อัตราส่วน การสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางคณิตศาสตร์
      จากแนวทางการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษานั้นจะเห็นได้ว่า โดยหลักสูตรไม่ได้เน้นหนักในเรื่องของจำนวนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องมีการเสริมเนื้อหาในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เด็กมีความสุขกับการเรียน และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาต่าง ๆ อีกหลายวิชาในอนาคต

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments