เนื่องจากครูมีโอกาสได้เข้าไป​เป็น​ out source ของโรงเรียนหลาย​ๆ​ แห่ง​ ก็จะได้เห็นวัฒนธรรม​การดูแลเด็กในแต่ละโรงเรียน​ การปฏิบัติ​ต่อผู้ปกครอง​ การให้คำปรึกษา​ การเรียนการสอน​ นโยบาย​ ของแต่ละโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน​
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้การเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียน​ ทำให้ครูต้องปรับการเรียนการสอนแปรผันตามความพร้อมของเด็ก ไม่ใช่ว่าเด็กมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน​ แต่เด็กได้รับการฝึกทักษะกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน​
เด็กแต่ละคนมีความเป็นปัจเจก​บุคคล​ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เค้าเติบโตมาตั้งแต่เค้าเกิดมา​ เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่คุยเล่นกัน​ มีอะไรคุยกัน​ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันบนโต๊ะอาหาร​ โดยทิ้งทุกอย่าง​ มีแต่การสนทนากัน​ จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าความของความสุขเกิดขึ้นจริง​ๆ​ บ้านคือบ้าน​ ไม่ว่าเค้้าจะมีปัญหาสักแค่ไหน​ เค้าจะกลับมาตรงนี้​ ตรงที่มีคนฟังเค้า​ ในทางกลับกัน ถ้าเค้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนไม่พูดไม่จากันก้มหน้าก้มตา​ online อยู่กับสิ่งที่ตัวเองสนใจ​ เขาก็จะเติบโตมาแบบไม่ได้รู้สึกว่าการปฏิสัมพันธ์​กับคนรอบข้างเป็นเรื่องปกติ​ กลายเป็นเด็กเก็บตัว​ คุณพ่อคุณแม่จะไม่มีทางได้รับรู้ว่าเค้ามีความสุข​หรือเค้ามีปัญหาเรื่องอะไร​ เพราะเค้าไม่เคยเรียนรู้ที่จะพูดเรื่องอะไรตอนไหน​ ไม่รู้ว่าจะมีใครฟังหรือไม่​ ในบ้านเองเขายังไม่รู้จะพูดกับใครเลย​ มันกลายเป็นการสร้างกำแพงขึ้น​เมื่อเขาโตขึ้น​ เขาไม่ได้ถูกสอนให้เข้ากลุ่ม​เพื่อน​ เพราะคุณเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เค้าได้เรียนรู้การอยู่แบบทางเดียว​คือการสื่อสารผ่าน​ social​ ที่เค้าไม่เคยเห็นเลย
อย่าเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุดให้เค้า​ ก่อน​ เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดของเค้าเพื่อให้เค้าได้เติบโตอย่างมีความสุขไม่ว่าเค้าจะเจออุปสรรค​ใดๆ​ อย่างน้อยคุณยังเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้้เค้ารู้สึกอบอุ่นใจทุกครั้ง​ และเป็นกำลังใจให้เค้าได้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง​ ไม่มีโรงเรียนไหนดีเท่าโรงเรียนพ่อแม่หรอก…. เชื่อสิ

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ลูก….ไม่ใช่ไม้ผลัด

Posted by malinee on Sunday Dec 2, 2018 Under Uncategorized

ในปัจจุบันที่ครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวที่มีลูกคนเดียว จึงทำให้ความทุ่มเทและคาดหวังตกอยู่กับลูกโทน เป็นเหตุให้เมื่อบุตรหลานเข้าสู่วัยเรียน จึงทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองพิถีพิถันในการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลาน

หลายๆ ครอบครัวที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบการศึกษาของบ้านเรา ก็จะรับรู้ว่า ระบบการศึกษาไทยมีปัญหาหลายด้าน ทั้งเรื่องบุคลากรที่ผ่านการสอบคัดเลือกแบบ(ติวข้อสอบข้าราชการ ครูผู้ช่วย) ซึ่งหลังจากที่ได้รับราชการแล้ว ทุกอย่างจบสิ้น ไม่มีการพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อให้ทันกับยุคสมัย  แนวการเรียนการสอนที่เด็กนักเรียนจะต้องปรับเข้าหาครู (แทนที่ครูจะหาวิธีสอนที่ทำให้เด็กเข้าใจ) ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นที่มักได้ยินกันเป็นประจำคือ ในชั้นเรียนครูไม่สอน แต่ให้เด็กไปเรียนพิเศษกับครูข้างนอก เมื่อใกล้สอบจะมีการบอกข้อสอบเพื่อให้ได้คะแนนดีๆนอกจากนี้ยังรวมไปถึงหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนการสอนที่มีการปรับปรุงทุกๆ ทศวรรษ ซึ่งในปัจจุบันแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีแต่หลักสูตรแนวแกนกลางกระทรวงยังคงอยู่ที่ปี 2551 อยู่เลย

หลายๆ ครอบครัวจึงหันเหไปหาโรงเรียนอินเตอร์ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่หลายๆ ครอบครัวที่มีกำลังพอจะส่งเสริม เพราะหวังว่าเด็กได้ภาษาแน่ๆ และเข้าใจว่าโรงเรียนในแนวดังกล่าวจะสอนให้เด็กๆ สามารถคิด วิเคราะห์ได้ดีกว่าเด็กโรงเรียนไทย  โดยลืมไปว่าการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมของคนไทยกับต่างชาติแตกต่างกัน  เด็กทุกคนจะมีลักษณะนิสัยส่วนตัวซึ่งถูกบ่มเพาะจากทางบ้าน จริงอยู่ที่เด็กอยู่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน (ในวัยเรียน) แต่ครอบครัวได้หล่อหลอมเขาตั้งแต่แรกเกิดจนก่อนเข้าวัยเรียน หากเด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ว่าเขาจะอยู่ตรงไหน ลักษณะนิสัยดังกล่าวก็ยังคงเป็นตัวเขา  หากพ่อแม่ผู้ปกครองบ่มเพาะให้เขาหัดเป็นคนช่างสังเกต หรือมีระเบียบวินัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็จะติดตัวเค้าไปทุกที่ แต่อย่างไรก็ดีโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ครูมีผลต่อทัศนคติของเด็กในวิชาที่ครูผู้นั้นสอน ดังนั้นทางที่ดี ในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครองต้องไม่ให้บุตรหลานเหมือนไม้ผลัด ที่เรื่องของการเรียนส่งต่อให้โรงเรียนรับผิดชอบเพียงไม้เดียว ส่วนผู้บิรหารโรงเรียนนอกจากจะมีการประเมินการเรียนการสอน ซึ่งคือการประเมินการเรียนของเด็กเพียงด้านเดียว แต่ควรประเมินการสอนของครูผู้สอนด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาไปทั้งสองฝั่ง ทั้งฝั่งของทางบ้าน และฝั่งของโรงเรียนไปพร้อมๆ กัน…

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

เลือกโรงเรียนให้ลูก (ตอนจบ) บทความในตอนนี้จะกล่าวถึงโรงเรียนทางเลือกในแบบสุดท้ายที่เราเรียกกันว่า “Project based learning” (PBL) เป็นแนวที่มีความคิดพื้นฐานว่าการเพิ่มทักษะด้านวิชาการ (การอ่าน การเขียน) ควบคู่กับการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะเพิ่มความสนใจในการเรียนของเด็กมากกว่าการท่องจำบทเรียน นอกจากนี้ยังฝึกให้เด็กมีการคิดวิเคราะห์ภายใต้สภาวะวิกฤติ คิดอย่างมีระบบ มีการติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม และมีการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้วิชาการโดยไม่ใช่การท่องจำข้อมูลต่าง ๆ แต่เป็นการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้น มีการระดมสมอง อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในทีม มีการฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำมาเป็นข้อโต้แย้ง หรือข้อสนับสนุนความคิดของตนเอง การเรียนในแนวนี้ทำให้เด็กต้องมีการค้นคว้า การอ่านเพิ่มเติมจากเนื้อหาในห้องเรียน และสุดท้ายคือการนำเสนอข้อมูลให้มีรูปแบบที่น่าสนใจ การเรียนแบบ PBL ที่ดีจะต้องมีการตั้งหัวข้อที่น่าสนใจ (ครูต้องทำให้หัวข้อน่าสนใจ ในการค้นคว้าหาข้อมูล) มีการตั้งคำถามที่เป็นปลายเปิดเพื่อให้เด็กสืบหาข้อมูลในสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ และความท้าทายในการหาคำตอบ การเรียนในแนว PBL ก็น่าสนใจมิใช่น้อย แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเรียนในแนวนี้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็อยู่ที่ครูผู้สอนว่าจะสามารถคิดคำถามเพื่อก่อให้เกิดโครงงานเพื่อกระตุ้นให้เด็กต้องการหาความรู้ได้มากน้อยเพียงใด และการตั้งคำถามที่เป็นคำถามปลายเปิดนั้น ครูผู้สอนเองก็จำเป็นที่จะต้องหาข้อมูล หรือแหล่งความรู้ที่มากขึ้นและทันสมัยตลอดเวลา เพื่อที่ว่าเวลาเกิดการระดมสมอง หรือมีข้อโต้แย้งก็มีข้อมูลเพียงพอ สุดท้ายก็อยากให้พ่อแม่ ผู้ปกครองที่เลือกโรงเรียนให้กับเด็ก ๆ ได้ศึกษาข้อมูลของโรงเรียนในแต่ละแบบให้มากขึ้น และจะได้เลือกโรงเรียนในแบบที่ตนเองต้องการให้มากที่สุด

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากที่ได้กล่าวมาในตอนที่แล้วว่า แนวทางหรือนโยบายของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนนั้นมีความชัดเจน แต่ตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองเอง ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวทางของการเรียนมากนัก  ซึ่งปัจจุบันนี้แนวทางของโรงเรียนทางเลือกในบ้านเรามีมากมาย ซึ่งมีแนวทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

โรงเรียนในแนว Waldorft แนวการเรียนรู้นี้ มุ่งเน้นการเรียนแบบวนกลับแต่มีความรู้เชิงลึกมากขึ้น (An Ascending Spiral of Knowledge)                          

 

การเรียนการสอนในแนว วอล์ดอร์ฟ จะแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ละ 7 ปีโดยจะประกอบด้วย 3 ช่วง

–          ช่วงแรกหรือช่วงก่อนวัยเรียน มีแนวคิดว่าจำนวนและตัวเลขไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นและสำคัญกับเด็ก แต่สิ่งที่สำคัญคือการรู้คุณค่าของตัวเอง ความภูมิใจในตัวเอง ส่วนการเรียนรู้เรื่องตัวเลขหรือสิ่งต่าง ๆ จะผ่านมาทางประสาทสัมผัสและจากประสบการณ์จริง จึงมุ่งเน้นที่งานศิลปะ ดนตรี และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สัมผัสได้จริง

–          ช่วงที่สอง เป็นช่วงปฐมวัย มุ่งเน้นที่การพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์ และทักษะของการอยู่ร่วมกันในสังคม   และยังเป็นข่วงวัยที่มีการกระตุ้นทั้งเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ควบคู่กับการคิดวิเคราะห์ การเขียนจะเป็นการเรียนผ่านการวาด การระบายสี ส่วนวิทยาศาสตร์ จะเป็นการสอนถึงธรรมชาติรอบตัว โดยในแต่ละวิชาจะมีการเชื่อมโยงกันด้วยศิลปะ

–          ช่วงที่สาม มุ่งเน้นทางด้านวิชาการ กระบวนการคิดที่เป็นขั้นเป็นตอน

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เราจะพบว่า แนวทางการเรียนการสอนของระบบชัดเจน เพียงแต่ว่าสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องพิจารณาคือ ความต่อเนื่องของโรงเรียนในบ้านเราว่ามีความต่อเนื่องถึงวัยใด และนโยบายที่วางไว้ครูผู้สอน มีศักยภาพ ความทุ่มเท มากน้อยเพียงใด

ครูจา

 

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

           ปัจจุบันนี้การศึกษาปฐมวัยของบ้านเรามีหลายหลายแนวการศึกษาให้เลือกมากมาย ทั้งแบบบูรณาการ  แบบมอนเตสเซอรี่ แบบวอลดอร์ฟ หรือแม้กระทั่งแบบเร่งเขียนอ่าน ซึ่งในหแต่ละแบบก็มีแนวการศึกษา หรือหลักแนวคิดที่แตกต่างกัน
การเรียนในแบบบูรณาการ จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือเรียนตามความสนใจของผู้เรียน เน้นความรู้แบบองค์รวมไม่ได้เน้นรายวิชา ซึ่งหมายความว่าการเรียนจะมีอยู่ภายใต้หัวข้อเดียวกัน และเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
          การเรียนแบบมอนเตสเซอรี่เป็นระบบการศึกษาที่เน้นให้เด็กๆใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบแบบแผนโดยเฉพาะเรื่องการฝึกให้เด็กมีระเบียบ วินัย และพัฒนาการทั้งความคิด อารมณ์ และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย โดยผ่านสื่อการเรียนการสอนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของมอนเตสเซอรี่
          การเรียนแบบวอลดอร์ฟ เป็นการเรียนที่ให้อิสระกับผู้เรียน เรียนผ่านการเล่น ฝึกให้เด็กได้รับประสบการณ์จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในแต่ละวัน เสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
          จากแนวการเรียนการสอนที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้น มีทั้งข้อดี ข้อเสีย นั่นคือ ผู้ปกครองมีแนวทางเลือกที่เพื่อเหมาะสมกับลูกหลานมากขึ้น แต่ในบางครั้งหากไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ อาจทำให้เด็กต้องพบกับปัญหาของการปรับตัวเมื่อต้องย้ายโรงเรียนเมื่อเด็กโตขึ้น 
 ดังนั้นควรมีการหาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งข้อมูลของแนวการเรียนของสถานศึกษา ลักษณะการเรียนที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้กระทั่งความต่อเนื่องในแนวการเรียนแต่ละแนว เพื่อให้เด็กมีความสุขในการเรียน และมีความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ในหน้าที่ของตนเองเมื่อโตขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments