จากกระแสที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหูตอนนี้  นั่นก็คือ รายการไทยแลนด์ ก๊อต ทาเลนท์ 2013 ที่มีการออกอากาศในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการสัญญาณหลาย ๆ อย่างมายังสังคม หากกรณีนี้เป็นเรื่องจริงที่ไม่ใช่เจตนาของผู้จัดรายการ ก็สามารถสื่อให้เห็นได้ว่า สังคมไทยมันอยู่ในช่วงขาลงมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มันเป็นสัญญาณของบ่งบอกถึงทัศนคติการดูแล เอาใจใส่ หรือ การเลี้ยงดู แต่สิ่งที่บ่งบอกชัดเจนคือ ผู้จัดรายการใช้สื่อโดยไม่นึกถึงผลกระทบของสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากรายการนี้เป็นรายการที่สามารถตัดต่อเทปได้  แต่ทางผู้จัดก็ไม่คิดจะตัดตอนนี้ออกไป อีกทั้งรายการนี้เป็นรายการในช่วงเย็นของวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่มักอยู่หน้าจอทีวี แต่เพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ในการสร้างกระแสเพื่อให้รายการเป็นที่กล่าวขวัญอีกครั้ง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ปกครองหลาย ๆ คนที่ปล่อยเด็ก ๆ ไว้หน้าทีวี โดยการเลือกช่วงเวลาของเด็ก ๆ ควรจะอยู่หน้าจอทีวี (ที่ผู้จัดรายการขาดสำนึกผู้รับผิดชอบต่อสังคม) ผู้ปกครองควรจะอยู่กับบุตรหลานเพื่อคอยชี้แนะ ทั้งในสิ่งที่ดี และสิ่งที่ไม่ดี เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถเลือกเสพแต่รายการดี ๆ ได้ด้วยตนเอง

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

 

จากตอนที่แล้วเราได้รู้จักโรงเรียนในแนว Woldorf ไปแล้ว คราวนี้ก็จะกล่าวถึงโรงเรียนทางเลือกอีกแนวหนึ่ง ซึ่งอยู่ในนามของ มอนเตสเซอร์รี่ (Montessori) ซึ่งก็เป็นอีกแนวทางการศึกษาที่มีแนวนโยบาย (ต้นแบบ) ที่ชัดเจน

แนวคิดของการเรียนแบบมอนเตสเซอร์รี่ คือการเรียนแต่ละวิชาจะถูกเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเรียนแบบทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน นักการศึกษาพบว่าตั้งแต่เริ่มศตวรรษที่ 20 การศึกษาควรมีแบบแผนการเรียนที่แน่นอน และสัมพันธ์กับความต้องการของผู้เรียน เด็ก ๆ จะมีอิสระในการเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ ไม่ถูกบังคับให้เรียนในสิ่งที่ยังไม่เหมาะกับพัฒนาการของตน  งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นพบว่าเด็กที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบอิสระจะทำให้เด็กมีวินัย ถูกกระตุ้นทักษะต่าง ๆ เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้

แนวความคิดแบบมอนเตสเซอร์รี่นั้นจะมีพื้นฐาน 3 อย่างดังต่อไปนี้

  1. โครงสร้างสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ นั่นหมายรวมถึงการจัดอุปกรณ์ที่มีความน่าสนใจในการสอนเพื่อให้เด็กทุกคนมีมุ่งความสนใจในการเรียน การจัดบรรยากาศในการเรียนจะเป็นการเรียนแบบเปิด ให้เด็กได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ สัมผัสกับธรรมชาติรอบตัว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว อุปกรณ์การเรียนให้เด็กเลือกใช้เอง ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ความมีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับเด็ก ซึ่งห้องเรียนแบบเปิดนี้จะกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ทักษะหลายด้าน การสังเกต หรือแม้กระทั่งการเข้าสังคมกับผู้อื่น การให้เด็กได้หยิบจับอุปกรณ์อย่างอิสระ ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากของที่จับต้องได้ (รูปธรรม)ให้เป็นนามธรรมได้ไม่ยากนัก ในการเรียนแนวนี้จะมีการแบ่งช่วงอายุเด็กเป็นช่วงละ 3 ปี เริ่มจาก 3 ปีไปจนถึง 18 ปี
  2. หลักสูตรมอนเตสเซอร์รี่ กรอบการจัดการเรียนรู้ของแนวมอนเตสเซอร์รี่จะแบ่งเป็นส่วนย่อยดังนี้

–             ทักษะการดำเนินชีวิต

–             ความรู้สึก

–             คณิตศาสตร์

–             ภาษาและวรรณคดี

–             วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ

–             ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ หมายรวมถึงดนตรี การเคลื่อนไหว และละคร

  1. ครูในแนวมอนเตสเซอร์รี่ เนื้องจากการสอนในแนวมอนเตสเซอร์รี่ ครูจะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการฝึกอบรมครูผู้สอนเพื่อการประเมินตัวเด็กจะได้ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน

 

จากข้อมูลพื้นฐานของแนวการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอร์รี่ที่กล่าวมาพอสังเขป เราจะเห็นว่าหลักสูตรดังกล่าวก็มีความน่าสนใจไม่น้อย แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลูกหลาน และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่เราควรพิจารณาให้รอบคอบ

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments