Jul 14
Posted by malinee on Thursday Jul 14, 2016 Under เกร็ดความรู้
จากข่าว น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ นักแบตมินตันมือหนึ่งของชาวไทย ที่มีกระแสข่าวว่า ตรวจพบยาโด๊ปหรือสารกระตุ้น ซึ่งส่งผลกระทบในการส่งตัวนักกีฬาเข้าแข่งขัน โอลิมปิกเกมส์ 2016 โดยเลขาธิการสมาคมแบตมินตันไทย ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อโต้แย้งและอุทธรณ์ แต่หากพบสารกระตุ้นจริงจะขอลดโทษหนักให้เป็นเบา ซึ่งการลงโทษนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณและ สารกระตุ้นที่ใช้ จะมีโทษงดเข้าแข่งเป็นเวลา 2 – 4 ปี
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร… คงไม่มีใครเชื่อว่าน้องเมย์ใช้สารกระตุ้น เพราะหากทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการตัดอนาคตของตัวเอง แต่เหตุการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การได้รับยาสเตยรอยส์ในการรักษาอาการบาดเจ็บที่หัวเข่า จากแพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์ทางการกีฬา (ผิดกฏทางการกีฬา เนื่องจากสเตยรอยส์เป็นสารที่นอกจากจะระงับความเจ็บปวดแล้ว ยังสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้มีพละกำลังมากขึ้นอีกด้วย)
จากเหตุการณ์ดังกล่าว เพียงเพื่อต้องการยกตัวอย่างให้เห็นว่า ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคน ๆ หนึ่ง จะส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของอีกคนอย่างมาก เช่นเดียวกับที่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตา ยาย หรือ พี่เลี้ยง ที่มีหน้าที่ในการดูแลเจ้าตัวน้อย ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งเกมส์ หรือ ปล่อยให้เค้าอยู่กับทีวี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ซึ่งผลที่เห็นได้ชัด คือเด็กอยู่นิ่งๆ ไม่กวน ไม่ซน แต่หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ เขาจะไม่สามารถอยู่เฉยได้ และเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลในอนาคตต่อการเรียนของเขาเหล่านั้น เมื่อเขาเรียนไม่ได้ แล้วอนาคตของเขาจะดูแลตัวเองได้อย่างไร
Jun 19
สัปดาห์นี้เรามาคุยกันเรื่องการวางแผนการศึกษาของบุตรหลานกันดีกว่า การศึกษาของบ้านเรา (ไม่รวมถึงการศึกษาในแนวของโรงเรียนนานาชาติ) จะมีการแบ่งช่วงชั้นที่ชัดเจน ได้แก่ อนุบาล , ประถมศึกษา , มัธยมศึกษา และ อุดมศึกษา
หากแยกกันตามลักษณะการเรียนรู้ ก็มีทั้งแนวบูรณาการ แนวเร่งเรียน แต่ถ้าแยกตามความเข้มข้นทางด้านภาษาก็จะมี 2 แนวหลักๆ คือ แนวที่ยังเป็นแบบปกติ และแนวที่มีการเรียนเน้นภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยการเพิ่มวิชาเรียนได้แก่ Math , Social และ Science ซึ่งหลักๆ จะกล่าวถึงการเลือกโรงเรียนให้กับบุตรหลานจะเลือกแนวทางของภาษาเป็นหลัก
ในการปรับตัวของบุตรหลานที่เปลี่ยนแนวทางการศึกษาจะส่งผลกระทบกับตัวเด็กไม่มากนั้ก หากช่วงเวลาในการเปลี่ยนแนวการศึกษาไม่เกินประถมต้น แต่หากบุตรหลานต้องเปลี่ยนแนวในช่วงตั้งแต่ประถมปลายขึ้นไป การสอบแข่งขันจะยากขึ้น รวมถึงหากบุตรหลานได้รับคัดเลือกในการสอบ การปรับตัวในเรื่องการเรียนก็ยากไม่แพ้กัน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากหากเด็กเรียนในแนวของการเรียนแบบสองภาษา เวลาที่จะเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ก็จะถูกแบ่งไปเรียน Math และ Science ทำให้ความเข้มข้นในเนื้อหาของ 2 วิชาดังกล่าวก็จะน้อยลงไปด้วย ส่วนเด็กที่ถูกเปลี่ยนแนวจากการเรียนในแบบปกติ มาเป็นแบบสองภาษา ก็ต้องปรับตัวในการเรียนเนื่องจากต้องมีการจำคำศํพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะที่นอกเหนือจากความเข้าใจพื้นฐานเพิ่มขึ้นอีกด้วย
หากเด็กๆ สามารถปรับตัวได้ การเรียนรู้ก็จะไม่มี่ปัญหาเกิดขึ้น แต่หากเด็กไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เขาไม่มีความสุขกับการเรียน จนถึงวันที่ต้องเข้าสู่สนามการสอบคัดเลือก อาจจำเป็นต้องใช้เวลาในการเตรียมตัว หรือเสียค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติใน
ดังนั้น การศึกษาของบุตรหลานของท่าน ควรมีการวางแผนกันเป็นช่วงยาวๆ จะดีกว่าการเปลี่ยนม้ากลางศึก เพราะเขาอาจจะแพ้สงครามเนื่องจากยังไม่คุ้นเคยกับม้าที่นำมาเปลี่ยน เมื่อเทียบกับม้าที่กรำศึกมาด้วยกันมานาน
ครูจา
Jul 20
หลังจากเปิดภาคเรียนกันมาระยะหนึ่ง ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้าสู่ฤดูสอบกลางภาค หลายๆ ครอบครัวจะเตรียมตัวบุตรหลานอย่างขะมักเขม้น เพื่อให้เด็กๆ ได้ทบทวนบทเรียน ซึ่งในแต่ละครอบครัวก็จะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน บางครอบครัว ก็จะปล่อยให้เด็กๆ เรียนรู้หรืออ่านหนังสือด้วยตนเอง แต่หลายๆ ครอบครัว พ่อแม่จะเป็นผู้ย่อยและคัดกรองเนื้อหาต่างๆ ให้กับบุตรหลาน เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนที่ดี
แนวทางแบบใดที่ดีกว่า หากมองกันจริงๆ การเรียนในบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ก็เหมือนกับการฝึกให้เด็กมีความมุมานะ พยายาม ในการแก้ปัญหา หากเพียงเรื่องเรียนซึ่งเป็นหน้าที่หลักของเด็กๆ ยังไม่สามารถที่จะทำได้ เราก็ต้องตั้งคำถามก่อนว่าเราจะสามารถช่วยเขาได้ถึงเมื่อไร และหลังจากที่เราไม่ช่วยเขาแล้ว เขาจะสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตนเองเมื่อใด หากเป็นเช่นนี้ ทำไมเราไม่ใช้วิธีที่ค่อยๆ ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ลองผิดลองถูก เหมือนกับการเดิน ก่อนการเดินเขาจะต้องเรียนรู้ที่จะคืบ คลานและตั้งไข่ตามลำดับ คงไม่มีใครที่ไม่ผ่านกระบวนการดังกล่าวหรือข้ามขั้นใดขั้นหนึ่งไปได้ การเรียนก็เช่นกัน หากเราทำหน้าที่เป็นโค้ชที่คอยแนะนำ ให้กำลังใจ อยู่ข้างสนามเพื่อคอยชี้นำหรือแนะวิธีการที่ถูกต้องก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เขาได้มุมานะ พยายามด้วยความสามารถของตนเอง ไม่เคยมีโค้ชคนไหนเข้าไปเล่นแทนนักกีฬาเลย โค้ชมีหน้าที่เพียงชี้แนะและฝึกหัดให้มีข้อด้อย น้อยที่สุดเท่านั้น เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่คอบชี้แนะ ให้เขาได้ลองผิดลองถูกและสร้างกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ซักวันเขาก็จะกลายเป็นนักเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดในที่สุด
ครูจา