รังแกเราทำไม

Posted by malinee on Tuesday Jan 30, 2018 Under เกร็ดความรู้

เราทราบกันหรือไม่ว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของการรังแกกัน โดยการใช้ความรุนแรงของเด็ก และกลุ่มที่ใช้สื่อทางเทคโนโลยีพวกโซเชียลในการทำร้ายเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง จากการเก็บข้อมูลพบว่าเด็กในกลุ่มที่เป็นเหยื่อจะเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มของเด็กพิเศษ ซึ่งจะถูกกลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันเกเร รังแกโดยใช้ความรุนแรง ส่วนกลุ่มที่เป็นตัวการมักเป็นเด็กในกลุ่มที่ติดกับการเล่นเกมส์รุนแรง  ร่วมกับการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องพฤติกรรมจากครอบครัว จึงไม่มีความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองทำเป็นเรื่องรุนแรง

ส่วนกลุ่มที่โตขึ้นจะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งเหยื่อ โดยนำเรื่องที่น่าอาย หรือแม้แต่การแต่งเรื่องแล้ว post  ขึ้นบนสื่อโซเชียล ให้เหยื่อได้รับความอับอาย ผลที่ได้คือเด็กในกลุ่มที่ถูกรั

แกทั้งสองกลุ่ม หากไม่ได้รับการแก้ไขเหยื่อจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า

หากไม่มีใครตระหนัก หรือร่วมกันแก้ไขปัญหา เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะแย่ลงเรื่อยๆ เพียงร่วมมือกัน ช่วยกันคนละเล็กละน้อย โดยการดูแลบุตรหลานไม่ให้เป็นเหยื่อ โดยการหลีกเลี่ยงปัจัยทุกอย่างที่ส่งผลให้บุตรหลานกลายเป็นเด็กพิเศษ และช่วยกันดูแล อบรมบุตรหลานให้เป็นคนดีไม่รังแกหรือทำร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะทางใดก็ตาม

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

images            บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่เรียนคณิตศาสตร์ไม่เข้าใจ หรือค่อนข้างอ่อน หลังจากที่ส่งไปเรียนตามสถาบันต่างๆ หลายสถาบันก็ยังไม่เห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของบุตรหลาน มักจะมีความคิดที่จะหาครูเพื่อสอนบุตรหลานแบบตัวต่อตัว ก่อนที่จะคิดแก้ปัญหาโดยการหาครูเพื่อมาสอนบุตรหลานแบบตัวต่อตัวนั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีไหมว่าบุตรหลานของเรามีความจำเป็นในการเรียนแบบตัวต่อตัวเหมือนเด็กพิเศษหรือ เนื่องจากการเรียนคณิตศาสตร์แบบตัวต่อตัวนั้น มักเหมาะกับการที่เด็กไม่สามารถเรียนรวมกับกลุ่มได้ มีสมาธิอยู่ในช่วงสั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เหมาะกับเด็กที่เป็นเด็กพิเศษ ดังนั้นจึงต้องมีครูพี่เลี้ยงคอยประกบในการเรียนอยู่ค่อนข้างตลอดเวลา

หากบุตรหลานไม่ได้เป็นเด็กพิเศษ การเรียนแบบตัวต่อตัวในมุมมองของครู แทบไม่ได้ส่งผลดีเลยในการเรียนคณิตศาสตร์ ครูเคยเขียนบทความเรื่องที่ว่าทำไมเด็กบางคนไม่สามารถเรียนในกลุ่มใหญ่ได้ (ลองย้อนกลับไปดูได้นะคะ) การที่เด็กบางคนเรียนตามกลุ่มเพื่อนไม่ทัน ไม่ได้หมายความว่าเขาจำเป็นต้องเรียนตัวต่อตัว เพียงแต่ว่าพื้นฐานและทักษะทางคณิตศาสตร์ของเขาไม่ทันกับกลุ่ม เนื่องจากความเข้าใจยังไม่สามารถเข้ากลุ่มที่เรียนไปพร้อมๆ กันได้ ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์ที่เหมาะกับเด็กกลุ่มนี้คือการเรียนที่ไม่ได้ไปพร้อมกันการเรียนเป็นการแบ่งกลุ่มเล็กๆ ที่มีเนื้อหาขึ้นอยู่กับเด็กและทักษะความเข้าใจของเด็กแต่ละคน ครูจะต้องทำความเข้าใจหรืออธิบายเนื้อหาให้กับเด็กก่อน แล้วหลังจากนั้นก็ต้องปล่อยให้เขาทำแบบฝึกหัดในการแก้ไขปัญหา นอกจากเด็กจะเกิดทักษะ และมีกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แล้วยังเป็นการวัดความเข้าใจในบทเรียนที่ครูสอน ว่าเขามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้แล้วการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ จะทำให้เด็กมีสังคม มีเพื่อน คอยกระตุ้นกันเองด้วย การเรียนแบบตัวต่อตัว ผู้ปกครองมักคิดว่าบุตรหลานจะได้รับความรู้ความเข้าใจเต็มชั่วโมง แต่ในทางกลับกันการเรียนคณิตศาสตร์แบบตัวต่อตัว เป็นความจริงที่ครูจะต้องเป็นคนประกบเด็กตลอดเวลา ถ้าเด็กเป็นเด็กที่ไม่มีความมั่นใจ ก็จะไม่กล้าที่จะเริ่มคิดวิเคราะห์ปัญหาด้วยตนเอง ครูก็จะเป็นฝ่ายที่จะเริ่มชี้นำวิธีคิดให้เขา เช่นเดียวกับเด็กที่เฉื่อย เนื่องจากเป็นเด็กที่เฉื่อยจะไม่พยายามทำอะไรด้วยตนเองอยู่แล้ว ก็ยิ่งไม่มีความพยายามที่จะคิดเมื่อมีคนคอยช่วย กระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองก็ไม่เกิดขึ้น  นอกจากนี้แล้วยังเกิดปัญหาการเข้าสังคมด้วย เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นลูกคนเดียว โดยปกติก็มีปัญหาการเข้าสังคมอยู่แล้ว หากยิ่งจัดสรรการเรียนให้เป็นแบบตัวต่อตัว นอกจากปัญหายังแก้ไม่ถูกจุดแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปัญหาด้านสังคมเพิ่มขึ้นอีกปัญหาด้วย

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

                        หากเราสังเกตกันดี ๆ จะพบว่าทุกวันนี้ ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำอะไร หรือตัดสินใจอะไรได้เร็วขึ้น ไม่ว่าเราจะหันไปทางไหน ผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างเพศ ต่างวัยกัน จะพบว่าจะต้องมีสิ่งหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้ว นั่นคือโทรศัพท์มือถือ แต่บางครอบครัวมีมากกว่านั้น นอกจากมือถือแล้วยังมี iPad หรือ tablet  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในเรื่องการหาข้อมูล การติดต่อสื่อสารถึงกัน ใน Social network นั่นเอง

เมื่อพิจารณากันดี ๆ แล้ว เราจะพบว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยนั้น เป็นดาบสองคม นั่นคือ หากผู้ใช้มีวุฒิภาวะ เขาก็จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ในทางกลับกันหากผู้ใช้ไม่มีวุฒิภาวะ ก็เป็นดาบที่หันกลับมาทำร้ายตนเองได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างที่เราเห็นกันจนชินตา หรือได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่มีความอดทนเลย  ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่รู้จักการรอคอย  ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่มีความพยายาม   คำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักออกมาจากปากพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเค้าเหล่านั้น หากเรามามองย้อนกลับไปดี ๆ เราจะพบสาเหตุที่เป็นสาเหตุหลักเพียงอย่างเดียว นั่นคือวิธีการเลี้ยงดูเขาเหล่านั้นแทบทั้งสิ้น

ทำไมการเลี้ยงดูของคนสมัยใหม่จึงเป็นสาเหตุหลักของปัญหา  หลาย ๆ ครอบครัวที่เราพบเห็นตามห้างสรรพสินค้า เรามักพบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำงานในวันทำงาน เมื่อมีเวลาวันหยุดก็จะพาลูกไปตามโรงเรียนกวดวิชาเพื่อหวังให้เขาเหล่านั้นมีผลการเรียนดี มีอนาคตที่ดี ส่วนตนเองก็อยู่กับโทรศัพท์มือถือ ท่สามารถติดต่อสื่อสารผ่าน network ที่ทันสมัย ทำให้ตนเองมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใน Social network ที่สร้าง(ภาพให้ดูดี)ขึ้นมา ตลอดเวลา หลังจากเลิกเรียนกลับบ้าน ก็ส่งเกมส์ให้ลูกเล่น เพื่อเป็นการผ่อนคลายหลังเลิกเรียนอย่างเคร่งเครียดมาตลอดวัน และลูกยังสามารถอยู่ในกลุ่มเพื่อนได้อย่างไม่อายใคร เพราะเราก็มี iPad เล่นเกมส์โน้นนี้เหมือนกัน

จากความคิด หรือทัศนคติของผู้ปกครองส่วนใหญ่ดังกล่าว มันเป็นการติดกับเทคโนโลยี แทนที่เราจะใช้มันให้เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่ได้รับกลับเป็นภัยมหันต์ ทั้งกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งมีการสนทนากัน พูดคุยถึงปัญหา แบ่งปันความเข้าใจซึ่งกันและกัน ที่น้อยลงเรื่อย ๆ และยังเป็นการบ่อนทำลายทั้งสมาธิ ความสามารถในการเรียนรู้ และบั่นทอนเวลาการฝึกทักษะต่าง ๆ ให้สั้นลงอีก ทำให้ช่วงเวลาที่เขาควรเก็บเกี่ยวประสบการณ์ (จากพ่อแม่จากการพูดคุย) และทักษะการดำเนินชีวิต (ทักษะในการใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เพื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เรียนรู้กฎ กติกา มารยาทต่าง ๆ)

หากเลือกได้ระหว่าง 2 โปรโมชั่นคุณจะเลือกอะไร ระหว่าง 1. new iPad + ลูก(ติดเกมส์ ไม่เอาใจใส่ในการเรียน หรือเด็กพิเศษ)

หรือ 2. ครอบครัวที่ไม่มี iPhone  หรือ iPad + ความเป็นครอบครัวที่มีความสุข โดยมีลูกที่ไม่มีคำว่า เด็กพิเศษติดตามตัวตลอดเวลา

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments