อัจฉริยภาพ สร้างและทำลายได้ (2)
Posted by malinee on Sunday Sep 21, 2014 Under เกร็ดความรู้จากบทความเมื่อครั้งที่แล้ว ก็มีคำถามมากมายเกี่ยวกับอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ขอเรียกง่ายๆ ว่า เซ้นส์ทางคณิตศาสตร์ มักมีคำถามมากมายตามมาว่า เราจะสังเกตบุตรหลานได้อย่างไรว่าเป็นเด็กมีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์หรือไม่ วิธีที่ง่ายๆ คือ การสังเกตความสนใจในการเรียนก่อนเป็นอันดับแรก ว่าหากมีโอกาสเขาจะเลือกเรียนอะไรก่อน ซึ่งเซ้นส์นั้นจะทำให้เขามีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ดี มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบกว่า เด็กในวัยเดียวกัน คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้หลักการ การคิดเป็นระบบ มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหา ไม่จำเป็นที่จะต้องคิดเหมือนๆ กัน เด็กที่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์ 2 คน อาจคิดโจทย์ปัญหาที่ต่างกัน แต่ให้คำตอบเดียวกันได้ เนื่องจากมุมมองที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างโจทย์การแข่งขันแนวคิดและการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป. 3-4 เช่น
น้ำยาล้างจานขวดหนึ่งหนัก 250 กรัม เมื่อใช้ไป 1 ใน 4 ของขวด ปรากฏว่าหนัก 195 กรัม อยากทราบว่าขวดเปล่าหนักกี่กรัม
ตัวอย่างดังกล่าว เด็กที่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ มีการใช้ความรู้พื้นฐานทั้งในเรื่องของเศษส่วน และโจทย์ระคนมาใช้ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรม จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แต่การที่เด็กจะมีอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่ว่าจะพบกันได้ทุกคน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ไม่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์จะไม่สามารถแก้ปัญหา หรือต้องเรียนคณิตศาสตร์อ่อนเสมอ เขาเหล่านั้นสามารถแก้ไขปัญหา หรือเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีเช่นกัน เพียงแต่ต้องมีการจัดระบบระเบียบการคิดวิเคราะห์ให้ดี และมีการฝึกฝนวิธีการคิดให้เป็นระบบ หรืออาจมีการสอนให้เด็กตีความจากประโยคบอกเล่า
ให้เป็นรูปธรรม และสิ่งที่ต้องมีอย่างเคร่งครัดคือ วินัยในการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขามีความมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีกับการเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ครูจา