เสาร​ อาทิตย์​นี้แล้ว​ ที่เด็กๆ​ จะต้องสอบคัดเลือก​เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษา​ปีที่​ 1 และ​4 หลังจากการถูกเลื่อนการสอบกันมาตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม​ ซึ่งเด็กๆ​หลายคนมีการเตรียมพร้อม​กันมาเป็นเวลานาน​ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค​COVID​19​ จึงทำให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก​ลงชั่วขณะ​ เด็กหลาย​ๆ​ คน​ ถ้าทางบ้านมีเวลาดูแลเอาใจใส่​ก็ยังอาจมีเวลาในการทบทวนบทเรียน​เพื่อเตรียมตัวตลอดเวลา​ แต่หลายๆ​ ครอบครัว​ มิได้เป็นเช่นนั้น​ เด็กๆ​ เนื่องจากความเป็นเด็ก ก็จะไม่เลือกที่จะหยิบจับหนังสือ​อยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ​ ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง​หาวิธีในการแก้ปัญหา​ โดยการให้บุตรหลานเรียนออนไลน์​ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถทำได้ในสถานการณ์ช่วงนี้แต่ การเรียนนั้นเป็นการทบทวนบทเรียน​วิธีหนึ่ง​ แต่การเรียนนั้น​อย่างมากก็ทำได้วันละไม่เกิน​2 ชัวโมง​ หลังจากการเรียน​ ไม่ว่าจะเป็นนการเรียนวิชาใดๆ​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์​ หากไม่ทบทวน​หรือเริ่มกระบวนการคิดด้วยตนเอง​ ก็จะไม่เกิดประโยชน์​ใดๆ
การเรียนคณิตศาสตร์​นั้น​ เป็นการฝึกทักษะกระบวนการ​คิดแก้ปัญหา​ ในระหว่างการเรียน​ ถ้าเป็นเรื่องใหม่ๆ​ การเรียน​ เราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์​ไปพร้อมกัน​ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ​ และมีการให้แบบฝึกหัด​เพื่อทบทวนบทเรียน​ เพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่าเป็นระบบ​ และเมื่อเรียนในครั้งต่อไปจะสามารถต่อยอดไปเรื่องใหม่ได้​ แต่เด็กๆ​ ส่วนใหญ่​ เมื่อเรียนจบคือทิ้ง​ ไม่ทวน​ แล้วเวลาเรียนก็กลายเป็นว่าต้องเริ่มใหม่ทุกครั้ง​ ไม่พยายามคิดด้วยตัวเอง​ ไม่เริ่มที่จะคิด​ บ่มเพราะจนกลายเป็นนิสัย​เป็นเด็กเฉื่อย​ ไม่มีความกระตือรือร้น​ ไม่มีความพยายาม​ ไม่คิดที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ​ การเรียนรู้กลายเป็นว่าต้องมีคนป้อน​ ต้องมีคนสอน​ ไม่สามารถอ่านหนังสือ​หรือทบทวนเนื้อหาบทเรียน​ได้ด้วยตนเอง​ ลองสังเกต​บุตรหลานของตัวเองว่่า​ คุณให้เขาเรียน​แล้วเขาได้เคยนำบทเรียนมาทบทวนหรือไม่​ หรือ ให้เรียนทุกวันจนทำให้เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อย​กับการเรียน​ แล้วหลังจาการเรียนที่เหนื่อยล้าคือเวลาที่เป็นเวลาที่จะต้องพักสะทีและการพักของเด็กก้อไม่พ้นการเล่นเกม..
#เรียนเยอะไม่แปลว่าเก่ง
#เรียนแล้วเก็บไม่ทวนไม่แปลว่าทำได้
#เป็นกำลังให้เด็กทุกคน
#สถาบันคิดสแควร์

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

ช่วงของการปิดภาคเรียนจะเป็นช่วงที่เด็กๆ บางคนจะได้พัก ในความหมายของพวกเขาคือการนอนตื่นสาย เล่นเกมส์ได้ทั้งวัน ทั้งคืนได้โดยไม่ต้องรียตื่นเพื่อไปโรงเรียนในตอนเช้า หลายๆ ครอบครัวก็ถือว่าเป็นช่วงที่เด็กควรว้างสมาธิสั้นในได้พักผ่อนสมองบ้าง จึงปล่อยให้เขาอยู่กับความสุขของเขาในช่วงปิดเทอม จนเด็กติดเกมส์ มีความสุขกับจอสี่เหลี่ยม ไม่สามารถแยกจากมันได้

ปัจจุบันเรามักจะได้ยินกันเสมอ เด็กคนนั้นต้องเป็นสมาธิสั้นแน่ๆ อยู่ไม่นิ่งเลย ส่วนเด็กหลายๆ คนนั่งนิ่งเลย สมาธิดีจัง ใครผ่านไปมาไม่ได้สนใจเลย (ในมือ ถือ tablet ) หลายๆ คนเข้าใจว่าสมาธิสั้นเป็นพฤติกรรมที่อยู่ไม่นิ่งของเด็ก แต่ในนิยามทางการแพทย์ ได้จำกัดความคำว่าสมาธิสั้นได้
3 ประเภทดังนี้

  1. สมาธิสั้นประเภทที่ไม่สามารถควบคุมตนเองให้อยู่นิ่งๆ ได้นาน ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ชอบกิจกรรมผาดโผน เสี่ยงอันตราย
  2. สมาธิสั้นประเภท เหม่อลอย หรือเฉื่อย สมาธิสั้นประเภทนี้พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ ชาย จะมีอาการของการเหม่อลอย ทำงานไม่มีความรอบคอบ ไม่สามารถจัดการกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นระบบได้ เหมือนมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ แต่จริงๆ แล้วเหม่อลอยอยู่ ขาดสมาธิในการเรียนรู้ สมาธิสั้นประเภทนี้ ต้องสังเกตถึงจะพบพฤติกรรมดังกล่าว เพราะจะนั่งนิ่งได้นาน โดยไม่ได้ทำอะไรเลย การเรียนในชั้นเรียนจะถูกมองข้าม เพราะไม่ซน ไม่ดื้อ แต่จะเป็นเด็กที่เรียนอ่อน ตามเพื่อนไม่ทัน ทำงานช้า
  3. สมาธิสั้นแบบผสม เป็นสมาธิสั้นที่รวมทั้งสองแบบ แต่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ทั้งพฤติกรรมและคำพูด การกระทำ

สิ่งใดๆ จะขาดความยั้งคิด

สาเหตุของการเกิดความผิดปกติดังกล่าว มีงานวิจัยพบว่า การหลั่งสาร dopamine ที่เป็นสารที่หลั่งในระบบประสาทของสมองเพื่อช่วยควบคุมเรื่องพฤติกรรม สมาธิ การเรียนรู้ ให้กับเด็กคนนั้นมีระดับที่ต่ำกว่าปกติ ควบคู่กับการเลี้ยงดูของเด็กในครอบครัวนั้นๆ เนื่องจากสังคมในปัจจุบันที่มีความรีบเร่ง ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นทำให้เกิดความผิดปกติ อีกทั้งสิ่งเร้าที่มีอยู่มากมายรอบตัว อาการสมาธิสั้นของเด็กจะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนวัย 7 ขวบ งานวิจัยพบว่า หากเด็กไม่ได้รับการปรับพฤติกรรมและได้รับการรักษา จะทำให้เขามีปัญหาในการเรียน เนื่องจากสมาธิที่เขาไม่สามารถควบคุมได้ และจะพอกพูนความไม่เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เขาขาดความมั่นใจในการเรียน เบื่อหน่าย ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มอาการสมาธิสั้นลง ซึ่งได้แก่ อาหาร หรือขนมที่ให้พลังงานสูงๆ การปล่อยให้อยู่กับเกมส์ หรือทีวี สิ่งที่ควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มอาการ ได้แก่ การให้เขาได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การสร้างระเบียบวินัยให้เขาปฏิบัติตาม และการจัดบ้านให้มีระเบียบ

ไม่ว่าจะเป็นสมาธิแบบใด ก็ไม่สามารถหายได้ หากมีอาการมากขึ้น แพทย์จำเป็นที่จะต้องใช้ยา ซึ่งจะต้องใช้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต คงจะดีหากเราป้องกันไม่ให้บุตรหลานมีความผิดปกติดังกล่าว โดยการหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความผิดปกติขึ้นตั้งแต่ในบ้าน ก่อนที่เขาจะเข้าสู่ปฐมวัยกันดีกว่า

Tags : , , , , , , , , | add comments

ช่วงเวลาของการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับชั้นต่างๆ มีหลายๆ ครอบครัวที่ดีใจ และอีกหลายๆ ครอบครัวที่มีน้ำตาเปื้อนใบหน้า เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่พ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องมีหน้าที่คอยประคองความรู้สึกและให้กำลังใจบุตรหลาน ให้เขาได้เรียนรู้ถึงความผิดหวังบ้าง เพราะในชีวิตคนเราไม่มีใครที่จะสมหวังในทุกๆ เรื่อง เพื่อเป็นบทเรียนให้เค้าได้ตั้งความหวังให้สูง และไปถึงจุดนั้นให้ได้ด้วยความเพียรพยายาม

แต่หลายๆ ครอบครัวจะหลีกเลี่ยงไม่ให้บุตรหลานของตนเองในการสอบคัดเลือก โดยการให้เข้าโรงเรียนที่มีการเรียนยาว โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนโรงเรียน ทุกอย่าง พ่อแม่ ผู้ปกครองจะเป็นผูวางแผน หรือดำเนินการ คิดแทน ทำทุกอย่างแทนให้จนกลายเป็นการบ่มเพาะนิสัยของความเฉื่อย ไม่มีความคิดที่จะริเริ่มหรือทำอะไรด้วยตัวเอง เมื่อโตขึ้นจะไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะไม่เคยถูกฝึกทักษะด้านใดเลย ไม่เคยวางแผนการทำงาน หรือ อนาคตตนเอง เค้าจะดำเนินชีวิตอย่างไร ถ้าชีวิตเค้าขาดผู้อุปถัมภ์ ดูแล

มันจะดีกว่ามั้ย ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครอง อบรมเลี้ยงดูเค้าเหล่านั้นให้ได้รู้จักหน้าที่ของตนเองตั้งแต่วัยเด็ก แล้วเพิ่มหน้าที่ให้มากขึ้น ส่วนพ่อแม่ผู้ปกครองต้องลดการดูแลในส่วนของตนเองลง ให้เค้าได้เรียนรู้ที่จะคิดวางแผนเป็นระยะๆ เช่น การทำการบ้าน ให้เค้าได้ทำด้วยตนเอง ไม่ใช่ช่วยจนเค้าไม่สามารถทำการบ้านได้ด้วยตนเอง อ่านหนังสือสอบ ต้องให้เค้าค่อยๆ เรียนรู้ที่จะสะกดคำ จนคล่อง ไม่ใช่อ่านให้เค้าฟังทุกครั้ง ทักษะที่ต้องใช้เวลา และที่ควรจะได้รับการฝึกฝน  ก็จะไม่เกิดขึ้น ให้เค้าได้ดูแลตัวเอง มีความภูมิใจในตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเอง เรียนรู้ที่จะผิดหวัง เรียนรู้ที่จะมุ่งมั่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จลุล่วง หากพ่อแม่ผู้ปกครอง เลี้ยงดูบุตรหลานแบบที่คิดแทนเค้าในทุกๆ อย่าง สักวันที่เค้าไม่มีเรา ชีวิตเค้าจะเดินต่อไปอย่างไร ในเมื่อเค้าไม่เคยได้รับการฝึกฝนใดๆ เลย อย่าทำร้ายเค้าด้วยการดูแลที่เกินความจำเป็นกันอีกเลย ขนาดดักแด้ที่อยู่ในไหม สักวันนึงมันก็ต้องกลายเป็นผีเสื้อที่ต้องกางปีกของตนเองออกมาสู่โลกกว้างในที่สุด

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ในปัจจุบันถือว่าเป็นโลกแห่งความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะหาอะไรจะทำอะไรก็ง่ายดาย เช่นเดียวกัน ที่เรียนของลูกก็จะยากอะไร มีให้เลือกอยู่เยอะแยะไม่ว่าจะเรียนอะไร เดินสยามมีทุกชั้น ทุกวิชา

จริงอยู่ที่สถาบันกวดวิชามีมากมายหลากหลาย มีทั้งเรียนเดี่ยว เรียนกลุ่ม หรือแม้กระทั่งรับสอนตามบ้าน  ถ้าลูกเรียนวิชาไหนไม่รู้เรื่องก็ส่งไปเรียนตามสถาบันต่างๆ บางครั้งปัญหาของความไม่เข้าใจก็ได้รับการแก้ไข  แต่หลายๆ ครั้งปัญหาไม่อาจแก้ไขได้ บางครั้งปัญหาที่ต้องการการแก้ไข ไม่ใช่ปัญหาของการเรียน แต่เป็นปัญหาทางด้านพฤติกรรม

ทำไมครูถึงบอกว่าปัญหาของการเรียนเกี่ยวกับปัญหาทางพฤติกรรม เนื่องจากเด็กหลายๆ คนถูกบ่มเพาะนิสัยที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเกิดอะไรรอบตัว ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง จากการที่คิดแทน ตัดสินใจแทน หรือแม้กระทั่งการบ้าน รายงานแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นหน้าที่ของตนเอง ร่วมกับการส่งความสุขให้กับบุตรหลานผ่านเกมส์ ทีวี การ์ตูน ซึ่งเป็นข้ออ้างว่าต้องการให้เขาได้พักสมองบ้าง

การบ่มเพาะดังกล่าวให้เวลาเพียงไม่ถึงสามเดือน เด็กก็จะมีบุคลิกเฉื่อย ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ มีโลกส่วนตัว กลายเป็นเด็กเรียนรู้ช้าในที่สุด ซึ่งเป็นเหตุให้ผลการเรียนตกต่ำลงเรื่อยๆ กว่าสัญญาณดังกล่าวจะส่งถึงผู้ปกครอง ก็ต้องใช้เวลานาน เนื่องจากเด็กที่มีบุคลิกดังกล่าวไม่ใช่เด็กที่ป่วน หรือไม่เชื่อฟังครู  เป็นเด็กที่เงียบ เฉย ซึ่งการเรียนในโรงเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ครูจะเข้าใจว่าเป็นบุคลิกส่วนตัว ก็ปล่อยผ่านไป

เหตุการณ์ดังกล่าวเหล่านี้ เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ทางสถาบันมักถูกตั้งคำถามอยู่บ่อยครั้งว่าจะแก้อย่างไร หรือเรียนอะไรดี จะช่วยได้ ครูตอบได้เพียงแต่ ไม่มีวิชาใดแก้พฤติกรรมที่บ่มเพาะจากทางบ้านได้ นอกจากการแก้พฤติกรรมในบ้านด้วยตัวของพ่อแม่ผู้ปกครองเองเท่านั้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

59193aa2a373c419a7100878787f573e_108aacefc3e090fb4ab96fe480a9bd-clipart-tired-person_350-346                    ช่วงนี้เดือนหน้าจะเป็นช่วงของการสอบคัดเลือกประจำทุกปี น้องๆ หลายๆ คนก็ต้องให้เวลาในการเตรียมตัวกับตัวเองในการอ่านหนังสือ ลดเวลาเล่นกันก่อนนะคะ

หลายๆ ครั้งผู้ปกครองมักบ่นว่า บุตรหลานของตนไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง เฉื่อย ไม่มีความกระตือรือร้น สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากการเลี้ยงดูบุตรหลานในวัยเด็ก สาเหตุที่ทำให้เด็กไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง เนื่องมาจากในวัยเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองคอยปกป้องดูแลเอาใจใส่จนเกินพอดี ไม่ให้บุตรหลานมีโอกาสที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ เมื่อเกิดปัญหาไม่ว่าเรื่องใดๆ พ่อแม่ก็คอยเป็นคนแก้ปัญหาให้ทุกเรื่อง การดำเนินชีวิตก็เป็นไปอย่างเรื่อยๆ ไม่มีความกระตือรือร้นทุกๆ เรื่องจนกลายเป็นนิสัยที่เฉื่อย ไม่สนใจต่อสถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมรอบข้างใดๆ เพราะถือว่าปัญหาต่างๆ จะคลี่คลายด้วยการแก้ปัญหาของพ่อแม่ ผู้ปกครองได้โดยง่าย

นิสัยดังกล่าวที่เกิดขึ้น ไม่ได้เปลี่ยนไปเมื่อเด็กโตขึ้น เขาจะโตขึ้นโดยแบบเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีความอดทน หากไม่อยากให้บุตรหลาน ดำเนินชีวิตโดยสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่

ดังนั้นในวัยเด็ก ซึ่งสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดที่เป็นโรงเรียนแรกของเด็กๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสอนให้เค้ารู้จักกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย หน้าที่ และความรับผิดชอบตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งการปลูกฝังนิสัยดังกล่าวตั้งแต่วัยเด็กจะยากลำบากบ้างในช่วงแรก แต่ผลที่ได้จะคุ้มค่ามากเมื่อเขาโตขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

crying-boy-8672512      แนวโน้มเด็กไทยในยุคสังคมก้มหน้า เนื่องจากหลายๆ ครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยาย เด็กกลายเป็นศูนย์กลางของครอบครัว อยู่กับลุง ป้า น้า อา ทุกคนจะแห่แหนกันดูแล เอาใจเด็กอยากได้อะไรก็ต้องได้ อยากทำอะไรก็ได้ในบ้าน ซึ่งเกินความพอดี จนบ่มเพาะนิสัยที่เฉื่อย เหม่อลอย เอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีความพยายามหรือกระตือรือร้นในการทำอะไรให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง เขาจะไม่มีการลองผิดลองถูก ไม่มีประสบการณ์ของความล้มเหลว รวมไปถึงไม่มีประสบการณ์ของความสำเร็จด้วยเช่นกัน เนื่องจากการทำอะไรก็ต้องมีผู้ใหญ่คอยให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา

สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่ดาบสองคม แต่เป็นดาบเพียงด้านเดียวที่ทำร้ายเด็กโดยตรง เนื่องจากเด็กๆ จะไม่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกอย่างที่รู้เกิดจากการป้อนข้อมูลที่สำเร็จแล้วทั้งสิ้น ไม่มีการคิดวิเคราะห์เหตุผล ไม่มีการฝึกทักษะทางด้านการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากทุกอย่างที่ได้มา ได้มาอย่างง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลาในการรอคอย ขาดการฝึกทักษะด้านการเข้าสังคม เด็กกลุ่มนี้จะมีเพื่อนช้า หรืออาจไม่มีเลย ไม่ถูกฝึกให้รู้จักความผิดหวัง และสุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความไม่รู้สึกภูมิใจในตัวเอง

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ข้างต้นจะส่งผลแย่ลงอย่างรวดเร็วถ้ามีตัวกระตุ้นจากการส่งเทคโนโลยีให้กับเขาเหล่านั้น หากไม่ต้องการทำร้ายบุตรหลานที่เรารัก เราจำเป็นต้องปรับวิธีการเลี้ยงดูบุตรหลาน โดยให้เค้ามีความทักษะรอบด้าน ทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยให้เค้าได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ให้รู้จักการรอคอย รู้จักความผิดหวัง รู้จักใช้เหตุและผล ไม่ใช่การเรียนรู้ผ่านจออย่างแท๊ปเล็ค มือถือ หรือทีวี ที่ได้แต่ความพึงพอใจของเด็กเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

imagesCATKOF32เด็กสมาธิสั้นกับจินตคณิต

จากบทความเรื่องเด็กสมาธิสั้น พอจะมองเห็นภาพหรือคำจัดความของเด็กสมาธิสั้นกันบ้างแล้ว หลาย ๆ ครอบครัวมักคิดว่า เด็กสมาธิสั้นเป็นเรื่องที่ร้ายแรง และหลาย ๆ ครอบครัวก็ไม่เปิดใจยอมรับกับการเป็นเด็กสมาธิสั้นของบุตรหลานของตน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหากพ่อ แม่ ผู้ปกครองเปิดใจยอมรับ และพาเด็กไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้บรรเทาอาการที่เป็นอยู่ให้ทุเลาลง และเพื่อส่งเสริมให้เด็กสามารถจดจ่อมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมที่ทำได้มากขึ้นต่อไป

จินตคณิตก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ปกครองหลาย ๆ คน ซึ่งจินตคณิตเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ฝึกให้เด็กได้มีวินัยในการทำงาน (การบ้านนอกเวลา) ดังนั้นการเรียนจินตคณิตจึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะกับเด็กสมาธิสั้นในกลุ่มที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้น ที่มีอาการไม่รุนแรงนักได้ เนื่องจากเด็กยังมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่บ้าง  แต่จะไม่เหมาะกับเด็กที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษา เนื่องจากในการใช้ลูกคิดนั้น เด็กจะต้องจดจ่ออยู่กับโจทย์และแกน (หลักหน่วย) ในการหาคำตอบแต่ละข้อ แต่เด็กในกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกจะมีสมาธิไม่ครบข้อ ในขณะที่เด็กในกลุ่มที่ได้รับการฝึกมาบ้าง จะเป็นการกระตุ้นให้จดจ่ออยู่กับโจทย์ในแต่ละข้อ จนกลายเป็นแต่ละแถว และในที่สุดก็เป็นหน้า ได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ดังนั้นสิ่งแรกที่จำเป็นต่อครอบครัวของเด็กสมาธิสั้น คือ การเปิดใจยอมรับ และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรักษา และเพิ่มกิจกรรมเสริมสมาธิต่าง ๆ เช่นการเล่นกีฬา โยคะ หรือศิลปะ เป็นต้น เพื่อพัฒนาสมาธิให้ยาวนานต่อเนื่องพอที่จะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากโรงเรียนที่มีมากขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากเด็กไม่ได้เป็นสมาธิสั้น แต่ด้วยวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่กระตุ้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมพัฒนาตนเอง หรือการเลี้ยงดูที่ปล่อยปละละเลย ทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย วิธีการเลี้ยงดูดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบในด้านลบมากกับเด็กในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้เด็กปกติ กลายเป็นเด็กที่ขาดความสนใจในการเรียนรู้ เฉื่อย ไม่พยายามคิด หรือ ทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องใช้ความพยายามเลย ส่งผลให้ไม่ว่าจะมีการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างไร เด็กไทยก็ยังคงเป็นเด็กที่อยู่ในแนวหลัง เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ต่อไป

Tags : , , , , , , , , , | add comments