รู้คิด  รู้เท่าทัน  สร้างสรรค์เทคโนโลยี

ผ่านมาแล้วกับช่วงเวลาแห่งความสุขของเด็กๆ ทั้งการฉลองปีใหม่และเหตุการณ์ล่าสุด คือการเที่ยวเล่นในสถานที่ต่างๆ ในวันเด็กแห่งชาติ สิ่งที่เด็กๆ จะถูกถามมีอยู่เพียง สองคำถามหลักๆ คือคำขวัญวันเด็กประจำปี และโตขึ้นอยากเป็นอะไร

คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ก็คงยังจำได้ว่า วันเด็กในช่วงที่ตนเองเป็นเด็ก ตอบไปว่าอะไร เช่นกัน วัฒนธรรมนี้ก็ยังคงยาวนานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่สิ่งที่แตกต่างออกไป ก็คือคำตอบที่หลากหลายมากขึ้นของเด็กๆ เนื่องจากเด็กในยุคนี้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น แต่อาชีพหลักๆ ยังคงเป็น แพทย์ วิศว และอื่นๆ อีกมากมาย ตามความคิดและจินตนาการของเด็กๆ ซึ่งเมื่อเขาโตขึ้น อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงความฝัน ความคิดได้ตลอดเวลา

เด็กหลายๆ คน ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะเป็นหมอเมื่อโตขึ้น คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะช่วยสนับสนุนให้เขาไปถึงฝั่งฝันให้ได้ การเป็นหมอในปัจจุบัน เราสามารถเลือกเรียนได้ทั้งในภาคภาษาไทย (ภาคปกติ) กับอีกหลักสูตรคือหลักสูตรภาคอินเตอร์ โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก จะเป็นข้อสอบวิชาการเป็นวิชาภาษาอังกฤษ และข้อสอบทักษะทางภาษาอังกฤษ ซึ่งการคัดเลือกจะเป็นการคัดเลือกในรอบแรก (ภาคอินเตอร์) เป็นรอบของ portfolio ส่วนภาคปกติจะอยู่ในรอบสาม

นอกจากเรื่องของช่วงเวลาและหลักสูตรในการเรียนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความเข้าใจกับบุตรหลานว่าการเรียนหมอนั้น ต้องใช้เวลาเรียนถึง 6 ปี นอกจากนี้แล้ว ความรู้ด้นวิชาการจะต้องแข็งมาก เนื่องจากการสอบคัดเลือกนั้น ทุกๆคน ก็ต้องการเป็นหมอและได้เตรียมตัวด้านวิชาการมาเป็นอย่างดี หากเราเตรียมตัวไม่ดี ก็อาจพลาดโอกาสที่จะเป็นหมอได้  นอกจากนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ยังเป็นกำลังสำคัญที่จะคอยผลักดัน และให้กำลังใจกับบุตรหลานให้ทำความฝันให้สำเร็จ เพราะไม่ว่าจะทำอะไรให้สำเร็จ ย่อมต้องมีอุปสรรค จนอาจทำให้เกิดความท้อแท้ได้ ขอให้เด็กๆ มีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ สิ่งที่ตั้งใจก็จะสำเร็จในที่สุด

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

อะไร ……. สำคัญกว่า?

Posted by malinee on Sunday Jun 3, 2012 Under Uncategorized

หากคุณพ่อ คุณแม่สมัยใหม่นึกย้อนกลับไปดี ๆ เมื่อสมัยที่คุณยังเป็นเด็กอยู่นั้น จะพบว่าเด็กในสมัยก่อน กับสมัยนี้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งได้แก่ ขนาดของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ การเลือกโรงเรียน หรือแม้แต่การอบรมเลี้ยงดู

สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพียงต้องการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของวิถีชีวิตในแบบตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของคนไทย ทุกสิ่งทุกอย่างสะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อสื่อสารใช้เวลาสั้นลง จนเกิดเป็นความเคยชินจนลืมนึกถึงบางอย่างที่ไม่สามารถเร่งหรือย่นระยะเวลาได้ด้วยเทคโนโลยี  เช่น เราไม่สามารถเร่งให้เด็กเดินได้ตั้งแต่ 6 เดือนแรก ซึ่งการที่เด็กแต่ละคนจะสามารถเดินได้นั้น ก็ต้องเริ่มมีการพัฒนาเรื่องการทรงตัวจากการนั่ง และการคลานก่อน นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างทางด้านร่างกายก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน หากเด็กยังมีกระดูกหรือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง การเดินก็ถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อตัวเขาเช่นกัน

การยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ของเด็ก  ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน หรือเด็กหลาย ๆ คนอาจต้องการวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นไม่ได้แปลว่าเขามีปัญหาในการเรียนรู้ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ ครู อาจารย์ มักใช้ข้อสอบหรือแบบทดสอบในการวัดผลออกมาในรูปของคะแนน เนื่องจากเป็นผลที่ออกมาเป็นตัวเลขได้แน่นอน สิ่งต่าง ๆ ที่วัดออกมา บางคนอาจเรียกว่าความฉลาด ความเข้าใจ หรือความรู้ แต่โดยรวมเข้าใจได้ว่าคือ “IQ” นั่นเอง

นอกจาก IQ แล้ว งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นก็ยังสนับสนุนว่ายังมีความฉลาดด้านอื่น ๆ อีกที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็ก ซึ่งพอสรุปได้อีก 2 ประเด็นก็คือ EQ  , SQ

เราจะมาพูดถึงทีละประเด็น ซึ่ง Q ต่อมาคือ EQ หลาย ๆ คนทราบดีว่า EQ คือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ หลาย ๆ ครอบครัวที่ปล่อยปละละเลยกับการส่งเสริมการมี EQ ของเด็ก มักทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่รู้จักการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ การส่งเสริมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เกมส์ต่าง ๆ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ ให้รู้จักแพ้ชนะ (เกมส์ที่แนะนำควรเล่นกันในครอบครัว เช่น เกมส์เศรษฐี บันไดงู) ในช่วงแรกของการเล่น เด็กจะไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อสร้างสถานการณ์ขึ้นบ่อย ๆ แล้วมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการที่มีผู้ใหญ่ที่คอยชี้แนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม  การที่เด็กถูกปล่อยให้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ IPad โดยเล่นอยู่คนเดียว จึงมีโอกาสที่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างง่ายดาย

Q ต่อมาคือ SQ (Spiritual intelligence) ความหมายของ SQ ไม่มีบทเฉพาะตัว แต่พอจะกล่าวกว้าง ๆ ได้ว่าคือความฉลาดในความอดทน การประเมินตนเอง การรู้คุณค่าของตนเอง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าความรู้หลายเท่ามาก หากเด็กคนใดที่มีการฝึกในเรื่องของ AQ, SQ, MQ มาเป็นอย่างดี ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขทั้งในหน้าที่การงานและชีวิต เนื่องจากเขาสามารถเปลี่ยนทัศนคติในเชิงลบให้เป็นบวกได้ หรือปล่อยวางสิ่งที่ตนเองไม่สามารถแก้ไขได้ คนที่มี SQ ที่ดีมักเป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี (ซึ่งไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงิน แต่เป็นความรักความอบอุ่น)นั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments