อะไร ……. สำคัญกว่า?

Posted by malinee on Sunday Jun 3, 2012 Under Uncategorized

หากคุณพ่อ คุณแม่สมัยใหม่นึกย้อนกลับไปดี ๆ เมื่อสมัยที่คุณยังเป็นเด็กอยู่นั้น จะพบว่าเด็กในสมัยก่อน กับสมัยนี้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งได้แก่ ขนาดของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ การเลือกโรงเรียน หรือแม้แต่การอบรมเลี้ยงดู

สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพียงต้องการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของวิถีชีวิตในแบบตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของคนไทย ทุกสิ่งทุกอย่างสะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อสื่อสารใช้เวลาสั้นลง จนเกิดเป็นความเคยชินจนลืมนึกถึงบางอย่างที่ไม่สามารถเร่งหรือย่นระยะเวลาได้ด้วยเทคโนโลยี  เช่น เราไม่สามารถเร่งให้เด็กเดินได้ตั้งแต่ 6 เดือนแรก ซึ่งการที่เด็กแต่ละคนจะสามารถเดินได้นั้น ก็ต้องเริ่มมีการพัฒนาเรื่องการทรงตัวจากการนั่ง และการคลานก่อน นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างทางด้านร่างกายก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน หากเด็กยังมีกระดูกหรือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง การเดินก็ถือเป็นสิ่งที่อันตรายต่อตัวเขาเช่นกัน

การยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ของเด็ก  ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน หรือเด็กหลาย ๆ คนอาจต้องการวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นไม่ได้แปลว่าเขามีปัญหาในการเรียนรู้ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ ครู อาจารย์ มักใช้ข้อสอบหรือแบบทดสอบในการวัดผลออกมาในรูปของคะแนน เนื่องจากเป็นผลที่ออกมาเป็นตัวเลขได้แน่นอน สิ่งต่าง ๆ ที่วัดออกมา บางคนอาจเรียกว่าความฉลาด ความเข้าใจ หรือความรู้ แต่โดยรวมเข้าใจได้ว่าคือ “IQ” นั่นเอง

นอกจาก IQ แล้ว งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นก็ยังสนับสนุนว่ายังมีความฉลาดด้านอื่น ๆ อีกที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็ก ซึ่งพอสรุปได้อีก 2 ประเด็นก็คือ EQ  , SQ

เราจะมาพูดถึงทีละประเด็น ซึ่ง Q ต่อมาคือ EQ หลาย ๆ คนทราบดีว่า EQ คือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ หลาย ๆ ครอบครัวที่ปล่อยปละละเลยกับการส่งเสริมการมี EQ ของเด็ก มักทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่รู้จักการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ การส่งเสริมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เกมส์ต่าง ๆ เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ ให้รู้จักแพ้ชนะ (เกมส์ที่แนะนำควรเล่นกันในครอบครัว เช่น เกมส์เศรษฐี บันไดงู) ในช่วงแรกของการเล่น เด็กจะไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อสร้างสถานการณ์ขึ้นบ่อย ๆ แล้วมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการที่มีผู้ใหญ่ที่คอยชี้แนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม  การที่เด็กถูกปล่อยให้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ IPad โดยเล่นอยู่คนเดียว จึงมีโอกาสที่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างง่ายดาย

Q ต่อมาคือ SQ (Spiritual intelligence) ความหมายของ SQ ไม่มีบทเฉพาะตัว แต่พอจะกล่าวกว้าง ๆ ได้ว่าคือความฉลาดในความอดทน การประเมินตนเอง การรู้คุณค่าของตนเอง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าความรู้หลายเท่ามาก หากเด็กคนใดที่มีการฝึกในเรื่องของ AQ, SQ, MQ มาเป็นอย่างดี ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขทั้งในหน้าที่การงานและชีวิต เนื่องจากเขาสามารถเปลี่ยนทัศนคติในเชิงลบให้เป็นบวกได้ หรือปล่อยวางสิ่งที่ตนเองไม่สามารถแก้ไขได้ คนที่มี SQ ที่ดีมักเป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี (ซึ่งไม่ได้หมายถึงฐานะทางการเงิน แต่เป็นความรักความอบอุ่น)นั่นเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ครอบครัวในยุคปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวมีลูกเพียงคนเดียว หรือไม่เกินสองคน ทำให้คนที่เป็นพ่อแม่คาดหวังกับตัวเด็กว่าจะต้องเรียนเก่ง ฉลาด  เคยสังเกตกันหรือไม่ว่าคำว่า อัจฉริยะ หรือ อัจฉริยภาพ เป็นคำที่มักถูกขายออกมาเป็นสินค้าต่าง ๆ มากมาย ทั้งหลักสูตร หรืออุปกรณ์ ของเล่นชนิดต่าง ๆ นับไม่ถ้วน          สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมก็คือ ความต้องการความสะดวกสบาย ใช้เวลาน้อย หรือสิ่งที่ง่ายต่อวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง โดยไม่เคยมองย้อนกลับว่า ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ดำเนินไปโดยผิดธรรมชาตินั้นมันไม่ยั่งยืน เช่นเดียวกับการดูแลเด็ก เราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ด้วยว่าในเด็กแต่ละคนมีธรรมชาติความสนใจ ที่แตกต่างกัน แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือ  พัฒนาการเป็นขั้น ๆ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก หากแต่ทุกวันนี้ เด็กส่วนใหญ่ถูกเลี้ยงมาให้อยู่ในกรอบหรือในธรรมชาติที่พ่อแม่คอยจัดสรรขึ้น เพื่อกระตุ้น(หรือบางครอบครัวอยู่ในขึ้นบีบบังคับ) ให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองเชื่อว่าดี          หากเราลองมองย้อนกลับไป เราจะพบว่าเด็กทุกคนนั้นจะมีการเรียนรู้ที่ดีผ่านการเล่น (ซึ่งไม่ใช่เกมส์คอมพิวเตอร์ หรือการดูทีวี) โดยเด็ก ๆ จะได้ทักษะหลาย ๆ ด้านขึ้นอยู่กับกฎ กติกาของการเล่นในแต่ละครั้ง การเล่นเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก เพื่อให้เกิดภาวะของการสังเกต จดจำ การเข้าร่วมกลุ่ม การรักษากฏ ระเบียบ นอกจากเด็ก ๆ  จะได้ฝึกทักษะแล้ว เรายังได้โบนัสชิ้นพิเศษ นั่นคือความสุขของเขา ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ความเป็นเด็ก นั่นหมายรวมถึงจินตนาการ ที่ไม่มีใครสามารเรียกมันกลับคืนมาได้          หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าจะเลี้ยงลูกให้เป็นอะไรดี ก็ยึดแนวที่ว่าเราจะเลี้ยงลูกให้เขามีความสุข ซึ่งไม่ได้หมายความว่าตามใจในทุก ๆ เรื่อง หากแต่คิดพิจารณาว่าความรัก (ที่ไม่ใช่วัตถุ) และเวลา เรามีให้ลูกเพียงพอแล้วหรือยัง ถ้าทั้งสองอย่างมีแล้ว มันควรจะมีสิ่งที่สามตามมานั่นคือ รอยยิ้ม และ เสียงหัวเราะที่มีความสุข         เมื่อเด็กมีความสุข ได้รับความรักที่สมบูรณ์มาจากครอบครัว เขาก็จะมีความกระตือรือร้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ (ธรรมชาติของเด็ก) เมื่อโตขึ้น เขาก็จะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี หรือมีวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองต่อไป หากในทางกลับกัน เมื่อเราอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาแล้ว เสียงหัวเราะ หรือรอยยิ้มไม่เกิดขึ้น  นั่นเป็นสัญญาณเตือนภัยที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง นั่นอาจเป็นเพราะตัวเราหรือลูกเรามีกำแพงบางอย่างกั้นไว้ไม่ให้สื่อถึงกันได้  สัญญาณนี้เป็นเหตุเตือนภัยว่าพ่อแม่ต้องหยุดพฤติกรรมบางอย่าง แล้วปรับตัวเองเพื่อให้ความสุขนั้นกลับมา หากมิฉะนั้น ภาษิตที่ว่า เลี้ยงลูกได้แต่ตัวก็จะเกิดขึ้นจริง เพราะใจเขาพยายามที่จะหาคนที่รักเขาตลอดเวลา    นั่นก็สรุปได้ว่า การจะเลี้ยงลูกให้ได้ดี นั้น ต้องทำให้เขามีความรัก ความอบอุ่น ที่เต็มที่ ซึ่งควรคู่มากับความสุข เมื่อเขารู้สึกเต็มทางจิตใจ อารมณ์ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็จะเป็นอารมณ์เชิงบวก นั่นเอง

ครูจา

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

Tags : , , , , | add comments