จากระบบการศึกษาไทยที่หลายๆ ครอบครัวเกิดความไม่เชื่อมั่น ทั้งในเรื่องขององค์ความรู้ ผู้สอ น อีกทั้งอัตราการแข่งขันเพื่อให้ได้เรียนโรงเรียนดังๆ หรือในโรงเรียนกระแสทั่วไป หลายๆ ครอบครัวมักพูดว่าไปเรียนอินเตอร์บุตรหลานจะได้ไม่ต้องแข่งขันมาก ไม่อยากให้บุตรหลานเครียด ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ เลือกโรงเรียนในแนวของโรงเรียนอินเตอร์ ที่มีจำนวนมากขึ้นในช่วงทศวรรษหลัง แต่ในการส่งบุตรหลานเรียนในโรงเรียนอินเตอร์ พ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบ และอาจต้องมีการตรวจสอบวุฒิการศึกษา เมื่อเทียบกับกระทรวงของบ้านเราด้วย หากยังต้องการให้บุตรหลานเรียนต่ออุดมศึกษาในเมืองไทย

หลักสูตรของโรงเรียนอินเตอร์หลักๆ จะแยกออกเป็น 2 แนวใหญ่ๆ คือแนวบูรณาการ ซึ่งจะใช้ curriculum อยู่ 2 แนว คือแบบ British Curriculum และในแนว American Curriculum ซึ่งเป็นแนวการเรียนที่เน้นความพร้อมของเด็ก และไม่เร่งให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการขีดเขียน มุ่งเน้นการเรียนแบบ well rounded (การเรียนรู้รอบด้าน) เนื่องจากสังคมของประเทศดังกล่าวมุ่งเน้นให้เกิดงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีการประยุกต์ชิ้นงานจากความคิดความสามารถรอบด้านที่สะสมมา และแนวทางการเลี้ยงดูบุตรหลานมุ่งเน้นให้เด็กคิดอย่างอิสระ ส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้งให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เปิดโอกาสให้เด็กได้ออกเดินทาง ทัศนศึกษา จัดกิจกรรมสันทนาการไปตามที่ต่างๆ โดยมีคู่มือ แผนที่ของสถานที่ มีการค้นคว้าข้อมูลที่ตนเองสนใจ พร้อมกับการมีคำถามปลายเปิดในการเรียนรู้ทุกๆ กิจกรรมโดยที่คำถามต่างๆ เหล่านั้น เด็กๆ จะต้องให้เหตุผลในคำตอบของตนเอง คำตอบไม่มีผิด ไม่มีถูก เพื่อส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำสิ่งต่างๆ นอกกรอบที่เรียนมา เป็นเหตุให้เราจะได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ จากประเทศดังกล่าวเสมอ ส่วนในอีกแนวทางคือเป็นแนวทางของการเร่งเรียน นั่นคือแนวทางของ Singapore ซึ่งเน้นทั้งด้านภาษา (อังกฤษและจีน) คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เนื่องจากประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่เน้นสร้างบุคลากรมนุษย์ เนื่องจากทรัพยาการทางธรรมชาติไม่ได้อุดมสมบูรณ์แบบบ้านเรา จึงเน้นใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้ใช้ความรู้ที่จะใช้ทรัพยาการธรรมชาติ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเบนเข็มไปในแนวของโรงเรียนอินเตอร์ มักคาดหวังว่าลูกจะเป็นเด็กที่กล้าคิด กล้าแสดงออก มีความสามารถด้านภาษา นอกจากนี้แล้วพ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนจึงปล่อยการเรียนให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงฝ่ายเดียว จนไม่รู้ว่าบุตรหลาน ได้ความรู้ ความมั่นใจ ความคิดจากโรงเรียนดังกล่าวหรือไม่ หลงลืมไปว่าภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแรกของเรา การเรียนการสอนในแนวของโรงเรียนอินเตอร์จะสอนในแนวที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกที่เค้าเรียกว่า Mother tongue หรือ EFL (English First Language) แนวการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะแตกต่างจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สาม แต่แน่นอนเด็กๆ ที่เรียนจะได้เรื่องการสื่อสาร การฟัง แต่เรื่องของการอ่าน การเขียนจะต้องฝึกมากกว่าเด็ก EFL แน่นอน  นอกจากเรื่องของภาษาแล้ว ยังมีเรื่องของวิธีการเลี้ยงดู คนไทยหากมีศักยภาพเพียงพอที่จะส่งบุตรหลานเรียนโรงเรียนดังกล่าว เด็กเมื่ออยู่บ้าน ไม่ต้องคิดเอง ทำอะไรเอง กิจกรรมทุกอย่างมีคนคอยคิด คอยหยิบยื่นความช่วยเหลือให้อยู่แล้ว ทำให้กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์และปลูกฝังให้คิดด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ต้องเริ่มจากที่บ้านจนกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวเค้า ไม่ใช่สิ่งที่จะสอนกันได้เพียงในเวลาเรียน ซ้ำร้ายกว่านั้นทำให้กลายเป็นคนเฉื่อย ไม่พยายาม ไม่มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำอะไรให้สำเร็จ เพราะทุกอย่างที่ได้รับมาล้วนถูกหยิบยื่นแบบไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย

จากเรื่องของวิธีคิด มาพูดถึงเรื่องวิชาการ เด็กที่เรียนโรงเรียนอินเตอร์ส่วนใหญ่จะไม่ชอบการเรียนคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ เนื่องจากทั้งสองวิชาเป็นวิชาที่มีคำตอบตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่อาจมีวิธีคิดที่หลากหลายได้ ซึ่งแตกต่างจาก Literature ซึ่งเป็นวิชาที่อิสระ ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่ขึ้นกับทัศนคติ และวิธีคิดของแต่ละคน หากพ่อแม่ ผู้ปกครองเลือกโรงเรียนในแนวอินเตอร์ให้บุตรหลานแล้ว ต้องมองยาวๆ ไปจนถึงอุดมศึกษา หากยังคงส่งให้เรียนในประเทศไทย ซึ่งก็ยังมีทางเลือกของการเรียนในแนวของอินเตอร์ แต่สิ่งที่สำคัญคือ โรงเรียนดังกล่าวได้รับการรับรองจากกระทรวงบ้านเราหรือไม่ และสิ่งที่ต้องศึกษาคือ ในแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยจะมี requirement ที่เด็กจะต้องสอบเพื่อยื่นเป็น portfolio หรือ profile เพื่อให้ได้คณะและมหาวิทยาลัยที่ต้องการ ซึ่งก็จะหนีไม่พ้น SAT , TOEFL , IELT หรือหากต้องการไปในแนวของแพทย์ก็จะต้อง Apply BMAT และพวก SAT Subject ต่างๆ ต่อไป

อย่าให้บุตรหลาน สุดท้ายมีข้อได้เปรียบเพียงภาษาเพียงอย่างเดียว มันน่าเสียดายกับเวลา ศักยภาพในตัวเด็ก และเงินที่ทุ่มเทลงไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

 เรียนอะไรดี

Posted by malinee on Monday Aug 28, 2017 Under เกร็ดความรู้

เนื่องจากในปีการศึกษา 2561 จะเป็นปีแรกที่มีการรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาแบบใหม่ ที่เรียกว่า ระบบ TCAS (Thai University Central Admission System)  ซึ่งเป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเป็นรอบๆ โดยมีทั้งสิ้น  5 รอบและในแต่ละรอบจะมีการกำหนดวัน Clearing house ซึ่งเป็นการตัดสิทธิ์สำหรับเด็กที่ได้เลือกคณะที่ตนเองได้เลือกแล้ว เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับผู้อื่น และในปัจจุบันก็มีสาขาวิชาที่ให้เลือกเรียนมากมาย

การเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนนั้น หลายๆ กระแสก็ให้เลือกตามแนวโน้มของโลกในอนาคต เนื่องจากนักวิเคราะห์หลายๆ สังกัดก็มีการบ่งชี้ว่ามีหลายๆ อาชีพที่จะไม่เป็นที่ต้องการ หรือหายไปในที่สุด ด้านนักเศรษฐศาสตร์ก็วิเคราะห์ว่า แนวโน้มในอนาคตคนทำงานควรมีอาชีพมากกว่า 1 อย่าง การวิเคราะห์ดังกล่าว ทำเอาทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง และตัวเด็กเองเกิดความสับสน และลังเลใจ ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนอะไรดี หรือหาอาชีพที่สองได้อย่างไร

การเลี้ยงดูของพอแม่ผู้ปกครองในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ นั่นคือ แบบที่ปล่อยให้เด็กเรียนรู้ไปตามวัย โดยปล่อยหน้าที่เรื่องของการเรียนให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พาบุตรหลานเรียนเสริมในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เด็กมีความโดดเด่นทางด้านวิชาการ สามารถสอบแข่งขันในสนามต่างๆ ได้ทุกสนาม กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีการพาบุตรหลานส่งเสริมในกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียน เช่นด้านกีฬา ดนตรี ต่อเนื่องจนเด็กมีทักษะในการเรียนเสริมที่ดี

ลักษณะการเสริมความรู้ และทักษะของครอบครัวในแต่ละกลุ่มจะทำให้เด็กมีทักษะที่แตกต่างกัน เด็กในกลุ่มแรก เด็กจะเรียนรู้ได้จากโรงเรียนเพียงอย่างเดียว เด็กในกลุ่มที่ 2 จะเป็นเด็กที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และเขาเหล่านั้นก็จะสามารถเลือกเรียนในสาขาที่เขาต้องการได้ ส่วนเด็กในกลุ่มที่ 3 อาจเป็นเด็กที่มีผลกาเรียนในระดับกลางๆ แต่มีทักษะด้านอื่นที่เรียนมาเพิ่ม จะสามารถนำทักษะที่ได้เรียนมาเป็นอาชีพรองต่อไป

พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจกังวลว่าแล้วในอนาคตเค้าจะสามารถดูแลตนเอง ได้หรือไม่ หากวันนี้เราทำหน้าที่ในการดูแล อบรม เลี้ยงดูเขาเหล่านั้นให้เป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของตนเอง ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลแทนเขาเลย

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

หากใครได้ติดตstudyingามข่าวการศึกษา หรือข่าวทั่ว ๆ ไป ตอนนี้ก็คงได้ยินคำว่า แอดมิชชั่น กัน หลาย ๆ คนอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบแอดมิชชั่นเป็นอย่างดี แต่หลาย ๆ คน ก็ยังงง ๆ กับการสอบดังกล่าวว่าคืออะไร

แอดมิชชั่น (Admission) เป็นระบบกลางที่คัดเลือกนักเรียนนักศึกษาเข้าสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นการสอบที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องสอบและนำคะแนนที่ได้มายื่นเพื่อเลือกคณะที่ตนเองจะเข้าศึกษาอีกที

ระบบแอดมิชชั่นนี้ บริหารงานโดย สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า สทศ. โดยที่หน้าที่ของสทศ. คือพัฒนาข้อสอบเพื่อวัดและประเมินมาตรฐานการศึกษา วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแต่ละคน สทศ.จะรับผิดชอบการประเมินผลด้านการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนหลักสูตรไทย ในประเทศไทย หลายครั้งด้วยกันคือ ป.3, ป.6, ม.3, และ ม.6 แต่ในการสอบแอดมิชชั่นนั้นจะนับกันเฉพาะ การสอบวัดผลในระดับชั้น ม.6 เท่านั้น

ยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง

และยังมีอีก 1 องค์การที่จะไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้วางมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆในประเทศไทย เรียกง่ายๆว่า กระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตร โรงเรียนมีหน้าที่สอนนักเรียนตามหลักสูตร และสทศ.มีหน้าที่สอบวัดผลโรงเรียนและนักเรียนแต่ละคนตามหลักสูตรนั่นเอง

คราวนี้เรากลับมาที่การสอบแอดมิชชั่นว่า เด็กนักเรียนจะต้องสอบข้อสอบดังต่อไปนี้

1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว แนวคิดของ O-NET คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆเท่านั้น

2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก

3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเด็กในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องมีการเตรียม ตัวกับการสอบคัดเลือกดังกล่าว แต่ในปัจจุบันนี้สถาบันอุดมศึกษาหลาย ๆ แห่งก็เปิดรับสมัครสอบตรง โดยไม่อิงคะแนนแอดมิชชั่น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีการเตรียมตัวในการสอบเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมและมีการวางแผนร่วมกับบุตรหลานของตนว่าจะเรียนในสาขาวิชาใด หากคุณพ่อคุณแม่มีการวางแผนที่ดี ก็จะทำให้บุตรหลานมีอนาคตที่ดีเช่นกัน ดังคำที่ว่า “If your today is good not only your past was good but your future also good.”

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments