images (1)ในการดูแลเด็กๆ ผู้ปกครองหลายๆ คนมักมีการศึกษาถึงการดูแลเลี้ยงดูจากรุ่น คุณปู่คุณย่า จากผู้มีประสบการณ์ หรือแม้แต่จาก website ต่างๆที่มีข้อมูลทางจิตวิทยามากมาย ซึ่งข้อมูลทางจิตวิทยาของทางฝั่งตะวันตกบางข้อมูล ก็แตกต่างจากข้อมูลจิตวิทยาในฝั่งตะวันออกอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม การเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน

สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือเรื่องของการส่งเสริมจุดเด่น และการแก้ไขจุดด้อยในตัวเด็ก  นั่นคือนักจิตวิทยาในฝั่งของชาวตะวันตก มักกล่าวว่า การแก้ไขจุดด้อยในเด็ก เปรียบเหมือนกับการกลบพื้นที่ที่เป็นหลุม ซึ่งให้ผลไม่คุ้มค่า ต้องเสียทั้งเวลาและทรัพยาการมากมาย เมื่อเทียบกับการส่งเสริมจุดเด่นในเด็ก ซึ่งเปรียบได้กับการทุ่มถมเนิน ที่ใช้เวลาและทรัพยากรที่น้อยกว่าการทุ่มถมหลุมมาก แต่ในฝั่งของชาวตะวันออกของบ้านเรานั้น นักจิตวิทยามักส่งเสริมให้กลบหลุมเพื่อให้มีพื้นที่ราบให้มากที่สุด มากกว่าการถมเนินให้สูงขึ้น

ข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดนี้ อาจทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความสับสนว่า เราจะเลี้ยงดูบุตรหลานไปในแนวทางใด ก่อนอื่นต้องมาพิจารณาว่าวัฒนธรรมการเลี้ยงดูของเรา เหมาะกับการเลี้ยงดูแบบใด แบบตะวันตกนั้น พ่อ แม่ ส่วนใหญ่จะสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานตนเองว่า เขามีอัจฉริยภาพในด้านใด นอกจากนี้ยังมีการบันทึก หรือทดลองอัจฉริยภาพของบุตรหลานจนแน่ชัด หลังจากนั้นก็มีการปรึกษากับนักจิตวิทยาที่เป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ไม่ลังเลที่จะส่งเสริมอัจฉริยภาพให้กับบุตรหลานอย่างเต็มที่ และมักลืมเรื่องจุดด้อยไปเลย แต่การเลี้ยงดูของชาวตะวันออกที่ พ่อแม่ผู้ปกครอง มีเวลาอยู่กับเจ้าตัวน้อยเพียงช่วงเวลาสั้นๆ การแสดงอัจฉริยภาพของเด็ก ก็ไม่แน่ชัด ไม่มีการติดตามอัจฉริยภาพ ปล่อยให้เด็กเติบโตตามธรรมชาติ จึงไม่มีโอกาสที่จะได้ส่งเสริมอัจฉริยภาพอย่างต่อเนื่อง ส่วนจุดด้อยนั้น มักมีการส่งสัญญาณจากทางโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น หากคุณพ่อคุณแม่มีความเห็นที่แตกต่าง เข้ามาแชร์กันได้นะคะ

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , | add comments

          จากที่กล่าวมาแล้ว ก็จะพบว่าไม่ว่าจะเป็น IQ (ความฉลาด สติปัญญา) หรือ EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) ต่างก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ดังนั้นเพื่อพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านอารมณ์และสติปัญญา เด็ก ๆ ควรจะได้รับการส่งเสริมทั้งสิ้น

นอกจาก 2Qs ดังกล่าวแล้ว สิ่งที่สำคัญลำดับต่อไป นักวิชาการมักเรียกว่า “AQ “ (Adversity quotient) ซึ่งหลาย ๆ คนเข้าใจว่า AQ เป็นเพียงความมุ่งมั่นในการทำให้สำเร็จ ความพยายามที่จะทำสิ่งที่ท้าทาย แต่ AQ หมายรวมถึง การเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส หรือ แม้กระทั่งการรู้จักยอมรับความผิดหวัง

จากคำจำกัดความต่าง ๆ ข้างต้น เราสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม AQ ได้ ตัวอย่าง การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงก่อนวัยเรียน เราสามารถหากิจกรรมที่ท้าทายความสามารถให้เหมาะกับอายุได้ เช่นการให้เด็กร้อยเชือกผ่านชิ้นงานในแบบต่าง ๆ โดยมีต้นแบบให้ และเพิ่มความยากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความสนุก เมื่อได้ทำกิจกรรมที่ยากขึ้น  ก็เป็นการส่งเสริมความพยายามที่จะทำให้สำเร็จได้  หรือเมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็ก ๆ ก็จะต้องเข้าเล่น หรือทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน ซึ่งในการเล่นย่อมจะมีผู้แพ้ และผู้ชนะ ทำให้เขาได้เรียนรู้ถึงความผิดหวังบ้าง และเมื่อเขาโตขึ้น เขาก็สามารถยอมรับ และเผชิญกับปัญหาได้มากขึ้น

แต่ในทางกลับกัน หากครอบครัวใดไม่เคยส่งเสริมพัฒนาการทาง AQ อาจเป็นเพราะไม่รู้ว่าการตามใจ หรือให้ความช่วยเหลือจนเกินขอบเขตเป็นการบ่อนทำลายภูมิต้านทานเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ถึงความลำบาก ความพยายาม ความผิดหวัง หรือแม้กะทั่งการยอมรับในความพ่ายแพ้ เมื่อเขาเหล่านั้นโตขึ้น เข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้น โดยไม่มีใครสามารถปกป้องเขาได้อีก เขาจะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง จนมีโอกาสที่จะทำอะไรโดยขาดสติยั้งคิดได้ หากวันนี้เรายังคงพอมีเวลา เราควรหันกลับมาส่งเสิรมพัฒนาการทางด้านนี้ เพื่อให้เขาเติบโตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments