ในปัจจุบันถือว่าเป็นโลกแห่งความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะหาอะไรจะทำอะไรก็ง่ายดาย เช่นเดียวกัน ที่เรียนของลูกก็จะยากอะไร มีให้เลือกอยู่เยอะแยะไม่ว่าจะเรียนอะไร เดินสยามมีทุกชั้น ทุกวิชา

จริงอยู่ที่สถาบันกวดวิชามีมากมายหลากหลาย มีทั้งเรียนเดี่ยว เรียนกลุ่ม หรือแม้กระทั่งรับสอนตามบ้าน  ถ้าลูกเรียนวิชาไหนไม่รู้เรื่องก็ส่งไปเรียนตามสถาบันต่างๆ บางครั้งปัญหาของความไม่เข้าใจก็ได้รับการแก้ไข  แต่หลายๆ ครั้งปัญหาไม่อาจแก้ไขได้ บางครั้งปัญหาที่ต้องการการแก้ไข ไม่ใช่ปัญหาของการเรียน แต่เป็นปัญหาทางด้านพฤติกรรม

ทำไมครูถึงบอกว่าปัญหาของการเรียนเกี่ยวกับปัญหาทางพฤติกรรม เนื่องจากเด็กหลายๆ คนถูกบ่มเพาะนิสัยที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเกิดอะไรรอบตัว ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง จากการที่คิดแทน ตัดสินใจแทน หรือแม้กระทั่งการบ้าน รายงานแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นหน้าที่ของตนเอง ร่วมกับการส่งความสุขให้กับบุตรหลานผ่านเกมส์ ทีวี การ์ตูน ซึ่งเป็นข้ออ้างว่าต้องการให้เขาได้พักสมองบ้าง

การบ่มเพาะดังกล่าวให้เวลาเพียงไม่ถึงสามเดือน เด็กก็จะมีบุคลิกเฉื่อย ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ มีโลกส่วนตัว กลายเป็นเด็กเรียนรู้ช้าในที่สุด ซึ่งเป็นเหตุให้ผลการเรียนตกต่ำลงเรื่อยๆ กว่าสัญญาณดังกล่าวจะส่งถึงผู้ปกครอง ก็ต้องใช้เวลานาน เนื่องจากเด็กที่มีบุคลิกดังกล่าวไม่ใช่เด็กที่ป่วน หรือไม่เชื่อฟังครู  เป็นเด็กที่เงียบ เฉย ซึ่งการเรียนในโรงเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ครูจะเข้าใจว่าเป็นบุคลิกส่วนตัว ก็ปล่อยผ่านไป

เหตุการณ์ดังกล่าวเหล่านี้ เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ทางสถาบันมักถูกตั้งคำถามอยู่บ่อยครั้งว่าจะแก้อย่างไร หรือเรียนอะไรดี จะช่วยได้ ครูตอบได้เพียงแต่ ไม่มีวิชาใดแก้พฤติกรรมที่บ่มเพาะจากทางบ้านได้ นอกจากการแก้พฤติกรรมในบ้านด้วยตัวของพ่อแม่ผู้ปกครองเองเท่านั้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

59193aa2a373c419a7100878787f573e_108aacefc3e090fb4ab96fe480a9bd-clipart-tired-person_350-346                    ช่วงนี้เดือนหน้าจะเป็นช่วงของการสอบคัดเลือกประจำทุกปี น้องๆ หลายๆ คนก็ต้องให้เวลาในการเตรียมตัวกับตัวเองในการอ่านหนังสือ ลดเวลาเล่นกันก่อนนะคะ

หลายๆ ครั้งผู้ปกครองมักบ่นว่า บุตรหลานของตนไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง เฉื่อย ไม่มีความกระตือรือร้น สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากการเลี้ยงดูบุตรหลานในวัยเด็ก สาเหตุที่ทำให้เด็กไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง เนื่องมาจากในวัยเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองคอยปกป้องดูแลเอาใจใส่จนเกินพอดี ไม่ให้บุตรหลานมีโอกาสที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ เมื่อเกิดปัญหาไม่ว่าเรื่องใดๆ พ่อแม่ก็คอยเป็นคนแก้ปัญหาให้ทุกเรื่อง การดำเนินชีวิตก็เป็นไปอย่างเรื่อยๆ ไม่มีความกระตือรือร้นทุกๆ เรื่องจนกลายเป็นนิสัยที่เฉื่อย ไม่สนใจต่อสถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมรอบข้างใดๆ เพราะถือว่าปัญหาต่างๆ จะคลี่คลายด้วยการแก้ปัญหาของพ่อแม่ ผู้ปกครองได้โดยง่าย

นิสัยดังกล่าวที่เกิดขึ้น ไม่ได้เปลี่ยนไปเมื่อเด็กโตขึ้น เขาจะโตขึ้นโดยแบบเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีความอดทน หากไม่อยากให้บุตรหลาน ดำเนินชีวิตโดยสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่

ดังนั้นในวัยเด็ก ซึ่งสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดที่เป็นโรงเรียนแรกของเด็กๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสอนให้เค้ารู้จักกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย หน้าที่ และความรับผิดชอบตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งการปลูกฝังนิสัยดังกล่าวตั้งแต่วัยเด็กจะยากลำบากบ้างในช่วงแรก แต่ผลที่ได้จะคุ้มค่ามากเมื่อเขาโตขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 เดือน ก็มีข่าวการเสียชีวิตของเด็ก ๆ ติดต่อกัน 3 คน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเด็ก พิจารณาถึงสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วหาวิธี หรือหนทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ความปลอดภัยของเด็ก ๆ ที่ผู้ปกครองฝากไว้ในมือของโรงเรียน ก็จะมีมากขึ้น

girls-playing-basketball-black-white      จากเหตุการณ์ล่าสุดที่น้องนนท์ หลังจากได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จุฬาเป็นเวลา 3 เดือน ที่ล่วงลับไป มันทำให้เกิดคำถามขึ้นหลายฝ่ายว่า เด็ก 2 คนที่ร่วมกันรุมทำร้ายน้องนนท์นั้น เกิดเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการเลี้ยงดูของครอบครัว(ที่ปัจจุบันมักเป็นครอบครัวเดี่ยว ที่มีลูกเพียงคนเดียว) หรือมีเหตุปัจจัยอื่น เช่น เกมที่ไม่ได้รับการคัดกรองจากผู้ปกครอง แฝงด้วยความรุนแรง กันแน่ เราไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะครู หรือทางโรงเรียนเท่านั้นที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อตัวเด็ก แต่หมายรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพฤติกรรมของตัวเด็ก ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมเด็กที่แสดงออกมา นอกจากให้กำเนิดเขาเหล่านั้นแล้ว ยังต้องมีหน้าที่เลี้ยงดู อบรม บ่มนิสัย เพื่อให้เขาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมในภายภาคหน้า

หลาย ๆ ครอบครัว ทั้งพ่อและแม่ให้ความสำคัญกับปากท้อง และความมีหน้ามีตาในสังคมมากกว่าการให้เวลาในการอบรม เลี้ยงดูบุตรหลาน คอยชี้นำในสิ่งที่ดี มีคุณธรรมให้เป็นคนดีในสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการทำงานไม่สำคัญ แต่เป็นเรื่องของการแบ่งเวลา ให้มีความเหมาะสม  พ่อแม่มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลบุตรหลานเมื่อเขาอยู่ที่บ้าน ส่วนครูก็มีหน้าที่อบรมบ่มนิสัย ให้ความรู้กับเด็กนักเรียนเมื่อเขาอยู่ที่โรงเรียน หากมีการรับ-ส่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี เชื่อว่าสังคมเราก็น่าอยู่ขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

สองมือแม่นี้ที่หายไป

Posted by malinee on Tuesday Sep 20, 2011 Under Uncategorized

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศตึงเครียด จะมีเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้นที่ไม่ต้องกังวล แต่สังคมโดยรวม หรือประชากรส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ กับความฝืดเคือง ภาวะเงินเฟ้อ ข้าวยากหมากแพง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะที่จะต้องดิ้นรนเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งอาจทำได้โดยการทุ่มเทกับงานให้มากขึ้น เพื่อโอกาสก้าวหน้าทางด้านการงาน ทำงานพิเศษ นอกเวลา ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวส่งผล 2 ด้าน นั่นคือ การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และ ผลทางด้านครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่เป็นครอบครัวเดี่ยว เนื่องจาก เมื่อพ่อแม่ให้ความสำคัญกับหน้าที่การงานมาก ก็จะทำให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูลูกน้อยลง เป็นสาเหตุของปัญหาสังคม จริยธรรม ที่เราได้ยินได้ฟังจนกลายเป็นความเคยชิน จนไม่มีใครมีสำนึกที่จะช่วยแก้ปัญหา
ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมเมื่อสืบสาวกันลึก ๆ มักเกิดจากปัญหาพื้นฐานทางครอบครัวเป็นหลัก ความรุนแรงของปัญหานั้น ๆ ขึ้นอยู่กับว่า คนที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองนั้นตระหนักหรือรับทราบถึงปัญหาหรือไม่ มีสำนึกถึงหน้าที่ของความเป็นบุพการีมากน้อยเพียงใด ภาพรวมของผู้เป็นพ่อแม่ปัจจุบัน นิยมผลักเด็กออกจากตัวเองโดยไม่รู้ตัว แล้วมีคำพูดที่เป็นข้อแก้ต่างตลอดเวลาว่า ไม่มีเวลา ต้องทำงาน ไม่แม้กระทั่งหาข้อมูล (ที่แสนจะง่ายดาย และสะดวกสบาย) เกี่ยวกับพฤติกรรมในแต่ละวัย บางครอบครัวไม่มีเวลาถึงขนาดไม่รู้ด้วยซ้ำว่าลูกหลานของตนมีพฤติกรรมอย่างไร มีการเรียนย่ำแย่ หรือดีแค่ไหน ปล่อยให้หน้าที่ดังกล่าวเป็นของทางโรงเรียน และโรงเรียนกวดวิชา ส่วนตนเองมีหน้าที่หาปัจจัยต่าง ๆ มาบำรุง บำเรอ ความสุข ความสะดวกสบาย หรือหน้าตาทางสังคม โดยไม่เหลียวแลหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัย การขัดเกลาจิตใจ จึงทำให้เด็กมีความเชื่อ และค่านิยมผิด ๆ โดยขาดการชื้ทางที่ถูกที่ดี
ครอบครัวที่มีพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น เมื่อดูภายนอกแล้ว เป็นครอบครัวที่มีความสุข สมบูรณ์ ก็เหมือนกับผลไม้ที่เน่าข้างใน โดยที่ผิวด้านนอกยังดูดีอยู่ เราจะไม่รู้เลยจนกว่าเราจะไปสัมผัส จับต้องมัน แล้วเจ้าหนอนตัวเล็ก ๆ ก็จะชอนไชออกมาพร้อมกลิ่นเหม็น เช่นเดียวกับปัญหาเล็ก ๆ ภายในครอบครัว หากเกิดในช่วงสั้น ๆ หากรู้แล้วสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ก็สามารถกำจัดหนอนน้อยเพียงไม่กี่ตัวไปได้จากเนื้อทั้งชิ้น แต่ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่รับรู้ และไม่พยายามที่จะหาสาเหตุของปัญหา ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อ ผูกจากปมหนึ่งไปอีกปมโดยไม่สิ้นสุด จนสุดท้ายปัญหาต่าง ๆ ไม่สามารถคลี่คลายได้ ก็ปล่อยไปตามยถากรรม เมื่อครอบครัวซึ่งถือเป็นฐานของบ้านเมือง หากฐานเองยังไม่มีความมั่นคงแข็งแรงแล้ว ไหนเลยจะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับตึกทั้งหลังได้เล่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวต่าง ๆ เหล่านี้จะเบาบางลงถ้า พ่อแม่ให้ความสำคํญกับหน้าที่ของความเป็นพ่อแม่อย่างแท้จริง มิฉะนั้นก็รอวันที่ประเทศชาติจะล้มลงด้วยมือของทุกคนที่ไม่สำนึกในหน้าที่ของตนเอง

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

การสร้างวินัยให้กับลูกรัก
      การสร้างกิจวัตรและแบบแผนของอุปนิสัยให้กับเด็กนั้นเป็นเป้าหมายสำคัญอีกประการที่คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังให้กับลูกรักหลาย ๆ ครอบครัวมักวนกลับไปกลับมาระหว่างกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านมักยอมแพ้กับการต่อต่านของลูกรัก อีกทั้งความรู้สึกกระวนกระวายกับการบ้าน ความขัดแย้งกันเองระหว่างพ่อ-แม่ และความล่าช้าเมื่อต้องเปลี่ยนสถานที่ที่มีการนัดหมายกัน ความยากลำบาก หรือความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้ลูกรักขาดการพัฒนาในเรื่องของกิจวัตร หรืออาจเป็นวินัยติดตัวจนกระทั่งเด็กนั้นโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมันอาจส่งผลไปถึงเรื่องของการพึ่งพาตนเองและเรื่องความรับผิดชอบ ซึ่งในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นเราสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในการฝึกให้เด็กเกิดวินัยในตนเองนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพ่อ-แม่เช่นกัน การฝึกให้เด็กมีแบบแผนในการดำเนินชีวิตนั้นเราจะต้องฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปในแต่ละวัย โดยแบ่งเป็นวัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
– วัยทารก เด็กจะสามารถเรียนรู้ถึงแบบแผนของการให้อาหาร , การนอน และการเล่นที่เป็นเวลา
– วัยเตาะแตะ ได้เรียนรู้แบบแผนของการตื่นนอน , แบบแผนของอาหารว่าง และเวลาในการทำความสะอาด
– ก่อนวัยเรียน จะได้เรียนรู้ถึงแบบแผนของกิจกรรม ,การฟัง ,การนั่ง และเวลานอน
– วัยประถม เรียนรู้แบบแผนของงานเล็ก ๆ , แบบแผนของการบ้าน และการอยู่ร่วมกันในสังคม
        ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ผ่านการเรียนรู้ โดยที่มีพ่อแม่เป็นครูผู้ฝึก ซึ่งต้องมีความอดทนและเข้าใจในตัวเด็กด้วย
         การฝึกวินัยและกิจวัตรให้กับเด็กในวัยประถมนั้นมี 4 ประการหลัก ๆ ด้วยกันดังนี้
– กิจวัตรยามเช้า ซึ่งหมายถึงเวลาในการตื่นนอน ,การแต่งตัว , การรับประทานอาหารเช้า , การทำความสะอาดร่างกาย
– แบบแผนในโรงเรียน ทางโรงเรียนและครูจะเป็นผู้ฝึกแบบแผนให้กับเด็ก ซึ่งมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทางโรงเรียน
– แบบแผนหลังเลิกเรียน ซึ่งแบบแผนดังกล่าวจะรวมไปถึง กีฬา อาหารว่าง และการทำการบ้านด้วย
– กิจวัตรในเวลากลางคืน ซึ่งกิจวัตรดังกล่าวรวมถึงอาหารค่ำ การทำการบ้าน อาหารว่าง การทำการบ้าน การทำความสะอาดร่างกาย และการนอน
        ซึ่งในการสร้างวินัยให้กับลูกนั้น เขาจะต้องรู้สึกปลอดภัยและสะดวกสบาย ดังนั้นพ่อ-แม่ต้องมีการฝึกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้สำเร็จจะมีแนวทางดังนี้
1. การสร้างแบบแผนของตนเอง โดยปกติทุก ๆ คนจะมีแบบแผนในการดำเนินชีวิตของตนเองเนื่องจากภาระหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรจะมีการสร้างแบบแผนในชีวิตประจำวันของเราเองซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ลูกมีแบบแผนในการใช้ชีวิตในแบบของเขา
2. สร้างความคาดหวังและกิจวัตรภายในบ้าน  มีการปรึกษากับลุกเพื่อให้เขาได้ออกความคิดเห็นว่าสิ่งใดควรจะเป็นกิจวัตรในยามเช้า , กิจวัตรหลังเลิกเรียน และกิจวัตรในตอนกลางคืน ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นและฝึกให้เด็กนั้นมีวินัยไปจนโต
3. กระตุ้นให้เด็กมีการวางแผน และเน้นย้ำให้เด็กได้รู้ว่าชีวิตจะดำเนินไปได้ง่ายขึ้นถ้ามีวินัย
4. ทบทวนแบบแผนในโรงเรียน เด็กมักมีการต่อต้านและเบื่อหน่ายกับแบบแผนในโรงเรียน แต่ต้องมีการอธิบายให้เขาเข้าใจว่ามันจะเป็นการดีถ้าเขาสามารถจัดเวลาในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม
การสร้างกิจวัตรให้แก่ลูกถือเป็นการสร้างวินัยให้กับลูกรัก ไม่สายเกินไปที่จะเริ่มดำเนินการ คอยดูแลว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์ในระยะยาว และมีการปรับแผนงานกับลูก และอย่าลืมว่าเราต้องมีส่วนรับผิดชอบในการฝึกวินัยให้กับลูก หลังจากการฝึกสร้างวินัยใน 30 วัน จะพบว่าเด็กจะยอมรับ และผ่อนคลายกับแบบแผนหรือกิจวัตรที่ได้สร้างขึ้นแล้ว

ผู้เขียน : Laura Doerflinger, a licensed mental health counselor, is the Executive Director of the Parent Education Group at http://www.familyauthority.com and the author of the audio book, Emotionally Balanced Parenting
Copyright 2008 Parent Education Group

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments