Mar 09
จิตวิทยาในการเลี้ยงดูเด็กเล็กโดยทั่วไป มักแนะนำการเลี้ยงดูพ่อแม่ ผู้ปกครองมือใหม่ว่า ในการเลี้ยงดูบุตรหลานนั้น จะต้องมีการแยกแยะให้ชัดเจน ถึงการทำผิดของเด็ก ควรจะได้รับการลงโทษ (อาจเป็นการแยกตัวเด็กออกจากมุมของเล่นมุมโปรด หรือการงดเวลาสนุกของเด็ก ๆ เช่นการดูการ์ตูน เป็นต้น) กับการให้รางวัลกับเด็กเมื่อเขาทำดี
หลาย ๆ ครอบครัว อาจคิดว่าการให้รางวัลเด็ก เป็นการให้ของขวัญหรือของรางวัลทุกครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การให้รางวัลเช่นการให้คำชม ให้สติ๊กเกอร์ หรือการติดดาวในสมุดสะสมดาวที่ตั้งเป็นกติกาไว้ว่าถ้าสะสมครบแล้วสามารถแลกของรางวัลที่เขาต้องการได้ ทำให้เด็ก ๆ ใจจดจ่อกับการสะสมความดี ด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเจตนาของนักจิตวิทยา บางครั้งอาจเป็นการสร้างนิสัย หรือเป็นการสร้างกฎกติกาโดยไม่รู้ตัวว่า เมื่อเด็ก ๆ ทำความดี หรือทำในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการจะต้องได้รับของรางวัลเสมอ ในทางกลับกันหากเขาไม่ได้รับรางวัลในสิ่งที่ตนเองต้องการ จะกลับกลายเป็นการสร้างข้อแม้ทุกครั้ง ในการทำงานใด ๆ เมื่อเขาโตขึ้น เช่น ถ้าหนูไปเรียนวิชานี้ พ่อจะซื้อตุ๊กตาให้ ซึ่งเด็กก็อาจยอม และมีความกระตือรือร้นในครั้งแรก แต่พอครั้งต่อ ๆ ไป ที่คุณพ่อคุณแม่ ไม่มีของรางวัลให้ ความกระตือรือร้นของเด็กก็จะหมดไปด้วย ทำให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้เสียเงินทองในการส่งบุตรหลานเรียนไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการทำอะไรเลย เมื่อโตขึ้น
ดังนั้น ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน จึงต้องมีการระมัดระวังในเรื่องของการให้รางวัล จะต้องใช้รางวัลกับสิ่งที่เด็ก ๆ ต้องใช้ความมานะ พยายามมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อเพิ่มคุณค่าของของรางวัล และคุณค่าของตัวเด็กเอง เพราะนอกจากรางวัลที่เขาจะได้รับแล้ว ยังได้รับการชื่นชมจากพ่อแม่ ผู้ปกครองซึ่งเป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ และมีผลทางจิตใจและความรู้สึกกับตัวเด็กมากกว่าของรางวัลที่หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป
ครูจา
Nov 09
การสร้างวินัยให้กับลูกรัก
การสร้างกิจวัตรและแบบแผนของอุปนิสัยให้กับเด็กนั้นเป็นเป้าหมายสำคัญอีกประการที่คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังให้กับลูกรักหลาย ๆ ครอบครัวมักวนกลับไปกลับมาระหว่างกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านมักยอมแพ้กับการต่อต่านของลูกรัก อีกทั้งความรู้สึกกระวนกระวายกับการบ้าน ความขัดแย้งกันเองระหว่างพ่อ-แม่ และความล่าช้าเมื่อต้องเปลี่ยนสถานที่ที่มีการนัดหมายกัน ความยากลำบาก หรือความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้ลูกรักขาดการพัฒนาในเรื่องของกิจวัตร หรืออาจเป็นวินัยติดตัวจนกระทั่งเด็กนั้นโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมันอาจส่งผลไปถึงเรื่องของการพึ่งพาตนเองและเรื่องความรับผิดชอบ ซึ่งในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นเราสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในการฝึกให้เด็กเกิดวินัยในตนเองนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพ่อ-แม่เช่นกัน การฝึกให้เด็กมีแบบแผนในการดำเนินชีวิตนั้นเราจะต้องฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปในแต่ละวัย โดยแบ่งเป็นวัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
– วัยทารก เด็กจะสามารถเรียนรู้ถึงแบบแผนของการให้อาหาร , การนอน และการเล่นที่เป็นเวลา
– วัยเตาะแตะ ได้เรียนรู้แบบแผนของการตื่นนอน , แบบแผนของอาหารว่าง และเวลาในการทำความสะอาด
– ก่อนวัยเรียน จะได้เรียนรู้ถึงแบบแผนของกิจกรรม ,การฟัง ,การนั่ง และเวลานอน
– วัยประถม เรียนรู้แบบแผนของงานเล็ก ๆ , แบบแผนของการบ้าน และการอยู่ร่วมกันในสังคม
ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ผ่านการเรียนรู้ โดยที่มีพ่อแม่เป็นครูผู้ฝึก ซึ่งต้องมีความอดทนและเข้าใจในตัวเด็กด้วย
การฝึกวินัยและกิจวัตรให้กับเด็กในวัยประถมนั้นมี 4 ประการหลัก ๆ ด้วยกันดังนี้
– กิจวัตรยามเช้า ซึ่งหมายถึงเวลาในการตื่นนอน ,การแต่งตัว , การรับประทานอาหารเช้า , การทำความสะอาดร่างกาย
– แบบแผนในโรงเรียน ทางโรงเรียนและครูจะเป็นผู้ฝึกแบบแผนให้กับเด็ก ซึ่งมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทางโรงเรียน
– แบบแผนหลังเลิกเรียน ซึ่งแบบแผนดังกล่าวจะรวมไปถึง กีฬา อาหารว่าง และการทำการบ้านด้วย
– กิจวัตรในเวลากลางคืน ซึ่งกิจวัตรดังกล่าวรวมถึงอาหารค่ำ การทำการบ้าน อาหารว่าง การทำการบ้าน การทำความสะอาดร่างกาย และการนอน
ซึ่งในการสร้างวินัยให้กับลูกนั้น เขาจะต้องรู้สึกปลอดภัยและสะดวกสบาย ดังนั้นพ่อ-แม่ต้องมีการฝึกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้สำเร็จจะมีแนวทางดังนี้
1. การสร้างแบบแผนของตนเอง โดยปกติทุก ๆ คนจะมีแบบแผนในการดำเนินชีวิตของตนเองเนื่องจากภาระหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรจะมีการสร้างแบบแผนในชีวิตประจำวันของเราเองซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ลูกมีแบบแผนในการใช้ชีวิตในแบบของเขา
2. สร้างความคาดหวังและกิจวัตรภายในบ้าน มีการปรึกษากับลุกเพื่อให้เขาได้ออกความคิดเห็นว่าสิ่งใดควรจะเป็นกิจวัตรในยามเช้า , กิจวัตรหลังเลิกเรียน และกิจวัตรในตอนกลางคืน ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นและฝึกให้เด็กนั้นมีวินัยไปจนโต
3. กระตุ้นให้เด็กมีการวางแผน และเน้นย้ำให้เด็กได้รู้ว่าชีวิตจะดำเนินไปได้ง่ายขึ้นถ้ามีวินัย
4. ทบทวนแบบแผนในโรงเรียน เด็กมักมีการต่อต้านและเบื่อหน่ายกับแบบแผนในโรงเรียน แต่ต้องมีการอธิบายให้เขาเข้าใจว่ามันจะเป็นการดีถ้าเขาสามารถจัดเวลาในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม
การสร้างกิจวัตรให้แก่ลูกถือเป็นการสร้างวินัยให้กับลูกรัก ไม่สายเกินไปที่จะเริ่มดำเนินการ คอยดูแลว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์ในระยะยาว และมีการปรับแผนงานกับลูก และอย่าลืมว่าเราต้องมีส่วนรับผิดชอบในการฝึกวินัยให้กับลูก หลังจากการฝึกสร้างวินัยใน 30 วัน จะพบว่าเด็กจะยอมรับ และผ่อนคลายกับแบบแผนหรือกิจวัตรที่ได้สร้างขึ้นแล้ว
ผู้เขียน : Laura Doerflinger, a licensed mental health counselor, is the Executive Director of the Parent Education Group at http://www.familyauthority.com and the author of the audio book, Emotionally Balanced Parenting
Copyright 2008 Parent Education Group