จากตอนที่ 2 ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยทารก แต่เด็กแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในการเรียนรู้ของเขา แต่มีงานวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนว่า หากเด็ก ที่เข้าโรงเรียนโดยมีทัศนคติในเชิงบวก และมีการฝึกทักษะ (นั่นคือการเคลื่อนไหวในวัยทารก) แล้ว เขาจะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี และมีความก้าวหน้าในการเรียนที่ดี ซึ่งเด็กทุกคนจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีหน้าที่ที่จะต้องกระตุ่นหรือสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม

เด็กวัยอนุบาล มักมีการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน การเข้าสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้

–           กระตุ้นให้ทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ แต่ความช่วยเหลือที่ให้ต้องไม่เกินขอบเขต สิ่งที่เด็กจะได้รับ คือประสบการณ์ที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ให้สำเร็จ

–           สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มหรือเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้

–           การฝึกให้เด็กหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม อาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในวันนั้น ๆ เช่นการถามว่าวันนี้คุณครูใส่เสื้อสีอะไร เพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต

–           ให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาทำ หรือยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จ  เด็ก ๆ ทุกคนมักจะภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเริ่มทำ และทำสำเร็จ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในเชิงบวก และนอกจากนี้ ยังทำให้เขาเกิดความมั่นใจ กล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ  แต่หากเขาทำไม่สำเร็จ ต้องให้กำลังใจ ถึงแม้สิ่งที่เด็กได้รับจะไม่ใช่ความสำเร็จ แต่เขาก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ และ ความพยายามที่จะติดตัวเขาไป

–           พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้มีทักษะในการลำดับเหตุการณ์ และการใช้ภาษา โดยปล่อยให้เขาได้คิดอย่างอิสระ แก้ข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด เพื่อให้เขาได้กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการ

–           สร้างสถานการณ์ผ่านกิจกรรม ให้เขาได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

–           หากิจกรรมประเภท การแยกประเภท สี ขนาด เพื่อฝึกการพิจารณาสิ่งของในแบบรูปต่าง ๆ ให้เขาสามารถแยกความแตกต่างของรูปทรงต่าง ๆ

หากเราสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ หรือเสริมทักษะ เขาก็จะยังคงมีธรรมชาติของการอยากเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น แต่หากเด็กไม่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้สนุก สิ่งที่ติดตัวเด็กมา (ความอยากรู้อยากเห็น การชอบการเรียนรู้) ก็จะหายไปในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

มักมีคำถามมากมายว่า “เรียนลูกคิดเพื่ออะไร”
     จุดประสงค์ของการเรียนลูกคิดนั้นมีหลายประการ แต่ในเบื้องต้นของการเรียนนั้นเพื่อปรับทัศนคติของการเรียนคณิตศาสตร์ การใช้ลูกคิดในการคิดคำนวณพบว่าเป็นที่รู้จกแพร่หลายในอดีต ซึ่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมาก นอกจากนี้แล้วการเรียนลูกคิดยังช่วยเพิ่มระดับของการจินตนาการ กระบวนการคิดโดยการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และยังช่วยในเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ (ในเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหา)
     ในการเรียนลูกคิดในระดับที่ผ่านการฝึกฝนการใช้ลูกคิดจนชำนาญแล้ว หลังจากนั้นเด็กจะถูกฝึกให้มีการคำนวณโดยการจินตนาการเป็นเม็ดลูกคิดในระหว่างการคิดคำนวณ ซึ่งในการเรียนลูกคิดจะเป็นระดับคร่าว ๆ ดังนี้
1.ขั้นพื้นฐาน เป็นขั้นที่ให้เด็กมีการใช้งานลูกคิด โดยการฝึกฝนการดีดจนชำนาญในระดับนี้เด็กควรจะใช้เวลาในการฝึกฝนประมาณ 10 – 20 นาทีต่อวัน
2.กระบวนการซึมซับการจินตนาการ
หลังจากการฝึกฝน เด็กๆจะจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการในการพัฒนาการคิดคำนวณ โดยการจดจำภาพเม็ดของลูกคิดเข้าสู่สมอง เด็กจะได้เริ่มหัดคิดคำนวณอย่างง่าย ซึ่งเราจะเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า “การดีดอากาศ”
3.ขั้นตอนการ จินตนาการ
เป็นขั้นตอนที่ เด็กจะสามารถคิดคำนวณได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ลูกคิดอีกต่อไป เด็กจะสามารถคำนวณ โดยอัตโนมัติ จากการจดจำของสมองได้โดยตรง (mental arithmetic) กระบวนการดังกล่าวจะทำให้เด็กสามารถคิดคำนวณได้อย่างรวดเร็ว

อายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเรียนลูกคิด?
ผลการศึกษาพบว่า เด็กจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่อสิ่งใหม่ๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ พบว่าเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 6 ขวบ มีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีกว่าและเร็วกว่าเด็กที่อายุมากกว่า การเรียนจินตคณิตยังเป็นการกระตุ้นการพัฒนาสมองทั้งสองข้าง และยังเป็นการปลูกฝังและพัฒนาทัศนะคติในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับต่อไปอีกด้วย อายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเรียน จะประมาณที่อายุ 4-5 ปีเป็นต้นไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

จินตคณิตคืออะไร

จินตคณิตโดยลูกคิด คือการใช้ลูกคิดเป็นอุปกรณ์ในการเรียนรู้

เรียนจินตคณิตมีประโยชน์อย่างไร

ในการเรียนจินตคณิตนั้นจุดประสงค์หลักไม่ได้ให้เด็กนั้นสามารถคิดเลขได้เร็วและถูกต้อง แต่เป็นการเรียนโดยใช้ลูกคิดเป็นสื่อกลางในการบังคับใช้สมองทั้งสองซีก ซึ่งผลพลอยได้จากการเรียนคือ

  • การเข้าใจเรื่องจำนวนและตัวเลข เนื่องจากลูกคิดแต่ละแกนจะแทนค่าประจำหลักในแต่ละหลัก
  • การคิดเลขที่ถูกต้องและแม่นยำ ทั้งการบวก ลบ คูณ หาร และนอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กที่เพิ่งเริ่มท่องสูตรคูณสามารถท่องจำได้อย่างแม่นยำ  มีผลการวิจัยทางสมองหลาย ๆ งานพบว่าศักยภาพสมองของเด็กนั้นมีไม่จำกัด แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ปล่อยโอกาสของวัยนี้ โดยไม่ได้มีการส่งเสริมศักยภาพของวัยนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุให้พลาดโอกาสในวัยทองนี้ไป

ฟังก์ชั่นของสมอง

สมองของมนุษย์ประกอบด้วยกันอยู่ 2 ซึกนั่นคือ สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา เด็กประมาณ 95% จะใช้สมองซีกซ้ายเพียงซีกเดียว โดยขาดการใช้สมองซีกขวาซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของความฉลาด

หน้าที่ของสมองซีกซ้าย

  • การคิดวิเคราะห์ข้อมูล
  • ภาษา
  • การคำนวณ

หน้าที่ของสมองซีกขวา

  • การสังเคราะห์ข้อมูล
  • จินตนาการ
  • ความคิดสร้างสรรค์

สมองทั้งซีกซ้ายและขวานั้นจะมีการทำงานและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน เป้าหมายของเราเพื่อกระตุ้นการใช้สมองทั้งสองข้างอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การใช้สมองทั้งสองซีกของเด็กนั้นจึงเป็นศักยภาพที่แท้จริง แต่ ….    เราจะกระตุ้นการใช้สมองสองซีกพร้อม ๆ กันได้อย่างไร

การเรียนจินตคณิตโดยใช้ลูกคิดเป็นวิธีทางหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการใช้สมองสองซีกในเวลาเดียวกันได้ ในปัจจุบันการเรียนการสอนลูกคิดนั้นเราจะใช้ลูกคิดญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า “Soroban abacus” ซึ่งมีลูกคิดแถวบน 1 เม็ด และแถวล่าง 4 เม็ด การใช้ลูกคิดนี้สามารถปูพื้นความรู้เรื่องจำนวน การคำนวณให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ การคำนวณด้วยวิธีการใช้ลูกคิดนั้นทำให้เด็กสามารถคำนวณตัวเลขได้ถึง 10 หลักและสามารถจินตนาการได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องคิดเลขด้วย

ในการใช้ลูกคิดของเด็กนั้น ในขณะที่เด็กใช้มือในการเคลื่อนเม็ดลูกคิดนั้นจะเกิดการประสานระหว่างมือกับการกระตุ้นเซลสมอง เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของสมองทั้งหมด

นอกจากเรื่องการคำนวณแล้วการเรียนลูกคิดยังสามารถเพิ่มศักยภาพด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้อีกด้วย

  • ทำให้เด็กมีสมาธิ
  • เพิ่มศักยภาพของการจำ
  • ทำให้เด็กสามารถฟังและอ่านเร็วขึ้น

ในประเทศญี่ปุ่น นักการศึกษายังคงเชื่อมันกับการใช้ลูกคิดเพื่อช่วยเด็กพัฒนาการคิดเลขเร็ว ซึ่งมีส่วนช่วยให้

  • เด็กเข้าใจระบบตัวเลขฐาน 10 และค่าประจำหลัก
  • เข้าใจถึงหลักการยืม และการทดในการคิดคำนวณ

โรงเรียนในเอเชียหลาย ๆ โรงยังนิยมนำลูกคิดเข้าร่วมในหลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถม 4 ซึ่งพบว่าเด็กทิ่เริ่มการเรียนการสอนด้วยลูกคิดก่อนการเรียนแบบเก่าจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความสับสนกับการคิดเลขแบบปกติ แต่หากเด็กที่เริ่มการเรียนแบบปกติก่อน อาจต้องใช้เวลามากกว่าปกติเพื่อความเข้าใจในการใช้ลูกคิด

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ:

  1. ลูกคิดคืออะไร?
  2. การใช้ลูกคิดแตกต่างอย่างไรกับการใช้เครื่องคิดเลข?
  3. การเรียนลูกคิดมีข้อดีอย่างไร?
  4. อายุเท่าใดจึงเป็นอายุที่ดีที่สุดที่เริ่มเรียน?
  5. ลูกคิดมีกระบวนการคิดที่แตกต่างอย่างไรกับการคิดคำนวณที่สอนในโรงเรียนโดยทั่วไป?
  6. วิธีการใช้ลูกคิดทำให้เด็กสับสนกับการคิดคำนวณที่โรงเรียนหรือไม่ ?

ลูกคิดคืออะไร

ลูกคิดคืออุปกรณ์ที่คิดโดยประเทศจีนเมื่อ 2000 ปีที่แล้วเพื่อการคิดคำนวณ

การใช้ลูกคิดแตกต่างอย่างไรกับการใช้เครื่องคิดเลข?
การใช้เครื่องคิดเลขนั้นเด็ก ๆ เพียงใส่ข้อมูลลงในเครื่องแล้วให้เครื่องคำนวณออกมา แต่การใช้ลูกคิดนั้นเด็กจะต้องแปลงตัวเลขเพื่อดีดลงบนลูกคิดจนได้คำตอบออกมา หลังจากการดีดลูกคิดจนเกิดความชำนาญ เด็ก ๆ จะถูกฝึกให้จินตนาการในสมองซีกขวาได้อย่างแม่นยำ

การเรียนจินตคณิตด้วยการใช้ลูกคิดมีข้อได้เปรียบอย่างไร
ในประเทศญี่ปุ่นนักการศึกษายังสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนลูกคิดในโรงเรียนเพื่อช่วยพัฒนาสมองส่วนของการคิดเลขเร็วหรือการจินตนาการ ซึ่งทำให้เด็กสามารถเข้าใจในระบบตัวเลข โดยเฉพาะในระบบตัวเลขฐาน 10 ซึ่งรวมถึงการเข้าใจในการยืมและการทด ความเข้าใจในคู่ 5 และคู่ 10

การเรียนจินตคณิตมีประโยชน์อย่างไรต่อเด็ก
การเรียนการคิดคำนวณด้วยลูกคิดนั้นจะช่วย…

  • ทำให้เด็กมีความมั่นใจในเรื่องการทำคณิตศาสตร์มากขึ้น
  • พัฒนาความสามารถในการคิดคณิตคิดเร็ว
  • ฝึกให้มีการคิดโดยอัตโนมัติ
  • เพิ่มการจินตนาการ
  • เพิ่มความสามารถในการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
  • เพิ่ม/ฝึก สมาธิ

ช่วงวัยใดที่เหมาะในการเริ่มเรียนจินตคณิต
ไม่มีงานวิจัยใดสนับสนุนหรือระบุช่วงวัยที่แน่นอนในการเรียน แต่โดยส่วนใหญ่เด็กจะเรี่มเรียนในวัยอนุบาลจนถึงชั้นประถมปีที่ 4

การเรียนลูกคิดต่างจากการคำนวณแบบปกติอย่างไร
การคิดคำนวณโดยการใช้ลูกคิดนั้นจะมีการตีค่าของตัวเลขออกมาเป็นเม็ดลูกคิด ซึ่งต่างจากการคำนวณแบบปกติที่มีการคำนวณเป็นค่าตัวเลขที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นผลให้สามารถสร้างภาพขึ้นได้บนสมองซีกขวา และยังเป็นผลต่อเนื่องจนส่งผลให้เกิดการคำนวณที่มีความรวดเร็วและแม่นยำ

การเรียนลูกคิดก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือสับสนกับการเรียนในแบบปกติที่โรงเรียนหรือไม่?
โดยปกติเด็กที่เริ่มการเรียนลูกคิดก่อนที่จะคิดคำนวณคล่องนั้น มักไม่พบปัญหาและยังทำให้เด็กนั้นสามารถคำนวณได้ทั้ง 2 ระบบ แต่ในเด็กที่เริ่มเรียนหลังจากที่มีการคิดคำนวณจนคล่องแล้วนั้นมักต้องใช้เวลาในการเรียนที่ยากลำบากในช่วงแรก เนื่องจากการใช้ลูกคิดในช่วงแรกจะทำให้เด็กมีความรู้สึกยุ่งยากกว่าการคิดคำนวณแบบปกติ แต่หลังจากการใช้ลูกคิดจนคล่องก็จะสามารถสร้างจินตนาการขึ้นที่สมองซีกขวาได้เหมือนกัน

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments