จากตอนที่ 2 ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยทารก แต่เด็กแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในการเรียนรู้ของเขา แต่มีงานวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนว่า หากเด็ก ที่เข้าโรงเรียนโดยมีทัศนคติในเชิงบวก และมีการฝึกทักษะ (นั่นคือการเคลื่อนไหวในวัยทารก) แล้ว เขาจะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี และมีความก้าวหน้าในการเรียนที่ดี ซึ่งเด็กทุกคนจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีหน้าที่ที่จะต้องกระตุ่นหรือสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม

เด็กวัยอนุบาล มักมีการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน การเข้าสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้

–           กระตุ้นให้ทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ แต่ความช่วยเหลือที่ให้ต้องไม่เกินขอบเขต สิ่งที่เด็กจะได้รับ คือประสบการณ์ที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ให้สำเร็จ

–           สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มหรือเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้

–           การฝึกให้เด็กหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม อาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในวันนั้น ๆ เช่นการถามว่าวันนี้คุณครูใส่เสื้อสีอะไร เพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต

–           ให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาทำ หรือยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จ  เด็ก ๆ ทุกคนมักจะภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเริ่มทำ และทำสำเร็จ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในเชิงบวก และนอกจากนี้ ยังทำให้เขาเกิดความมั่นใจ กล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ  แต่หากเขาทำไม่สำเร็จ ต้องให้กำลังใจ ถึงแม้สิ่งที่เด็กได้รับจะไม่ใช่ความสำเร็จ แต่เขาก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ และ ความพยายามที่จะติดตัวเขาไป

–           พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้มีทักษะในการลำดับเหตุการณ์ และการใช้ภาษา โดยปล่อยให้เขาได้คิดอย่างอิสระ แก้ข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด เพื่อให้เขาได้กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการ

–           สร้างสถานการณ์ผ่านกิจกรรม ให้เขาได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

–           หากิจกรรมประเภท การแยกประเภท สี ขนาด เพื่อฝึกการพิจารณาสิ่งของในแบบรูปต่าง ๆ ให้เขาสามารถแยกความแตกต่างของรูปทรงต่าง ๆ

หากเราสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ หรือเสริมทักษะ เขาก็จะยังคงมีธรรมชาติของการอยากเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น แต่หากเด็กไม่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้สนุก สิ่งที่ติดตัวเด็กมา (ความอยากรู้อยากเห็น การชอบการเรียนรู้) ก็จะหายไปในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จินตคณิต คืออะไร

วันชัย ตัน / เรื่อง
 
    ๑๒ หาร ๓ เป็นเท่าไร เชื่อว่าหลายคนคงคิดในใจหาคำตอบได้
    แต่ ๙๙๒.๕๘๗๓๑๘ หาร ๕,๖๔๗.๗๒๓ คำตอบคืออะไร ? 
 
ในการแข่งขันประลองความเป็นหนึ่ง ของเซียนจินตคณิต ในประเทศญี่ปุ่น ฮิโรเอกิ ทะซูชิยา ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที หาคำตอบได้เป็นคนแรก โดยไม่ใช้เครื่องคิดเลขใด ๆ คำตอบคือ ๐.๑๗๕๗๕๐๐๐๐๑๓๒๗๙๖๘๘๑๑๕๐๑๕๕๕๕๘๒๖๖๕๘

เปล่าครับ สมองของเด็กชายทะซูชิยา วัย ๑๓ ปี ไม่ได้มีชิปคอมพิวเตอร์ช่วยคิดเลข แต่เขาใช้ลูกคิดช่วยในการคำนวณ เหมือนกับพ่อค้าในอดีต และที่น่าสนใจก็คือ ทะซูชิยาไม่ได้ใช้นิ้วมือดีดลูกคิด คำนวณตัวเลขจริง ๆ แต่คำนวณโดยการสร้างภาพรางลูกคิดขึ้นในใจ  ซึ่งวิธีนี้คนในเอเชียหลายชนชาติ ใช้กันมานานหลายศตวรรษแล้ว
  
จินตคณิตคือเทคนิคการพัฒนาสติปัญญา เสริมสร้างสมาธิ เพื่อดึงอัจฉริยภาพในตัวเด็กออกมาให้ปรากฏ โดยใช้ลูกคิดเป็นสื่อสำคัญในการฝึก ซึ่งเมื่อฝึกถึงขั้นสูง เด็กจะมีจินตภาพ สามารถสร้างภาพลูกคิดขึ้นในใจ เพื่อช่วยในการคิดเลขได้เอง ครูสอนจินตคณิตกล่าวว่า คนส่วนใหญ่สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญจินตคณิตได้ หากเริ่มฝึกตั้งแต่ยังเด็ก แต่จะต้องใช้เวลาในการฝึกฝนนาน ทั้งยังต้องควบคุมจิตใจ และทุ่มเทพลังสมาธิอย่างมหาศาล 
     
“ถ้าสติคุณไม่อยู่กับตัวเมื่อไหร่ คุณก็แพ้เมื่อนั้น” ทะซูชิยา ผู้ครองแชมป์การแข่งขันจินตคณิตแห่งเกียวโตรายล่าสุด และมีอายุน้อยที่สุด กล่าว
  
ลูกคิดเป็นเครื่องคำนวณเลขของจีน แพร่เข้ามาในญี่ปุ่นช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑๕๐๐ การใช้ลูกคิดเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ในการคำนวณตัวเลขจำนวนมาก อุปกรณ์รูปทรงสี่เหลี่ยมทำด้วยไม้นี้ มีลูกกลมขนาดใหญ่หลายตัว ทำหน้าที่เป็นตัวนับ โดยการใช้นิ้วมือเขี่ยให้เลื่อนไปมาบนแกนเหล็ก เพื่อหาคำตอบทั้งบวก ลบ คูณ หาร หรือแม้กระทั่งถอดรากที่สาม แต่ไม่นานนัก ปรมาจารย์ลูกคิดทั้งหลายต่างเห็นพ้องว่า การคำนวณโดยใช้จินตภาพว่ามีลูกคิดนั้น สามารถคิดเลขได้ง่ายกว่ามาก และคนที่เป็นเซียนจินตคณิต ก็สามารถคำนวณได้เร็วกว่าแคชเชียร์ ที่ใช้เครื่องคิดเลขด้วยซ้ำ
  
โคจิ ซูซูกิ ครูสอนจินตคณิตในโตเกียว แง้มเทคนิคสั้น ๆ ว่า “แทนที่เราจะคิดถึงตัวเลข ๑ ก็ให้จินตนาการถึงผลแอ๊ปเปิ้ลหนึ่งใบในกระเป๋าเสื้อคุณแทน ซึ่งมันมีรูปทรง และจับต้องได้ ในการคำนวณแบบจินตคณิต เราพยายามจะมองให้เห็นภาพลูกคิดเหล่านั้น”
  
อาการของเด็ก ขณะที่กำลังแก้ปัญหาตัวเลขในการแข่งขันจินตคณิต จะต่างกันไป บางคนทำท่าขยับนิ้วไปมาบนลูกคิดล่องหน ที่อยู่บนโต๊ะ บางคนโยกตัวอยู่บนเก้าอี้ และเคลื่อนไหวเหมือนคนไร้สติ ตามจังหวะการดีดลูกคิดในจินตนาการ ดูไปคล้ายๆ ผีลูกคิดเข้าสิง
  
บรรดาครูจินตคณิตกล่าวว่า การเล่นกายกรรมสมองแบบนี้ ไม่ได้ช่วยแค่การประหยัดเงินซื้อแบตเตอรี่เครื่องคิดเลข แต่ยังให้ประโยชน์ด้านอื่นด้วย
  
“คุณต้องคำนวณอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ถ้าคุณเอาแต่กดเครื่องคิดเลขอยู่ตลอดเวลา สมองของคุณก็จะเฉื่อยลงเรื่อย ๆ” อาจารย์อีกคนกล่าว
  
เด็กนักเรียนที่เก่งจินตคณิตยืนยันว่ามันไม่เพียงช่วยให้พวกเขาเก่งวิชาคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ช่วยให้พวกเขาเรียนวิชาอื่นได้ดีขึ้นด้วย  
     
คิมิโกะ คาวาโน นักวิทยาศาสตร์แห่งโรงเรียนแพทย์นิปปอน ซึ่งวิเคราะห์การทำงานของสมอง ในหมู่เซียนจินตคณิต ให้ข้อมูลว่าการฝึกฝนทักษะแบบนี้ ไม่มีผลในการเร่งรัด หรือพัฒนาการเจริญเติบโตของสมอง แต่เทคนิคการใช้สมาธิ และจินตภาพซึ่งจำเป็นสำหรับจินตคณิต จะช่วยบริหารสมองส่วนขวา ซึ่งควบคุมด้านจิตใจ อารมณ์ มากกว่าสมองส่วนซ้าย ที่ทำงานด้านการวิเคราะห์ หรือการคำนวณขึ้นพื้นฐาน การบริหารสมองส่วนขวา จะเป็นประโยชน์ในสถานการณ์ ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องของคณิตศาสตร์ คือจะช่วยให้คนที่เรียนจินตคณิต สามารถเรียนรู้เรื่องอื่น ๆได้เร็วกว่าคนที่ไม่ได้เรียน
   
แต่ปัจจุบัน เด็กญี่ปุ่นก็เหมือนเด็กเอเชียส่วนใหญ่ คือเลิกใช้ลูกคิดแล้ว ทั้งยังใช้วิธีคำนวณในหัวสมองน้อยลง เวลาคิดเลขก็จิ้มไปที่เครื่องคิดเลข หรือเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียว
   
มิน่าเล่า สมองของเด็กรุ่นใหม่ จึงเหมือนคอมพิวเตอร์ คิดเองไม่ค่อยเป็น สงสัยเด็กรุ่นใหม่ต้องหันไปหาลูกคิด เพื่อฝึกให้สมองมีจินตนาการมั่งแล้ว 

ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารสารคดี

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

มักมีคำถามมากมายว่า “เรียนลูกคิดเพื่ออะไร”
     จุดประสงค์ของการเรียนลูกคิดนั้นมีหลายประการ แต่ในเบื้องต้นของการเรียนนั้นเพื่อปรับทัศนคติของการเรียนคณิตศาสตร์ การใช้ลูกคิดในการคิดคำนวณพบว่าเป็นที่รู้จกแพร่หลายในอดีต ซึ่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมาก นอกจากนี้แล้วการเรียนลูกคิดยังช่วยเพิ่มระดับของการจินตนาการ กระบวนการคิดโดยการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และยังช่วยในเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ (ในเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหา)
     ในการเรียนลูกคิดในระดับที่ผ่านการฝึกฝนการใช้ลูกคิดจนชำนาญแล้ว หลังจากนั้นเด็กจะถูกฝึกให้มีการคำนวณโดยการจินตนาการเป็นเม็ดลูกคิดในระหว่างการคิดคำนวณ ซึ่งในการเรียนลูกคิดจะเป็นระดับคร่าว ๆ ดังนี้
1.ขั้นพื้นฐาน เป็นขั้นที่ให้เด็กมีการใช้งานลูกคิด โดยการฝึกฝนการดีดจนชำนาญในระดับนี้เด็กควรจะใช้เวลาในการฝึกฝนประมาณ 10 – 20 นาทีต่อวัน
2.กระบวนการซึมซับการจินตนาการ
หลังจากการฝึกฝน เด็กๆจะจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการในการพัฒนาการคิดคำนวณ โดยการจดจำภาพเม็ดของลูกคิดเข้าสู่สมอง เด็กจะได้เริ่มหัดคิดคำนวณอย่างง่าย ซึ่งเราจะเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า “การดีดอากาศ”
3.ขั้นตอนการ จินตนาการ
เป็นขั้นตอนที่ เด็กจะสามารถคิดคำนวณได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ลูกคิดอีกต่อไป เด็กจะสามารถคำนวณ โดยอัตโนมัติ จากการจดจำของสมองได้โดยตรง (mental arithmetic) กระบวนการดังกล่าวจะทำให้เด็กสามารถคิดคำนวณได้อย่างรวดเร็ว

อายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเรียนลูกคิด?
ผลการศึกษาพบว่า เด็กจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่อสิ่งใหม่ๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ พบว่าเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 6 ขวบ มีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีกว่าและเร็วกว่าเด็กที่อายุมากกว่า การเรียนจินตคณิตยังเป็นการกระตุ้นการพัฒนาสมองทั้งสองข้าง และยังเป็นการปลูกฝังและพัฒนาทัศนะคติในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับต่อไปอีกด้วย อายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเรียน จะประมาณที่อายุ 4-5 ปีเป็นต้นไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

จินตคณิตคืออะไร

จินตคณิตโดยลูกคิด คือการใช้ลูกคิดเป็นอุปกรณ์ในการเรียนรู้

เรียนจินตคณิตมีประโยชน์อย่างไร

ในการเรียนจินตคณิตนั้นจุดประสงค์หลักไม่ได้ให้เด็กนั้นสามารถคิดเลขได้เร็วและถูกต้อง แต่เป็นการเรียนโดยใช้ลูกคิดเป็นสื่อกลางในการบังคับใช้สมองทั้งสองซีก ซึ่งผลพลอยได้จากการเรียนคือ

  • การเข้าใจเรื่องจำนวนและตัวเลข เนื่องจากลูกคิดแต่ละแกนจะแทนค่าประจำหลักในแต่ละหลัก
  • การคิดเลขที่ถูกต้องและแม่นยำ ทั้งการบวก ลบ คูณ หาร และนอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กที่เพิ่งเริ่มท่องสูตรคูณสามารถท่องจำได้อย่างแม่นยำ  มีผลการวิจัยทางสมองหลาย ๆ งานพบว่าศักยภาพสมองของเด็กนั้นมีไม่จำกัด แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ปล่อยโอกาสของวัยนี้ โดยไม่ได้มีการส่งเสริมศักยภาพของวัยนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุให้พลาดโอกาสในวัยทองนี้ไป

ฟังก์ชั่นของสมอง

สมองของมนุษย์ประกอบด้วยกันอยู่ 2 ซึกนั่นคือ สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา เด็กประมาณ 95% จะใช้สมองซีกซ้ายเพียงซีกเดียว โดยขาดการใช้สมองซีกขวาซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของความฉลาด

หน้าที่ของสมองซีกซ้าย

  • การคิดวิเคราะห์ข้อมูล
  • ภาษา
  • การคำนวณ

หน้าที่ของสมองซีกขวา

  • การสังเคราะห์ข้อมูล
  • จินตนาการ
  • ความคิดสร้างสรรค์

สมองทั้งซีกซ้ายและขวานั้นจะมีการทำงานและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน เป้าหมายของเราเพื่อกระตุ้นการใช้สมองทั้งสองข้างอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การใช้สมองทั้งสองซีกของเด็กนั้นจึงเป็นศักยภาพที่แท้จริง แต่ ….    เราจะกระตุ้นการใช้สมองสองซีกพร้อม ๆ กันได้อย่างไร

การเรียนจินตคณิตโดยใช้ลูกคิดเป็นวิธีทางหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการใช้สมองสองซีกในเวลาเดียวกันได้ ในปัจจุบันการเรียนการสอนลูกคิดนั้นเราจะใช้ลูกคิดญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า “Soroban abacus” ซึ่งมีลูกคิดแถวบน 1 เม็ด และแถวล่าง 4 เม็ด การใช้ลูกคิดนี้สามารถปูพื้นความรู้เรื่องจำนวน การคำนวณให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ การคำนวณด้วยวิธีการใช้ลูกคิดนั้นทำให้เด็กสามารถคำนวณตัวเลขได้ถึง 10 หลักและสามารถจินตนาการได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องคิดเลขด้วย

ในการใช้ลูกคิดของเด็กนั้น ในขณะที่เด็กใช้มือในการเคลื่อนเม็ดลูกคิดนั้นจะเกิดการประสานระหว่างมือกับการกระตุ้นเซลสมอง เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของสมองทั้งหมด

นอกจากเรื่องการคำนวณแล้วการเรียนลูกคิดยังสามารถเพิ่มศักยภาพด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้อีกด้วย

  • ทำให้เด็กมีสมาธิ
  • เพิ่มศักยภาพของการจำ
  • ทำให้เด็กสามารถฟังและอ่านเร็วขึ้น

ในประเทศญี่ปุ่น นักการศึกษายังคงเชื่อมันกับการใช้ลูกคิดเพื่อช่วยเด็กพัฒนาการคิดเลขเร็ว ซึ่งมีส่วนช่วยให้

  • เด็กเข้าใจระบบตัวเลขฐาน 10 และค่าประจำหลัก
  • เข้าใจถึงหลักการยืม และการทดในการคิดคำนวณ

โรงเรียนในเอเชียหลาย ๆ โรงยังนิยมนำลูกคิดเข้าร่วมในหลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถม 4 ซึ่งพบว่าเด็กทิ่เริ่มการเรียนการสอนด้วยลูกคิดก่อนการเรียนแบบเก่าจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความสับสนกับการคิดเลขแบบปกติ แต่หากเด็กที่เริ่มการเรียนแบบปกติก่อน อาจต้องใช้เวลามากกว่าปกติเพื่อความเข้าใจในการใช้ลูกคิด

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ:

  1. ลูกคิดคืออะไร?
  2. การใช้ลูกคิดแตกต่างอย่างไรกับการใช้เครื่องคิดเลข?
  3. การเรียนลูกคิดมีข้อดีอย่างไร?
  4. อายุเท่าใดจึงเป็นอายุที่ดีที่สุดที่เริ่มเรียน?
  5. ลูกคิดมีกระบวนการคิดที่แตกต่างอย่างไรกับการคิดคำนวณที่สอนในโรงเรียนโดยทั่วไป?
  6. วิธีการใช้ลูกคิดทำให้เด็กสับสนกับการคิดคำนวณที่โรงเรียนหรือไม่ ?

ลูกคิดคืออะไร

ลูกคิดคืออุปกรณ์ที่คิดโดยประเทศจีนเมื่อ 2000 ปีที่แล้วเพื่อการคิดคำนวณ

การใช้ลูกคิดแตกต่างอย่างไรกับการใช้เครื่องคิดเลข?
การใช้เครื่องคิดเลขนั้นเด็ก ๆ เพียงใส่ข้อมูลลงในเครื่องแล้วให้เครื่องคำนวณออกมา แต่การใช้ลูกคิดนั้นเด็กจะต้องแปลงตัวเลขเพื่อดีดลงบนลูกคิดจนได้คำตอบออกมา หลังจากการดีดลูกคิดจนเกิดความชำนาญ เด็ก ๆ จะถูกฝึกให้จินตนาการในสมองซีกขวาได้อย่างแม่นยำ

การเรียนจินตคณิตด้วยการใช้ลูกคิดมีข้อได้เปรียบอย่างไร
ในประเทศญี่ปุ่นนักการศึกษายังสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนลูกคิดในโรงเรียนเพื่อช่วยพัฒนาสมองส่วนของการคิดเลขเร็วหรือการจินตนาการ ซึ่งทำให้เด็กสามารถเข้าใจในระบบตัวเลข โดยเฉพาะในระบบตัวเลขฐาน 10 ซึ่งรวมถึงการเข้าใจในการยืมและการทด ความเข้าใจในคู่ 5 และคู่ 10

การเรียนจินตคณิตมีประโยชน์อย่างไรต่อเด็ก
การเรียนการคิดคำนวณด้วยลูกคิดนั้นจะช่วย…

  • ทำให้เด็กมีความมั่นใจในเรื่องการทำคณิตศาสตร์มากขึ้น
  • พัฒนาความสามารถในการคิดคณิตคิดเร็ว
  • ฝึกให้มีการคิดโดยอัตโนมัติ
  • เพิ่มการจินตนาการ
  • เพิ่มความสามารถในการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
  • เพิ่ม/ฝึก สมาธิ

ช่วงวัยใดที่เหมาะในการเริ่มเรียนจินตคณิต
ไม่มีงานวิจัยใดสนับสนุนหรือระบุช่วงวัยที่แน่นอนในการเรียน แต่โดยส่วนใหญ่เด็กจะเรี่มเรียนในวัยอนุบาลจนถึงชั้นประถมปีที่ 4

การเรียนลูกคิดต่างจากการคำนวณแบบปกติอย่างไร
การคิดคำนวณโดยการใช้ลูกคิดนั้นจะมีการตีค่าของตัวเลขออกมาเป็นเม็ดลูกคิด ซึ่งต่างจากการคำนวณแบบปกติที่มีการคำนวณเป็นค่าตัวเลขที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นผลให้สามารถสร้างภาพขึ้นได้บนสมองซีกขวา และยังเป็นผลต่อเนื่องจนส่งผลให้เกิดการคำนวณที่มีความรวดเร็วและแม่นยำ

การเรียนลูกคิดก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือสับสนกับการเรียนในแบบปกติที่โรงเรียนหรือไม่?
โดยปกติเด็กที่เริ่มการเรียนลูกคิดก่อนที่จะคิดคำนวณคล่องนั้น มักไม่พบปัญหาและยังทำให้เด็กนั้นสามารถคำนวณได้ทั้ง 2 ระบบ แต่ในเด็กที่เริ่มเรียนหลังจากที่มีการคิดคำนวณจนคล่องแล้วนั้นมักต้องใช้เวลาในการเรียนที่ยากลำบากในช่วงแรก เนื่องจากการใช้ลูกคิดในช่วงแรกจะทำให้เด็กมีความรู้สึกยุ่งยากกว่าการคิดคำนวณแบบปกติ แต่หลังจากการใช้ลูกคิดจนคล่องก็จะสามารถสร้างจินตนาการขึ้นที่สมองซีกขวาได้เหมือนกัน

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments