เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีบุตรน้อย เมื่อบุตรหลานเข้าสู่วัยเรียน ก็เฟ้นหาโรงเรียนที่คิดว่าดีที่สุดให้กับเขา แต่หลายๆ ครอบครัวก็หลงลืมไปว่าช่วงก่อนวัยเรียน เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดที่จะพ่อแม่จะสามารถสร้างนิสัยให้กับบุตรหลานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการสร้างนิสัยในเรื่องของความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ การสังเกต การรู้จักกฎระเบียบ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ให้กับบุตรหลาน  รวมถึงกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญของพัฒนาการในวัยเตาะแตะ (Toddlers) ร่วมกับสมาธิ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานเมื่อก้าวเข้าสู่วัยเรียน

การเสริมสร้างลักษณะนิสัยต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากปัจจุบันด้วยสภาพสังคมในยุคดิจิตอลที่สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้เวลาที่ควรเป็นของครอบครัวถูกเบียดบังด้วยสื่อต่างๆ มากมาย หลายๆ ครอบครัวถูกครอบงำด้วยเทคโนโลยี และติดกับไปกับสีสัน สังคมในหน้าจอ เข้าใจผิดคิดว่า การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นตัวช่วยในการพัฒนาบุตรหลาน ทำให้การทำกิจกรรมที่เสริมสร้างพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ หรือเพียงแค่การตบมือ การเล่นจ๊ะเอ๋นั้น เป็นการสร้างการเชื่อมโยงของปลายประสาทของสมองที่กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดดผ่านกิจกรรมทางด้านร่างกายผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในช่วง 7 ขวบปีแรก ถดถอยลง เมื่อเด็กไม่มีการใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ นอกจากตาและนิ้วเพียงนิ้วเดียว

เมื่อถึงวัยเรียนกล้ามเนื้อมือที่ควรจะแข็งแรงและพร้อมจะขีดเขียน ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน กลายเป็นเด็กรู้สึกว่าการเรียนไม่ใช่เรื่องที่เขาอยากทำ สิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือสมาธิที่ไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะเลือกโรงเรียนหรือครูที่ดีเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ได้ เปรียบเหมือนกับน้ำที่เต็มแก้ว ไม่สามารถรับน้ำได้เพิ่มอีกแล้ว ไม่ว่าจะรินน้ำดี หรือสะอาดเพียงใด ก็ไม่สามารถรับเข้าไปได้เพิ่มอีกแล้ว ในเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ที่รู้ว่าสิ่งใดดีกับการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับบุตรหลาน ควรเลือกเติมเต็มสิ่งที่ดีให้กับบุตรหลาน เพื่อให้เขาได้เติบโตและเรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

picuเรียนจินตคณิตแล้วลูกจะสอบเข้า ในเครือคาลทอลิคได้มั้ย?..คำถามแบบนี้ครูเจอทุกวัน อยากตอบดัง ดัง ว่า..ไม่ทราบค่ะ..แต่..ครูมีเหตุผล..เพราะหลักสูตรจินตคณิตไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสอบเข้าสาธิต และ รร.ในเครือคาลทอลิค…แต่..
หลักสูตรจินตคณิตถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารสมอง ในช่วงวัย3ขวบถึง7ขวบ เป็นช่วงวัยที่สมองต้องการอาหารที่ดีเพื่อทำให้เนื้อสมองฟูเต็มที่ สมองทำงานพร้อมกันทั้งสองด้านอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเนื้อสมองฟูเต็มที่และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าว่าแต่สอบเข้าสาธิตหรือรร.ในเครือคาทอลิคเลย เอ็นเข้าจุฬายังได้ มหิดลวิทยานุสรน์ หรือที่ไหนๆก้อได้ค่ะ เพราะอย่างเช่นสอบเข้าในเครือสาธิตในช่วงอ3 ข้อสอบส่วนใหญ่เป็นแนวข้อสอบแบบเชาวน์ ให้เด็กมองภาพ ให้เด็กๆคิดวิเคราะห์ และคำนวณ ใช้สมาธิใช้สมองในการพิจารณา ถ้าสมองดีได้รับอาหารเต็มดีเด็กๆก็จะมีสมาธิและพร้อมและเข้าใจในการทำข้อสอบ หรือไปติวสอบเข้าในหลายๆสถาบันที่รับติวเข้าสาธิตหรือรร.ในเครือคาลทอลิคเด็กๆส่วนใหญ่ต้องมีความพร้อม สมองต้องพร้อม เพราะถ้าสมองไม่พร้อมไปตามเพื่อนในคลาสไม่ทันสุดท้ายก้อสอบไม่ได้..การเตรียมความพร้อมให้กับสมองด้วยการเรีบนจินตคณิตถือเป็นอาหารที่ดีและมีประโยนช์กับสมองมากๆอย่างหนึ่ง เหมือนเราปลูกต้นไม้ การเตรียมดินเป็นขั้นตอนแรกของการปลูกต้นไม้และเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุด เพราะถ้าดินดี ดินได้รับสารอาหารเต็มที่ คุณจะปลูกอะไรก็ได้งดงามทั้งนั้นแล้วแต่ใจต้องการแต่ถ้าดินไม่ดี อย่าว่าแต่ปลูกต้นไม้เลย ต้นหญ้ายังไม่กล้ามาขึ้นด้วยซ้ำ..ดินเป็นสมอง ปุ๋ยเป็นอาหารของดิน จินตคณิตอาหารของสมอง..ขอบคุณค่ะ..แล้วพบกันใหม่นะค่ะ

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

จากตอนที่ 2 ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยทารก แต่เด็กแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในการเรียนรู้ของเขา แต่มีงานวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนว่า หากเด็ก ที่เข้าโรงเรียนโดยมีทัศนคติในเชิงบวก และมีการฝึกทักษะ (นั่นคือการเคลื่อนไหวในวัยทารก) แล้ว เขาจะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี และมีความก้าวหน้าในการเรียนที่ดี ซึ่งเด็กทุกคนจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีหน้าที่ที่จะต้องกระตุ่นหรือสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม

เด็กวัยอนุบาล มักมีการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน การเข้าสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้

–           กระตุ้นให้ทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ แต่ความช่วยเหลือที่ให้ต้องไม่เกินขอบเขต สิ่งที่เด็กจะได้รับ คือประสบการณ์ที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ให้สำเร็จ

–           สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มหรือเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้

–           การฝึกให้เด็กหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม อาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในวันนั้น ๆ เช่นการถามว่าวันนี้คุณครูใส่เสื้อสีอะไร เพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต

–           ให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาทำ หรือยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จ  เด็ก ๆ ทุกคนมักจะภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเริ่มทำ และทำสำเร็จ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในเชิงบวก และนอกจากนี้ ยังทำให้เขาเกิดความมั่นใจ กล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ  แต่หากเขาทำไม่สำเร็จ ต้องให้กำลังใจ ถึงแม้สิ่งที่เด็กได้รับจะไม่ใช่ความสำเร็จ แต่เขาก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ และ ความพยายามที่จะติดตัวเขาไป

–           พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้มีทักษะในการลำดับเหตุการณ์ และการใช้ภาษา โดยปล่อยให้เขาได้คิดอย่างอิสระ แก้ข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด เพื่อให้เขาได้กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการ

–           สร้างสถานการณ์ผ่านกิจกรรม ให้เขาได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

–           หากิจกรรมประเภท การแยกประเภท สี ขนาด เพื่อฝึกการพิจารณาสิ่งของในแบบรูปต่าง ๆ ให้เขาสามารถแยกความแตกต่างของรูปทรงต่าง ๆ

หากเราสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ หรือเสริมทักษะ เขาก็จะยังคงมีธรรมชาติของการอยากเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น แต่หากเด็กไม่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้สนุก สิ่งที่ติดตัวเด็กมา (ความอยากรู้อยากเห็น การชอบการเรียนรู้) ก็จะหายไปในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

            วันที่ 9 ธ.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผย ภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการ “สำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา  เด็กไทยปี 2554” ซึ่งกรมสุขภาพจิตร่วมกับกรม พินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ดำเนินการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทยจำนวนประมาณ 100,000 คนทั่วประเทศ ว่า ข้อมูลจากหนังสือของ Lynn ปี 2006 ได้ทำการสำรวจ IQ ของเด็กทั่วโลก พบว่า IQ ของเด็กไทยอยู่ที่ประมาณ 91 จัดอยู่ในระดับที่ 53 จาก 192 ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่ำกว่าระดับ IQ ของเด็กในประเทศอื่นๆในเอเชีย เช่น เด็กในประเทศจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม รวมทั้งมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบว่า ตั้งแต่ปี 2002-2006 อันดับ IQ ของเด็กไทยแทบจะไม่มีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ระดับ IQ ของเด็กเพิ่มจาก 103 ในปี ค.ศ.2002 เป็น 108 ในปี ค.ศ. 2006 ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เมื่อนำระดับ IQ แสดงผลเป็นกราฟรูประฆังคว่ำ พบว่า IQ ที่ระดับ 91 ของเด็กไทย มีแนวโน้มที่จะเอียงไปทางซ้ายของกราฟ ซึ่งเป็นด้านที่ตรงข้ามกับระดับการแปรผลที่ฉลาดกว่า รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการศึกษาของ นพ.อีริค อาร์ แคนเดล จิตแพทย์รางวัลโนเบลในปี 2553 พบว่า การเรียนรู้ ความรู้ ความจำ ความคิด อารมณ์ สติปัญญา เกิดจากการที่เซลล์สมองแตกกิ่งมาเชื่อมต่อกันเป็นวงจร สมองส่วนที่มีการจัดระเบียบใยประสาทจะเพิ่มการเชื่อมต่อใหม่ๆเพิ่มขึ้นจำนวน มาก ขณะที่ใยประสาทส่วนที่ไม่ได้ใช้จะหายไป ใยประสาทส่วนที่ใช้บ่อยจะหนาตัวขึ้น ทั้งนี้ ทารกอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี จะเป็นช่วงที่สมองมีพัฒนาการมากที่สุด ดังนั้น การสร้างการพัฒนาสมองให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายใยประสาทที่แข็งแรงจะมีส่วน ทำให้เด็กมีระดับ IQ ที่เพิ่มขึ้นด้วย
ด้าน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า นอกจากระบบใยประสาทในสมองแล้ว ยังพบว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการพัฒนาสมองของคนอย่างมาก การวิจัยในสัตว์และคนให้ผลยืนยันตรงกันว่า ความสามารถของสมองในการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า Neuro-Plasticity  หมายถึง การที่เราใช้สมองส่วนใดบ่อยๆ สมองส่วนนั้นจะเจริญเติบโตได้ดี แต่หากเราไม่ได้ใช้สมองส่วนนั้นเลย นานๆเข้า สมองส่วนนั้นก็จะฝ่อไป
           ในปีพ.ศ.2541 มีการศึกษาพบว่า หลังคลอดออกมา สมองเด็กทุกคนทั่วโลกจะมีรูปแบบที่เหมือนกัน แต่วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ และอบรมเลี้ยงดูต่างกัน
จะทำให้ IQ เด็กต่างกัน เซลล์สมองส่วนไหนที่ไม่ได้เชื่อมโยงกันจะถูกทำลาย ทำให้ประสิทธิภาพของสมองส่วนนั้นถูกทำลาย เช่นการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นจะหายไป
จึงมีการสรุปว่า จินตนาการของคนไทยหายไป เนื่องจากเราไม่ค่อยกระตุ้นให้เด็กฝึกคิด
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมอง
เด็กจำนวนมาก ระบุตรงกันถึงการกระตุ้นการใช้สมองที่เหมาะสม
เช่น การพบว่าสมองของเด็กในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้ามีบางส่วนเสียการทำงานไป คล้ายๆกับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือ เด็กที่ถูกทารุณกรรมจะมีระดับสารความเครียดในเลือดสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ และจะมีปัญหาพัฒนาการสมอง อารมณ์ ความประพฤติ และการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่า เด็กที่ได้รับการตอบสนองจากผู้เลี้ยงดูช้า เช่น ปล่อยให้ร้องไห้นานๆ หิวแล้วยังไม่ได้กิน เกิดความกลัวโดยไม่มีใครมาอยู่ใกล้ชิด ไม่มีใครมาสัมผัส
โอบอุ้ม เด็กจะกลายเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตนเอง ไม่มั่นคงในชีวิต หวาดระแวง ฯลฯ
     “ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์นั้น เซลล์ประสาทจะมีการสร้างขึ้นมากกว่าแสนล้านเซลล์ แต่ถ้าไม่มีการกระตุ้นจะด้วยการเสริมอาหาร หรือการเลี้ยงดู ที่เหมาะสม ก็จะขาดเครือข่ายเส้นใยประสาทที่ยื่นยาวออกมา ที่พร้อมจะส่งเสริมให้เด็กฉลาดและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้น”นพ.อภิชัย กล่าว

สาเหตุ
    ระดับเฉลี่ยของสติปัญญาเด็กไทย ต่ำกว่า ในประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่นๆ ในโลกซึ่งอยู่ที่ 104  เรายังต่ำอยู่ค่อนข้างมาก หลายคนยัง เชื่อว่า เด็กไทยส่วนหนึ่ง ฉลาดมาก เพราะ เท่าที่เห็น ไปแข่งโอลิมปิกวิชาการ ทีไร กวาดชัยชนะทุกที แต่โดยภาพรวม ยังน่าห่วง
สำหรับสาเหตุหลักๆ น่าเกิดจาก
    1.  การขาดไอโอดีน   ไอโอดีนมีผลต่อระดับ IQ  
    2.  การศึกษา ไม่เอื้อต่อการพัฒนา  อาจเป็นเพราะ หลักสูตร  วิธีการสอน  เทคโนโลยียัง
น้อยมาก 3G บ้านเรายังไม่มี 
    3.  สภาพแวดล้อม  ในการเลี้ยงดู
    4.  กรรมพันธุ์ไม่น่ามีผล  เพราะ โดยหลักวิชาการ น่าจะ อยู่ในระดับสูง

จาก : OK Nation blog    วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม 2553

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

มักมีคำถามมากมายว่า “เรียนลูกคิดเพื่ออะไร”
     จุดประสงค์ของการเรียนลูกคิดนั้นมีหลายประการ แต่ในเบื้องต้นของการเรียนนั้นเพื่อปรับทัศนคติของการเรียนคณิตศาสตร์ การใช้ลูกคิดในการคิดคำนวณพบว่าเป็นที่รู้จกแพร่หลายในอดีต ซึ่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมาก นอกจากนี้แล้วการเรียนลูกคิดยังช่วยเพิ่มระดับของการจินตนาการ กระบวนการคิดโดยการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และยังช่วยในเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ (ในเรื่องของการแก้โจทย์ปัญหา)
     ในการเรียนลูกคิดในระดับที่ผ่านการฝึกฝนการใช้ลูกคิดจนชำนาญแล้ว หลังจากนั้นเด็กจะถูกฝึกให้มีการคำนวณโดยการจินตนาการเป็นเม็ดลูกคิดในระหว่างการคิดคำนวณ ซึ่งในการเรียนลูกคิดจะเป็นระดับคร่าว ๆ ดังนี้
1.ขั้นพื้นฐาน เป็นขั้นที่ให้เด็กมีการใช้งานลูกคิด โดยการฝึกฝนการดีดจนชำนาญในระดับนี้เด็กควรจะใช้เวลาในการฝึกฝนประมาณ 10 – 20 นาทีต่อวัน
2.กระบวนการซึมซับการจินตนาการ
หลังจากการฝึกฝน เด็กๆจะจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการในการพัฒนาการคิดคำนวณ โดยการจดจำภาพเม็ดของลูกคิดเข้าสู่สมอง เด็กจะได้เริ่มหัดคิดคำนวณอย่างง่าย ซึ่งเราจะเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า “การดีดอากาศ”
3.ขั้นตอนการ จินตนาการ
เป็นขั้นตอนที่ เด็กจะสามารถคิดคำนวณได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ลูกคิดอีกต่อไป เด็กจะสามารถคำนวณ โดยอัตโนมัติ จากการจดจำของสมองได้โดยตรง (mental arithmetic) กระบวนการดังกล่าวจะทำให้เด็กสามารถคิดคำนวณได้อย่างรวดเร็ว

อายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเรียนลูกคิด?
ผลการศึกษาพบว่า เด็กจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่อสิ่งใหม่ๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ พบว่าเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 6 ขวบ มีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีกว่าและเร็วกว่าเด็กที่อายุมากกว่า การเรียนจินตคณิตยังเป็นการกระตุ้นการพัฒนาสมองทั้งสองข้าง และยังเป็นการปลูกฝังและพัฒนาทัศนะคติในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับต่อไปอีกด้วย อายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้นเรียน จะประมาณที่อายุ 4-5 ปีเป็นต้นไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments