ข่าวการศึกษาในการรับนักเรียนปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนในสังกัดของ สพฐ. ซึ่งมีนโยบายการรับนักเรียนในระดับต่าง ๆ โดยกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้องชัดเจน และไม่เปิดโอกาสให้มีการขยายห้องเพิ่ม ได้แก่ในระดับก่อนประถม ให้มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 30 คนต่อห้อง ส่วนในระดับประถมและมัธยมศึกษาไม่เกิน 40 คนต่อห้อง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักกับโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งจะต้องมีการสอบคัดเลือก (การแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น) และการเลื่อนชั้นของนักเรียนในโรงเรียนเดิมจาก ม.3  ขึ้น ม.4 ของเด็กหลายๆ คนที่เกณฑ์ในการคัดเลือกนักเรียนก็มีกำแพงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

การออกนโยบายดังกล่าวจะให้โรงเรียนในสังกัดถือเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีการผ่อนผันในปีการศึกษา 2561 นี้ เนื่องจาก สพฐ. มีความเข้าใจว่าจำนวนนักเรียนต่อห้องเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลถึงคุณภาพการเรียนการสอน

เมื่อได้รับข่าวสารดังกล่าว ครูเกิดคำถามขึ้นมากมาย จริงหรือที่จำนวนนักเรียนต่อห้องเป็นปัจจัยหลัก หรือเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ สพฐ. สามารถแก้ไขในเรื่องของคุณภาพของการเรียน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซากทุกๆ ปีของการสอบคัดเลือก คือการวิ่งเต้น ใช้เส้นสาย ใช้ปัจจัย ตำแหน่งหน้าที่การงาน  พร้อมกับการส่งบุตรหลานเข้าเรียนอย่างหนักในสถาบันกวดวิชาต่างๆ ไหนว่าลุงตู่มีนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กลายเป็นลดเวลาเรียนในโรงเรียน แต่เพิ่มเวลา(เรียน)รู้ (วันเสาร์-อาทิตย์) นี่เป็นนโยบายที่ต้องการให้เด็กเรียนพิเศษลดลง วัยเด็กที่หายไป เป็นความหวังดีของพ่อแม่ผู้ปกครองเพียงจุดประสงค์เพื่อให้บุตรหลานได้เข้าเรียนในที่มีการแข่งขันสูง ไม่ใช่เพียงเพราะอยากมีหน้ามีตาในสังคม แต่เป็นเพราะความเชื่อมั่นในศักยภาพของครู อาจารย์ ผู้สอน จึงได้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้บุตรหลานได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มของการเรียนนั้นหรอกหรือ ส่วนในอีกมุม โรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ในกระแสของการแข่งขัน จำนวนนักเรียนต่อห้องไม่เกิน 40 คน กลายเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ในแผนของการส่งบุตรหลานเลย ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะอยู่ติดบ้านก็ตาม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ แน่ใจหรือว่าคุณภาพที่ได้นอกจากจะได้มาจากจำนวนนักเรียนเพียงอย่างเดียว หากเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เราจะต้องมีการควบคุมตัวแปรต้นทุกตัวที่ส่งผลกับการตั้งสมมติฐาน แล้วจึงเลือกศึกษาปัจจัยทีละตัว เพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน แต่สิ่งที่เกิดขึ้น สพฐ. ไม่ได้ควบคุมตัวแปรต้นเลย (คุณภาพของครู อุปกรณ์การเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าจำนวนนักเรียนเลย) หากคุณภาพของครูหรือโรงเรียนอยู่ในระดับเดียวกันทั่วประเทศ คงไม่มีแรงกระเพื่อมจากนโยบายในครั้งนี้รุนแรงนัก แล้ว สพฐ. มีแผนรองรับที่จะแก้ไขปัญหาเด็กที่ไม่ผ่านการคัดเลือกแล้วหรือยัง

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

cliparti1_outdoor-clipart_08จากข่าวเรื่องของการลดเวลาเรียนให้น้อยลง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาปรับลดชั่วโมงเรียนบางวิชาให้น้อยลง เพื่อให้เด็กได้มีการผ่อนคลาย ไม่เครียดในการเรียนมากเกินไป หรือต้องหอบการบ้านไปทำต่อที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีเวลาที่จะอยู่กับพ่อแม่มากขึ้น

จากข่าวดังกล่าว ครูขอแชร์ความคิดเห็นกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัว หากใครต้องการแสดงความคิดเห็น ร่วมกันแชร์ได้นะคะ ใจความของข่าวกล่าวว่าจะมีการน่ำร่องกับโรงเรียนในสังกัด สพฐ ประมาณ 10% เริ่มดำเนินการได้ในเทอม 2 ของปีการศึกษา 2558 นี้ ซึ่งเป็นการส่งนโยบายสู่โรงเรียน โดยยังไม่ชี้ชัดว่าจะปรับลดชั่วโมงเรียนในวิชาใด และจะจัดกิจกรรมประเภทใด การวางนโยบายดังกล่าวโดยไม่มีกรอบหรือแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน โดยให้เริ่มปฏิบัติทันทีในเทอมหน้า การทำกิจกรรมก็ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเพียงผ่ายเดียว หากครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมให้สอดรับกับบทเรียนในห้องเรียนที่ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กๆก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกันหากกิจกรรมที่จัดขึ้นไม่ได้รับความสนใจ หรือไม่มีการจัดกิจกรรมใดๆเลย การลดเวลาเรียน ให้เด็กมีเวลาว่างมากขึ้น อาจเป็นการผลักให้เด็กไปอยู่กับสิ่งที่เขาชอบ เช่น เกมส์ สังคมออนไลน์ มากขึ้น ซึ่งหลายๆคนก็ทราบถึงพิษภัยและน่าจะทราบว่าเป็นเรื่องยากที่จะดึงบุตรหลานออกจากเกมส์หรือ สังคมออนไลน์ดังกล่าว แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของครู ซึ่งอยากแชร์และขอความคิดเห็นของพ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆท่านด้วยนะคะ

ครูจา

 

 

Tags : , , , , , , , , , | add comments

จากที่มีการเปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) มีนโยบายปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรับฌครงสร้างเวลาเรียน โดยการปรับลดเวลาในการเรียนวิชาการให้น้อยลง ในขณะที่เพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนให้มากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่นี้ จะมีการปรับโครงสร้างทุกระดับชั้นต้งแต่ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้น และ มัธยมปลาย

นอกจากการปรับลดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาการลงแล้ว จะมีการปรับสัดส่วนการเรียนวิชาต่างๆ ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นด้วย จากเดิมที่ให้สัดส่วนเวลาเรียนทุกวิชาเท่าๆ กัน ก็จะเปลี่ยนมามีจุดเน้นให้ตรวตามวัย โดยระดับประถมต้นโดยเฉพาะ ป.1-2 จะเน้นการเรียนรู้ทักษะด้านภาษาเป็นหลัก จนถึงระดับประถมปลายจึงจะเพิ่มเติมทักษะด้านการคิดคำนวณ ส่วนระดับมัธยมต้นจะเพิ่มเติมทักษะในการแสวงหาความรู้ให้กับเด็ก และมัธยมปลายจะเน้นให้เด็กนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้

ในการปรับโครงสร้างการเรียนดังกล่าว น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เมื่อมีการศึกษาหรือการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนต้นแบบเพียงบางโรงเรียนก่อน  เพื่อให้ครูมีการเตรียมความพร้อมของตนเองในการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนการสอนนอกห้องเรียนนั้นยากต่อการประเมินว่านักเรียนจะได้เรียนรู้สิงต่าง ๆ ตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  อีกทั้งครูผู้สอนยังเป็นปัจจัยหลักที่มมีผลต่อการเรียนการสอน หากครูผู้สอนไม่มีเป้าหมายหรือไม่มีการเตรียมการเรียนการสอน หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมการสอนในแบบของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน นั่นหมายถึงเวลาที่เด็กจะเสียโอกาสในการเรียนวิชาการในแต่ละครั้ง

ส่วนเรื่องสัดส่วนของวิชาการที่ถูกเน้นในแต่ละช่วงชั้นที่แตกต่างกันนั้น  เมื่อเด็กขึ้นมาถึงช่วงชั้นที่มีการเน้นสัดส่วนที่เปลี่ยนไป อาจทำให้เด็กนักเรียนเกิดความไม่ต่อเนื่องในการเรียน ทำให้การเรียน แทนที่จะมีการเรียนอย่างต่อเนื่องก็ต้องมาย้ำเนื้อหาที่น่าจะทำได้ดีแล้วในช่วงชั้นก่อน ๆ หรือทักษะบางทักษะที่จะต้องมีการสะสมประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาทักษะดังกล่าว ก็อาจทำให้เด็กขาดความรู้ความชำนาญในทักษะนั้น ๆ เพียงเพราะไม่ได้ถูกฝึกมา หรือการเรียนขาดช่วงไป

ในการคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ในเรื่องของศึกษาน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หากเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการศึกษา จากโรงเรียนต้นแบบอย่างจริงจัง ไม่ใข่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขาใช้แบบนี้ โดยไม่ได้ศึกษาจากธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กไทยเป็นตัวตั้ง

Tags : , , , , , , , , , | add comments

การยุบ ควบรวมโรงเรียน ที่เหมือนจะไกลตัวเด็กกรุงเทพ

ปัจจุบันข่าวของการควบรวม โรงเรียนหนาหูขึ้น บางกระแสก็ว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ บางกระแสก็ออกมาคัดค้าน บางกระแสก็สนับสนุนกับการควบรวม เพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นระบบ

ก่อนอื่นเรามาพิจารณาที่ต้นเรื่องก่อน เรื่องเริ่มต้นที่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายให้ยุบหรือรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ซึ่งมีประมาณ 14,000 โรงเรียน เหตุของการยุบรวมโรงเรียน เนื่องจากงบประมาณที่ให้ในแต่ละโรงเรียนคิดเป็นงบประมาณต่อหัวเด็ก ซึ่งถ้าจำนวนเด็กน้อย งบประมาณที่ให้ไปก็ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ สื่อการเรียนที่ดี ให้กับโรงเรียนได้ หากมีการยุบรวมโรงเรียน งบประมาณก็จะมากขึ้น และง่ายต่อการจัดการเรียนการสอน

เรื่องดังกล่าว หลาย ๆ คนคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว และไม่มีผลกระทบกับเด็กกรุงเทพเท่าไรนัก อาจเป็นความจริงที่เรื่องดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อเด็กกรุงเทพในระยะเวลาอันใกล้ แต่หากโรงเรียนในชุมชนถูกทำลาย ความผูกพันความสำนักรักบ้านเกิด ก็อาจลดน้อยลง ในอดีต เด็กชนบทจะเรียน หมู่บ้าน แล้วค่อยย้ายไปเรียนตามโรงเรียนประจำจังหวัดเมื่อเข้าสู่มัธยมศึกษา จนกระทั่งสอบเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อเรียนจบระดับอุดมศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ก็จะมีความสำนึกต่อบ้านเกิดที่ตนเองเติบโต และใช้ชีวิตในวัยเด็ก มักจะนำความรู้ ความสามารถ กลับมาพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตน  หากเราตัดความสัมพันธ์ดังกล่าวออกไป ความผูกพัน อาธร ต่อบ้านเกิดย่อมจางหายไป หลังจากที่จบการศึกษาก็จะไปทำงานตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแข่งขันกระจุกตัว แต่ในชนบท ก็จะมีประชากรน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่เหลือความทรงจำใด ๆ เลย

Tags : , , , , , , , , | add comments