Nov 27
Posted by malinee on Wednesday Nov 27, 2013 Under เกร็ดความรู้
ผู้ปกครองหลาย ๆ คน มีความเข้าใจว่าการเรียนจินตคณิตมีจุดประสงค์หลักคือการทำให้เด็กคิดเลขเร็ว
ในความเป็นจริงนั้น การเรียนจินตคณิตนั้น เปรียบเหมือนเด็กที่กำลังหัดว่ายน้ำ หากเขามีโอกาสในการฝึกฝนให้มีการว่ายน้ำในท่าที่ถูกต้อง ส่วนเด็กที่ไม่ได้ฝึกฝนให้ถูกท่า จะต้องใช้แรงในการว่ายที่มากกว่า ซึ่งทำให้เด็กทั้งสองกลุ่มสามารถว่ายน้ำได้ แต่เด็กที่ถูกฝึกให้ถูกท่าจะใช้แรงในการว่ายน้ำน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้ถูกฝึกอย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับจินตคณิต เปรียบได้กับเด็กที่ถูกฝึกว่ายน้ำให้ถูกท่า โดยเด็กจะสามารถมีความเข้าใจจำนวน คิดเลขเป็นระบบมากขึ้น และสร้างศักยภาพของสมองโดยการคิดเลขให้เป็นภาพอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
แต่ผู้ปกครองหลาย ๆ คน มักคาดหวังว่าการเรียนจินตคณิตในระยะเวลาสั้น ๆ จะสามารถทำให้เด็กคิดเลขได้เร็วขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่มักลืมไปว่าการทำงานในแต่ละอย่างให้สัมฤทธิ์ผลได้ดี ไม่ว่าจะอยู่วัยใดก็ตาม จำเป็นจะต้องมีการฝึกให้เกิดทักษะก่อน ซึ่งการเรียนจินตคณิตก็เช่นกัน ในการจะทำให้ภาพเกิดในสมองซีกขวาได้นั้น ก็ต้องอาศัยเวลาและทักษะในการใช้ลูกคิดจนชำนาญเช่นกัน
จะเห็นว่าการเรียนจินตคณิตเป็นเรื่องเดียวกับการคิดเลขเร็วหากมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง แต่อาจเป็นหนังคนละม้วนสำหรับเด็กที่ไม่ใส่ใจในการฝึกฝนเลย ดังนั้นหากพ่อ แม่ ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานเรียนจินตคณิต หรือการเรียนใด ๆ ก็ตาม ให้ประสบความสำเร็จ จะต้องให้บุตรหลานได้มีการฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะ จนเป็นความชำนาญจึงจะสามารถเห็นผลสัมฤทธิ์ได้
ครูจา
May 07
จากตอนที่ 2 ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยทารก แต่เด็กแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในการเรียนรู้ของเขา แต่มีงานวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนว่า หากเด็ก ที่เข้าโรงเรียนโดยมีทัศนคติในเชิงบวก และมีการฝึกทักษะ (นั่นคือการเคลื่อนไหวในวัยทารก) แล้ว เขาจะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี และมีความก้าวหน้าในการเรียนที่ดี ซึ่งเด็กทุกคนจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีหน้าที่ที่จะต้องกระตุ่นหรือสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม
เด็กวัยอนุบาล มักมีการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน การเข้าสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้
– กระตุ้นให้ทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ แต่ความช่วยเหลือที่ให้ต้องไม่เกินขอบเขต สิ่งที่เด็กจะได้รับ คือประสบการณ์ที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ให้สำเร็จ
– สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มหรือเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้
– การฝึกให้เด็กหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม อาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในวันนั้น ๆ เช่นการถามว่าวันนี้คุณครูใส่เสื้อสีอะไร เพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต
– ให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาทำ หรือยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จ เด็ก ๆ ทุกคนมักจะภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเริ่มทำ และทำสำเร็จ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในเชิงบวก และนอกจากนี้ ยังทำให้เขาเกิดความมั่นใจ กล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ แต่หากเขาทำไม่สำเร็จ ต้องให้กำลังใจ ถึงแม้สิ่งที่เด็กได้รับจะไม่ใช่ความสำเร็จ แต่เขาก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ และ ความพยายามที่จะติดตัวเขาไป
– พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้มีทักษะในการลำดับเหตุการณ์ และการใช้ภาษา โดยปล่อยให้เขาได้คิดอย่างอิสระ แก้ข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด เพื่อให้เขาได้กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการ
– สร้างสถานการณ์ผ่านกิจกรรม ให้เขาได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
– หากิจกรรมประเภท การแยกประเภท สี ขนาด เพื่อฝึกการพิจารณาสิ่งของในแบบรูปต่าง ๆ ให้เขาสามารถแยกความแตกต่างของรูปทรงต่าง ๆ
หากเราสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ หรือเสริมทักษะ เขาก็จะยังคงมีธรรมชาติของการอยากเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น แต่หากเด็กไม่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้สนุก สิ่งที่ติดตัวเด็กมา (ความอยากรู้อยากเห็น การชอบการเรียนรู้) ก็จะหายไปในที่สุด
ครูจา
Nov 18
Posted by malinee on Thursday Nov 18, 2010 Under ข่าวการศึกษา
กิจกรรม นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก
ภายใต้ โครงการศูนย์พัฒนาศักยภาพนิทานในการพัฒนาเด็ก
วิทยากร : อาจารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่ : ณ ห้องประชุมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ค่าลงทะเบียน : 400 บาท (รวมอุปกรณ์/อาหารว่าง/อาหารกลางวัน)
กำหนดการ
08.30–09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-10.30 น. อบรม “นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก” บรรยายสลับกับ workshop (1)
10.30-10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น. อบรม “นิทานกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก” บรรยายสลับกับ workshop (2)
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น. กิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มพัฒนาการทางสมองของเด็กปฐมวัย “วาด-ตัด-ปะ ศิลปะ”
14.30-14.45 น. รับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น. อบรม “สื่อภาษาเพื่อพัฒนาการอ่าน” บรรยายสลับกับ workshop
16.00 น. จบการอบรม