#นี่เราอยู่ระหว่างสงครามรึปล่าวเนี่
จากเหตุการณ์​ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้วต่อเนื่องมาเรื่อยๆ​ เราคงต้องย้อนกลับมาดูกันหน่อยมั้ยว่า​ โครงสร้างทางสังคมของเรามันผิดเพี้ยนไป​ ลักษณะเด่นของความเป็นคนไทยเป็นคนอ่อนน้อม​ ถ่อมตน​ รู้จักผิดชอบชั่วดี​ มีน้ำใจ​ เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ​ แต่หลังจากเหตุการณ์​ข่าวต่างๆที่ได้ยินอย่างต่อเนื่อง​ ทั้ง​ฆาตกรต่อเนื่อง​ นายสมคิด​ , ผ.อ.​ กอล์ฟ​ คดีปล้นทอง​, ไอซํืหีบเหล็ก​ และล่าสุดนายทหาร​คลั่งที่โคราช
เหตุการณ์​ต่างๆ​ ที่เกิดขึ้น​ เป็นแนวโน้มของสังคมที่ใช้ความรุนแรง​โดยขาดความยั้งคิด​ ในแต่ละคดีที่เกิดขึ้น​ เกิดจากความโลภ​ ใช้เงินเกินรายได้ที่มี อยากได้รับการยอมรับนับหน้าถือตา ประกาศให้ทุกคนรู้เรื่องความสุขของตนในการใช้ชีวิต​หรูหราบนสังคมออนไลน์​ โดยการกู้หนี้ยืมสิน​ เมื่อถูกทวงหนักเข้า​ก็หาทางออกโดยการก่อคดีปล้น​ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการเท่านั้น​
คดีของไอซ์หีบเหล็ก​ เป็นอีกคดีสะเทือนใจ​ จากข่าวที่มีผู้หญิง​จำนวนไม่น้อยที่ต้องถุูกฆ่า​ แล้วศพก็ถูกอำพรางโดยการใส่หีบเหล็กทิ้งไว้ในบ่อน้ำในบ้านที่ตนเองอยู่​ โดยที่ไม่รู้สึกถึงสิ่งที่ตนเองได้กระทำลงไป​ แต่กลับก่อเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่า​ จากคำให้การของคนที่ทำงานกับทางครอบครัวของไอซ์​ อาจวิเคราะห์​ได้ใว่าเค้าขาดการดูแลเอาใจใส่​จากพ่อแม่​ ไม่มีใครคอยอบรมบ่มนิสัย​ ประกอบกับการติดยาเสพติด​ ทำให้สมองในส่วนของความรู้จักยั้งคิดหายไป​ ใช้สัญชาตญาณ​ในการดำรงชีวิต​เพียงอย่างเดียว
คดีสุดท้าย​ คือคดีของนายทหารคลั่ง​ เป็นคดีที่สะเทือนใจที่สุด​เพราะผู้ก่อคดี​เป็นคนในเครื่องแบบ​ ซึ่งหน้าที่ของทหารคือป้องกันอริราษฎร์​ศัครู​ แต่ในครั้งนี้​ ทหารเองเป็นผู้หันปลายกระบอกปืนเข้าหาประชาชน​ที่ไม่ได้รู้เรื่อง​ เพียงเพราะคุณคิดว่าคุณอยู่ในโลกของเกมส์ออนไลน์​ โดยที่คุณปล้นอาวุธ​ครบมือ​ พร้อมอุปกรณ์​ป้องกันตัว​ แล้วลงใน​ ​fb​ ประกาศ​ตนว่ามีใครจะกล้าลุยกับคุณมั้ย​ นี่คือผลของจินตนาการ​จากเกมส์ออนไลน์​ที่ออกมาบนโลกของความเป็นจริง​กับคนอายุ​ 32​ ที่มีวุฒิภาวะ​ โศกนาฏกรรม​ครั้งนี้ที่เกิดขึ้นมันชี้ชัดแล้วว่า​ จินตนาการ​ในเกมส์​ออนไลน์​ การฆ่าเป็นการเก็บแต้ม​ การขโมยอาวุธ​ เพื่อให้การเก็บแต้มมีประสิทธิภาพ​ คงเห็นแล้วนะว่าเกมส์ไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกแล้ว​ สิ่งที่เกิดขึ้น​.มันเกิดขึ้นกับคนที่มีวุฒิภาวะ​แล้ว​ แต่ถ้าคุณจะยังคงส่งเกมส์​ลักษณะ​นะให้กับบุตรหลาน​ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ​ ก็คงจะมีข่าวอาชญากรรม​เกิดขึ้นไม่ใช่แค่รายวันแล้ว​ คงต้องตามกันเป็นรายชั่วโมง
… ใส่ใจบุตรหลานของตนเองเถอะคะ​ ให้เวลากับเค้า​ อย่าให้เครื่องมือสื่อสารมาแทนทีี่เวลาของครอบครัว​ ที่เหลือจากหลังเวลาเลิกงานที่เหลือไม่ถึง​ 10 ชัวโมง​ มานั่งพูดคุยสารทุกข์สุกดิบ​ เล่าประสบการณ์​ของแต่ละวัน​ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์​ สิ่งที่ลูกทำผิดก็อบรม​ สอนเค้า​ เรื่องการใช้ความรุนแรงต้องสอนลูก หรือให้เค้าได้แสดงความคิดเห็นหากจะมีการเปลี่ยนแปลง​ บางอย่าเล็กๆ​ น้อยๆ​ ให้เค้าได้รู้ว่าเค้าเป็นส่วนหนึ่งและมีความสำคัญ​ในครอบครัว​ แล้วเค้าจะไม่ไปพยายามเป็นคนสำคัญ​นอกบ้าน​ ไม่ไปแสวงหาความรักจากที่อื่น​ ถ้าที่บ้านมีให้เค้าจนเต็ม….
#ในนามสถาบันคิดสแควร์ขอแสดงความเสียใจกับครอบผู้เสียชีวิตในทุกๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
#ขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานทุกท่านที่เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องทุกชีวิต
#อยากให้เกิดขึ้นอีกเลย
#เคารพด้วยหัวใจ
#สถาบันคิดสแควร์

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

                        หากเราสังเกตกันดี ๆ จะพบว่าทุกวันนี้ ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำอะไร หรือตัดสินใจอะไรได้เร็วขึ้น ไม่ว่าเราจะหันไปทางไหน ผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างเพศ ต่างวัยกัน จะพบว่าจะต้องมีสิ่งหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้ว นั่นคือโทรศัพท์มือถือ แต่บางครอบครัวมีมากกว่านั้น นอกจากมือถือแล้วยังมี iPad หรือ tablet  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในเรื่องการหาข้อมูล การติดต่อสื่อสารถึงกัน ใน Social network นั่นเอง

เมื่อพิจารณากันดี ๆ แล้ว เราจะพบว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยนั้น เป็นดาบสองคม นั่นคือ หากผู้ใช้มีวุฒิภาวะ เขาก็จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ในทางกลับกันหากผู้ใช้ไม่มีวุฒิภาวะ ก็เป็นดาบที่หันกลับมาทำร้ายตนเองได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างที่เราเห็นกันจนชินตา หรือได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่มีความอดทนเลย  ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่รู้จักการรอคอย  ทำไมเด็กสมัยนี้ไม่มีความพยายาม   คำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักออกมาจากปากพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเค้าเหล่านั้น หากเรามามองย้อนกลับไปดี ๆ เราจะพบสาเหตุที่เป็นสาเหตุหลักเพียงอย่างเดียว นั่นคือวิธีการเลี้ยงดูเขาเหล่านั้นแทบทั้งสิ้น

ทำไมการเลี้ยงดูของคนสมัยใหม่จึงเป็นสาเหตุหลักของปัญหา  หลาย ๆ ครอบครัวที่เราพบเห็นตามห้างสรรพสินค้า เรามักพบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำงานในวันทำงาน เมื่อมีเวลาวันหยุดก็จะพาลูกไปตามโรงเรียนกวดวิชาเพื่อหวังให้เขาเหล่านั้นมีผลการเรียนดี มีอนาคตที่ดี ส่วนตนเองก็อยู่กับโทรศัพท์มือถือ ท่สามารถติดต่อสื่อสารผ่าน network ที่ทันสมัย ทำให้ตนเองมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใน Social network ที่สร้าง(ภาพให้ดูดี)ขึ้นมา ตลอดเวลา หลังจากเลิกเรียนกลับบ้าน ก็ส่งเกมส์ให้ลูกเล่น เพื่อเป็นการผ่อนคลายหลังเลิกเรียนอย่างเคร่งเครียดมาตลอดวัน และลูกยังสามารถอยู่ในกลุ่มเพื่อนได้อย่างไม่อายใคร เพราะเราก็มี iPad เล่นเกมส์โน้นนี้เหมือนกัน

จากความคิด หรือทัศนคติของผู้ปกครองส่วนใหญ่ดังกล่าว มันเป็นการติดกับเทคโนโลยี แทนที่เราจะใช้มันให้เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่ได้รับกลับเป็นภัยมหันต์ ทั้งกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งมีการสนทนากัน พูดคุยถึงปัญหา แบ่งปันความเข้าใจซึ่งกันและกัน ที่น้อยลงเรื่อย ๆ และยังเป็นการบ่อนทำลายทั้งสมาธิ ความสามารถในการเรียนรู้ และบั่นทอนเวลาการฝึกทักษะต่าง ๆ ให้สั้นลงอีก ทำให้ช่วงเวลาที่เขาควรเก็บเกี่ยวประสบการณ์ (จากพ่อแม่จากการพูดคุย) และทักษะการดำเนินชีวิต (ทักษะในการใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เพื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เรียนรู้กฎ กติกา มารยาทต่าง ๆ)

หากเลือกได้ระหว่าง 2 โปรโมชั่นคุณจะเลือกอะไร ระหว่าง 1. new iPad + ลูก(ติดเกมส์ ไม่เอาใจใส่ในการเรียน หรือเด็กพิเศษ)

หรือ 2. ครอบครัวที่ไม่มี iPhone  หรือ iPad + ความเป็นครอบครัวที่มีความสุข โดยมีลูกที่ไม่มีคำว่า เด็กพิเศษติดตามตัวตลอดเวลา

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เด็กทุก ๆ คนเมื่อเกิดมา นับตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาดูโลก เขาจะใช้อวัยวะของร่างกายในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  จึงเป็นที่มาของนักจิตวิทยาเด็ก ที่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวมาวิจัยเกี่ยวกับเด็กทารก แล้วก็พบว่าประสบการณ์ทางด้านความรู้สึกทางอารมณ์และการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความฉลาดและการเจริญเติบโตของเด็กทารกจนกระทั่งอายุ 2 ปี หากเด็กมีการเรียนรู้ทั้งสองด้านอย่างต่อเนื่อง  ก็จะสะท้อนออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ (ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย) , วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการเข้าสังคมเมื่อเขาเติบโตขึ้น (เรามักจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เมื่อลูกเข้าสู่วัยประถม)

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เรากล่าวถึงประสบการณ์ในวัยทารกอยู่ 2 ด้าน ซึ่งได้แก่

  1. ประสบการณ์ด้านอารมณ์และความรู้สึก เมื่อมองย้อนกลับไปในวัยทารก เด็กส่วนใหญ่จะได้รับความรักความอบอุ่นจากแม่ ภาษากายที่แม่ส่งผ่านความรักให้กับลูกผ่านการอุ้ม การสัมผัสของแม่นั้น เป็นประสบการณ์ในเชิงบวกที่ลูกจะได้เรียนรู้ว่าตนเองจะปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอด หากแต่เมื่อใดที่ต้องการความช่วยเหลือ แค่เพียงร้องไห้ เขาก็จะได้สัมผัสที่เขาต้องการอีกครั้ง  ซึ่งประสบการณ์ในเชิงบวกนี้มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในวัยทารกมาก เมื่อเขารู้สึกอบอุ่น และปลอดภัย เขาก็สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างผ่อนคลาย  แต่ในทางกลับกัน  หากครอบครัวใดไม่มีความพร้อม หรือยังไม่ได้เตรียมรับกับสถานการณ์ที่จะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อย ๆ ที่ค่อนข้างเอาแต่ใจมาเพิ่ม การเรียนรู้ของเขาก็จะเป็นประสบการณ์ในเชิงลบ  เนื่องจากในสถานการณ์ที่ยังไม่พร้อมนั้น จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกตลอด 24 ชั่วโมงนั้น หมดความอดทนลงได้ในเสี้ยววินาที  หากเป็นเช่นนั้น เด็กเองจะมีความรู้สึกหวั่นไหว ไม่ปลอดภัย ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเขาให้พัฒนาช้าลง จนอาจกลายเป็นกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้เมื่อโตชึ้น
  2. การเคลื่อนไหว  เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่า ในวัยทารกนั้น เด็กในช่วง 7 เดือนแรกไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ทำให้การเรียนรู้ในช่วงนั้นจะต้องเป็นการเรียนรู้จากแขนขาที่ขยับได้เต็มที่ แล้วขยับไปเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า ในช่วงของวัยที่ต้องอยู่ในเปล คนโบราณจึงนำโมบายมาห้อยไว้ที่หัวเตียง เพื่อเป็นอุบายให้เด็กขยับแข้งขา ให้เขามองแล้วไขว่ขว้า  และก็เป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า การเคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานการพัฒนาในทุก ๆ ด้านของเด็ก ทั้งในเรื่องกล้ามเนื้อ  ความจำ และบุคลิกภาพ

หลาย ๆ ครอบครัวมักจำกัดกรอบการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ไม่ให้ปีนป่าย เนื่องจากกลัวการลาดเจ็บ  การจำกัดกรอบต่าง ๆ ดังกล่าว เท่ากับการปฏิเสธที่จะให้เขามีประสบการณ์ในการใช้กล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ  หรือในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บ เขาก็ยังได้ประสบการณ์ว่าในการปีนป่ายต้องมีความระมัดระวังในจุดไหนมากกว่าปกติ  (จริง ๆ ผู้ใหญ่สามารถป้องกันการบาดเจ็บได้ หรือลดความเสี่ยงได้ โดยไม่ไปจำกัดกรอบการเล่น การเรียนรู้ของเด็ก)  ซึ่งประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวนี่เอง เป็นพื้นฐานที่ทำให้เขามีสุขภาพดี และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

จากบทความข้างต้น ชี้ให้เห็นแล้วว่าวัยทารกนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก หากเราต้องการให้ลูกหลานเป็นเด็กฉลาด สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือ การยื่นความรัก ความอบอุ่น และการเล่นโดยใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน ที่จำกัดกรอบการเล่นให้น้อยที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments