58447_knot-yarns_md            หลายๆ ครอบครัวที่มีบุตรหลาน ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงชั้นใด มักคาดหวังว่าการเรียนของบุตรหลานให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่สิ่งที่คาดหวังอาจเป็นจริงไม่ได้หากขาดการเอาใจใส่ดูแล กวดขันตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคณิตศาสตร์ก็เป็นอีกวิชาหนึ่งที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้บุตรหลานมีปัญหา

คราวนี้เราลองมาพิจารณากันดูว่า การเรียนคณิตศาสตร์สามารถเกิดปัญหาด้านใดได้บ้าง เราต้องมาเริ่มกันตั้งแต่เด็กปฐมวัย เด็กในวัยนี้จะมีปัญหาคณิตศาสตร์หากเขาไม่สามารถแปลงภาษาคณิตศาสตร์ออกมาเป็นรูปธรรมได้ สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองช่วยได้ คือการให้จับต้องสิ่งของที่เป็นรูปธรรม พร้อมกับเชื่อมโยงกับตัวเลข ซึ่งถือเป็นภาษาคณิตศาสตร์ที่เด็กๆ จะต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ วัยต่อมาที่มีความสำคัญไม่แพ้ช่วงปฐมวัย คือประถมต้น การเรียนคณิตศาสตร์เริ่มมีปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ต่างๆ นั่นคือการบวก ลบ คูณ หาร เข้ามา ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ คือความไม่เข้าใจเรื่องจำนวน ความไม่แม่นยำ เนื่องจากการขาดการฝึกฝน หากเด็กไม่สามารถเข้าใจการเพิ่ม ก็ส่งผลต่อเนื่องให้เด็กไม่เข้าใจการบวกซ้ำ ๆ ซึ่งหมายถึงการคูณ และนอกจากนี้ หากการบวกมีปัญหา การลบก็ย่อมมีปัญหาด้วยเช่นกัน  ปัญหาต่างๆ เหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไข จะกลายเป็นปมที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเด็กก็จะหยุดเดินเพราะต้องสะดุดกับปมมากมาย ทำให้เด็กไม่มีความมั่นใจ และทัศนคติด้านการเรียนเป็นลบไป

การเรียนคณิตศาสตร์หากเกิดปมตั้งแต่ตอนต้นๆ ของการเรียน มักส่งผลให้การต่อยอดมีปัญหา เหมือนเชือกที่สั้นลงเนื่องจากการมัดปมไปเรื่อยๆ หากปัญหาได้รับการแก้ไข ก็เปรียบเหมือนการคลายปมให้เชือกได้ยาวขึ้น และต่อยอดได้มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นหากต้องการให้เด็กๆ สามารถต่อยอดทางคณิตศาสตร์ พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่ ติดตามผลการเรียนของเด็กๆ เผื่อว่าปมที่เพิ่งเกิดจะได้รับการแก้ไขก่อน  ซึ่งแน่นอนว่าการแกะปมที่เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นย่อมใช้เวลาน้อยกว่า ปมที่ถูกสะสมมานาน แต่ก็ยังดีกว่าที่มันจะกลายเป็นเงื่อนจนไม่สามารถแกะมันออกในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

untitled            หลายครั้งที่เขียนเกี่ยวกับแนวการเรียนการสอนจินตคณิตไปแล้ว คราวนี้จะเป็นเรื่องของวัยที่เหมาะสมกับการเรียนจินตคณิต

อันที่จริงแล้วการเรียนจินตคณิตไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องว่าเด็กโตแล้วเรียนไม่ได้ แต่สำหรับเด็กที่เล็กเกินไป เป็นข้อจำกัดเรื่องกล้ามเนื้อมือเป็นหลัก

คราวนี้มาดูที่รายละเอียดกันว่าการเรียนจินตคณิตสำหรับวัยไหนที่เหมาะสมที่สุด เริ่มตั้งแต่ปฐมวัย หรืออนุบาลก่อน เนื่องจากเด็กอนุบาลการเรียนคณิตศาสตร์จะเริ่มตั้งแต่จำนวนและตัวเลข แล้วจึงค่อยพัฒนาเข้าสู่การเรียนการบวก-ลบ การเรียนจินตคณิตจะเป็นการแนะนำตัวเลขให้กับเด็กได้จับต้องได้เป็นรูปธรรม และยังเป็นการนำการบวกเพิ่ม หรือการลด ให้เด็กได้มีความเข้าใจถึงการบวก-ลบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงถือว่าการเรียนจินตคณิตโดยใช้ลูกคิดเป็นสื่อนำให้เขาเข้าใจในการเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างดี  วัยประถม(ต้น) เป็นวัยที่การเรียนจินตคณิตจะเป็นการจัดระบบความคิด ทั้งเรื่องของค่าประจำหลัก และการบวก-ลบ คูณ หาร ซึ่งเด็กบางคนที่มีปัญหากับคณิตศาสตร์อาจมีผลเนื่องจากความไม่เข้าใจเรื่องค่าประจำหลัก การบวก-ลบ เลขขอยืม ซึ่งในการเรียนลูกคิดจะเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน และเด็กๆ จะสามารถปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง  แต่ในเด็กประถม(ปลาย) ส่วนใหญ่จะมีกระบวนการคิดคำนวณคณิตศาสตร์ที่คล่องแล้ว การใช้ลูกคิดจะถือว่าตามหลังสิ่งที่เขารู้มาแล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียน เพราะเป็นสิ่งที่ตนเองเรียนรู้จนชำนาญแล้ว จึงไม่แนะนำให้เด็กประถม(ปลาย) เรียนจินตคณิตสักเท่าใด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาจะเรียนไม่ได้ เพียงแต่ผลสัมฤทธิ์ที่จะนำไปใช้ ช้ากว่าบทเรียนคณิตศาสตร์ที่เรียนในโรงเรียน แต่เนื่องจากผู้ปกครองหลายๆ คนมักเข้าใจว่าเด็กประถม(ปลาย)ที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์เกิดจากการคิดคำนวณผิดพลาด ควรได้รับการแก้ไข แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กที่มีปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ อาจไม่มีปัญหาการคำนวณเลยก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กโตจะอยู่ที่ความเข้าใจเป็นหลัก หากจะแก้ปัญหาจริง ๆ ต้องหาสาเหตุที่แท้จริงกันก่อนจะเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ในการเรียนที่ไม่ได้แก้ปัญหาผิดทาง

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

imageจากบทความเมื่อครั้งที่แล้ว ก็มีคำถามมากมายเกี่ยวกับอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ขอเรียกง่ายๆ ว่า เซ้นส์ทางคณิตศาสตร์ มักมีคำถามมากมายตามมาว่า เราจะสังเกตบุตรหลานได้อย่างไรว่าเป็นเด็กมีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์หรือไม่ วิธีที่ง่ายๆ คือ การสังเกตความสนใจในการเรียนก่อนเป็นอันดับแรก ว่าหากมีโอกาสเขาจะเลือกเรียนอะไรก่อน ซึ่งเซ้นส์นั้นจะทำให้เขามีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ดี มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบกว่า เด็กในวัยเดียวกัน คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้หลักการ การคิดเป็นระบบ มาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหา ไม่จำเป็นที่จะต้องคิดเหมือนๆ กัน เด็กที่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์ 2 คน อาจคิดโจทย์ปัญหาที่ต่างกัน แต่ให้คำตอบเดียวกันได้ เนื่องจากมุมมองที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างโจทย์การแข่งขันแนวคิดและการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป. 3-4 เช่น

น้ำยาล้างจานขวดหนึ่งหนัก 250 กรัม เมื่อใช้ไป 1 ใน 4 ของขวด ปรากฏว่าหนัก 195 กรัม อยากทราบว่าขวดเปล่าหนักกี่กรัม

ตัวอย่างดังกล่าว เด็กที่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ มีการใช้ความรู้พื้นฐานทั้งในเรื่องของเศษส่วน และโจทย์ระคนมาใช้ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรม จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก  แต่การที่เด็กจะมีอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่ว่าจะพบกันได้ทุกคน  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ไม่มีเซ้นส์ทางคณิตศาสตร์จะไม่สามารถแก้ปัญหา หรือต้องเรียนคณิตศาสตร์อ่อนเสมอ เขาเหล่านั้นสามารถแก้ไขปัญหา หรือเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีเช่นกัน เพียงแต่ต้องมีการจัดระบบระเบียบการคิดวิเคราะห์ให้ดี และมีการฝึกฝนวิธีการคิดให้เป็นระบบ หรืออาจมีการสอนให้เด็กตีความจากประโยคบอกเล่า

ให้เป็นรูปธรรม และสิ่งที่ต้องมีอย่างเคร่งครัดคือ วินัยในการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขามีความมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีกับการเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

หลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ ยังเป็นเด็กนักเรียน เราไม่เห็นความแตกต่างของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของเราพัฒนาไปจากเดิมเลย ซ้ำร้ายบุคลากร (ครูผู้สอน) ในปัจจุบันเป็นเพียงลูกจ้างของทางโรงเรียน ที่หาจิตวิญญาณในการสอนเหมือนแต่เก่าก่อนยากขึ้นเรื่อย ๆ  สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมันอาจเกิดจากระบบของเรื่องค่าตอบแทนที่บุคลากรควรได้รับ เพื่อให้มีการทุ่มเทแรงกายแรงใจ พัฒนาเด็กรุ่นต่อ ๆ ไป ให้มีคุณภาพ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันกลับตรงกันข้าม เนื่องด้วยค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อขวัญ กำลังใจ หรือทัศนคติที่ดีกับการสอน ซึ่งส่งผลให้ครูในปัจจุบัน มีความรับผิดชอบต่อการเรียนการสอน และมาตรฐานการสอนที่ต่ำลง

ปัจจัยหลักของการเรียนในวัยเด็กว่าจะมีทัศนคติในเชิงบวกหรือลบนั้น ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นหลัก นอกจากนี้แล้วอุปกรณ์ หรือสื่อการสอนก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เด็กสามารถเข้าใจบทเรียน หรือการแปลงจากข้อความ ที่เป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กเพิ่งเริ่มเรียนเรื่องเศษส่วน จะเกิดความสับสนทุกครั้งในเรื่องของการเปรียบเทียบเศษส่วนว่าตัวไหนมีค่ามากกว่าตัวไหน ซึ่งถ้าเรามีสื่อการสอนที่ดี จะทำให้เด็กเข้าใจได้ว่าการเปรียบเทียบเศษส่วนจะมีหลักอย่างไร

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการเรียนของเด็ก คือความเข้าใจโดยให้เห็นเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments