imagesCATKOF32เด็กสมาธิสั้นกับจินตคณิต

จากบทความเรื่องเด็กสมาธิสั้น พอจะมองเห็นภาพหรือคำจัดความของเด็กสมาธิสั้นกันบ้างแล้ว หลาย ๆ ครอบครัวมักคิดว่า เด็กสมาธิสั้นเป็นเรื่องที่ร้ายแรง และหลาย ๆ ครอบครัวก็ไม่เปิดใจยอมรับกับการเป็นเด็กสมาธิสั้นของบุตรหลานของตน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหากพ่อ แม่ ผู้ปกครองเปิดใจยอมรับ และพาเด็กไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้บรรเทาอาการที่เป็นอยู่ให้ทุเลาลง และเพื่อส่งเสริมให้เด็กสามารถจดจ่อมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมที่ทำได้มากขึ้นต่อไป

จินตคณิตก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ปกครองหลาย ๆ คน ซึ่งจินตคณิตเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ฝึกให้เด็กได้มีวินัยในการทำงาน (การบ้านนอกเวลา) ดังนั้นการเรียนจินตคณิตจึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะกับเด็กสมาธิสั้นในกลุ่มที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้น ที่มีอาการไม่รุนแรงนักได้ เนื่องจากเด็กยังมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่บ้าง  แต่จะไม่เหมาะกับเด็กที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษา เนื่องจากในการใช้ลูกคิดนั้น เด็กจะต้องจดจ่ออยู่กับโจทย์และแกน (หลักหน่วย) ในการหาคำตอบแต่ละข้อ แต่เด็กในกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกจะมีสมาธิไม่ครบข้อ ในขณะที่เด็กในกลุ่มที่ได้รับการฝึกมาบ้าง จะเป็นการกระตุ้นให้จดจ่ออยู่กับโจทย์ในแต่ละข้อ จนกลายเป็นแต่ละแถว และในที่สุดก็เป็นหน้า ได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ดังนั้นสิ่งแรกที่จำเป็นต่อครอบครัวของเด็กสมาธิสั้น คือ การเปิดใจยอมรับ และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรักษา และเพิ่มกิจกรรมเสริมสมาธิต่าง ๆ เช่นการเล่นกีฬา โยคะ หรือศิลปะ เป็นต้น เพื่อพัฒนาสมาธิให้ยาวนานต่อเนื่องพอที่จะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากโรงเรียนที่มีมากขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากเด็กไม่ได้เป็นสมาธิสั้น แต่ด้วยวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่กระตุ้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมพัฒนาตนเอง หรือการเลี้ยงดูที่ปล่อยปละละเลย ทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย วิธีการเลี้ยงดูดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบในด้านลบมากกับเด็กในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้เด็กปกติ กลายเป็นเด็กที่ขาดความสนใจในการเรียนรู้ เฉื่อย ไม่พยายามคิด หรือ ทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องใช้ความพยายามเลย ส่งผลให้ไม่ว่าจะมีการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างไร เด็กไทยก็ยังคงเป็นเด็กที่อยู่ในแนวหลัง เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ต่อไป

Tags : , , , , , , , , , | add comments