Jan 30
Posted by malinee on Tuesday Jan 30, 2018 Under เกร็ดความรู้
เราทราบกันหรือไม่ว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของการรังแกกัน โดยการใช้ความรุนแรงของเด็ก และกลุ่มที่ใช้สื่อทางเทคโนโลยีพวกโซเชียลในการทำร้ายเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง จากการเก็บข้อมูลพบว่าเด็กในกลุ่มที่เป็นเหยื่อจะเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มของเด็กพิเศษ ซึ่งจะถูกกลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันเกเร รังแกโดยใช้ความรุนแรง ส่วนกลุ่มที่เป็นตัวการมักเป็นเด็กในกลุ่มที่ติดกับการเล่นเกมส์รุนแรง ร่วมกับการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องพฤติกรรมจากครอบครัว จึงไม่มีความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองทำเป็นเรื่องรุนแรง
ส่วนกลุ่มที่โตขึ้นจะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งเหยื่อ โดยนำเรื่องที่น่าอาย หรือแม้แต่การแต่งเรื่องแล้ว post ขึ้นบนสื่อโซเชียล ให้เหยื่อได้รับความอับอาย ผลที่ได้คือเด็กในกลุ่มที่ถูกรั
แกทั้งสองกลุ่ม หากไม่ได้รับการแก้ไขเหยื่อจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า
หากไม่มีใครตระหนัก หรือร่วมกันแก้ไขปัญหา เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะแย่ลงเรื่อยๆ เพียงร่วมมือกัน ช่วยกันคนละเล็กละน้อย โดยการดูแลบุตรหลานไม่ให้เป็นเหยื่อ โดยการหลีกเลี่ยงปัจัยทุกอย่างที่ส่งผลให้บุตรหลานกลายเป็นเด็กพิเศษ และช่วยกันดูแล อบรมบุตรหลานให้เป็นคนดีไม่รังแกหรือทำร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะทางใดก็ตาม
Jun 12
แนวโน้มเด็กไทยในยุคสังคมก้มหน้า เนื่องจากหลายๆ ครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยาย เด็กกลายเป็นศูนย์กลางของครอบครัว อยู่กับลุง ป้า น้า อา ทุกคนจะแห่แหนกันดูแล เอาใจเด็กอยากได้อะไรก็ต้องได้ อยากทำอะไรก็ได้ในบ้าน ซึ่งเกินความพอดี จนบ่มเพาะนิสัยที่เฉื่อย เหม่อลอย เอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีความพยายามหรือกระตือรือร้นในการทำอะไรให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง เขาจะไม่มีการลองผิดลองถูก ไม่มีประสบการณ์ของความล้มเหลว รวมไปถึงไม่มีประสบการณ์ของความสำเร็จด้วยเช่นกัน เนื่องจากการทำอะไรก็ต้องมีผู้ใหญ่คอยให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา
สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่ดาบสองคม แต่เป็นดาบเพียงด้านเดียวที่ทำร้ายเด็กโดยตรง เนื่องจากเด็กๆ จะไม่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกอย่างที่รู้เกิดจากการป้อนข้อมูลที่สำเร็จแล้วทั้งสิ้น ไม่มีการคิดวิเคราะห์เหตุผล ไม่มีการฝึกทักษะทางด้านการควบคุมอารมณ์ เนื่องจากทุกอย่างที่ได้มา ได้มาอย่างง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลาในการรอคอย ขาดการฝึกทักษะด้านการเข้าสังคม เด็กกลุ่มนี้จะมีเพื่อนช้า หรืออาจไม่มีเลย ไม่ถูกฝึกให้รู้จักความผิดหวัง และสุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความไม่รู้สึกภูมิใจในตัวเอง
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ข้างต้นจะส่งผลแย่ลงอย่างรวดเร็วถ้ามีตัวกระตุ้นจากการส่งเทคโนโลยีให้กับเขาเหล่านั้น หากไม่ต้องการทำร้ายบุตรหลานที่เรารัก เราจำเป็นต้องปรับวิธีการเลี้ยงดูบุตรหลาน โดยให้เค้ามีความทักษะรอบด้าน ทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยให้เค้าได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ให้รู้จักการรอคอย รู้จักความผิดหวัง รู้จักใช้เหตุและผล ไม่ใช่การเรียนรู้ผ่านจออย่างแท๊ปเล็ค มือถือ หรือทีวี ที่ได้แต่ความพึงพอใจของเด็กเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
ครูจา
Feb 13
Posted by malinee on Thursday Feb 13, 2014 Under เกร็ดความรู้
จากประสบการณ์การสอนเด็กที่ผ่านมา เราพบวิวัฒนาการในด้านลบของเด็ก ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ และวัยของเด็กที่เล็กลงทุกปี ซึ่งหมายถึง ความเอาใจใส่ต่อการเรียน ความเอาใจใส่ในเรื่องการบ้าน หรืองานที่ได้รับมอบหมาย เมื่อสืบค้นหาความจริง เรามักจะได้รับคำตอบทั้งจากตัวเด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครองว่า เด็กติดเกมส์ ทำให้เด็กนอนดึก ทั้งเกมส์ออนไลน์ และเกมส์ในโทรศัพท์มือถือ หรือในแท็ปเล็ต
ในช่วงแรกของการส่งเกมส์ให้เด็ก ๆ พ่อแม่ผู้ปกครองมักถูกหลอกว่าเป็นเกมส์การศึกษา (Educational Game) แต่หลังจากที่เล่นไปได้ซัก1 — 2 เดือน เด็ก ๆ จะรู้สึกว่าเกมส์ดังกล่าวจะไม่ท้าทาย และไม่น่าสนใจ ทำให้ต้องหาเกมส์ใหม่ ๆ ให้กับบุตรหลาน เนื่องจากเริ่มเคยชินกับการที่เด็ก ๆ อยู่นิ่ง หรืออยู่กับเกมส์ได้เป็นเวลานาน เมื่อเด็กอยู่กับเกมส์ ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีเวลาเป็นส่วนตัวมากขึ้น สุดท้ายกลายเป็นการติดกับ เกมส์ที่แยกลูกออกจากพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว
ความรุนแรงของเกมส์จะมีอยู่ 2 ระดับ คือ เกมส์ที่ติดมากับเครื่อง และเกมส์ออนไลน์ แตกต่างกันตรงที่เกมส์ที่ติดมากับเครื่อง พ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถควบคุมเวลาในการเล่นเกมส์ของเด็ก โดยมีการกำหนดเวลาได้อย่างแน่นอน แต่สำหรับเกมส์ออนไลน์นั้น เด็กที่ติดเกมส์ดังกล่าวจะมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเวลาที่เกมส์นั้นกำหนด เช่นอีก 2 ชั่วโมง จะต้องเข้าไปเล่นด่านต่อไป ทำให้เด็ก ๆ ไม่จดจ่อหรือมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ จิตใจจอจ่อรอคอยแต่เวลาที่จะเข้าไปเล่นเกมส์อีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายกับเด็กมากกว่าการเรียน (ซึ่งน่าเบื่อในความคิดของเด็ก)
จากสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น เราจะเห็นว่า โอกาสที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเล่นเกมส์ คงเป็นไปได้ยาก หากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นไปได้ยาก เราก็ต้องมีการวางแผน โดยมีกฏแน่นอน ทั้งในเรื่องของการทำความตกลงเกี่ยวกับความรับผิดชอบของเด็กที่จะต้องทำ (ทั้งการบ้าน และคะแนนสอบ) การไม่ให้เล่นเกมส์ออนไลน์ การกำหนดเวลาของการเล่นให้ชัดเจน รวมถึงการเลือกเกมส์ที่มีความสร้างสรร ไม่ใช่เกมส์ทำลายร้าง ที่บ่มเพาะนิสัยความรุนแรงให้กับเด็กโดยไม่รู้ตัว หากเรามีแผนรองรับที่ดี และสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ เกมส์ หรือสื่อทางอินเตอร์เน็ต ก็ไม่ใช่สิ่งที่บั่นทอนการเรียนรู้ของเด็กได้
ครู จา