ในปัจจุบันถือว่าเป็นโลกแห่งความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะหาอะไรจะทำอะไรก็ง่ายดาย เช่นเดียวกัน ที่เรียนของลูกก็จะยากอะไร มีให้เลือกอยู่เยอะแยะไม่ว่าจะเรียนอะไร เดินสยามมีทุกชั้น ทุกวิชา

จริงอยู่ที่สถาบันกวดวิชามีมากมายหลากหลาย มีทั้งเรียนเดี่ยว เรียนกลุ่ม หรือแม้กระทั่งรับสอนตามบ้าน  ถ้าลูกเรียนวิชาไหนไม่รู้เรื่องก็ส่งไปเรียนตามสถาบันต่างๆ บางครั้งปัญหาของความไม่เข้าใจก็ได้รับการแก้ไข  แต่หลายๆ ครั้งปัญหาไม่อาจแก้ไขได้ บางครั้งปัญหาที่ต้องการการแก้ไข ไม่ใช่ปัญหาของการเรียน แต่เป็นปัญหาทางด้านพฤติกรรม

ทำไมครูถึงบอกว่าปัญหาของการเรียนเกี่ยวกับปัญหาทางพฤติกรรม เนื่องจากเด็กหลายๆ คนถูกบ่มเพาะนิสัยที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเกิดอะไรรอบตัว ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง จากการที่คิดแทน ตัดสินใจแทน หรือแม้กระทั่งการบ้าน รายงานแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นหน้าที่ของตนเอง ร่วมกับการส่งความสุขให้กับบุตรหลานผ่านเกมส์ ทีวี การ์ตูน ซึ่งเป็นข้ออ้างว่าต้องการให้เขาได้พักสมองบ้าง

การบ่มเพาะดังกล่าวให้เวลาเพียงไม่ถึงสามเดือน เด็กก็จะมีบุคลิกเฉื่อย ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ มีโลกส่วนตัว กลายเป็นเด็กเรียนรู้ช้าในที่สุด ซึ่งเป็นเหตุให้ผลการเรียนตกต่ำลงเรื่อยๆ กว่าสัญญาณดังกล่าวจะส่งถึงผู้ปกครอง ก็ต้องใช้เวลานาน เนื่องจากเด็กที่มีบุคลิกดังกล่าวไม่ใช่เด็กที่ป่วน หรือไม่เชื่อฟังครู  เป็นเด็กที่เงียบ เฉย ซึ่งการเรียนในโรงเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ครูจะเข้าใจว่าเป็นบุคลิกส่วนตัว ก็ปล่อยผ่านไป

เหตุการณ์ดังกล่าวเหล่านี้ เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ทางสถาบันมักถูกตั้งคำถามอยู่บ่อยครั้งว่าจะแก้อย่างไร หรือเรียนอะไรดี จะช่วยได้ ครูตอบได้เพียงแต่ ไม่มีวิชาใดแก้พฤติกรรมที่บ่มเพาะจากทางบ้านได้ นอกจากการแก้พฤติกรรมในบ้านด้วยตัวของพ่อแม่ผู้ปกครองเองเท่านั้น

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ในการเรียนในโรงเรียนในแต่ละระดับชั้น จำเป็นที่จะต้องเรียนในหลากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้  ซึ่งในแต่ละกลุ่มสาระนั้น จะมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เช่น การเรียนในวิชาสังคม ประวัติศาสตร์ ภาษาไทย หรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ จำเป็นที่จะต้องท่องจำเนื้อหาให้แม่นยำ ส่วนในหมวดวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ หากการเรียนใช้วิธีการท่องจำนั้น การท่องจำนั้นไม่สามารถทำให้การเรียนรู้เกิดการประยุกต์ใช้ได้มากนัก เนื่องจากสองกลุ่มสาระดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเพื่อต่อยอดสู่การประยุกต์ในการทำโจทย์ที่แตกต่าง หลากหลายมากขึ้น

จริงอยู่ที่ในการเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องมีการท่องจำทฤษฏีในเบื้องต้น เช่น 5 x 2 หมายถึงการบวกกัน 5 กลุ่มของ 2 (2 + 2 + 2 + 2 + 2) ไม่ใช่  5 + 5 ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน แต่ในความหมายที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ทฤษฏีดังกล่าวจะต่อยอดไปสู่ชั้นที่สูงขึ้น ที่ว่าคำว่าของทางคณิตศาสตร์คือการคูณ หากการเรียนโดยใช้ความจำเพียงอย่างเดียว มักส่งผลให้เมื่อเจอโจทย์ปัญหา หรือโจทย์ประ ยุกต์ ก็จะต้องจำโจทย์ทุกๆ โจทย์ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้

หากเป็นเช่นนี้ ที่จะต้องให้เด็กเรียนทุกอย่างด้วยความจำ หลังจากสอบเสร็จ หรือเมื่อเวลาผ่านไป เด็กก็จะลืมในที่สุด แล้ววิชาที่ต้องใช้ความเข้าใจอย่างวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ก็จะไม่สามารถต่อยอดออกไป เนื่องจากต้องย้ำเนื้อหาเดิมให้จำได้ก่อนเพื่อจะได้จดจำเนื้อหาใหม่ที่ต่อเนื่องต่อไปให้ได้ ปัญหาดังกล่าวก็จะเรื้อรังยาวนานไปเรื่อยๆ จนเด็กมีทัศนคติไม่ดี และเกลียดวิชาดังกล่าวในที่สุด หากเป็นเช่นนี้จะดีกว่าหรือไม่ หากเราส่งเสริมให้เด็กเรียนวิชาดังกล่าวด้วยความเข้าใจ มากกว่าด้วยวิธีการท่องจำ

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เป็นการประกาศผลการสอบ o-net ของนักเรียนชั้น ป。6 ,ม。3 และม。6 ซึ่งผู้ปกครองหลายๆ คน มักมีคำถามการสอบ o-net เป็นการสอบเพื่ออะไร มีประโยชน์หรือจุดประสงค์ใด

เรามาดูแนวคิดและจุดประสงค์ของการสอบกัน

วัตถุประสงค์ของการสอบ O-net
1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียน ป.6, ม.3 และ ม.6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

  1. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
  2. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
  3. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
  4. เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
  5. ใช้เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และสถาบันอุดมศึกษา

จากวัตถุประสงค์ของจัดสอบนั้น มีจุดมุ่งหมายที่ดี หากได้มีการดำเนินปรับปรุงแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของเด็กหรือพัฒนาการเรียนรู้ตามนโยบายให้ดีขึ้น

แต่จากผลการสอบมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เห็นนโยบายในการพัฒนาการทางด้านการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมให้เห็นอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่วิเคราะห์ได้คือ นโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นนโยบายที่ล้มเหลว ซึ่ง ครูได้มีโอกาสได้คุยกับนักเรียนที่อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาที่ได้รับนโยบายดังกล่าว เด็กๆ จะไม่มีการเรียน ไม่มีกิจกรรม ในคาบสุดท้าย แล้วครูถามว่าแล้วเด็กๆ ทำอะไร คำตอบที่ได้คือ การท่องโลกอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เค้าเหล่านั้นอย่างอิสระ  ในปีนี้ ผลคะแนนเฉลี่ยของเด็กในกรุงเทพเอง มีเพียงภาษาไทยและสังคมศึกษาเท่านั้น ที่มีคะแนนมากกว่า 50% ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเห็นผลคะแนนเฉลี่ยในระดับประเทศแล้ว เหลือเพียงภาษาไทยวิชาเดียวที่เกินครึ่ง ที่เหลือคะแนนจะอยู่ระหว่าง 30 – 45% เท่านั้น ซึ่งคะแนนที่ครูนำมาอ้างอิงเป็นคะแนนในระดับป。6 เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน เมื่อค่าเฉลี่ยต่ำตั้งแต่ในช่วงชั้นประถม เราก็จะเห็นแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยในระดับที่สูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลย  badgradeclipart

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

can-stock-photo_csp12816355

หลังจากเด็กๆ เปิดเทอมกันมาซักระยะหนึ่งแล้ว แน่นอนสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น คือการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กๆ หลายๆ คนผลการประเมินออกมาเป็นที่น่าพอใจ แต่เด็กๆ หลายๆ คนมีผลการเรียนดีในเกือบทุกวิชา ยกเว้นก็แต่วิชาคณิตศาสตร์

คุณพ่อ คุณแม่หลายๆ คนก็หนักใจกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของบุตรหลาน มักคิดว่าเด็กไม่มีความเข้าใจในการเรียน จนทำให้เกิดทัศนคติในด้านลบ เกลียดวิชาคณิตศาสตร์ ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ก่อนอื่น เรามาดูสิ่งที่เด็กๆ ต้องเรียนในโรงเรียนกันก่อน การเรียนในชั้นประถมของเด็กจะมีวิชาหลัก คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในช่วงประถมต้น การเรียนรู้ในทุกๆ วิชาของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นการท่องจำ (รวมถึงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการเรียนสิ่งแวดล้อมรอบตัวก่อน) ยกเว้นวิชาคณิตศาสตร์ที่จะต้องเรียนรู้วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่ ป。1 ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง คือเด็กในยุคนี้ไม่อยากคิด ไม่อยากเริ่มอะไรด้วยตัวเอง เมื่อไม่อยากคิด กระบวนการเรียนรู้ที่ต้องคิดเป็นขั้นเป็นตอนก็ไม่เกิดการฝึกฝน ไม่ใช่ว่าเขามีปัญหาการเรียนรู้ และเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาดังกลาวจะบานปลายไปยังวิชาวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเมื่อเด็กเข้าสู้ประถมปลาย การเรียนวิทยาศาสตร์ ก็จะเริ่มมีการคิดวิเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เราจะสังเกตว่าเด็ก ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี จะสามารถเรียนในหลายๆ วิชา นั่นเป็นเพราะการเรียนคณิตศาสตร์เป็นการจัดลำดับกระบวนการคิดให้กับเด็กๆ นอกจากนี้การเรียนคณิตศาสตร์จะเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านการแก้ปัญหาให้กับเด็กๆ หากเด็กเริ่มต้นด้วยการขึ้เกียจคิด ทุกๆ การเรียนรู้ที้ต้องใช้กระบวนการคิดก็ไม่เกิดขึ้น และปัญหานี้ก็จะยุ่งเยิงพัวพันกับวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป

ในการเลี้ยงดูบุตรหลานแต่ล่ะคน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรฝึกให้เด็กได้มีอิสระทางความคิด และเสริมด้วยประสบการณ์ เช่นการเล่นเลียนแบบ การเล่นขายของ ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยคุณพ่อ คุณแม่ยังเด็กอยู่นั่นเอง

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

stock-photo-little-boy-with-cowboy-hat-on-toy-horse-in-a-barn-402127099           คราวที่แล้ว ครูได้พูดถึงการเปลี่ยนม้ากลางศึกในเด็กโต ซึ่งเป็นปัญหากับเด็กโตในเรื่องของการเรียน จึงเป็นสาเหตุให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเลือกที่จะให้บุตรหลานเปลี่ยนแนวการเรียนในวัยเด็ก ซึ่งคิดว่าเด็กๆ น่าจะปรับตัวได้ง่ายกว่า

จริงอยู่ ที่การปรับตัวในวัยเด็ก เป็นไปได้ง่ายกว่า แต่บางรายก็ยังคงพบปัญหาอยู่เช่นกัน แต่ปัญหาในเด็กที่เข้าเรียนกลางภาคเรียน สิ่งที่พบ คือ การปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อน เช่น เด็กที่ถูกย้ายจากโรงเรียนไทยไปอยู่โรงเรียนอินเตอร์ ซึ่งการเรียนในโรงเรียนอินเตอร์นั้น เด็กทุกคนจะถูกบังคับให้สื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษ (เพื่อให้เด็กใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว) แต่เด็กที่ถูกย้ายมาจากโรงเรียนไทย บางครั้งการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นปัญหาของเขา เขาจึงเลือกใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ด้วยเหตุที่เด็กๆ มักจะเชื่อฟังคุณครู จึงทำให้เด็กคนอื่นๆ ไม่พูดกับเด็กคนดังกล่าว เพราะกลัวถูกครูคิดว่า ตนเองก็เป็นคนที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารเช่นกัน นานเข้าปัญหานี้ ก็สะสมจนทำให้เด็กไม่อยากไปโรงเรียน หรืออาจเป็นการต้านการใช้ภาษาอังกฤษ ที่เป็นต้นเหตุทำให้ตนเองไม่มีเพื่อน

แน่นอนว่า เหตุผลของการย้ายโรงเรียนนั้น พ่อแม่ทุกคนทำไป เพื่อความปรารถนาดีต่อบุตรหลาน เช่นเดียวกับบการเลี้ยงม้า การเปลี่ยนคอกม้า อาจเนื่องมาจากสาเหตุของคอกเก่าที่เจ้าของม้าเห็นว่า มันเก่า มีเชื้อโรค หรือแม้กระทั่ง ม้าตัวนั้นโตขึ้น จนทำให้คอกม้าดูคับแคบ ไม่สะดวกสบายเหมือนเดิม แต่คอกใหม่ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่เจ้าม้าตัวน้อยต้องการ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแนวหรือ ย้ายโรงเรียนให้กับบุตรหลานได้เลย เพียงแต่ คุณพ่อ คุณแม่ ต้องคอยสังเกตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือการเก็บตัวของเด็ก ควรมีการพูดคุย สื่อสารกับทางครูประจำชั้นถึง พฤติกรรมในโรงเรียน เพื่อไม่ให้เด็กบ่มเพาะนิสัยการเก็บตัวต่อไป

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

imagesZV1A494L            หลังจากมีการเชื่อมโยงเครือข่ายประเทศอาเซียน หรือการเปิด AEC ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 หลายๆ หน่วยงาน โดยเฉพาะสถาบันทางการศึกษากระตุ้นให้มีการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น

ตอนนี้เรามาพิจารณาการเปิด AEC ว่ามีจุดประสงค์เพื่ออะไรก่อน การรวมกลุ่มประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ AEC นั้น เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองกับกลุ่มอื่นๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งกลุ่มอาเซียนจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน สามารถที่จะเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือได้อย่างเสรี

โดยที่ประเด็นในเรื่องของทั้งการเคลื่อนย้ายการลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างอิสระนั่นเอง ที่ส่งผลให้สถาบันการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงอุดมศึกษา เน้นให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)มากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่บางครั้งการส่งเสริมถูกเน้นไปด้านเดียวจนลืมภาษาไทยซึ่งนอกจากจะเป็นภาษาแรกที่เราใช้ในการสื่อสารแล้ว การเรียนการสอนวิชาพื้นฐานในโรงเรียนภาษาไทยก็ยังเป็นภาษาที่เป็นสื่อกลางการเรียนในทุกวิชา ดังนั้นในเด็กปฐมวัย เรายังต้องให้ความสำคัญกับภาษาไทยไม่ให้น้อยกว่าภาษาที่สอง หากเด็กๆ ไม่สามารถที่จะอ่านออก เขียนได้ (ภาษาไทย) ก็จะส่งผลให้กับการเรียนในทุกๆ วิชาของเขามีปัญหาแน่นอน ดังนั้น การส่งเสริมให้บุตรหลานมีการเรียนภาษาที่สอง แต่เราต้องไม่ลืมภาษาของเราเอง

ครูจา

Tags : , , , , , , , | add comments

ถึงเวลารึยัง?

Posted by malinee on Sunday Apr 19, 2015 Under เกร็ดความรู้

engcomp4            เป็นเรื่องที่ดีที่ ผู้ปกครองคอยดูแลเอาใจใส่ในเรื่องเรียนของบุตรหลาน บ่อยครั้งที่หากิจกรรมการเรียนเสริมให้กับบุตรหลานเพื่อเป็นการเตรียมตัวก้าวเข้าสู่ปีการศึกษาที่สูงขึ้น  การส่งเสริมเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่มีความสำคัญคือ ช่วงเวลานั่น หมายถึงวัย และพื้นฐานความรู้ที่เหมาะสมในการส่งเสริมการเรียนในแต่ละช่วงอายุของบุตรหลาน เช่นการเรียนคณิตศาสตร์  ในวัยอนุบาลควรส่งเสริมให้มีทักษะด้านจำนวน (เช่นมากกว่า น้อยกว่า การปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น) การเรียนการสอนในโรงเรียนของเด็กในวัยดังกล่าว จะเน้นเรื่องจำนวนเป็นหลัก ซึ่งหากพ่อแม่ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเรียนการคิดวิเคราะห์หรือการแก้ไขโจทย์ปัญหา ซึ่งต้องใช้ทั้งทักษะด้านการอ่านและการคิดวิเคราะห์ว่าจะต้องใช้ปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์แบบใด การเรียนในวัยดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการเรียนที่ไม่เหมาะสมกับช่วงเวลา เนื่องจากการอ่านเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์โจทย์ หากการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้จากการอ่านของผู้สอน เมื่อถึงเวลาที่เขาจำเป็นจะต้องแก้โจทย์ปัญหาด้วยตนเอง เขาจะไม่สามารถอ่านจับใจความ ที่ถูกต้อง ส่งผลให้การวิเคราะห์ก็ไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น

แต่ในหลายๆ ครอบครัวที่เด็กโตจนถึงประถมปลาย เมื่อเด็กมีปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ มักจะกลับมาเน้นการเรียนคณิตศาสตร์แบบการแก้ไขเรื่องจำนวน ส่วนใหญ่มักหันกลับมาหาการเรียนจินตคณิต ซึ่งเราเคยมีการนำเสนอบทความเก่าๆ ไปแล้วว่า การเรียนจินตคณิตในช่วงของเด็กประถมปลายนั้น การเรียนจะตามหลังการเรียนในโรงเรียน ทำให้เด็กอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายกับการคำนวณตัวเลขแบบง่าย และเลิกไปในที่สุด การเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กประถมปลาย จะเป็นการเรียนที่เน้นการแก้ไขปัญหาโจทย์เป็นสำคัญ

เด็กวัยอนุบาลจนถึงประถมต้น ควรมีการส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์โดยการแก้ไขเรื่องจำนวนควบคู่กับการเรียนภาษาไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนทุกๆ วิชา  ส่วนนักเรียนประถมปลาย ควรมีการส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ในแนวของการแก้ไขโจทย์ปัญหาเป็นหลัก

ดังนั้นหากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องการส่งเสริมการเรียนของบุตรหลาน ควรจะมีการดูเนื้อหาการเรียน และวัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

images (5)          เคยสงสัยมั้ยว่า เรียนคณิตศาสตร์ไปเพื่ออะไร ทำไมคณิตศาสตร์ จึงเป็นวิชาหลักตั้งแต่ปฐมวัย หรือเด็กหลายๆ คนอ่ตเคยตั้งคำถามนี้กับคุณพ่อคุณแม่ สำหรับวิชาอื่นๆ คงไม่ยากกับการอธิบายให้บุตรหลานได้เข้าใจ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เราก็รู้อยู่แล้วว่าเรียนเพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ส่วนวิชาสังคม ก็เพื่อให้รู้ประวัติศาสตร์ วิชาพละ ก็เพื่อออกกำลังกายให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ส่วนคณิตศาสตร์ละ ในเมื่อในที่สุดเราก็มีเครื่องช่วยอย่างเครื่องคิดเลขอยู่แล้ว และการทำงานหากไม่ได้เรียนเกี่ยวกับบัญชี คณิตศาสตร์แทบไม่มีส่วนในชีวิตประจำวันเลย

จุดประสงค์หลักในการเรียนคณิตศาสตร์นั้น เพื่อฝึกการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล โดยใช้ความรู้พื้นฐานที่ได้เรียนมา หรือการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานในการแก้ปัญหาหลายขั้นตอน เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เนื่องจากคำตอบในโจทย์ปัญหาแต่ละข้อนั้นมักมีคำตอบเพียงคำตอบเดียว แต่ในการหาคำตอบสามารถคิดได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานของเด็กแต่ละวัยที่จะใช้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราจะเห็นว่าเด็กๆ แทบจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองเลย   แม้กระทั่งการเรียน คราวนี้เรามาดูรายละเอียดการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปัจจุบัน การเรียนในปัจจุบันนี้ เด็กๆ จะถูกส่งเรียนกวดวิชา ซึ่งเป็นการเรียนในแนวติว (นั่นคือการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานแล้ว) การเรียนในแนวติว เปรียบเหมือนกับการชี้ทางให้เด็กเรียบร้อยแล้ว โดยที่เด็กๆ ไม่ต้องฝึกทักษะหรือกระบวนการคิดขั้นพื้นฐานก่อน เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองเน้นผลการสอบหรือเกรดของเด็กเป็นหลัก จึงมักส่งเด็กเรียนในแนวดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้เด็กขาดการฝึกฝนทักษะกระบวนการคิดของตนเอง ดังนั้นหากต้องการให้เด็ก สามารถที่จะคิดเป็นระบบ เราควรให้อาวุธคือความรู้พื้นฐานแก่เด็กๆ ให้โอกาสและเวลากับเขา ในการฝึกทักษะและกระบวนการซึ่งเด็กๆ จะต้องเป็นผู้สร้างเองจากการทำแบบฝึกหัด เพื่อสั่งสมประสบการณ์ในการแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบและเป็นระบบในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์
วันพุธ ที่ 17 สิงหาคม 2554
พระเทพภาวนาวิกรม รองเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ประธานมูลนิธิร่มฉัตร เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา และเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิชาการแก่นักเรียนทั่วประเทศ ทางมูลนิธิจึงจะจัดแข่งขัน “โครงการ 9 เพชรยอดมงกุฎ” ประจำปีการศึกษา 2554 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมโล่เกียรติยศและทุนการศึกษา โดยกำหนดการแข่งขัน ได้แก่ วันที่ 20-21 ส.ค. แข่งขันคณิตศาสตร์ที่ รร.วัดสุทธิวราราม, 27-28 ส.ค. แข่งขันภาษาไทย ที่รร.สันติราษฎร์วิทยาลัย , 3-4 ก.ย. แข่งขันวิทยาศาสตร์ที่ รร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า , 11 ก.ย. แข่งขันภาษาจีนที่ม.ราชภัฏสวนสุนันทา , 24-25 ก.ย. แข่งขันเศรษฐศาสตร์ ที่ รร.สตรีวิทยา 2 , 13 พ.ย. แข่งขันภาษาญี่ปุ่น ที่ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา , 19-20 พ.ย.54 แข่งขันภาษาอังกฤษ ที่ รร.ฤทธิยะวรรณาลัย , 26-27 พ.ย.54 แข่งขันประวัติศาสตร์ ที่ รร.สตรีวิทยา และ 17-18 ธ.ค.54 แข่งขันพระพุทธศาสนา ที่ รร.เทพศิรินทร์ ทั้งนี้นักเรียนที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 08-1408-4503

Tags : , , , , , , , , | add comments

โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

552000011973201

หมอสมองชี้ เด็กประถมอ่อนภาษาไทย มีผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แนะเก่งภาษา ต้องให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จริงไปหาตัวอักษร ด้านการอ่านนิทานให้ลูกฟัง ภาษาที่อยู่ในนิทานจะถูกบันทึกลงในสมอง ทำให้เด็กมีพื้นภาษาที่ดี อย่างไรเสีย ทุกครั้ง ก่อนจะให้เด็กเรียนรู้ พ่อแม่ครู ต้องเปิดสมองให้เด็กมีความสุขด้วยกิจกรรมต่างๆ แล้วเด็กจะรับ และเข้าใจภาษาได้มากขึ้น

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ บุญเกิด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประสาทวิทยา เปิดเผยว่า การเรียนภาษา เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจในวิชาอื่น เช่น ถ้าภาษาไทยไม่แน่น เด็กจะอ่านหนังสือไม่ออก หรือตีความหมายไม่เข้าใจ โดยเฉพาะตัวโจทย์ที่ต้องคิดออกมาเป็นตัวเลข ส่งผลให้การเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์เป็นไปได้ยากโดยเฉพาะเด็กประถมที่จะต้องเริ่มแก้โจทย์ออกเป็นตัวเลข

สอดรับกับข้อมูลของสถาบันทดสอบทางการศึกษา ที่ทำการประเมินผลรายวิชาต่างๆ ของเด็กใน 30,000 โรงในระดับประถมทั่วประเทศพบว่า วิชาภาษาไทยเด็กสอบแย่ที่สุด ส่วนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียง ซึ่งผลที่แสดงออกมานี้ ย่อมส่งผลต่อตัวเด็ก และประเทศไทยในวันข้างหน้า โดยเฉพาะการแข่งขันทางเศรษฐกิจจากนานาประเทศที่รุกคืบเข้ามาทุกที

“ภาษาเป็นหน้าต่าง และบานข้อมูลที่จะต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆ เพราะสมองจะทำงานโดยการเชื่อมต่อการเรียนรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมเสมอ ทั้งนี้ช่องทางการเรียนรู้ที่ถูกต้อง เด็กจะต้องเรียนรู้จากของจริงไปหาสัญลักษณ์ สมองจึงจะเข้าใจความหมาย เปิดรับเป็นความจำ และนำไปสู่ความเข้าใจเป็นความรู้ต่อไป” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประสาทวิทยากล่าว

นอกจากนี้ คุณหมอได้ขยายความถึงการเรียนรู้จากของจริง (ประสบการณ์) ไปหาสัญลักษณ์ (ตัวอักษร) ด้วยว่า เป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่ดึงสัญลักษณ์มาสอนเด็ก เช่น 1+1 เท่ากับ 2 แต่ทั้งนี้พ่อแม่ หรือครู ควรจะหาสิ่งของใกล้ตัวเด็กมาสอน อย่างไรก็ดี ทุกครั้งก่อนจะสอนเด็ก พ่อแม่ครูควรจะเปิดสมองให้เด็กมีความสุข ด้วยการทำกิจกรรมใดๆ ก็ได้ เพื่อให้เด็กเข้าใจ และเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

คุณหมอกล่าวทิ้งท้ายว่า กุญแจสำคัญที่จะทำให้เด็กเก่งภาษา พ่อแม่ และครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้ เห็น และสัมผัสสิ่งรอบตัว เช่น คน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ให้มากที่สุด รวมไปถึงการอ่านนิทานให้ลูกฟังตั้งแต่เด็ก จะช่วยให้ภาษาที่อยู่ในนิทานถูกบันทึกในสมองของเด็ก ทำให้เด็กมีพื้นภาษาที่ดี แต่ทั้งนี้ต้องเป็นหนังสือที่เด็กสนใจด้วย การรับข้อมูลถึงจะมีประสิทธิภาพ

Tags : , , , , , | add comments