เป็นที่ถกเถียงกันมากมายเรื่องการสอบเข้าโรงเรียนสาธิตในช่วงที่ผ่านมา นักวิชาการหลายๆ ท่านก็มีความคิดเห็นที่ไม่สนับสนุนให้พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องพาเด็กไปติวหนักเป็นปี เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าว เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทุกปี การส่งให้เด็กติวเข้านั้น ใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เป็นเหตุให้พ่อแม่ ผู้ปกครองย่อมคาดหวังว่าเม็ดเงินที่เสียไป จะต้องทำให้บุตรหลานได้เรียนในโรงเรียนที่ดีในสายตาของตนเอง

การติวเข้าโรงเรียนแนวสาธิต จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กในเรื่องของเชาวน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ในสถาบันต่างๆ มักสร้างสถานการณ์ในช่วงของการใกล้สอบจนบางครั้งมีเด็กบางคนเกิดอาการเครียด โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ความคาดหวังของพ่อแม่ ผู้ปกครองยังส่งผลต่อเด็ก เมื่อเขาไม่ได้มีชื่อที่ผ่านการสอบคัดเลือก ซึ่งการไม่ได้รับเลือกเป็นนักเรียนในโรงเรียน ไม่ได้มีผลต่อตัวเขา หรือความรู้สึกใดๆ เลย แต่ผู้ที่มีผลกับเขาคือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เป็นเหมือนพู่กันที่แต้มสีสันลงบนความรู้สึกนึกคิดของเขามากกว่า หากส่งผ่านความผิดหวังไปที่เด็ก ก็เปรียบกับการแต้มสีดำ หรือเทา ทำให้ผ้าขาวเกิดจุด หรือรอยด่างดำ ซึ่งมันจะติดตัวเขาไปตลอด ความรู้สึกไม่มีความภูมิใจในตัวเอง เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะบ่มเพาะจนกลายเป็นลักษณะนิสัยของเขาไปเลย ซึ่งเด็กในวัยอนุบาลไม่ใช่วัยที่จะต้องก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือเพื่อสอบจอหงวน เขาควรได้เล่นเป็นกลุ่มกับเพื่อนเพื่อเพิ่มทักษะทางสังคม เล่นกันอย่างสนุกสนาน การเล่นเป็นกลุ่มยังส่งผลให้เขาได้แก้ปัญหาเล็กๆ น้อยในการเล่นอีกด้วย มันเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน นอกจากนี้แล้วการเล่นยังเป็นการเรียนรู้อย่างมีความสุขในวัยนี้ พ่อแม่ ผู้ปกครองเอง ก็ควรจะเป็นจิตรกรผู้แต่งแต้มสีสันอันสดใสให้กับเขา ชีวิตในวัยเด็กที่สดใส สนุกสนาน ให้ได้อยู่กับเขาได้นานที่สุด

แต่เมื่อโตขึ้น ในวัยที่เขามีความต้องการที่จะเลือกโรงเรียน แนวการเรียนของเขาเอง บางครั้งพ่อแม่ก็ยังทำตัวเหมือนเดิม เลือกทุกอย่าง รวมถึงปกป้อง จนเด็กไม่ได้เรียนรู้ที่จะควบคุมความรู้สึกใดๆ เลย จริงๆ แล้วหน้าที่ของความเป็นพ่อเป็นแม่ ก็ยังคงมีหน้าที่รักเค้าเหมือนเดิม แต่เมื่อเค้าโตขึ้น ต้องฝึกให้เค้าได้มีทักษะด้านอารมณ์ ให้มากขึ้น ให้รู้จักอดทนอดกลั้นมากขึ้น พ่อแม่เป็นเพียงผู้ชี้แนะ แล้วให้เขาเป็นผู้เลือกชีวิตและทางเดินของเขาด้วยตัวเอง เรามีหน้าที่ยอมรับในการตัดสินใจของเขา และเมื่อเขาผิดหวัง เขาต้องยอมรับข้อผิดพลาด รู้จักความผิดหวัง ต้องเรียนรู้ที่จะวางแผนการเรียน การเลือก และสุดท้ายคือจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึกที่อาจผิดหวัง โดยมีพ่อแม่ เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจเมื่อเขาท้อแท้ หรือผิดหวัง ชื่นชมในความสำเร็จแม้เพียงเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ตามรอยของพ่อ

Posted by malinee on Monday Oct 31, 2016 Under เกร็ดความรู้

10-u0266783-634586697714415000-1หลังจากคนไทยทั่วโลก ต้องผ่านช่วงเวลาของการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นยังไม่ได้เสื่อมคลายจากใจคนไทย เราทุกคนสูญเสียพ่อคนเดียวกัน เราอาลัย รักพ่อของเรา สิ่งที่เราพอจะทำได้คือ การทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด อย่างที่เนื้อเพลงได้ว่าไว้ เป็นลูกที่ดีของพ่อ จะขอตามรอยของพ่อ ท่องคำว่าเพียงและพอจากหัวใจ ด้วยความรัก ด้วยภักดี ด้วยจิตใจ

คำว่าขอตามรอยของพ่อ นั่นคือ เมื่อพระองค์ยังเยาว์วัย อยู่ในช่วงของการเรียน ก็ทรงทำหน้าที่ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี หลังจากเรียนจบ พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของลูกๆ ให้อยู่ดีกินดี ได้เป็นอย่างดีไม่ตกบกพร่องตลอดระยะเวลาของการครองราชย์ ไม่เว้นแม้เวลาเจ็บป่วย นอกจากนี้แล้วพระองค์ท่านยังเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำหน้าที่เป็นบุตร แม้พระองค์ท่านจะเปลี่ยนสถานที่มองลูกๆ ของพระองค์ท่านจากบนดิน ไปยังสรวงสวรรค์ สิ่งที่ยังตราตรึงในหัวใจไทยทุกดวงคือ ความดีงาม และแบบอย่างที่หาใครเสมอเหมือนมิได้

สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดในตอนนี้ คือการที่ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด พ่อแม่มีหน้าที่ในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน อบรมสั่งสอนให้บุตรหลานเป็นคนดีต่อไป ส่วนตัวเด็กๆ ซึงเป็นช่วงที่โรงเรียนเปิดเทอมแล้ว ก็ต้องทำหน้าที่ของการเรียน ตั้งใจเรียน เป็นลูกที่ดีของคุณพ่อ คุณแม่ เป็นนักเรียนที่ดีของคุณครูทุกคน

Tags : , , , , , , , , , , , , | add comments

640x390_707243_1468417064          จากข่าว น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ นักแบตมินตันมือหนึ่งของชาวไทย ที่มีกระแสข่าวว่า ตรวจพบยาโด๊ปหรือสารกระตุ้น ซึ่งส่งผลกระทบในการส่งตัวนักกีฬาเข้าแข่งขัน โอลิมปิกเกมส์ 2016  โดยเลขาธิการสมาคมแบตมินตันไทย ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อโต้แย้งและอุทธรณ์ แต่หากพบสารกระตุ้นจริงจะขอลดโทษหนักให้เป็นเบา ซึ่งการลงโทษนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณและ สารกระตุ้นที่ใช้ จะมีโทษงดเข้าแข่งเป็นเวลา 2 – 4 ปี

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร… คงไม่มีใครเชื่อว่าน้องเมย์ใช้สารกระตุ้น เพราะหากทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการตัดอนาคตของตัวเอง แต่เหตุการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การได้รับยาสเตยรอยส์ในการรักษาอาการบาดเจ็บที่หัวเข่า จากแพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์ทางการกีฬา (ผิดกฏทางการกีฬา เนื่องจากสเตยรอยส์เป็นสารที่นอกจากจะระงับความเจ็บปวดแล้ว ยังสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้มีพละกำลังมากขึ้นอีกด้วย)

จากเหตุการณ์ดังกล่าว เพียงเพื่อต้องการยกตัวอย่างให้เห็นว่า ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคน ๆ หนึ่ง จะส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของอีกคนอย่างมาก เช่นเดียวกับที่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตา ยาย หรือ พี่เลี้ยง ที่มีหน้าที่ในการดูแลเจ้าตัวน้อย ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งเกมส์ หรือ ปล่อยให้เค้าอยู่กับทีวี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ซึ่งผลที่เห็นได้ชัด คือเด็กอยู่นิ่งๆ ไม่กวน ไม่ซน แต่หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ เขาจะไม่สามารถอยู่เฉยได้ และเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลในอนาคตต่อการเรียนของเขาเหล่านั้น เมื่อเขาเรียนไม่ได้ แล้วอนาคตของเขาจะดูแลตัวเองได้อย่างไร

Tags : , , , , , , , , , , , , , | add comments

ถูกจริงหรือ

Posted by malinee on Monday Dec 21, 2015 Under เกร็ดความรู้

สวัสดีค่ะ..วันนี้ครูไม่มีvdoมาให้ครูแต่..ครูมีบางอย่างมาให้ช่วยกันหน่อย..จากแบบฝึกหัดด้านล่างนี้ คิดว่าที่คุณครูเค้าตรวจถูกมา..มันถูกจริงมั้ย แล้วถ้ามันถูกจริงๆตามที่คุณครูเค้าตรวจมา มันถูกยังงัย ใครอธิบายได้บ้าง ครูรบกวนหน่อย เพราะครูเองก็พยายามหาคำตอบอยู่ ถ้าใครมีคำอธิบายว่ามันถูกยังงัย บอกกันหน่อยนะค่ะ..ช่วยครูด้วย..แล้วครูจะมาบอกว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับแบบฝึดหัดนี้..ช่วยครูด้วยนะ..ขอบคุณค่ะ..12390873_810960295698826_8404294124038857550_n

Tags : , , , , , , , , | add comments

ruler_math_sign            หลาย ๆ ครั้งที่ผู้ปกครองมักคาดหวังในการส่งบุตรหลานเรียนจินตคณิตว่า จะสามารถทำให้เด็กมีการเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้นจริงหรือไม่

            ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีกันก่อน ปัจจัยลำดับต้น ๆ เลยคงหนีไม่พ้นทัศนคติที่ดีในการเรียนก่อน เมื่อมีทัศนคติที่ดี จะทำให้มีความสนใจในการเรียนรู้ จนเกิดความเข้าใจได้ในที่สุด สำหรับช่วงอนุบาลจนถึงประถมต้น เมื่อมีพื้นฐานที่ดีในระดับประถมต้น ก็จะทำให้สามารถต่อยอดไปสู่ประถมปลายและมัธยมในที่สุด  จินตคณิตเป็นการเรียนที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างทัศนคติในเชิงบวกได้สำหรับเด็กในช่วงอนุบาลจนถึงประถมต้น เนื่องจากในช่วงชั้นดังกล่าว การเรียนคณิตศาสตร์จะต้องมีความแม่นยำในเรื่องของค่าประจำหลัก และการคำนวณ ซึ่งจินตคณิตนั้นทำให้เด็กมีพื้นฐานที่ดี และมีความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์ด้วย  เนื่องจากเด็กสามารถคิดคำนวณได้อย่างแม่นยำ และเสริมสร้างสมาธิในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่เด็กในช่วงของประถมปลาย จะมีการเรียนโจทย์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการตีความ เพื่อแก้ปัญหาโจทย์ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัยนี้จะมีทักษะในการคิดคำนวณที่ดีอยู่แล้ว ปัญหาก็คือการตีโจทย์เท่านั้น แต่ในกรณีของเด็กที่มีปัญหาด้านการคำนวณด้วย  จินตคณิตอาจสามารถช่วยได้ แต่อาจไม่ใช่วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด เนื่องจากการเรียนจินตคณิตอาจต้องใช้เวลาเพื่อให้เด็กเกิดทักษะ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับวัย ประกอบกับการเรียนที่จะต้องย้อนตั้งแต่แบบง่าย ซึ่งมักส่งผลให้เด็กรู้สึกเบื่อกับตัวเลขที่เขาได้เรียนรู้เมื่ออยู่ในวัยประถมต้น แต่กรณีดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าเด็กที่อยู่ในช่วงของประถมปลาย จะไม่สามารถเรียนจินตคณิตได้ แต่จุดประสงค์ของการเรียนคณิตศาสตร์ของประถมปลายจะมีเนื้อหาที่เข้มข้นและเปลี่ยนเนื้อหาที่เร็วขึ้น ซึ่งจะใช้พื้นฐานการคำนวณเป็นฐานเท่านั้น ดังนั้นเด็กในช่วงของประถมปลายจึงไม่ควรเน้นแต่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการคิดคำนวณเพียงอย่างเดียว ในขณะที่เด็กในช่วงอนุบาลถึงประถมต้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของการคิดคำนวณให้กับบุตรหลาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้อนปัหาเมื่อเขาโตขึ้น

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , | add comments

imagesCATKOF32เด็กสมาธิสั้นกับจินตคณิต

จากบทความเรื่องเด็กสมาธิสั้น พอจะมองเห็นภาพหรือคำจัดความของเด็กสมาธิสั้นกันบ้างแล้ว หลาย ๆ ครอบครัวมักคิดว่า เด็กสมาธิสั้นเป็นเรื่องที่ร้ายแรง และหลาย ๆ ครอบครัวก็ไม่เปิดใจยอมรับกับการเป็นเด็กสมาธิสั้นของบุตรหลานของตน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหากพ่อ แม่ ผู้ปกครองเปิดใจยอมรับ และพาเด็กไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้บรรเทาอาการที่เป็นอยู่ให้ทุเลาลง และเพื่อส่งเสริมให้เด็กสามารถจดจ่อมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมที่ทำได้มากขึ้นต่อไป

จินตคณิตก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ปกครองหลาย ๆ คน ซึ่งจินตคณิตเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ฝึกให้เด็กได้มีวินัยในการทำงาน (การบ้านนอกเวลา) ดังนั้นการเรียนจินตคณิตจึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะกับเด็กสมาธิสั้นในกลุ่มที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้น ที่มีอาการไม่รุนแรงนักได้ เนื่องจากเด็กยังมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่บ้าง  แต่จะไม่เหมาะกับเด็กที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษา เนื่องจากในการใช้ลูกคิดนั้น เด็กจะต้องจดจ่ออยู่กับโจทย์และแกน (หลักหน่วย) ในการหาคำตอบแต่ละข้อ แต่เด็กในกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกจะมีสมาธิไม่ครบข้อ ในขณะที่เด็กในกลุ่มที่ได้รับการฝึกมาบ้าง จะเป็นการกระตุ้นให้จดจ่ออยู่กับโจทย์ในแต่ละข้อ จนกลายเป็นแต่ละแถว และในที่สุดก็เป็นหน้า ได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ดังนั้นสิ่งแรกที่จำเป็นต่อครอบครัวของเด็กสมาธิสั้น คือ การเปิดใจยอมรับ และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรักษา และเพิ่มกิจกรรมเสริมสมาธิต่าง ๆ เช่นการเล่นกีฬา โยคะ หรือศิลปะ เป็นต้น เพื่อพัฒนาสมาธิให้ยาวนานต่อเนื่องพอที่จะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากโรงเรียนที่มีมากขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากเด็กไม่ได้เป็นสมาธิสั้น แต่ด้วยวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่กระตุ้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมพัฒนาตนเอง หรือการเลี้ยงดูที่ปล่อยปละละเลย ทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย วิธีการเลี้ยงดูดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบในด้านลบมากกับเด็กในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้เด็กปกติ กลายเป็นเด็กที่ขาดความสนใจในการเรียนรู้ เฉื่อย ไม่พยายามคิด หรือ ทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องใช้ความพยายามเลย ส่งผลให้ไม่ว่าจะมีการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างไร เด็กไทยก็ยังคงเป็นเด็กที่อยู่ในแนวหลัง เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ต่อไป

Tags : , , , , , , , , , | add comments

ฉลาดใช้…….

Posted by malinee on Wednesday Aug 21, 2013 Under เกร็ดความรู้

can-stock-photo_csp6433030            ปัจจุบันเรามีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะต้องการรู้อะไรก็นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์และค้นหาได้ทันทีโดยใช้เวลาไม่นานนัก เช่นเดียวกับความรู้หรือแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่มีเปิดแชร์ข้อมูล มากมายราวกับร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่ทุกถนน ความสะดวกเหล่านี้น่าจะทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถค้นหาความรู้ หรือแบบฝึกหัดเพื่อให้ลูกได้ฝึกฝนกันอย่างง่ายดาย เรามักได้ยินข่าวการลดชั่วโมงเรียนเด็ก การลดการบ้านเด็กอยู่บ่อยครั้ง จริง ๆ แล้วการลดชั่วโมงเรียนของเด็กเพื่อให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะด้านอื่น ๆ ด้วยเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ถ่ายทอดทักษะ วิธีคิดให้เด็ก จะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ มีความรู้ในสิ่งที่ตนเองจะสอนเด็ก ๆ ด้วย  ส่วนในแง่ของการลดการบ้านนั้น เราต้องมาวิเคราะห์ก่อนว่า การบ้านในแต่ละวิชามีไว้เพื่ออะไร ส่วนใหญ่มักจะได้รับคำตอบว่าเพื่อการฝึกฝน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับในบางวิชา อย่างเช่น คณิตศาสตร์ หลังจากเด็กเรียนจนเข้าใจแล้ว ก็จะต้องมีการให้แบบฝึกหัดเพื่อให้เด็ก ๆ เกิดทักษะในการคิดที่ดีขึ้นเป็นลำดับได้ และยังเป็นพื้นฐานต่อยอดไปเรื่องต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

เราจะพบว่าเด็กในยุคปัจจุบัน  สถิติการเข้าโรงเรียนจะเริ่มกันตั้งแต่วัยก่อนอนุบาล ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับสถิติของการอ่านออกเขียนได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่ความจริงมันกลับตรงกันข้าม นั่นอาจเป็นเพราะการดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องออกมาทำงานนอกบ้านทั้งคู่ และปล่อยให้เทคโนโลยีเป็นเพื่อน เป็นพี่เลี้ยง โดยเข้าใจว่ามันเป็นการเพิ่มสมาธิของเขา หรือมันทำให้เขาอยู่นิ่งได้นาน แต่หากเราสละเวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อเขาเหล่านั้น  เขาจะเติบโต มีพัฒนาการทางการเรียนรู้ที่ดีต่อไปในอนาคต

Tags : , , , , , , , , | add comments

reading-to-child       ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลการสอบกลางภาคของเด็ก ๆ เป็นช่วงที่มักจะเห็นหน้าตาที่คร่ำเคร่งของเด็ก ๆ แต่คร่ำเครียดของผู้ปกครอง

เรามักพบว่าหลาย ๆ ครอบครัว ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องนั่งอ่านหนังสือกับลูก กับอีกหลาย ๆ ครอบครัวที่คุณพ่อ คุณแม่อ่านจับใจความและทำการขีดเส้นใจความสำคัญให้บุตรหลาน เพื่อเป็นการย่นระยะเวลาในการอ่านเนื้อหาที่ไม่จำเป็นออกไป

การอ่านหนังสือที่คุณพ่อคุณแม่ อ่านไปพร้อมกับลูก โดยที่ให้เด็กมีหน้าที่หลักในการอ่าน และคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเสริม หรือบรรยาย ให้เด็กมีความเข้าใจมากขึ้น อาจจะเสียเวลามากกว่าแต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ การได้ฝึกบุตรหลานทั้งทักษะในการอ่าน การอ่านจับใจความ และเพิ่มสีสันให้กับการอ่านหนังสือสอบที่ไม่น่าเบื่อ เพราะจะมีประสบการณ์หรือเรื่องเล่าจากคุณพ่อคุณแม่เพิ่ม แต่ในทางกลับกันหากคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ลงมืออ่าน และจับใจความให้กับบุตรหลาน สิ่งที่ได้กลับมาคือ การอ่านหนังสือแบบไม่สามารถจับใจความสำคัญของบทเรียน เบื่อหน่ายกับการอ่านหนังสือที่เป็นเพียงตัวหนังสือที่ถูกขึดเป็นช่วงเป็นตอน ที่ไม่น่าสนใจ และเมื่อเขาโตขึ้น บทเรียน และกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะมีมากขึ้น ทำให้การอ่านเป็นสิ่งสุดท้ายที่เขาจะเลือก ทั้งการหาความรู้ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง

หากแต่วันนี้คุณพ่อ คุณแม่ต้องอดทน รอคอย ฝึกฝน ให้เขาได้เพิ่มพูนทักษะอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตั้งแต่เล็ก และเขาจะสามารถนำมาใช้เมื่อเขาโตขึ้นได้ด้วยตนเอง

Tags : , , , , , , , , , , | add comments

จากตอนที่ 2 ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยทารก แต่เด็กแต่ละคนก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ในการเรียนรู้ของเขา แต่มีงานวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนว่า หากเด็ก ที่เข้าโรงเรียนโดยมีทัศนคติในเชิงบวก และมีการฝึกทักษะ (นั่นคือการเคลื่อนไหวในวัยทารก) แล้ว เขาจะมีทักษะในการเรียนรู้ที่ดี และมีความก้าวหน้าในการเรียนที่ดี ซึ่งเด็กทุกคนจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว เพียงแต่เรามีหน้าที่ที่จะต้องกระตุ่นหรือสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม

เด็กวัยอนุบาล มักมีการเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน การเข้าสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้

–           กระตุ้นให้ทำสิ่งใหม่ให้สำเร็จ โดยให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ แต่ความช่วยเหลือที่ให้ต้องไม่เกินขอบเขต สิ่งที่เด็กจะได้รับ คือประสบการณ์ที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ให้สำเร็จ

–           สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มหรือเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้

–           การฝึกให้เด็กหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม อาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วในวันนั้น ๆ เช่นการถามว่าวันนี้คุณครูใส่เสื้อสีอะไร เพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต

–           ให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาทำ หรือยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จ  เด็ก ๆ ทุกคนมักจะภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเริ่มทำ และทำสำเร็จ ซึ่งเป็นประสบการณ์ในเชิงบวก และนอกจากนี้ ยังทำให้เขาเกิดความมั่นใจ กล้าทำในสิ่งใหม่ ๆ  แต่หากเขาทำไม่สำเร็จ ต้องให้กำลังใจ ถึงแม้สิ่งที่เด็กได้รับจะไม่ใช่ความสำเร็จ แต่เขาก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ และ ความพยายามที่จะติดตัวเขาไป

–           พูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้มีทักษะในการลำดับเหตุการณ์ และการใช้ภาษา โดยปล่อยให้เขาได้คิดอย่างอิสระ แก้ข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด เพื่อให้เขาได้กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการ

–           สร้างสถานการณ์ผ่านกิจกรรม ให้เขาได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

–           หากิจกรรมประเภท การแยกประเภท สี ขนาด เพื่อฝึกการพิจารณาสิ่งของในแบบรูปต่าง ๆ ให้เขาสามารถแยกความแตกต่างของรูปทรงต่าง ๆ

หากเราสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ หรือเสริมทักษะ เขาก็จะยังคงมีธรรมชาติของการอยากเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น แต่หากเด็กไม่ได้พัฒนาการเรียนรู้ให้สนุก สิ่งที่ติดตัวเด็กมา (ความอยากรู้อยากเห็น การชอบการเรียนรู้) ก็จะหายไปในที่สุด

ครูจา

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ด้วยยุคสมัยที่มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สังคม การสื่อสาร โทรคมนาคม ใช้เวลาสั้นลง ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับกลไกหรือกระบวนการคิดของคนในสังคม ให้มีแนวทางที่แตกฉาน รอบรู้มากขึ้น  แต่น่าเสียดาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นเสมือนดาบสองคม ที่ส่งผลให้กระบวนการในการเรียนรู้แบบลัดขั้นตอน ไม่ผ่านกระบวนการคิด การลองผิดลองถูก ของเด็ก ,เยาวชน หรือแม้แต่คนในวัยทำงาน  ซึ่งเป็นเหตุให้ทักษะหลาย ๆ อย่างที่ควรได้รับการพัฒนา หายไปโดยสิ้นเชิง

หากลองพิจารณาแล้ว จะพบว่า ปัญหาหลัก ๆ ที่เราพบกันอยู่บ่อย ๆ เป็นปัญหาของคน 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ เด็ก ซึ่งรวมถึงกลุ่มนิสิต นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ และกลุ่มคนทำงาน ถ้าสาวปัญหากันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่าทั้งสองกลุ่มดังกล่าว เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและกระบวนการคิด ทั้งสิ้น

หากท่านเป็นคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือรู้สึกขับข้องใจ กับปัญหาดังกล่าว มาช่วยกันคิดดีกว่าว่า “ทำไมแนวโน้มของเด็ก เยาวชน นิสิต นักศึกษา หรือแม้กระทั่งคนทำงาน จึงขาดทักษะในเรื่องกระบวนการคิดเหมือน ๆ กันไปหมด     ”

จากแนวโน้มดังกล่าวมันทำให้เราพอจะจับแนวทางของการเลี้ยงดูกลุ่มดังกล่าวได้ว่าจะต้องมีวิถีการดำเนินชีวิต กระบวนการการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกัน เมื่อมองย้อนมาถึงจุดนี้ สิ่งที่ปรากฏเป็นภาพชัดขึ้นก็คือ

เด็กรุ่นใหม่                เรียนกัน                    จันทร์ ถึง ศุกร์

พ่อแม่สุข                   ทุกอย่างครบ             จบทุกงาน

พอถึงบ้าน                 สุขี                              มี IPad

บางที chat                บางที face                 อัพเดทข้อมูล

ได้เพิ่มพูน                 เพื่อนใหม่                  ใน profile

น่าสงสัย                    คนอยู่ใกล้                 ไม่ทักกัน

เล่นข้ามวัน                 ข้ามคืน                     ไม่หลับนอน

แต่ตอนเช้า                 หาวหวอด                ไม่ปลอดโปร่ง

โคลงเคลงหัว            ตัวหนัก ๆ                  ชักไม่สบาย

พอตกบ่าย                 คลายง่วง                  ก็ห่วงหา

นับเวลา                      ถอยหลัง                     นั่งหน้าจอ

ใจจดจ่อ                      ไม่เพียร                       เขียนอ่านเลย

ครูจา

 

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments