เรียนอะไรดี

Posted by malinee on Monday Aug 28, 2017 Under เกร็ดความรู้

เนื่องจากในปีการศึกษา 2561 จะเป็นปีแรกที่มีการรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาแบบใหม่ ที่เรียกว่า ระบบ TCAS (Thai University Central Admission System)  ซึ่งเป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเป็นรอบๆ โดยมีทั้งสิ้น  5 รอบและในแต่ละรอบจะมีการกำหนดวัน Clearing house ซึ่งเป็นการตัดสิทธิ์สำหรับเด็กที่ได้เลือกคณะที่ตนเองได้เลือกแล้ว เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับผู้อื่น และในปัจจุบันก็มีสาขาวิชาที่ให้เลือกเรียนมากมาย

การเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนนั้น หลายๆ กระแสก็ให้เลือกตามแนวโน้มของโลกในอนาคต เนื่องจากนักวิเคราะห์หลายๆ สังกัดก็มีการบ่งชี้ว่ามีหลายๆ อาชีพที่จะไม่เป็นที่ต้องการ หรือหายไปในที่สุด ด้านนักเศรษฐศาสตร์ก็วิเคราะห์ว่า แนวโน้มในอนาคตคนทำงานควรมีอาชีพมากกว่า 1 อย่าง การวิเคราะห์ดังกล่าว ทำเอาทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง และตัวเด็กเองเกิดความสับสน และลังเลใจ ไม่แน่ใจว่าจะเลือกเรียนอะไรดี หรือหาอาชีพที่สองได้อย่างไร

การเลี้ยงดูของพอแม่ผู้ปกครองในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ นั่นคือ แบบที่ปล่อยให้เด็กเรียนรู้ไปตามวัย โดยปล่อยหน้าที่เรื่องของการเรียนให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พาบุตรหลานเรียนเสริมในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เด็กมีความโดดเด่นทางด้านวิชาการ สามารถสอบแข่งขันในสนามต่างๆ ได้ทุกสนาม กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีการพาบุตรหลานส่งเสริมในกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียน เช่นด้านกีฬา ดนตรี ต่อเนื่องจนเด็กมีทักษะในการเรียนเสริมที่ดี

ลักษณะการเสริมความรู้ และทักษะของครอบครัวในแต่ละกลุ่มจะทำให้เด็กมีทักษะที่แตกต่างกัน เด็กในกลุ่มแรก เด็กจะเรียนรู้ได้จากโรงเรียนเพียงอย่างเดียว เด็กในกลุ่มที่ 2 จะเป็นเด็กที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และเขาเหล่านั้นก็จะสามารถเลือกเรียนในสาขาที่เขาต้องการได้ ส่วนเด็กในกลุ่มที่ 3 อาจเป็นเด็กที่มีผลกาเรียนในระดับกลางๆ แต่มีทักษะด้านอื่นที่เรียนมาเพิ่ม จะสามารถนำทักษะที่ได้เรียนมาเป็นอาชีพรองต่อไป

พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนอาจกังวลว่าแล้วในอนาคตเค้าจะสามารถดูแลตนเอง ได้หรือไม่ หากวันนี้เราทำหน้าที่ในการดูแล อบรม เลี้ยงดูเขาเหล่านั้นให้เป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของตนเอง ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลแทนเขาเลย

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

carousel1-1440x812คงได้ยินข่าวกันบ่อยๆ ในเรื่องของการฝากเข้า หรือค่าแรกเข้าในโรงเรียนรัฐบาลหลายๆ แห่ง ทั้งๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝากในที่สูง และยังไม่ได้รับใบเสร็จอีกด้วย มาลองดูเหตุผลที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ คนยอมจ่ายค่าใช้จ่ายแพงขนาดนั้น

สิ่งที่เราต้องยอมรับเลยว่า มาตรฐานในการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนไม่เท่าเทียมกัน เป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบุตรหลานของตน ดังนั้นจึงทำทุกวิถีทางที่สามารถทำได้ เพื่อให้บุตรหลานได้เข้าเรียนในสถานศึกษาดังกล่าว ทั้งการให้เรียนเพิ่ม การติวอย่างหนัก เทียบได้กับการฝ่าด่าน 18 อรหันต์เข้าไปเรียนในวัดเส้าหลิน แต่หากพลาดในรอบของการสอบคัดเลือก ก็จะใช้กำลังภายใน เพื่อดันบุตรหลานเข้าไปเรียนให้จงได้

เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นทุกๆ ปีที่มีการสอบคัดเลือก ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เลย การที่พ่อแม่ผู้ปกครองยอมเสียค่าใช้จ่าย เพื่อคุณภาพการศึกษาของบุตรหลาน และนอกจากนั้นแล้วเด็กที่ผ่านการคัดเลือกของสถานศึกษาจะเป็นเด็กสายเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองก็หวังว่ากลุ่มเพื่อนที่ขยันเรียนจะสามารถผลักดัน หรือเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของบุตรหลานได้

หลายๆ คนสามารถถูกกระตุ้นด้วยสิ่งแวดล้อมได้ แต่เด็กบางคนไม่สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกบีบได้มากนัก ร่วมกับการที่พื้นฐานที่ไม่แน่น ทำให้เค้าติดอยู่กับเนื้อหา และไม่ว่าจะพยายามตั้งใจเท่าไหร่ ก็ตามเพื่อนไม่ทัน ความรู้สึกที่เบื่อการเรียน แล้วเด็กกลุ่มนี้ (ซึ่งส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เส้นสายเข้ามา) ก็จะรวมตัวกัน ไปในแนวทางลบ

ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องพิจารณาถึงความรู้พื้นฐาน อุปนิสัยในเรื่องของการเรียนรู้ของบุตรหลานของตน ว่าจะสามารถปรับตัว และเหมาะสม กับสิ่งที่พ่อแม่คาดหวังด้วยหรือไม่ หลายๆ ครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ได้เป็นอย่างที่คาดหมาย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมาย พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ที่เลือกสิ่งที่ดีที่สุด โดยใช้อุปนินัย (ความมุมานะ พยายาม) ความรู้พื้นฐาน เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจทุกครั้ง

Tags : , , , , , , , , , | add comments

ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 เดือน ก็มีข่าวการเสียชีวิตของเด็ก ๆ ติดต่อกัน 3 คน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเด็ก พิจารณาถึงสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วหาวิธี หรือหนทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ความปลอดภัยของเด็ก ๆ ที่ผู้ปกครองฝากไว้ในมือของโรงเรียน ก็จะมีมากขึ้น

girls-playing-basketball-black-white      จากเหตุการณ์ล่าสุดที่น้องนนท์ หลังจากได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จุฬาเป็นเวลา 3 เดือน ที่ล่วงลับไป มันทำให้เกิดคำถามขึ้นหลายฝ่ายว่า เด็ก 2 คนที่ร่วมกันรุมทำร้ายน้องนนท์นั้น เกิดเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการเลี้ยงดูของครอบครัว(ที่ปัจจุบันมักเป็นครอบครัวเดี่ยว ที่มีลูกเพียงคนเดียว) หรือมีเหตุปัจจัยอื่น เช่น เกมที่ไม่ได้รับการคัดกรองจากผู้ปกครอง แฝงด้วยความรุนแรง กันแน่ เราไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะครู หรือทางโรงเรียนเท่านั้นที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อตัวเด็ก แต่หมายรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพฤติกรรมของตัวเด็ก ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมเด็กที่แสดงออกมา นอกจากให้กำเนิดเขาเหล่านั้นแล้ว ยังต้องมีหน้าที่เลี้ยงดู อบรม บ่มนิสัย เพื่อให้เขาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมในภายภาคหน้า

หลาย ๆ ครอบครัว ทั้งพ่อและแม่ให้ความสำคัญกับปากท้อง และความมีหน้ามีตาในสังคมมากกว่าการให้เวลาในการอบรม เลี้ยงดูบุตรหลาน คอยชี้นำในสิ่งที่ดี มีคุณธรรมให้เป็นคนดีในสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการทำงานไม่สำคัญ แต่เป็นเรื่องของการแบ่งเวลา ให้มีความเหมาะสม  พ่อแม่มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลบุตรหลานเมื่อเขาอยู่ที่บ้าน ส่วนครูก็มีหน้าที่อบรมบ่มนิสัย ให้ความรู้กับเด็กนักเรียนเมื่อเขาอยู่ที่โรงเรียน หากมีการรับ-ส่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี เชื่อว่าสังคมเราก็น่าอยู่ขึ้น

Tags : , , , , , , , , , , , | add comments

time_flies_2ปัญหาของพ่อแม่ผู้ปกครองหลาย ๆ คน ในช่วงปิดภาคเรียน คือการที่ไม่มีใครคอยดูแลบุตรหลาน จึงทำให้ต้องฝากบุตรหลานไว้กับญาติ หรือคุณปู่คุณย่าให้อยู่กับบ้าน โดยมีเครื่องทุ่นแรงอย่างเกมส์ หรือคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเวลาในการทำงานของพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นจะอยู่ระหว่าง 8 – 10 ชั่วโมง ผลเสียที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีใครเป็นคนกำหนดเวลาในการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเกมส์ ทำให้เด็กจดจ่ออยู่กับเกมส์เป็นเวลานาน ปัญหานี้จะมีความรุนแรงในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต เนื่องจากเด็กเล็กต้องการการพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ เช่นเรื่องการอ่าน ซึ่งต้องมีประสบการณ์คือการอ่านให้มาก การเขียน ซึ่งเป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ยากกว่าการฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการฝึกให้เด็กมีความอดทน หรือสมาธิกับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ ในขณะที่เด็กโตผ่านการเขียน การอ่าน จึงไม่ต้องการการฝึกฝนในทักษะดังกล่าว ผู้ปกครองหลาย ๆ คนมักถือว่าช่วงเวลาปิดภาคเรียน ต้องการให้เด็ก ได้หยุดพักกับการคร่ำเคร่ง ร่ำเรียนวิชามากมาย แต่หากเราปล่อยให้เขาหยุดพักกับเกมส์ โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนเวลา สิ่งที่ได้กลับมา ก็คือเวลาที่หายไป

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments

ในยุคก่อน ๆ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่คุณปู่ คุณย่าของเด็กในยุคปัจจุบัน หลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า คนในรุ่นนั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่าใดนัก แต่เขาเหล่านั้นก็มีอยู่หลายครอบครัวที่สามารถก่ร่างสร้างตัวจนมีฐานะร่ำรวยในรุ่นต่อมา
กลับกันในยุคปัจจุบัน เด็กไทยทุกคนจะต้องเข้าโรงเรียนเพื่อให้ผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แม้กระทั่งชุดนักเรียนยังได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะทำให้แนวโน้มของความเสมอภาคกันทางด้านการศึกษา และน่าจะรวมไปถึงความเป็นอยู่ในสังคม แต่ความจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ เมื่อภาครัฐกำหนดนโยบายให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครูกับจำนวนนักเรียนไม่สอดคล้องกัน (จำนวนเด็กมากเกินกว่าที่ครูจะสามารถเข้าถึงเด็กทุกคน) ประกอยกับความพร้อมของเด็กแต่ละคน ร่วมกับปัจจัยหลักนั่นคือ ความเอาใจใส่ ดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้เด็กบางส่วน หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในเนื้อหา หรือบทเรียนในแต่ละเรื่อง หากจะให้พ่อแม่ช่วยอธิบาย พวกท่านก็ไม่มีเวลา หรือพ่อแม่บางกลุ่มก็จะปฏิเสธที่จะสอนลูก เพียงเพราะว่าตนเองมีพื้นฐานทางวิชาการไม่ดี ครั้นจะไปถามครู ครูก็ดูน่ากลัวเกินกว่าที่จะเข้าใกล้ประชิดตัว
ปัญหาในกลุ่มเด็กดังกล่าวมักเกิดกับคนในสังคมที่มีฐานะค่อนข้างขัดสน ส่วยในกลุ่มที่อยู่ในฐานะปานกลาง ก็พร้อมที่จะส่งลูกเข้าสู่ระบบโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายกว่าที่ตนเองจะพยายามทำความเข้าใจในความรู้พื้นฐานที่ตนเองได้ผ่านมาแล้ว จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ช่องว่างที่เกิดขึ้นในสังคมจะถ่างออกไปเรื่อย ๆ โอกาสทางสังคมที่ทางรัฐได้หยิบยื่นให้ก็เปรียบเสมือนอากาศที่ลองลอยไปโดยไม่มีใครใส่ใจ และมองเห็นมันอย่างไร้ค่า เช่นเดียวกับเด็กและพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นรากฐานให้ตนเอง เพื่อความมั่นคงของตนเองและครอบครัวต่อไปในอนาคต

Tags : , , , , , , , , , , , , , , , , , | add comments